สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้ ขอมาเล่าต่อเรื่อง การเคลื่อนไหวหรือผลักดันทางสังคม ที่เราพยามทำ ริเริ่ม และสานต่อมาเรื่อยๆ
เหนื่อยก็พัก คราวก่อนพูดถึงการงดใช้พลาสติก มีเสียงเพื่อนๆบางท่านให้คำโต้แย้งว่า "เป็นเรื่องของความอยากเลย"
ซึ่งมันก็ใช่นะ
จะบอกว่า ในสังคมของเรานั่น สิ่งที่เราผลักดันต่างๆ ก็เพราะเราเล็งเห็นผลดีของมัน แต่จะมีคนเห็นด้วยไหม ก็แล้วแต่มุมมอง
หรือให้แย่กว่านั้น บางคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เช่น
เราพยายามผลักดันให้ลดใช้แก้ว-ถุงพลาสติก เลยหันมาใช้แก้วกระดาษ ถุงกระดาษ เพื่อนบอกว่า ถ้าป่าไม้ถูกทำลายมากขึ้น
เพื่อมาทำกระดาษถามว่า ผลกระทบนี้ ใครเป็นคนรับผิดชอบ?
เหมือนโรงไฟฟ่า บางคนอยากได้นิวเคลียร์ บางคนอยากได้ก๊าซ สุดท้ายต้องมาเลือกถานหิน ซึ่งมีข้อดีน้อยที่สุด
และมีคนไม่ชอบน้อยที่สุด แต่เสียหาย น้อยที่สุดเหมือนกัน
ไอ้การที่จะหาอะไรที่มีข้อดีทั้งหมดมารวมกัน จึงเป็นไปแทบไม่ได้เลย ก็ต้องเป็นทางเลือกใหม่เท่านั้น ล่ะค่ะ
ไหนๆ ก็พูดเรื่องพลาสติกมาแล้ว วันนี้ ขอพูดเรื่องกระดาษก็แล้วกันค่ะ
นึกไม่ออกเหมือนกันว่า เริ่มลดใช้กระดาษตั้งแต่เมื่อไหร่?
จำได้ว่า ตั้งแต่มีเรื่องการงดใช้ถุงพลาสติกนั่นแหละ คำถามก็ผุดขึ้นมาเหมือนกันว่า หากคนเลิกใช้ถุงหลาสติก แล้วหันมาใช้กระดาษแทน
แล้วถ้าป่าไม้เริ่มหมด (ก็ไม่รู้หรอกว่า กระดาษทำมาจากต้นอะไร จะเกี่ยวกับป่าไม้แค่ไหน) แล้วธรรมชาติเราก็จะเสียหาพอๆกันไหม?
ก็ไม่รู้ทำไม จะต้องเครียดขนาดนี้ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวไปเรื่อย ขนาดที่ว่า เห็นใครใช้ทิชชู่เปลือง ก็จะเหน็บเข้าให้ว่า
"ป่าไม้หมดป่าแล้วนะ" จนเพื่อนก็สวนกลับมาว่า "กะอิแค่กระดาษม้วนเดียวจะทำให้ป่าไม้หมดได้ยังไงฟระ"
เราก็ยังแถได้ว่า "ก็แล้วจะทำกระดาษม้วนเดียว เขาตัดไม้แค่ต้นเดียวหรือไง?" ก็ว่ากันไป...
