คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
แต่ทหารยศสูงนายพัน พล .. แต่ละวัน เค้าต้องทำงานอะไรบ้างครับ
ทหารยศ นายพัน เช่น พันโท พันเอก ก็คือจะจบการหลักสูตรเสนาธิการมาแล้ว
ดังนั้น ก็จะทำงานใน Office เป็นงานนั่งโต๊ะที่เรียกว่า ฝ่ายอำนวยการ ครับ
งานฝ่ายอำนวยการ ก็คืองานร่างหนังสือราชการทุกประเภทเพื่อดำเนินเรื่องที่เข้ามาในแต่ละวัน
เช่น วันนี้มีกองถ่ายละครจะขอใช้สถานที่ในเรือหลวงจักรีนฤเบศร .... ทางฝ่ายอำนวยการ
ก็จะต้อง ร่างหนังสือ เพื่อเสนอไปถึงระดับ เสธ.ทร. หรือ รอง ผบ.ทร. เพื่ออนุมัติ
โดยขั้นตอนการร่างหนังสือ นั้นจะมีขั้นตอนปลีกย่อยเยอะเลยครับ ต้องโทรไปประสานงานที่เรือ ฯ
โทรไปที่กองเรือ ฯ โทรคุยรายละเอียดกับกองละคร และเมื่อข้อมูลครบแล้วก็เิริ่มร่างหลังสือได้
และส่งหนังสือเหล่านั้นผ่านไปตามชั้นยศที่สูงขึ้นไปตามลำดับชั้นครับ
สุดท้าย เจ้ากรม ฯ ที่เป็นชั้นยศนายพล ก็จะลงนามอนุมัติหนังสือเหล่านั้นออกจากหน่วยไป .... งานคร่าว ๆ ก็มีประมาณนี้ครับ
เค้าต้องฝึกภาคสนามอีกมั้ยครับ
หากเป็นชั้นนายพันของหน่วยรบ ก็จะต้องออกภาคสนามด้วยครับ แต่อาจเป็นการตรวจหน่วยฝึก
หรือ ประเมินหน่วยฝึก ไม่ได้ฝึกด้วยครับ
หรือต้องวางแผนการรบ ป้องกันประเทศ (ซึ่งมันดูไม่ค่อยจะได้เกิดขึ้น) หรือทำงานเอกสาร
เรื่องวางแผนการรบ แผนป้องกันประเทศ นั้น จะต้องทำแน่ ๆ ในกรณีประเทศเข้าสู่สงครามครับ
นอกนั้นก็เป็นการทำงานเอกสารล้วน ๆ หรือ หากถึงช่วงฝึกต่าง ๆ ก็จะมีขั้นวางแผนการฝึกครับ
ขอเพิ่มเติมให้นิดนึง
จากการที่ผมเคยทำงานในฝ่ายอำนวยการมาก่อน (ทหารเรือ) ในกรม ฯ ที่ผมสังกัดอยู่
มีเรื่องที่เข้ามาเฉลี่ยปีละประมาณ 1,000 - 1,100 เรื่อง และ 90% นั้นเป็นเรื่องที่ประชาชนขอเข้ามาครับ
มีตั้งแต่ขอกำลังพลไปช่วยงาน ขอรถบัส รถบรรทุกไปช่วยงาน ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างภัยพิบัติต่าง ๆ
สิ่งเหล่านี้คือภารกิจมนยามสงบ น่ะครับ ซึ่งเป็นงานเอกสารล้วน ๆ เลยตามที่อธิบายไปข้างบนครับ
ทหารยศ นายพัน เช่น พันโท พันเอก ก็คือจะจบการหลักสูตรเสนาธิการมาแล้ว
ดังนั้น ก็จะทำงานใน Office เป็นงานนั่งโต๊ะที่เรียกว่า ฝ่ายอำนวยการ ครับ
