สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ที่ผมอ่านๆมานะครับ ขอแยกเป็นประเด็นตามข้างล่างนี้
1. ใช้ไฟ 1.55v แล้ว จะเสียไหม (อาจจะในระยะยาว)
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในนาฬิกา quartz ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก ทศวรรษที่ 1970s มาจนปัจจุบันนั้น น่าจะทนแรงดันได้มากกว่า 1.55v อยู่แล้วครับ เห็นเขาเอานาฬิกา quartz รุ่นแรกๆ เช่น Omega 1301 มาใส่ถ่านรุ่นใหม่แรงดัน 1.55v ก็วิ่งได้ปกติ ดังนั้นมันไม่พังแน่ครับ
2. เวลาจะเพี้ยนไหม
ดูเหมือนว่านาฬิกา quartz ตั้งแต่รุ่นแรกๆก็ใช้วิธีควบคุมความถี่แบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว (phase-locked loop) โดยใช้แรงดันไฟอ้างอิงควบคุมความถี่ ซึ่งผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแรงดันอ้างอิงนี้แปรผันตามแรงดันจากถ่านหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็เป็นไปได้ว่า ความถี่อาจเพี้ยนนิดหน่อย แต่ถ้ามีวงจรที่ทำให้แรงดันอ้างอิงนี้คงที่ไม่ว่าแรงดันถ่านจะเท่าใด ความถี่และเวลาของนาฬิกาก็จะไม่เพี้ยน ซึ่งวงจรควบคุมแรงดันอ้างอิงนี้เป็นเรื่องง่ายๆและถูก ณ ปัจจุบัน ทำไมนาฬิการุ่นใหม่จะไม่ใส่เข้าไปล่ะ
ลองดูตัวอย่างชิปสำหรับทำนาฬิกา quartz อันนี้
https://www.nxp.com/docs/en/data-sheet/PCA16XX.pdf?
หน้า 3 มีบอกว่า มันสามารถตรวจจับชนิดของถ่าน (Lithium หรือ Silver-oxide) ที่ใช้ได้อัตโนมัติ ตามค่าแรงดันที่อ่านได้ เพื่อปรับโหมดการทำงานให้เหมาะสม และในแต่ละชนิดของถ่าน มันก็มี range ของแรงดันที่มากกว่า 0.05v อีกด้วย แสดงว่าค่าความคลาดเคลื่อนแค่ 0.05v ไม่เป็นปัญหาอะไร ผมหาตัวอย่างสเปคชิปตัวอื่นที่ใช้กับนาฬิกาอื่นๆไปเจอ ซึ่งส่วนมากน่าจะไม่ได้เปิดเผย แม้เปิดเครื่องออกมาดูก็ไม่รู้เบอร์ เพราะผลิตมามันเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรไปแล้ว แต่ก็อาจจะพออนุมานได้เลาๆว่า นาฬิการุ่นๆเดียวกัน (ปี) ก็อาจจะมี feature ประมาณนี้ อาจจะมีรุ่นถูกที่บางอย่างตัดออกไปก็เป็นได้เหมือนกัน แต่อย่างมากก็แค่ความเที่ยงตรงน้อยลง (แต่ก็ยังตรงกว่านาฬิกากลไกมากๆอยู่ดี)
3. ถ่าน SR มันรั่วไหม
อย่างที่รู้ๆกันว่า ถ่าน LR นั้นรั่วแน่ๆ ตัว L นั้นหมายถึงชนิด Alkaline
ถ่านที่รหัสขึ้นต้นด้วย SR นั้น ตัว S หมายถึงชนิด Silver-Oxide ซึ่งจะมีโอกาสรั่วน้อยกว่าแบบ Alkaline
และตามข้อมูลจากเว็บนี้ http://great-british-watch.co.uk/how-to-spot-and-deal-with-watch-battery-leaks/
