[CR] รีวิวสไตล์เด็ก อก. เยลลี่พร้อมดื่ม “Jele Beautie”

สวัสดีครับบบ .. วันนี้ก็จะมารีวิวสบายๆ กับ “เยลลี่” ขนมหวานที่ใครหลายๆคนชอบนะครับ

สำหรับวันนี้ผมเลือก Jele Beautie รสสตรอเบอร์รี่ ไม่ได้เลือกที่คุณค่านะครับ ชอบรสนี้ก็เลยเลือก 55555

ไม่เสียเวลาไปดูกันเลย



ด้านหน้าก็เขียน เคลมว่าแคลอรี่ต่ำ 35 กิโลแคลเอง มีคอลลาเจนกับวิตามินซีด้วยนะ เดี๋ยวไปดูกันครับ ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง


                       ที่น่าสนใจหลักๆอีกแล้วก็คือ คอลลาเจน ถ้าใครอ่านบทความน้ำมะเขือเทศ Mocktail ที่ผมเขียนก็จะรู้แล้วว่าคอลลาเจนเมื่อเรากินไปแล้ว เราไม่สามารถนำไปใช้ได้เลย เราต้องย่อยใหม่อยู่ดี


[ใครอยากอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับคอลลาเจนที่ผมเขียนไว้ ก็สามารถอ่านได้ที่บทความนี้เลย >>> ]https://nawagro.wordpress.com/2017/11/13/ดอยคำ-น้ำมะเขือเทศ-mocktail/]

                       *สังเกตุได้ว่าเดี๋ยวนี้ผลิตภัณฑ์หลายๆตัวชอบใส่คอลลาเจนเข้าไปก็จะดูดีขึ้นมาทันตาเห็น ทั้งๆที่กินเข้าไปก็เหมือนเรากินโปรตีนธรรมดาเนี่ยแหละครับ

วัตถุเจือปนที่ใช้ในอาหาร สำหรับผลิตภัณฑ์ตัวนี้ก็ใช้หลายตัวพอสมควร และก็เช่นเคย ก็จะระบุเป็นเลข INS
[ INS – International Numbering System = ระบบเรียกวัตถุเจือปนเป็นเลข]
[ วัตถุเจือปน = สารที่ใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์]

296, 330, 332(ii) = กรดมาลิก, กรดซิตริก, Tripotassium citrate ซึ่งทั้ง 3 ตัวนี้ล้วนบอกว่าใช้ในการปรับกรดของผลิตภัณฑ์ซึ่งการปรับกรดก็มีจุดประสงค์ต่างๆ เช่น แต่งรส แต่งกลิ่น กลิ่นรส เสริมสารกันหืน ป้องกันสีของผลิตภัณฑ์เปลี่ยน ชะลอการเน่าเสียจากจุลินทรีย์ เป็นต้น ไปดูแต่ละตัวดีกว่า

กรดมาลิก พบได้ในผลไม้ เช่นองุ่น กล้วย ให้กลิ่นรสที่ละมุนไม่ฉุน และ กรดซิตริก พบได้ในผลไม้พวกส้ม ให้กลิ่นรสที่ดี นิยมใช้กันมาก ซึ่งสองตัวนี้หลักๆก็ใช้ปรับรสและ กลิ่นรสของผลิตภัณฑ์ ส่วนTripotassium citrate ตัวนี้ นอกจากใช้ปรับกรดแล้ว ยังให้สี กลิ่น รส เนื้อสัมผัส และยังให้ความคงตัว(ป้องกันการสูญเสียกลิ่นรส คุณค่า หรือป้องกันการแยกชั้น)อีกด้วย

[กลิ่นรส คือกลิ่นที่อยู่ในปากก่อนจะกลืน]

407, 410 = คาราจีแนน, Locust bean gum เป็นสารทำให้เกิดเจล มักใช้คู่กันก็จะทำให้เจลแข็งขึ้น จริงๆแล้วสารทำให้เกิดเจลแต่ละชนิดก็ให้ลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป มีลักษณะเฉพาะตัว  อีกทั้งยังมีชนิดย่อยๆที่ให้เนื้อสัมผัสต่างกัน เยอะแยะมากกกกกกกกกกกกก ดังนั้นเราจึงเห็นผลิตภัณฑ์เยลลี่ในท้องตลาดเวลาเรากิน เนื้อสัมผัสก็จะไม่เหมือนกันเลยนั่นเองครับ

202, 211 = Potassium sorbate, Sodium benzoate สองตัวตัวนี้เป็นวัตถุกันเสีย มักใช้ในอาหารที่มีความเป็นกรดสูง และมักใช้ร่วมกัน
Potassium sorbate ใช้ในการยับยั้งยีสและเชื้อรา มีความเป็นพิษต่ำ เข้าสู่ร่างกายจะถูกย่อยเป็นกรดไขมัน
Sodium benzoate ใช้ยับยั้งแบคทีเรียได้ดีกว่า ยีสต์ และรา มีรสเฝื่อนขม มีความเป็นพิษปานกลาง ไม่สะสมในร่างกาย ขับออกได้ทางฉี่ ตัวนี้ถ้าได้รับมากๆก็จะเป็นอันตรายได้

