[CR] รีวิว ขนมถั่วปากอ้า กลิ่นชีสสส “Snack Jack”

สวัสดีครับบบ วันนี้ก็มารีวิวขนมยี่ห้อที่ทุกคนคุ้นเคย นั่นก็คือออออ…. แสน็กแจ๊ค! นั่นเองนะครับ


ใช่แล้วครับ แล้วนี่ก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ของแสน็กแจ๊คเลยก็ว่าได้ ปกติแสน็คแจ๊คจะเป็นถั่วลันเตา แต่นี่เป็นถั่วปากอ้าา  ไปดูข้อมูลกันเลยดีกว่าครับ

สำหรับตัวนี้ค่อนข้างที่จะมีหลายส่วนผสม และวัตถุเจือปนในอาหาร ว่าทำไมต้องเติมเข้าไป รวมถึงกระบวนการผลิต ที่ผมอยากจะให้ข้อมูลทุกคนได้รู้กัน อย่าเพิ่งเบื่อนะครับบบ

หลายๆคนคงเคยสงสัยกันใช่มั้ยครับว่า เอ๊!!!! ไอ้สาร INS พวกนี้คืออะไร แล้วไครจะรู้หล่ะ ………..

INS ย่อมาจาก International Numbering System ซึ่งจะเป็นระบบสากลที่ใช้ทั่วโลก พูดถึงเลขไหนปุ้ปก็จะหมายถึงสารตัวนั้นทั่วโลกกกกกกกกกกกกกปั้ป

เราสามารถหาชื่อของสารตัวนั้นได้จากเว็บไซต์ของ Codex ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ

http://www.fao.org/gsfaonline/additives/search.html

[ INS – International Numbering System = ระบบเรียกวัตถุเจือปนเป็นเลข]
[ วัตถุเจือปน = สารที่ใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์]

คำเตือน

* คำอธิบายวัตถุเจือปนอาหารมีความเยิ่นเย้อเล็กน้อย ผู้ใดกลัวหลับคาบทความโปรดข้าม*

สารเพิ่มปริมาณ INS 460(ii) -Powdered cellulose หรือเซลลูโลสผง
จากชื่อแล้วก็คือใยอาหารนั่นเองครับ มีสีขาว ไม่มีกลิ่น และแตกสลายเป็นอนุภาคที่เล็กลงได้อย่างรวดเร็วในน้ำ(ไม่อยากใช้คำว่าละลาย เพราะเซลลูโลสไม่ละลายน้ำ 55555) การใช้เติมในผลิตภัณฑ์ก็มีอยู่หลายวัตถุประสงค์ ถ้าจะบอกให้หมดก็กลัวจะเยิ่นเย้อ ก็บอกในส่วนที่ผลิตภัณฑ์เขาอ้างละกันนะครับ ก็คือเขาใช้เพิ่มปริมาณในอาหารโดยไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ นั่นเองงงงงงงงงง

[เซลลูโลส = ใยอาหารชนิดหนึ่ง และยังเป็นโครงสร้างหลักของผนังเซลล์พืช]
[ใยอาหาร = ไฟเบอร์, Fiber]



อิมัลสิฟายเออร์ INS 471 – Mono- and di-glycerides of fatty acids
ชื่อบ้าอะไรยาวชิปเป๋ง 55555 นี่เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเขาถึงไม่ใช้ชื่อสารจริงๆมาเรียกกัน แล้วก็มีหลายชื่อที่ใช้กันทั้งชื่อทางการค้า ชื่อย่อ บลาๆๆ เยอะ! ดังนั้นก็จึงใช้เลขเป็นตัวกำกับเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าคือตัวนี้นั่นเองงงง เห็นท้ายชื่อก็คงจะรู้แล้วว่าได้มาจากกรดไขมันซึ่งได้จากการสังเคราะห์ ตัวนี้ก็ใช้ได้หลายวัตถุประสงค์เช่นกัน แต่ในผลิตภัณฑ์นี้ซึ่งใช้เป็นอิมัลซิฟายเออร์ ในความหมายอิมัลซิฟายเออร์ คือวัตถุเจือปนที่ทำให้ของเหลวตั้งแต่สองชนิด ที่ปกติไม่รวมตัวกัน ให้รวมตัวกันได้  และป้องกันไม่ให้มันแยกชั้นกัน ซึ่งงงง หลายคนก็จะงงว่าแล้วไหนของเหลวสองชนิดเห็นแต่น้ำมัน 55555555 ตรงนี้คิดว่า มันจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตที่มีน้ำเข้าไปเป็นส่วนผสม ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมถึงต้องใช้อิมัลไฟเออร์นั่นเองครับ