เขาได้สำรวจนาฬิกากว่า 3000 เรือนที่ทิ้งถ่าน Silver-Oxide ไว้ จากหลายๆที่ ในอเมริกาและยุโรป ก็ปรากฏว่า มีการรั่วถึงมากกว่า 40% ของจำนวนที่สุ่มทั้งหมด ก็แสดงว่า มันรั่วได้เหมือนกันเป็นแน่แท้ และสารเคมีในถ่าน Silver-Oxide ก็มีฤทธิ์การกัดกร่อนสูงเสียด้วย ย่อมเป็นตัวทำลายอะไรๆในนาฬิกาได้
เหตุผลของการที่มันรั่วนั้น ก็เพราะว่า เมื่อเวลาผ่านไปๆนานๆ ตัวกั้นระหว่างสารทางฝั่งขั้ว + และ - มันค่อยๆเสื่อมสภาพ แล้วสารเคมีของทั้ง 2 ขั้วก็ผสมกัน เกิดปฏิกริยาเคมีเป็นสารใหม่ซึ่งก็มีก๊าซไฮโดรเจนด้วย เมื่อเวลาผ่านไป ไฮโดรเจนก็ถูกผลิตมากขึ้นๆ จนซีลของถ่านรับแรงดันไม่ไหว ก็เกิดปะทุรั่วออกมา จากนั้น สารต่างๆในถ่านก็มีช่องทางให้ไหลออกสู่โลกภายนอกแล้ว เท่านั้นเอง บางทีสารที่รั่วออกมาก็อาจจะกลายเป็นผงๆสีขาวๆ ซึ่งก็อาจจะไม่ได้กัดกร่อนอะไรเท่าไหร่ (แต่ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนเหมือนกัน ทิ้งไว้นานๆมันก็กัดตรงที่มันสัมผัสช้าๆไป) แต่มันก็เป็นฝุ่นผงที่สามารถเข้าไปเป็นอุปสรรคแก่กลไกในนาฬิกาได้
4. รหัสและชนิดถ่าน
รหัสถ่านในกระทู้นี้ คือ LR626 กับ SR626SW เป็นรหัสแบบ Universal หรือบ้างก็ว่ารหัสแบบ Japanese เพราะบริษัทญี่ปุ่นเช่น Sony, Maxwell, Panasonic ฯลฯ ส่วนมากใช้รหัสแบบนี้กัน ในขณะที่ยี่ห้ออื่น เช่น Renata, Varta ก็มีรหัสแบบของตัวเอง แต่ก็มีรหัสแบบ Universal กำกับไว้ด้วยเหมือนกัน
ส่วนความหมายในรหัสแบบนี้ คือ
- ตัวแรกหมายถึงชนิดของถ่าน คือ L: Alkaline, S: Silver-Oxide, C: Lithium (เห็นของ Seiko ใช้ B หรือเปล่าไม่แน่ใจ)
- ตัวที่สองหมายถึงรูปร่างกายภาพของถ่าน R หมายถึง round หรือกลม ไม่รู้มีอย่างอื่นไหม ไม่เคยเห็น
- ตัวเลขต่อท้ายบอกเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูง เช่น 626 คือเส้นผ่าศูนย์กลาง 6mm และสูง 2.6mm
- ตัวอักษรถัดมา ไม่แน่ใจ น่าจะเป็นความสามารถในการจ่ายกระแสครับที่เขาว่าๆกัน คือ ถ้าไม่มีตัวอะไร จะหมายถึง High-Drain คือจ่ายกระแสได้สูง ถ้าเป็นตัว S หมายถึง Low-Drain คือจ่ายกระแสได้ต่ำ ดังนั้น LR626 นั้นก็คือแบบที่จ่ายกระแสได้สูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับอุปกรณ์ที่ต้องการกระแสสูงๆในเวลาสั้นๆ เช่น ฟังก์ชั่นปลุก หรือแสง backlight ของนาฬิกาบางรุ่น ถ้านาฬิกาเราไม่มีฟังก์ชั่นพวกนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ถ่านที่สามารถจ่ายกระแสสูงครับ SR626SW จึงเพียงพอ แต่ก็ยังมี SR626W ที่จ่ายกระแสสูงได้เหมือนกัน (สังเกต ไม่มี S ต่อท้าย) นอกจากนั้นถ่าน Silver-Oxide ยังมีความจุ (mAh) ที่มากกว่าถ่านแบบ Alkaline ด้วย
