ปี 2540 เป็นอีกปีหนึ่งที่แสดงถึงสภาพความตกต่ำของอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ทั้งวงการเพลง วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ล้วนแต่หืดขึ้นคอกันทั้งนั้น เรามาร่วมย้อนเวลากันว่าในแต่ละแขนง มีสิ่งใดที่พอทำให้เราได้ระลึกถึงและเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดแจ้งจนเป็นที่สุดแห่งปี...
2499-ฝันบ้าฯ-ท้าฟ้าลิขิต : หนังไทยแห่งปี
ในช่วงปี 2540 มีหนังไทยเข้าฉายในโรงหนังทุกเดือนรวมแล้วเพียง 18 เรื่อง หรือเดือนละ 1-2 เรื่อง เท่านั้น โดยผลงานเด่นในรอบปีคงต้องยกให้ "2499 อันธพาลครองเมือง" ที่ทำได้สวยงามทั้งเงินทั้งกล่อง จุดสังเกตของหนังเรื่องนี้คือการใช้ผู้กำกับหน้าใหม่และนักแสดงหน้าใหม่เกือบยกทีม เช่นเดียวกับเรื่อง "ฝัน บ้า คาราโอเกะ" ที่ถึงรายได้จะต่างกันลิบลับ แต่ก็เป็นอีกเรื่องที่ได้รับเสียงชื่นชมไม่น้อยไปกว่ากัน ส่วน "ท้าฟ้าลิขิต" ซึ่งใช้ผู้กำกับหน้าใหม่อีกเช่นกันก็เป็นผลงานที่ท้าทายทั้งส่วนการดำเนินเรื่องและการแสดง ขณะที่ค่ายเพลงอย่าง แกรมมี่-อาร์เอส ก็ส่งหนังออกมาที่ถึงจะดูไม่คึกคักนัก แต่อย่างน้อยชื่อ "อนันดา เอเวอริ่งแฮม" นักแสดงวัยละอ่อนเชื้อสายลาวจากเรื่อง อันดากับฟ้าใส ก็ได้เริ่มประดับวงการหนังไทยจนกลายเป็นพระเอกตลอดกาลในระยะต่อไป
ข่าวดังวงการจอแก้ว : "ช่อง 7 สี" ถึงคราวเปลี่ยนแปลง
ในช่วงปี 2540 ช่องทีวีที่มีข่าวการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น "ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ" ภายใต้การบริหารงานของ ชาติเชื้อ กรรณสูต และ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เริ่มจากข่าวที่สร้างความเสียใจอย่างยิ่งกับการจากไปกะทันหันของ "ย.โย่ง" หรือ เอกชัย นพจินดา นักพากย์และผู้ประกาศข่าวสายกีฬา เจ้าของฉายาคัมภีร์ลูกหนัง ตามด้วยการลาจอของรายการวาไรตี้ยอดฮิต "สี่ทุ่มสแควร์" ของ วิทวัส สุนทรวิเนตร์ และการถอนรายการออกจากช่อง 7 ทั้งหมดไปอยู่ช่องอื่นของ "เวิร์คพอยท์" โดย ปัญญา นิรันดร์กุล รวมไปถึงการออกมาตรการลดค่าเช่าเวลาให้กับผู้ผลิตรายการ ในส่วนของละครที่โด่งดังแห่งปีก็ได้แก่เรื่อง "ทัดดาวบุษยา" ที่สาวกบ สุวนันท์ สลัดภาพคนสวยเป็นนางเอกหน้าหล่อ ตามมาด้วย "ทองเนื้อเก้า" และ "นิรมิต" ที่พี่เบิร์ด ธงไชย ฝากผลงานแสดงเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนลาบวช ยังมีข่าวดีเมื่อทางสถานีประกาศปลดแอกให้ผู้จัดผู้ผลิตทั้งรายใหญ่รายเล็กเข้ามาผลิตละครหลังข่าวให้กับช่องนี้เพื่อเพิ่มความหลากหลายในอรรถรสของละคร จากเดิมที่มีเพียง ดาราวิดีโอ กับ กันตนา ก็ยังได้ นพพล โกมารชุน, กิตติ อัครเศรณี, ฉลอง ภักดีวิจิตร รวมถึงค่ายเทปยักษ์ใหญ่อย่าง แกรมมี่-อาร์เอส อีกด้วยเช่นกัน
กำเนิดลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. : ม้ามืดแห่งปี
นับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่บนแผงหน้าปัดเมืองไทยโดยที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน เมื่อ "วิทยา ศุภพรโอภาส" ดีเจชื่อดัง จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ก่อตั้งรายการวิทยุ "ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม." สถานีเพลงลูกทุ่งตลอด 24 ชั่วโมงแห่งแรกของไทย โดยทางรายการจัดเสนอเพลงทั้งเก่าและใหม่ สลับสาระน่ารู้และข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการลูกทุ่ง ด้วยรูปแบบการจัดรายการที่ทัดเทียมสากล ดูไม่เชย เรียกว่าเป็นการปลุกวงการเพลงลูกทุ่งให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนฟังเพิ่มขึ้นอีกระดับ จนเมื่อรายการออกอากาศได้เพียงไม่นานก็กลายเป็นรายการเพลงยอดนิยมอันดับ 1 แซงหน้าสถานีวิทยุที่เปิดเพลงสตริงและอัลเทอร์เนทีฟอย่างฮอตเวฟ กรีนเวฟ หรือแม้กระทั่ง จส.100 ได้อย่างสบาย ๆ เรียกว่าเป็นความสำเร็จขั้นแรกชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลย
อินดี้อัลเทอร์ฯ ฟุบ-สตริงลูกทุ่งเฟื่อง
ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำสุดขีดก็ส่งให้ค่ายเพลงเกือบทุกแห่งพลอยได้รับผลกระทบ ทั้งที่มีความพยายามหาหนทางเพื่อความอยู่รอดของวงการเพลง ผลก็คือค่ายเพลงหลายแห่งต้องปิดตัวลง หรือไม่ก็ตัดการโปรโมทผ่านสื่อต่าง ๆ ออก ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง "แกรมมี่" กับ "อาร์เอส" (อาจรวมถึงบางค่ายที่มีสื่อในมืออยู่เยอะ)เท่านั้นที่ฟาดฟันกันอย่างสุดเหวี่ยงเป็นที่สุด เมื่อนักร้องค่ายหนี่งออกมาปุ๊บ นักร้องอีกค่ายหนึ่งที่มาในลุคส์คล้ายกันก็ออกมาแข่ง แถมยังได้ทำงานอย่างอื่นควบคู่ด้วย เป็นธรรมดาของการแข่งขัน โดยศิลปินที่ได้รับความนิยมในรอบปีก็ได้แก่ "เจมส์ เรืองศักดิ์" เจ้าของบทเพลง ไม่อาจเปลี่ยนใจ ที่ติดชาร์ตเกือบทุกสำนักมาอย่างยาวนาน แม้กระทั่งสาวน้อยปุ๊กกี้ที่ถึงแม้กำลังตั้งท้องแต่ยอดขายเทปก็ยังมาแรง อีกค่ายหนึ่งก็มี มอส กับ ทาทา แถมท้ายด้วย "คูณ 3 ซูเปอร์แก๊งค์" แต่ที่เหนือความคาดหมายก็เห็นจะเป็นนักร้องฝั่งลูกทุ่งทั้ง "อาภาพร นครสวรรค์", "ไชยา มิตรชัย" กระทั่งรุ่นใหญ่อย่าง "สดใส รุ่งโพธิ์ทอง" กับ "รักน้องพร" เพลงฟีเวอร์ที่ได้รับการแปลงถึง 16 เวอร์ชั่น...
นี่เป็นเพียงที่สุดแห่งปีในแต่ละแขนงของวงการบันเทิงไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จากการคัดสรรของข้าพเจ้าเอง ก็หวังว่าผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบและได้อารมณ์อันเพลิดเพลินไปสู่ยุคนั้นได้อย่างดี แล้วคุณคิดว่ายังมีสิ่งใดที่เป็นที่สุดอีกไหม มาคุยกันได้นะ สวัสดี.