สารป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น INS 321 – Butylated hydroxytoluene หรือ BHT
ปกติอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบ เมื่อโดนแสง โดนอากาศ ก็จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นทำให้เกิดกลิ่นหืน สารตัวนี้มีคุณสมบัติต้านการเกิดออกซิเดชั่นได้ จึงมักใช้เป็นสารกันหืน ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด รวมถึงตัวนี้ด้วย
[ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น = เป็นปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ]

สารป้องกันการจับเป็นก้อน INS 551 – Silicon dioxide, amorphous หรือ silica

ใช้ได้หลายฟังก์ชั่นเช่นกัน และในผลิตภัณฑ์นี้ ก็ใช้ป้องกันการจับตัวเป็นก้อน (เขาก็เขียนอยู่ เอ้อออออ5555) ก็เพราะว่าหลังจากผสมแป้งก่อนผลิตจะต้องมีการพักแป้ง ซึ่งถ้าไม่ใส่นั้นน้ำและความชื้นจะทำให้แป้งจับตัวเป็นก้อนนั่นเองงง

วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร – ก็ตามชื่อที่ระบุ พูดง่ายๆมันคือผงชูรสชนิดหนึ่ง ที่เดี๋ยวนี้อุตสาหกรรมอาหารนิยมใช้กันมากกว่าโมโนโซเดียมกลูตาเมต เพราะมันให้รสอูมามิที่มากกว่านั่นเอง

[โมโนโซเดียมกลูตาเมต = ผงชูรสทั่วไปตามครัวเรือน]
[รสอูมามิ = รสอร่อยกลมกล่อม (หมายความว่างี้จริงๆ 555)]


สารควบคุมความเป็นกรด INS 327 – Calcium lactate, 576 – Sodium gluconate

ก็ไว้ใช้ปรับความเป็นกรดด่างของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจหมายถึงเพื่อการเก็บรักษา หรือเพื่อรสชาติก็เป็นไปได้ แล้วแต่จุดประสงค์ของการเติม

สีธรรมชาติ INS 160c – Paprika extract หรือผงพริกปาปริก้าสกัดนั่นเอง สีก็จะออกโทนส้มๆแดงๆ

[ INS – International Numbering System = ระบบเรียกวัตถุเจือปนเป็นเลข]

เย้!!!!    ยืดเยื้อวิชาการกันมาพอสมควรแล้วนะครับ  

สาบานว่าย่อแล้ว55



ต่อไปก็จะไปดูเกี่ยวกับพลังงานและความอ้วนที่เราจะได้รับเมื่อกินเข้าไป

ดูให้ดีๆนะครับส่วนนี้ 1 ซอง มี 2 หน่วยบริโภค หรือก็คือเขาให้แบ่งกินสองครั้ง ถ้าเราแบ่งแต่ละครั้งเท่าๆกันเราก็จะได้รับสารอาหาร และพลังงานตามที่ฉลากระบุ -ครึ่งถุงก็ 160 กิโลแคลใสๆ …..-หมดห่อก็ 320 กิโลแคล 5555555555 และใน160 กิโลแคลต่อหน่วยนั้น มาจากไขมันถึง 70 กิโลแคล เกือบครึ่ง! 5555555555 อ้วนกันให้แหลกลาน เขาก็เลยติดท้ายมาด้วยว่า “กินน้อยๆ ออกกำลังกายด้วยนะ เด๋วอ้วนนน” 555

มาดูเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหน้าซอง ว่ามีอะไรให้เราดูบ้างงง

ผลิตภัณฑ์ก็อวดซะหน่อย ว่าเฮ้ย!!เราไม่ได้ทอดนะ แต่เอาจริงๆ ก็เต็มเปี่ยมน้ำมันพอตัวเลย ไม่ได้ทอดแล้วทำยังไงหน่ะหรอ

ก็ใช้เครื่องที่เรียกว่า extruder (เอ็กซ์ทรูเดอร์) ตามรูปด้านล่าง ในการผลิตไง


                  โดยใส่ส่วนผสมที่เตรียมไว้ด้านบนเครื่องด้านท้าย    จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของตัวเครื่องที่ให้ความร้อน และสกรูวที่ดันส่วนผสมให้สุกและเคลื่อนที่ไป     จนออกจากหัว Die ดังรูป และด้านหน้าหัว Die ก็จะมีใบมีดตัด…………………….เสร็จแล้วววว …………….ขนมก็จะพองออกมาระดับนึง ความพองก็จะขึ้นอยู่กับการปรับระดับความร้อน และความเร็วของสกรูวนั่นเองครับ
* สาเหตุที่ต้องใส่น้ำมันในส่วนผสมก็เพราะเครื่องนี้นะครับ ถ้าไม่ใส่แป้งก็จะติดและไหม้ได้
* หลายๆคนที่เห็นส่วนผสม อาจสงสัยว่าทำไมต้องใส่แป้งสาลี ใส่แต่ถั่วปากอ้าไม่ได้หรอ ……………..คำตอบก็คือ ไม่ได้ครับ  แป้งจะไปจับถั่วที่ใส่เข้าไปให้เข้ากัน และแป้งก็ยังทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นพอง จากการเกิดเจลาติไนซ์(เรียกง่ายๆ แป้งสุก)อีกด้วย ไม่งั้นมันจะแตกร่วนเลยครับ ผมลองมาแล้ว 555555 พังไม่เป็นท่า