- ตัวอักษร W ท้ายสุดนั้น มีไว้บอกว่า ถ่านอันนี้ได้มาตรฐาน IEC 60086-3 หมายความว่าเหมาะที่จะใช้กับนาฬิกาได้
ถ่านแบบ Alkaline หรือพวกรหัส LR นั้น ความจริงไม่ค่อยเหมาะกับการนำมาใช้กับนาฬิกาสักเท่าไหร่ เพราะแรงดันที่จ่ายออกมาไม่ค่อยนิ่งเท่าถ่าน Silver-Oxide หรือพวกรหัส SR เหมือนกับที่เขาแนะนำว่าถ่าน Alkaline ไม่เหมาะที่จะใช้กับนาฬิกาฝาบ้านทั่วไป ถ่านธรรมดาก็พอแล้ว เพราะถูกกว่า และอายุการใช้งานก็พอๆกัน ส่วนในนาฬิกาข้อมือนี้ ส่วนมากถ้าเจอถ่าน Alkaline ก็น่าจะเป็นการประหยัดต้นทุนมากกว่า เพราะมันถูกกว่าถ่าน Silver-Oxide ครับ
สรุปแล้ว ตามข้อมูลข้างบน ถ่าน SR626SW สามารถใช้แทน LR626 ได้ไม่มีปัญหา และดีกว่าด้วย สัมทับด้วยตัวอย่างประสบการณ์ของหลายๆท่านที่เปลี่ยนแล้วก็ไม่มีปัญหา หากนาฬิกาของคุณพ่อรักกีต้าร์ไม่ได้เป็นรุ่นเก่าแก่อะไรมาก ก็น่าจะคิดได้ว่าใช้ได้ครับ (แม้รุ่นเก่ามากๆ ที่ผมเคยอ่านๆดูเขาเอามาใส่ถ่านรุ่นใหม่ ก็ใช้ได้ปกติ ยกเว้นพวกเครื่องที่เบส CEH Beta หรืออาจจะ Seiko Astron 35Q ที่เป็นรุ่นแรกๆมากๆที่ใช้ถ่าน Mercury แรงดัน 1.35v น่าจะมีปัญหา ซึ่งเครื่องพวกนั้นเอามาใส่ถ่าน LR ก็มีปัญหาเหมือนกันแหละ เพราะแรงดันต่างกันมาก) และก็ไม่ควรปล่อยถ่านทิ้งไว้นานๆเมื่อมันหมดแล้ว เหมือนเดิม เพราะมันก็รั่วได้เหมือนกันครับ
ป.ล. นาฬิกา quartz นี่ ลองอ่านความเป็นมา และรายละเอียดเทคนิคการทำงานของมัน ซึ่งมีอยู่หลายแบบเหมือนกัน ก็น่าหลงใหลไม่แพ้นาฬิกากลไกนะครับ
1. ใช้ไฟ 1.55v แล้ว จะเสียไหม (อาจจะในระยะยาว)
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในนาฬิกา quartz ตั้งแต่ยุคเริ่มแรก ทศวรรษที่ 1970s มาจนปัจจุบันนั้น น่าจะทนแรงดันได้มากกว่า 1.55v อยู่แล้วครับ เห็นเขาเอานาฬิกา quartz รุ่นแรกๆ เช่น Omega 1301 มาใส่ถ่านรุ่นใหม่แรงดัน 1.55v ก็วิ่งได้ปกติ ดังนั้นมันไม่พังแน่ครับ
2. เวลาจะเพี้ยนไหม
ดูเหมือนว่านาฬิกา quartz ตั้งแต่รุ่นแรกๆก็ใช้วิธีควบคุมความถี่แบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว (phase-locked loop) โดยใช้แรงดันไฟอ้างอิงควบคุมความถี่ ซึ่งผมไม่แน่ใจเหมือนกันว่าแรงดันอ้างอิงนี้แปรผันตามแรงดันจากถ่านหรือเปล่า ถ้าใช่ ก็เป็นไปได้ว่า ความถี่อาจเพี้ยนนิดหน่อย แต่ถ้ามีวงจรที่ทำให้แรงดันอ้างอิงนี้คงที่ไม่ว่าแรงดันถ่านจะเท่าใด ความถี่และเวลาของนาฬิกาก็จะไม่เพี้ยน ซึ่งวงจรควบคุมแรงดันอ้างอิงนี้เป็นเรื่องง่ายๆและถูก ณ ปัจจุบัน ทำไมนาฬิการุ่นใหม่จะไม่ใส่เข้าไปล่ะ
ลองดูตัวอย่างชิปสำหรับทำนาฬิกา quartz อันนี้
https://www.nxp.com/docs/en/data-sheet/PCA16XX.pdf?