*วัตถุกันเสียก็จะมีกฎหมายบังคับว่าให้ใส่ได้ไม่เกินเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัยกับผู้บริโภค

ส่วนใครที่อยากเสิชว่าเลข INS ตัวไหนคืออะไร ใช้ได้มากสุดเท่าไหร่ในผลิตภัณฑ์ไหน ก็กดเข้าลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

http://www.fao.org/gsfaonline/additives/search.html

ใส่วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ใช้ อะซีซัลเฟมเค กับ ซูคราโลส

อะซีซัลเฟมเค – ให้ความหวานสูงกว่าน้ำตาลทราย 200 เท่า และไม่ให้พลังงาน ทุกคนอาจจะสงสัยว่าทำไมไม่ใช้เยอะๆ แทนน้ำตาลไปเลย นั่นก็เพราะน้ำตาลตัวนี้ถ้าใส่เยอะๆ ก็จะให้รสขมและมีกลิ่นโลหะ และยังมีการกำหนดปริมาณในการเติม

ซูคราโลส – ให้ความหวานสูงกว่าน้ำตาลทราย 600 เท่า และไม่ให้พลังงาน ไม่มีรสขม ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่! น้ำตาลทุกตัวก็จะมีรสหวานที่แตกต่างกันไปครับ  ก็ต้องมีการทดลองว่าใส่เท่าไหร่แล้วรสถึงโอเคสำหรับผลิตภัณฑ์

แต่งกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติ – ตัวนี้ที่เขาไม่แจ้งเพราะสารแต่งกลิ่นนี้มีหลายตัวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ แต่ละยี่ห้อก็ไม่เหมือนกันครับ

*มีตราสัญลักษณ์ฮาลาลด้วย คนอิสลามก็กินได้นะครับ ตัวนี้ไม่ได้ใช้คอลลาเจน หรือเจลลาตินจากหมู

มาดูโภชนาการบ้างดีกว่า


1 ซองต่อ 1 หน่วยบริโภค 150 กรัม  ตอนแรกถ้าจำได้เขาเคลมว่าพลังงานต่ำ ซึ่งการกล่าวอ้างว่าแคลลอรี่ต่ำ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่าต้องให้พลังงานไม่เกิน 40 กิโลแคล ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ให้พลังงานทั้งหมด 35 กิโลแคลเองงง ผ่านฉลุย

*เห็นโปรตีนมั้ยครับ มาจากไหน ก็ต้องคอลลาเจนไง 555555  โซเดียมส่วนหนึ่งก็มาจากวัตถุกันเสียนะครับ*

สำหรับใครที่อยากรู้ว่าการกล่าวอ้างโภชนาการแต่ละสารอาหารกำหนดยังไง ก็ดูได้จากลิงค์ด้านล่างเลยครับ

elib.fda.moph.go.th/library/fulltext1/word/12578/ประกาศ8-4.doc




หมดสาระ ไปดูผลิตภัณฑ์กันเลยดีกว่า



ก็จะขุ่นๆนิดๆนะครับ ลองไปดูอีกรูป



ก็จะเห็นความเป็นวุ้นๆ สีออกน้ำตาลจางๆ กลิ่นเปรี้ยวๆหวานๆ ออกแนวผลไม้ พอดื่มเข้าไปก็ได้รสสตรอเบอร์รี่ เปรี้ยวๆหวานๆ อร่อยดีครับ สำหรับตัวนี้สำหรับผมให้ 8.5/10 ผมชอบ คหสต. 5555555

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย * บรรจุภัณฑ์ที่เขาใช้ เป็น Retort pouch / รีทอร์ทเพาซ์ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงมาก ทำจากฟีล์มหลายชนิดซ้อนกัน สามารถปิดผนึกสนิทได้ ทนความร้อนและความดันได้สูง มักใช้กับอาหารที่ต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยอุณหภูมิสูงเป็นระยะเวลานาน  หลังจากการฆ่าเชื้อแล้วก็สามารถเก็บไว้ได้นานเหมือนอาหารกระป๋อง

สำหรับใครที่อยากอ่านเรื่องบรรจุภัณฑ์นี้เพิ่มเติมผมจะแปะลิงค์ให้ด้านล่างนี้เลย

http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0473/retort-pouch-รีทอร์ทเพาซ์



จบแล้วครับ ชอบไม่ชอบยังไงก็ติชมกันได้นะครับ และติดตามเวลามีบทความใหม่ได้ทางเพจ  https://web.facebook.com/Nawagro

ขอบคุณครับ





แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมจาก

– เอกสารประกอบการเรียนคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/1353/SEQUESTRANT-%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/1466/STABILIZING-AGENT-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7
HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/002097/ACESULFAME-K-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%84
HTTP://ELIB.FDA.MOPH.GO.TH/LIBRARY/DEFAULT.ASP?PAGE2=SUBDETAIL&ID_L1=27&ID_L2=15566&ID_L3=506
ชื่อสินค้า:   Jele Beautie
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่