[Die  = ช่องเปิด]

ไปต่อที่ผลิตภัณฑ์กันเลยดีกว่าาาาาาา ฮึบไว้จะจบแล้ว อดเอาโตแล้ว! 555

                           รูปร่างก็อย่างที่เห็นครับ เป็นปกติของขนมที่ผลิตจากวิธีการ extrusion หน้าตาก็จะทำนองนี้ทั้งหมด ดมกลิ่น ได้แต่กลิ่นชีสแรงมาก พอเคี้ยว เนื้อสัมผัสก็จะฟ้อบแฟ้บๆ ไม่ได้แข็งหรือกรอกมากเท่าไหร่ ก็ได้รสชีสเบาๆ เบาาาาาาามาก เค็มนิดหน่อย หวานนิดๆ พอเคี้ยวจนจะกลืนก็ได้กลิ่นรสถั่วปากอ้าตามมาครับ สำหรับผม ผมว่ามันจืดไปนิดนึง ผมชอบตัวออริจินอลมากกว่า  สำหรับผม ให้ 6/10 แต่ก็กินได้เรื่อยๆ

[Extrusion = การอัดขึ้นรูป, Extruder = เครื่องอัดขึ้นรูป]
[กลิ่นรส = กลิ่นหลังจากที่เราเคี้ยวแล้ว ก่อนที่จะกลืนลงไป]




*เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสุดท้ายจิงๆ 5555
                ด้านล่างขวาเขาก็จะบอกปริมาณพลังงานทั้งหมด และบอกว่าเราได้รับพลังงานจากน้ำตาล และไขมันเท่าไหร่ มีบอกปริมาณโซเดียมด้วย แล้วก็คิดเป็นเปอร์เซ็นให้ด้วยแล้วว่าเป็นกี่% ของThaiRDI ให้แล้ว ซึ่งสมัยนี้ผู้ผลิตค่อนข้างใส่ใจกับข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์พอสมควร ส่วนนึงก็ด้วยกฎหมายนั่นเอง 555555555555555

[ThaiRDI – Thai Recommended Daily Intakes = ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทย]


จบแล้วครับ เรื่องนี้อาจจะยืดเยื้อ ง่วง น่าเบื่อ เยิ่นเย้อ วิชาการ(ย่อและพยายามให้เข้าใจง่ายแล้วจิงๆ จนคนเรียนฟู้ดมาอ่านอาจรู้สึกแปลกๆได้ 5555)
มีอะไรติชม แนะนำก็แนะนำกันเข้ามาได้นะครับ ฝากเพจของผมด้วยนะครับ รีวิวสินค้าอาหาร และความรู้อก. ตามด้านล่างนี้เลย
https://web.facebook.com/Nawagro

ก็จะมีบทความสั้นๆเพิ่มเติม + เกล็ดความรู้ + เรื่องเล่าของเด็กอก. ให้ได้ติดตามเพื่อความรู้










แหล่งอ้างอิงข้อมูล
-HTTP://WWW.FAO.ORG/GSFAONLINE/ADDITIVES/DETAILS.HTML?ID=68
-HTTPS://NOSHLY.COM/ADDITIVE/460-II/ANTICAKING-AGENT-PLUS/460II/#.WG7QOVVL-00
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/2866/BULKING-AGENT-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/0303/EMULSIFIER-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
-HTTPS://NOSHLY.COM/ADDITIVE/E471/ANTIFOAMING-AGENT-PLUS/471/#.WG7EEFVL-00
-HTTP://WWW.FAO.ORG/GSFAONLINE/ADDITIVES/DETAILS.HTML?ID=19
-HTTP://WWW.FAO.ORG/GSFAONLINE/ADDITIVES/DETAILS.HTML?ID=189
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/1576/BUTYLATED-HYDROXYTOLUENE-BHT
-HTTP://WWW.FAO.ORG/GSFAONLINE/ADDITIVES/DETAILS.HTML?ID=284
-HTTP://WWW.FAO.ORG/GSFAONLINE/ADDITIVES/DETAILS.HTML?ID=286
-HTTP://WWW.FAO.ORG/GSFAONLINE/ADDITIVES/DETAILS.HTML?ID=194
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/1718/ACIDITY-REGULATOR
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/2236/PAPRIKA-%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2
อ้างอิงรูปภาพจาก
-HTTP://WWW.FOODNETWORKSOLUTION.COM/WIKI/WORD/689/EXTRUDER-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
ชื่อสินค้า:   Snack Jack
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่