หน้า 3 มีบอกว่า มันสามารถตรวจจับชนิดของถ่าน (Lithium หรือ Silver-oxide) ที่ใช้ได้อัตโนมัติ ตามค่าแรงดันที่อ่านได้ เพื่อปรับโหมดการทำงานให้เหมาะสม และในแต่ละชนิดของถ่าน มันก็มี range ของแรงดันที่มากกว่า 0.05v อีกด้วย แสดงว่าค่าความคลาดเคลื่อนแค่ 0.05v ไม่เป็นปัญหาอะไร ผมหาตัวอย่างสเปคชิปตัวอื่นที่ใช้กับนาฬิกาอื่นๆไปเจอ ซึ่งส่วนมากน่าจะไม่ได้เปิดเผย แม้เปิดเครื่องออกมาดูก็ไม่รู้เบอร์ เพราะผลิตมามันเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรไปแล้ว แต่ก็อาจจะพออนุมานได้เลาๆว่า นาฬิการุ่นๆเดียวกัน (ปี) ก็อาจจะมี feature ประมาณนี้ อาจจะมีรุ่นถูกที่บางอย่างตัดออกไปก็เป็นได้เหมือนกัน แต่อย่างมากก็แค่ความเที่ยงตรงน้อยลง (แต่ก็ยังตรงกว่านาฬิกากลไกมากๆอยู่ดี)
3. ถ่าน SR มันรั่วไหม
อย่างที่รู้ๆกันว่า ถ่าน LR นั้นรั่วแน่ๆ ตัว L นั้นหมายถึงชนิด Alkaline
ถ่านที่รหัสขึ้นต้นด้วย SR นั้น ตัว S หมายถึงชนิด Silver-Oxide ซึ่งจะมีโอกาสรั่วน้อยกว่าแบบ Alkaline
และตามข้อมูลจากเว็บนี้ http://great-british-watch.co.uk/how-to-spot-and-deal-with-watch-battery-leaks/
เขาได้สำรวจนาฬิกากว่า 3000 เรือนที่ทิ้งถ่าน Silver-Oxide ไว้ จากหลายๆที่ ในอเมริกาและยุโรป ก็ปรากฏว่า มีการรั่วถึงมากกว่า 40% ของจำนวนที่สุ่มทั้งหมด ก็แสดงว่า มันรั่วได้เหมือนกันเป็นแน่แท้ และสารเคมีในถ่าน Silver-Oxide ก็มีฤทธิ์การกัดกร่อนสูงเสียด้วย ย่อมเป็นตัวทำลายอะไรๆในนาฬิกาได้
เหตุผลของการที่มันรั่วนั้น ก็เพราะว่า เมื่อเวลาผ่านไปๆนานๆ ตัวกั้นระหว่างสารทางฝั่งขั้ว + และ - มันค่อยๆเสื่อมสภาพ แล้วสารเคมีของทั้ง 2 ขั้วก็ผสมกัน เกิดปฏิกริยาเคมีเป็นสารใหม่ซึ่งก็มีก๊าซไฮโดรเจนด้วย เมื่อเวลาผ่านไป ไฮโดรเจนก็ถูกผลิตมากขึ้นๆ จนซีลของถ่านรับแรงดันไม่ไหว ก็เกิดปะทุรั่วออกมา จากนั้น สารต่างๆในถ่านก็มีช่องทางให้ไหลออกสู่โลกภายนอกแล้ว เท่านั้นเอง บางทีสารที่รั่วออกมาก็อาจจะกลายเป็นผงๆสีขาวๆ ซึ่งก็อาจจะไม่ได้กัดกร่อนอะไรเท่าไหร่ (แต่ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนเหมือนกัน ทิ้งไว้นานๆมันก็กัดตรงที่มันสัมผัสช้าๆไป) แต่มันก็เป็นฝุ่นผงที่สามารถเข้าไปเป็นอุปสรรคแก่กลไกในนาฬิกาได้
4. รหัสและชนิดถ่าน
รหัสถ่านในกระทู้นี้ คือ LR626 กับ SR626SW เป็นรหัสแบบ Universal หรือบ้างก็ว่ารหัสแบบ Japanese เพราะบริษัทญี่ปุ่นเช่น Sony, Maxwell, Panasonic ฯลฯ ส่วนมากใช้รหัสแบบนี้กัน ในขณะที่ยี่ห้ออื่น เช่น Renata, Varta ก็มีรหัสแบบของตัวเอง แต่ก็มีรหัสแบบ Universal กำกับไว้ด้วยเหมือนกัน
ส่วนความหมายในรหัสแบบนี้ คือ
- ตัวแรกหมายถึงชนิดของถ่าน คือ L: Alkaline, S: Silver-Oxide, C: Lithium (เห็นของ Seiko ใช้ B หรือเปล่าไม่แน่ใจ)
