เก็บตกความรู้โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากโรคที่พระเอกเป็น
อธิบายง่ายๆจากในละคร
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส คืออะไร
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสนั้น คำว่า ‘เอแอลเอส’ ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS)
ไม่จัดว่าเป็นโรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
โดยเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง เมื่อเซลล์เสื่อม มันจะค่อย ๆ ตายไปในที่สุด
ในทางการแพทย์อาจเรียกชื่อโรคนี้อีกชื่อว่า ‘โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง’ (motor neuron disease; MND) หรือ
‘โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม’ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาจะรู้จักกันดีในชื่อว่า ‘Lou Gehrig’s Disease’ (ลู-เก-ริก)
ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส อาการเป็นอย่างไร
จากชื่อโรคก็พอจะทราบอยู่แล้วว่า ผู้ป่วยเอแอลเอสจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะเริ่มอ่อนแรงตามมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น เดินแล้วล้มบ่อย สะดุดบ่อย ยกแขนไม่ขึ้น กำมือถือของไม่ได้ หยิบจับของเล็ก ๆ ได้ลำบาก ลุกนั่งลำบาก ใส่รองเท้าแตะแล้วหลุดง่าย
จากนั้นอาการจะเริ่มหนักขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้อลีบ หรือกล้ามเนื้อเต้นร่วมด้วย
หากเป็นนานเข้าจะมีอาการกลืนอาหารลำบาก สำลักง่าย พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ แขนขาลีบ
แต่จะไม่มีอาการชา ยังสามารถกลอกตาไปมาได้ กลั้นปัสสาวะ-อุจจาระได้ตามปกติ และมีสติสัมปชัญญะดี
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายรายไม่รู้สึกถึงความผิดปกติของตัวเอง และปล่อยอาการต่าง ๆ ไว้นาน
เพราะคิดว่าเป็นโรคอื่น กว่าจะมาพบแพทย์ก็มีอาการหนักแล้วคือกล้ามเนื้อไปอ่อนแรงที่ระบบหายใจ เช่น กระบังลมอ่อนแรง
จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เพราะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึก
เพราะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก สุดท้ายจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย และไม่สามารถกลืนอาหารและน้ำได้ด้วย
ต้องให้อาหารทางสายยางผ่านจมูกหรือทางหน้าท้อง และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
กล้ามเนื้อหัวใจที่มีลักษณะเป็นกรวยนี้จะมีการหดรัดตัว และ คลายตัวตามจังหวะกระตุ้นของกระแสไฟฟ้า (อ่อน ๆ) ภายในร่างกาย
เมื่อมีการหดรัดตัว เลือดก็จะถูกบีบออกจากห้องหัวใจไปตามหลอด เลือดแดง นำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
เมื่อเกิดการคลายตัว เลือดก็จะถูก สูบกลับมาเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ (คนละทางกับที่เลือดออกไปจาก หัวใจ เพราะหลอดเลือดแดงดังกล่าว มีลิ้นหัวใจที่ทำหน้าที่เหมือนประตูปิดกั้น ไม่ให้เลือดที่ออกไปจากหัวใจทางนั้นย้อนกลับเข้าหัวใจได้อีก)
ดังนั้น การสูบฉีดเลือดของหัวใจจะทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่ กับกล้ามเนื้อหัวใจที่จะต้องทำงานด้วยการหดตัวและคลายตัวอยู่ตลอดเวลา
และไม่สามารถหยุดทำงานได้เลยตลอดชีวิต หัวใจคนเราวันหนึ่ง ๆ เต้น ประมาณ 1 แสนครั้ง ลองคิดดูสิครับว่า
เพียงเราแค่โบกมือเปล่า ๆ ไปมา 1 แสนครั้ง จะรู้สึกเมื่อยและเหนื่อยแค่ไหน แต่ถ้าใครยังคิดว่าทำได้ เรื่องเล็กน้อยเช่นนี้
ก็ลองถือแก้วน้ำขนาดธรรมดา ๆ นี่แหละครับ ถือไว้ในมือด้วยแล้ว ก็โบกไปมา คงรู้สึกเห็นใจหัวใจดวงน้อย ๆ นี้บ้าง
สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเครียดง่าย เพราะรู้ดีว่าโรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงประคับประคองอาการ
อีกทั้งยังได้รับความทุกข์ทรมานจากโรค ทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้สมองจะยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ดังนั้น ครอบครัวจึงเป็นกำลังใจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับและเข้าใจกับโรคนี้
เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีความสุขได้มากที่สุด
เคดิตจาก
http://halsat.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87/
ความรู้เล็กๆ จากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากละครเธอคือพรหมลิขิต
อธิบายง่ายๆจากในละคร