งานฝ่ายอำนวยการ ก็คืองานร่างหนังสือราชการทุกประเภทเพื่อดำเนินเรื่องที่เข้ามาในแต่ละวัน
เช่น วันนี้มีกองถ่ายละครจะขอใช้สถานที่ในเรือหลวงจักรีนฤเบศร .... ทางฝ่ายอำนวยการ
ก็จะต้อง ร่างหนังสือ เพื่อเสนอไปถึงระดับ เสธ.ทร. หรือ รอง ผบ.ทร. เพื่ออนุมัติ
โดยขั้นตอนการร่างหนังสือ นั้นจะมีขั้นตอนปลีกย่อยเยอะเลยครับ ต้องโทรไปประสานงานที่เรือ ฯ
โทรไปที่กองเรือ ฯ โทรคุยรายละเอียดกับกองละคร และเมื่อข้อมูลครบแล้วก็เิริ่มร่างหลังสือได้
และส่งหนังสือเหล่านั้นผ่านไปตามชั้นยศที่สูงขึ้นไปตามลำดับชั้นครับ
สุดท้าย เจ้ากรม ฯ ที่เป็นชั้นยศนายพล ก็จะลงนามอนุมัติหนังสือเหล่านั้นออกจากหน่วยไป .... งานคร่าว ๆ ก็มีประมาณนี้ครับ
เค้าต้องฝึกภาคสนามอีกมั้ยครับ
หากเป็นชั้นนายพันของหน่วยรบ ก็จะต้องออกภาคสนามด้วยครับ แต่อาจเป็นการตรวจหน่วยฝึก
หรือ ประเมินหน่วยฝึก ไม่ได้ฝึกด้วยครับ
หรือต้องวางแผนการรบ ป้องกันประเทศ (ซึ่งมันดูไม่ค่อยจะได้เกิดขึ้น) หรือทำงานเอกสาร
เรื่องวางแผนการรบ แผนป้องกันประเทศ นั้น จะต้องทำแน่ ๆ ในกรณีประเทศเข้าสู่สงครามครับ
นอกนั้นก็เป็นการทำงานเอกสารล้วน ๆ หรือ หากถึงช่วงฝึกต่าง ๆ ก็จะมีขั้นวางแผนการฝึกครับ
ขอเพิ่มเติมให้นิดนึง
จากการที่ผมเคยทำงานในฝ่ายอำนวยการมาก่อน (ทหารเรือ) ในกรม ฯ ที่ผมสังกัดอยู่
มีเรื่องที่เข้ามาเฉลี่ยปีละประมาณ 1,000 - 1,100 เรื่อง และ 90% นั้นเป็นเรื่องที่ประชาชนขอเข้ามาครับ
มีตั้งแต่ขอกำลังพลไปช่วยงาน ขอรถบัส รถบรรทุกไปช่วยงาน ไปจนถึงเรื่องใหญ่อย่างภัยพิบัติต่าง ๆ
สิ่งเหล่านี้คือภารกิจมนยามสงบ น่ะครับ ซึ่งเป็นงานเอกสารล้วน ๆ เลยตามที่อธิบายไปข้างบนครับ
แสดงความคิดเห็น
ทหารที่ยศ นายพัน นายพล แต่ละวันเค้าทำงานอะไรบ้างครับ
แต่ทหารยศสูงนายพัน พล .. แต่ละวัน เค้าต้องทำงานอะไรบ้างครับ
เค้าต้องฝึกภาคสนามอีกมั้ยครับ
หรือต้องวางแผนการรบ ป้องกันประเทศ (ซึ่งมันดูไม่ค่อยจะได้เกิดขึ้น)
หรือทำงานเอกสาร
อย่างทางตำรวจนี่ คือยังพอจะนึกคร่าวๆได้ ว่าชั้นสัญญาบัตร พอจะมีงานอะไรทำบ้างในแต่ละวัน เพราะเกี่ยวกับกิจกรรมของประชาชนมีให้เห็น
แต่ทางทหารนี่ ก็สงสัยว่ามีงานอะไรให้เค้าทำบ้างครับ
ปล. สงสัยจริงครับ ไม่ได้แซะ และไม่อยากให้นอกประเด็นครับ ขอบคุณครับ