- ตัวที่สองหมายถึงรูปร่างกายภาพของถ่าน R หมายถึง round หรือกลม ไม่รู้มีอย่างอื่นไหม ไม่เคยเห็น
- ตัวเลขต่อท้ายบอกเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูง เช่น 626 คือเส้นผ่าศูนย์กลาง 6mm และสูง 2.6mm
- ตัวอักษรถัดมา ไม่แน่ใจ น่าจะเป็นความสามารถในการจ่ายกระแสครับที่เขาว่าๆกัน คือ ถ้าไม่มีตัวอะไร จะหมายถึง High-Drain คือจ่ายกระแสได้สูง ถ้าเป็นตัว S หมายถึง Low-Drain คือจ่ายกระแสได้ต่ำ ดังนั้น LR626 นั้นก็คือแบบที่จ่ายกระแสได้สูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับอุปกรณ์ที่ต้องการกระแสสูงๆในเวลาสั้นๆ เช่น ฟังก์ชั่นปลุก หรือแสง backlight ของนาฬิกาบางรุ่น ถ้านาฬิกาเราไม่มีฟังก์ชั่นพวกนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ถ่านที่สามารถจ่ายกระแสสูงครับ SR626SW จึงเพียงพอ แต่ก็ยังมี SR626W ที่จ่ายกระแสสูงได้เหมือนกัน (สังเกต ไม่มี S ต่อท้าย) นอกจากนั้นถ่าน Silver-Oxide ยังมีความจุ (mAh) ที่มากกว่าถ่านแบบ Alkaline ด้วย
- ตัวอักษร W ท้ายสุดนั้น มีไว้บอกว่า ถ่านอันนี้ได้มาตรฐาน IEC 60086-3 หมายความว่าเหมาะที่จะใช้กับนาฬิกาได้
ถ่านแบบ Alkaline หรือพวกรหัส LR นั้น ความจริงไม่ค่อยเหมาะกับการนำมาใช้กับนาฬิกาสักเท่าไหร่ เพราะแรงดันที่จ่ายออกมาไม่ค่อยนิ่งเท่าถ่าน Silver-Oxide หรือพวกรหัส SR เหมือนกับที่เขาแนะนำว่าถ่าน Alkaline ไม่เหมาะที่จะใช้กับนาฬิกาฝาบ้านทั่วไป ถ่านธรรมดาก็พอแล้ว เพราะถูกกว่า และอายุการใช้งานก็พอๆกัน ส่วนในนาฬิกาข้อมือนี้ ส่วนมากถ้าเจอถ่าน Alkaline ก็น่าจะเป็นการประหยัดต้นทุนมากกว่า เพราะมันถูกกว่าถ่าน Silver-Oxide ครับ
สรุปแล้ว ตามข้อมูลข้างบน ถ่าน SR626SW สามารถใช้แทน LR626 ได้ไม่มีปัญหา และดีกว่าด้วย สัมทับด้วยตัวอย่างประสบการณ์ของหลายๆท่านที่เปลี่ยนแล้วก็ไม่มีปัญหา หากนาฬิกาของคุณพ่อรักกีต้าร์ไม่ได้เป็นรุ่นเก่าแก่อะไรมาก ก็น่าจะคิดได้ว่าใช้ได้ครับ (แม้รุ่นเก่ามากๆ ที่ผมเคยอ่านๆดูเขาเอามาใส่ถ่านรุ่นใหม่ ก็ใช้ได้ปกติ ยกเว้นพวกเครื่องที่เบส CEH Beta หรืออาจจะ Seiko Astron 35Q ที่เป็นรุ่นแรกๆมากๆที่ใช้ถ่าน Mercury แรงดัน 1.35v น่าจะมีปัญหา ซึ่งเครื่องพวกนั้นเอามาใส่ถ่าน LR ก็มีปัญหาเหมือนกันแหละ เพราะแรงดันต่างกันมาก) และก็ไม่ควรปล่อยถ่านทิ้งไว้นานๆเมื่อมันหมดแล้ว เหมือนเดิม เพราะมันก็รั่วได้เหมือนกันครับ
ป.ล. นาฬิกา quartz นี่ ลองอ่านความเป็นมา และรายละเอียดเทคนิคการทำงานของมัน ซึ่งมีอยู่หลายแบบเหมือนกัน ก็น่าหลงใหลไม่แพ้นาฬิกากลไกนะครับ
แสดงความคิดเห็น
ถ่านกระดุม SR626SW จะใส่แทนถ่าน LR626 ได้ไหมครับ
หาข้อมูลในเว็บอื่นก็ไม่เจอจริงๆตอนนี้ใจชอบถ่าน Seizaiken ของไซโก้ เพราะมีหลายท่านรวมถึงช่างก็ชมว่าดี