การสร้างจิตสำนึกของคนเรามันก็แปลกนะ บางที มันเริ่มจากการเชื่ออย่างไม่มีสาเหตุนั้นแหละ แล้วมันก็จะก่อเกิดเป็นนิสัย
ความเคยชินที่เป็นกิจวัตรประจำวันเอง ไม่ต้องไปบังคับอะไรมันเลย
การใช้กระดาษทิชชู่ ทุกวันนี้ สาวๆ ใช้กระดาษกันเปลืองจัง แม้ไม่ได้คำนึงถึงป่าไม้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ก็ยังคิดว่า
การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มันเป็นความมักง่าย อย่างหนึ่ง เช่น ในห้องอาหารของออฟฟิส (สะกดด้วย ส.เสือ)
หลังล้างจานจะมีคนดึงกระดาษเช็ดมือ ออกมาเช็ดแก้ว จาน ชาม ช้อนที่เปียก และดึงกระดาษออกมาปูเพื่อคว่ำจานให้แห้ง
บ้างดึงกระดาษออกมาเพื่อเช็ดน้ำที่ไหลนองข้างอ่างล้างจาน
จำได้ว่า เคยทานก๋วยเตี๋ยวในร้านอาหารแห่งหนึ่ง สมัยเรียน แล้วเกิดทำน้ำแกงหก เราและเพื่อนๆ ช่วยกันเอากระดาษเช็กปาก
(แผ่นเล็กๆ สีชมพู) เป็นปึกๆเข้าซับน้ำไม่ให้ไหลเลอะเทอะ เจ้าของร้านเห็นรีบห้ามเลยบอกว่า อย่าใช้กระดาษๆๆ แล้วรีบ
ไปเอาผ้ามาเช็ดน้ำออก ผลคือ ใช้ผ้า ทีเดียวสะอาด ใช้กระดาษจนหมดกล่อง ยังซับน้ำไม่หมดเลย
จากวันนั้น ก็เลย เลิกใช้กระดาษซับน้ำที่หกเลอะเทอะบนโต้ะอาหาร หากอยู่บ้านจะเดินไปเอาผ้าเปียกมาเช็ด ถ้าเป็นร้านอาหาร
ก็ปล่อยให้มันเลอะไปนั่นแหละ เดี๋ยวเด็กมาเก็บจาน เขาก็มาเช็ดเอง
มันไม่ใช้แค่การประหยัดป่า แต่มันเป็นการเซฟกระดาษทิชชู่ ให้โต้ะถัดไปเขามีใช้ด้วย เพราะหลายๆครั้งในร้านอาหาร
จะหลุดหงิดมาก ถ้ากระดาษหมด ฉนั้น เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน หลังจากนี้ไป ช่วยเลิกใช้กระดาษทำความสะอาดโต้ะ นะจ้ะ
ขอบคุณ
สำหรับเหตุการณ์ในออฟฟฟิส ข้าพเจ้าเห็นดังนั้น ก็เสียสละค่าทรัพย์ส่วนตัวเพื่อซื้อที่คว่ำจานขนาดย่อม ไว้ข้างๆอ่างล้างจาน
และบอกให้เพื่อนๆ หันมาคว่ำจานแทนการใช้กระดาษรองเพื่อคว่ำจาน เท่านี้ กระดาษที่เคยหมดบ่อย ก็เริ่มมีเหลือให้เช็ดมือได้บ้าง
หมวยอินดี้มีเรื่องเล่า -- การประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ (ยังไม่จบ)
เหนื่อยก็พัก คราวก่อนพูดถึงการงดใช้พลาสติก มีเสียงเพื่อนๆบางท่านให้คำโต้แย้งว่า "เป็นเรื่องของความอยากเลย"
ซึ่งมันก็ใช่นะ
จะบอกว่า ในสังคมของเรานั่น สิ่งที่เราผลักดันต่างๆ ก็เพราะเราเล็งเห็นผลดีของมัน แต่จะมีคนเห็นด้วยไหม ก็แล้วแต่มุมมอง
หรือให้แย่กว่านั้น บางคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เช่น
เราพยายามผลักดันให้ลดใช้แก้ว-ถุงพลาสติก เลยหันมาใช้แก้วกระดาษ ถุงกระดาษ เพื่อนบอกว่า ถ้าป่าไม้ถูกทำลายมากขึ้น
เพื่อมาทำกระดาษถามว่า ผลกระทบนี้ ใครเป็นคนรับผิดชอบ?
เหมือนโรงไฟฟ่า บางคนอยากได้นิวเคลียร์ บางคนอยากได้ก๊าซ สุดท้ายต้องมาเลือกถานหิน ซึ่งมีข้อดีน้อยที่สุด
และมีคนไม่ชอบน้อยที่สุด แต่เสียหาย น้อยที่สุดเหมือนกัน
ไอ้การที่จะหาอะไรที่มีข้อดีทั้งหมดมารวมกัน จึงเป็นไปแทบไม่ได้เลย ก็ต้องเป็นทางเลือกใหม่เท่านั้น ล่ะค่ะ
ไหนๆ ก็พูดเรื่องพลาสติกมาแล้ว วันนี้ ขอพูดเรื่องกระดาษก็แล้วกันค่ะ
นึกไม่ออกเหมือนกันว่า เริ่มลดใช้กระดาษตั้งแต่เมื่อไหร่?