ย้อนความหลัง...บันเทิงไทย ปี'40
2499-ฝันบ้าฯ-ท้าฟ้าลิขิต : หนังไทยแห่งปี
ในช่วงปี 2540 มีหนังไทยเข้าฉายในโรงหนังทุกเดือนรวมแล้วเพียง 18 เรื่อง หรือเดือนละ 1-2 เรื่อง เท่านั้น โดยผลงานเด่นในรอบปีคงต้องยกให้ "2499 อันธพาลครองเมือง" ที่ทำได้สวยงามทั้งเงินทั้งกล่อง จุดสังเกตของหนังเรื่องนี้คือการใช้ผู้กำกับหน้าใหม่และนักแสดงหน้าใหม่เกือบยกทีม เช่นเดียวกับเรื่อง "ฝัน บ้า คาราโอเกะ" ที่ถึงรายได้จะต่างกันลิบลับ แต่ก็เป็นอีกเรื่องที่ได้รับเสียงชื่นชมไม่น้อยไปกว่ากัน ส่วน "ท้าฟ้าลิขิต" ซึ่งใช้ผู้กำกับหน้าใหม่อีกเช่นกันก็เป็นผลงานที่ท้าทายทั้งส่วนการดำเนินเรื่องและการแสดง ขณะที่ค่ายเพลงอย่าง แกรมมี่-อาร์เอส ก็ส่งหนังออกมาที่ถึงจะดูไม่คึกคักนัก แต่อย่างน้อยชื่อ "อนันดา เอเวอริ่งแฮม" นักแสดงวัยละอ่อนเชื้อสายลาวจากเรื่อง อันดากับฟ้าใส ก็ได้เริ่มประดับวงการหนังไทยจนกลายเป็นพระเอกตลอดกาลในระยะต่อไป
ข่าวดังวงการจอแก้ว : "ช่อง 7 สี" ถึงคราวเปลี่ยนแปลง
ในช่วงปี 2540 ช่องทีวีที่มีข่าวการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น "ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ" ภายใต้การบริหารงานของ ชาติเชื้อ กรรณสูต และ สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เริ่มจากข่าวที่สร้างความเสียใจอย่างยิ่งกับการจากไปกะทันหันของ "ย.โย่ง" หรือ เอกชัย นพจินดา นักพากย์และผู้ประกาศข่าวสายกีฬา เจ้าของฉายาคัมภีร์ลูกหนัง ตามด้วยการลาจอของรายการวาไรตี้ยอดฮิต "สี่ทุ่มสแควร์" ของ วิทวัส สุนทรวิเนตร์ และการถอนรายการออกจากช่อง 7 ทั้งหมดไปอยู่ช่องอื่นของ "เวิร์คพอยท์" โดย ปัญญา นิรันดร์กุล รวมไปถึงการออกมาตรการลดค่าเช่าเวลาให้กับผู้ผลิตรายการ ในส่วนของละครที่โด่งดังแห่งปีก็ได้แก่เรื่อง "ทัดดาวบุษยา" ที่สาวกบ สุวนันท์ สลัดภาพคนสวยเป็นนางเอกหน้าหล่อ ตามมาด้วย "ทองเนื้อเก้า" และ "นิรมิต" ที่พี่เบิร์ด ธงไชย ฝากผลงานแสดงเป็นเรื่องสุดท้ายก่อนลาบวช ยังมีข่าวดีเมื่อทางสถานีประกาศปลดแอกให้ผู้จัดผู้ผลิตทั้งรายใหญ่รายเล็กเข้ามาผลิตละครหลังข่าวให้กับช่องนี้เพื่อเพิ่มความหลากหลายในอรรถรสของละคร จากเดิมที่มีเพียง ดาราวิดีโอ กับ กันตนา ก็ยังได้ นพพล โกมารชุน, กิตติ อัครเศรณี, ฉลอง ภักดีวิจิตร รวมถึงค่ายเทปยักษ์ใหญ่อย่าง แกรมมี่-อาร์เอส อีกด้วยเช่นกัน
กำเนิดลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. : ม้ามืดแห่งปี
นับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่บนแผงหน้าปัดเมืองไทยโดยที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน เมื่อ "วิทยา ศุภพรโอภาส" ดีเจชื่อดัง จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ ก่อตั้งรายการวิทยุ "ลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม." สถานีเพลงลูกทุ่งตลอด 24 ชั่วโมงแห่งแรกของไทย โดยทางรายการจัดเสนอเพลงทั้งเก่าและใหม่ สลับสาระน่ารู้และข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการลูกทุ่ง ด้วยรูปแบบการจัดรายการที่ทัดเทียมสากล ดูไม่เชย เรียกว่าเป็นการปลุกวงการเพลงลูกทุ่งให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนฟังเพิ่มขึ้นอีกระดับ จนเมื่อรายการออกอากาศได้เพียงไม่นานก็กลายเป็นรายการเพลงยอดนิยมอันดับ 1 แซงหน้าสถานีวิทยุที่เปิดเพลงสตริงและอัลเทอร์เนทีฟอย่างฮอตเวฟ กรีนเวฟ หรือแม้กระทั่ง จส.100 ได้อย่างสบาย ๆ เรียกว่าเป็นความสำเร็จขั้นแรกชนิดที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลย
อินดี้อัลเทอร์ฯ ฟุบ-สตริงลูกทุ่งเฟื่อง
ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำสุดขีดก็ส่งให้ค่ายเพลงเกือบทุกแห่งพลอยได้รับผลกระทบ ทั้งที่มีความพยายามหาหนทางเพื่อความอยู่รอดของวงการเพลง ผลก็คือค่ายเพลงหลายแห่งต้องปิดตัวลง หรือไม่ก็ตัดการโปรโมทผ่านสื่อต่าง ๆ ออก ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่อย่าง "แกรมมี่" กับ "อาร์เอส" (อาจรวมถึงบางค่ายที่มีสื่อในมืออยู่เยอะ)เท่านั้นที่ฟาดฟันกันอย่างสุดเหวี่ยงเป็นที่สุด เมื่อนักร้องค่ายหนี่งออกมาปุ๊บ นักร้องอีกค่ายหนึ่งที่มาในลุคส์คล้ายกันก็ออกมาแข่ง แถมยังได้ทำงานอย่างอื่นควบคู่ด้วย เป็นธรรมดาของการแข่งขัน โดยศิลปินที่ได้รับความนิยมในรอบปีก็ได้แก่ "เจมส์ เรืองศักดิ์" เจ้าของบทเพลง ไม่อาจเปลี่ยนใจ ที่ติดชาร์ตเกือบทุกสำนักมาอย่างยาวนาน แม้กระทั่งสาวน้อยปุ๊กกี้ที่ถึงแม้กำลังตั้งท้องแต่ยอดขายเทปก็ยังมาแรง อีกค่ายหนึ่งก็มี มอส กับ ทาทา แถมท้ายด้วย "คูณ 3 ซูเปอร์แก๊งค์" แต่ที่เหนือความคาดหมายก็เห็นจะเป็นนักร้องฝั่งลูกทุ่งทั้ง "อาภาพร นครสวรรค์", "ไชยา มิตรชัย" กระทั่งรุ่นใหญ่อย่าง "สดใส รุ่งโพธิ์ทอง" กับ "รักน้องพร" เพลงฟีเวอร์ที่ได้รับการแปลงถึง 16 เวอร์ชั่น...
นี่เป็นเพียงที่สุดแห่งปีในแต่ละแขนงของวงการบันเทิงไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จากการคัดสรรของข้าพเจ้าเอง ก็หวังว่าผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบและได้อารมณ์อันเพลิดเพลินไปสู่ยุคนั้นได้อย่างดี แล้วคุณคิดว่ายังมีสิ่งใดที่เป็นที่สุดอีกไหม มาคุยกันได้นะ สวัสดี.