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส คืออะไร
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอสนั้น คำว่า ‘เอแอลเอส’ ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis (ALS)
ไม่จัดว่าเป็นโรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
หรือความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงทำให้กล้ามเนื้อตามแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด
โดยเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง เมื่อเซลล์เสื่อม มันจะค่อย ๆ ตายไปในที่สุด
ในทางการแพทย์อาจเรียกชื่อโรคนี้อีกชื่อว่า ‘โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง’ (motor neuron disease; MND) หรือ
‘โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม’ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาจะรู้จักกันดีในชื่อว่า ‘Lou Gehrig’s Disease’ (ลู-เก-ริก)
ซึ่งตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี ค.ศ. 1930
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส อาการเป็นอย่างไร
จากชื่อโรคก็พอจะทราบอยู่แล้วว่า ผู้ป่วยเอแอลเอสจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยจะเริ่มอ่อนแรงตามมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น เดินแล้วล้มบ่อย สะดุดบ่อย ยกแขนไม่ขึ้น กำมือถือของไม่ได้ หยิบจับของเล็ก ๆ ได้ลำบาก ลุกนั่งลำบาก ใส่รองเท้าแตะแล้วหลุดง่าย
จากนั้นอาการจะเริ่มหนักขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยอาจมีอาการกล้ามเนื้อลีบ หรือกล้ามเนื้อเต้นร่วมด้วย
หากเป็นนานเข้าจะมีอาการกลืนอาหารลำบาก สำลักง่าย พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ แขนขาลีบ
แต่จะไม่มีอาการชา ยังสามารถกลอกตาไปมาได้ กลั้นปัสสาวะ-อุจจาระได้ตามปกติ และมีสติสัมปชัญญะดี
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายรายไม่รู้สึกถึงความผิดปกติของตัวเอง และปล่อยอาการต่าง ๆ ไว้นาน
เพราะคิดว่าเป็นโรคอื่น กว่าจะมาพบแพทย์ก็มีอาการหนักแล้วคือกล้ามเนื้อไปอ่อนแรงที่ระบบหายใจ เช่น กระบังลมอ่อนแรง
จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เพราะมีอาการเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะเวลานอนราบหรือมีอาการต้องตื่นกลางดึก
เพราะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก สุดท้ายจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย และไม่สามารถกลืนอาหารและน้ำได้ด้วย
ต้องให้อาหารทางสายยางผ่านจมูกหรือทางหน้าท้อง และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
กล้ามเนื้อหัวใจที่มีลักษณะเป็นกรวยนี้จะมีการหดรัดตัว และ คลายตัวตามจังหวะกระตุ้นของกระแสไฟฟ้า (อ่อน ๆ) ภายในร่างกาย
เมื่อมีการหดรัดตัว เลือดก็จะถูกบีบออกจากห้องหัวใจไปตามหลอด เลือดแดง นำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
เมื่อเกิดการคลายตัว เลือดก็จะถูก สูบกลับมาเข้าสู่หัวใจทางหลอดเลือดดำ (คนละทางกับที่เลือดออกไปจาก หัวใจ เพราะหลอดเลือดแดงดังกล่าว มีลิ้นหัวใจที่ทำหน้าที่เหมือนประตูปิดกั้น ไม่ให้เลือดที่ออกไปจากหัวใจทางนั้นย้อนกลับเข้าหัวใจได้อีก)
ดังนั้น การสูบฉีดเลือดของหัวใจจะทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่ กับกล้ามเนื้อหัวใจที่จะต้องทำงานด้วยการหดตัวและคลายตัวอยู่ตลอดเวลา
และไม่สามารถหยุดทำงานได้เลยตลอดชีวิต หัวใจคนเราวันหนึ่ง ๆ เต้น ประมาณ 1 แสนครั้ง ลองคิดดูสิครับว่า
เพียงเราแค่โบกมือเปล่า ๆ ไปมา 1 แสนครั้ง จะรู้สึกเมื่อยและเหนื่อยแค่ไหน แต่ถ้าใครยังคิดว่าทำได้ เรื่องเล็กน้อยเช่นนี้
ก็ลองถือแก้วน้ำขนาดธรรมดา ๆ นี่แหละครับ ถือไว้ในมือด้วยแล้ว ก็โบกไปมา คงรู้สึกเห็นใจหัวใจดวงน้อย ๆ นี้บ้าง
สิ่งสำคัญก็คือ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเครียดง่าย เพราะรู้ดีว่าโรคนี้รักษาไม่ได้ ทำได้เพียงประคับประคองอาการ
อีกทั้งยังได้รับความทุกข์ทรมานจากโรค ทำให้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ แม้สมองจะยังรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
ดังนั้น ครอบครัวจึงเป็นกำลังใจที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ผู้ป่วยยอมรับและเข้าใจกับโรคนี้
เพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ให้มีความสุขได้มากที่สุด
เคดิตจาก http://halsat.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87/