จำได้ว่า ตั้งแต่มีเรื่องการงดใช้ถุงพลาสติกนั่นแหละ คำถามก็ผุดขึ้นมาเหมือนกันว่า หากคนเลิกใช้ถุงหลาสติก แล้วหันมาใช้กระดาษแทน
แล้วถ้าป่าไม้เริ่มหมด (ก็ไม่รู้หรอกว่า กระดาษทำมาจากต้นอะไร จะเกี่ยวกับป่าไม้แค่ไหน) แล้วธรรมชาติเราก็จะเสียหาพอๆกันไหม?
ก็ไม่รู้ทำไม จะต้องเครียดขนาดนี้ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวไปเรื่อย ขนาดที่ว่า เห็นใครใช้ทิชชู่เปลือง ก็จะเหน็บเข้าให้ว่า
"ป่าไม้หมดป่าแล้วนะ" จนเพื่อนก็สวนกลับมาว่า "กะอิแค่กระดาษม้วนเดียวจะทำให้ป่าไม้หมดได้ยังไงฟระ"
เราก็ยังแถได้ว่า "ก็แล้วจะทำกระดาษม้วนเดียว เขาตัดไม้แค่ต้นเดียวหรือไง?" ก็ว่ากันไป...
การสร้างจิตสำนึกของคนเรามันก็แปลกนะ บางที มันเริ่มจากการเชื่ออย่างไม่มีสาเหตุนั้นแหละ แล้วมันก็จะก่อเกิดเป็นนิสัย
ความเคยชินที่เป็นกิจวัตรประจำวันเอง ไม่ต้องไปบังคับอะไรมันเลย
การใช้กระดาษทิชชู่ ทุกวันนี้ สาวๆ ใช้กระดาษกันเปลืองจัง แม้ไม่ได้คำนึงถึงป่าไม้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ก็ยังคิดว่า
การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มันเป็นความมักง่าย อย่างหนึ่ง เช่น ในห้องอาหารของออฟฟิส (สะกดด้วย ส.เสือ)
หลังล้างจานจะมีคนดึงกระดาษเช็ดมือ ออกมาเช็ดแก้ว จาน ชาม ช้อนที่เปียก และดึงกระดาษออกมาปูเพื่อคว่ำจานให้แห้ง
บ้างดึงกระดาษออกมาเพื่อเช็ดน้ำที่ไหลนองข้างอ่างล้างจาน
จำได้ว่า เคยทานก๋วยเตี๋ยวในร้านอาหารแห่งหนึ่ง สมัยเรียน แล้วเกิดทำน้ำแกงหก เราและเพื่อนๆ ช่วยกันเอากระดาษเช็กปาก
(แผ่นเล็กๆ สีชมพู) เป็นปึกๆเข้าซับน้ำไม่ให้ไหลเลอะเทอะ เจ้าของร้านเห็นรีบห้ามเลยบอกว่า อย่าใช้กระดาษๆๆ แล้วรีบ
ไปเอาผ้ามาเช็ดน้ำออก ผลคือ ใช้ผ้า ทีเดียวสะอาด ใช้กระดาษจนหมดกล่อง ยังซับน้ำไม่หมดเลย
จากวันนั้น ก็เลย เลิกใช้กระดาษซับน้ำที่หกเลอะเทอะบนโต้ะอาหาร หากอยู่บ้านจะเดินไปเอาผ้าเปียกมาเช็ด ถ้าเป็นร้านอาหาร
ก็ปล่อยให้มันเลอะไปนั่นแหละ เดี๋ยวเด็กมาเก็บจาน เขาก็มาเช็ดเอง
มันไม่ใช้แค่การประหยัดป่า แต่มันเป็นการเซฟกระดาษทิชชู่ ให้โต้ะถัดไปเขามีใช้ด้วย เพราะหลายๆครั้งในร้านอาหาร
จะหลุดหงิดมาก ถ้ากระดาษหมด ฉนั้น เพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน หลังจากนี้ไป ช่วยเลิกใช้กระดาษทำความสะอาดโต้ะ นะจ้ะ
ขอบคุณ
สำหรับเหตุการณ์ในออฟฟฟิส ข้าพเจ้าเห็นดังนั้น ก็เสียสละค่าทรัพย์ส่วนตัวเพื่อซื้อที่คว่ำจานขนาดย่อม ไว้ข้างๆอ่างล้างจาน
และบอกให้เพื่อนๆ หันมาคว่ำจานแทนการใช้กระดาษรองเพื่อคว่ำจาน เท่านี้ กระดาษที่เคยหมดบ่อย ก็เริ่มมีเหลือให้เช็ดมือได้บ้าง