ทำไมนั่งหรือยืนบนรถเมล์ไม่รัดเข็มขัดถึงไม่ผิดกฎหมายอะครับ

ผมไม่แน่ใจนะครับว่าผิดกฎหมายไหม แต่ไม่เห็นมีใครโดนจับ แต่ผมไม่เห็นเข็มขัดนิรภัยบนรถเมล์เลย เลยสงสัยอะครับ หรือความปลอดภัยรถเมล์นะเนไม่มีอุบัติเหตุเกิดเลยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ลองแปลมา ผิดถูกอย่าว่ากัน

The main answer, at least for school buses (virtually all research on buses and seatbelts has focused on school buses) is that seatbelts do not make school buses safer.
คำตอบก็คือเข็มขัดนิรภัยไม่ได้ทำให้รถโดยสาร (กลุ่มตัวอย่างรถโดยสารรับส่งนักเรียน) ปลอดภัยกว่าที่เป็นอยู่

Overall, travel on a school bus is the safest way to travel—40 times safer than riding in a car—with only a handful of deaths occurring to passengers on school buses every year.
จริงๆแล้วการเดินทางด้วยรถโดยสารรับส่งนักเรียนนั้นปลอดภัยที่สุด ว่ากันว่าปลอดภัยกว่ารถยนต์ถึง 40 เท่า มีคนเสียชีวิตบนรถโดยสารประเภทนี้ค่อนข้างน้อย (หลักการนี้คงใช้ไม่ได้กับบ้านเรา)

The explanation for the safety of school buses is explained by a concept called compartmentalization. In compartmentalization, the seats on the school bus are placed very close to each other and have high backs that are very padded. As a result, in an accident, the student would be propelled forward a very short distance into a padded seatback that, in a way, is like an early version of an airbag. In addition, the fact that people sit high off the ground in school buses also adds to the safety, as the impact location with an automobile would occur beneath the seats.
ความปลอดภัยในรถโดยสารรับส่งนักเรียนคงอธิบายโดยใช้หลักการ Compartmentalization คือ การวางตำแหน่งที่นั่งให้ชิดกันเข้าไว้ ช่องใครช่องมัน มีเบาะพิงพนักสูง หุ้มด้วยเบาะนวม นั่นก็เลยทำให้ระยะกระแทกไปข้างหน้าเมื่อเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสั้น และยังมีเบาะนวมจากเบาะพิงข้างหน้ารองรับ ซึ่งหลักการก็คล้ายๆกับถุงลมนิรภัย ขณะที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็ปลอดภัยเช่นกัน กรณีที่แรงปะทะเกิดขึ้นจากด้านใต้ที่นั่ง

While school buses and highway buses both feature high-backed seats and elevated seating locations, the same cannot be said of city buses. In fact, the transverse seats—the seats that are parallel to the side of the buses—do not have any protection in terms of seats in front of them that can absorb an impact.
รถโดยสารรับส่งนักเรียนกับรถโดยสารระหว่างเมืองมีเบาะนั่งที่สูง ปรับตำแหน่งได้ ซึ่งเบาะลักษณะดังกล่าวไม่มีในรถโดยสารภายในเมือง ขณะที่การวางเบาะขนานกับตัวรถแบบรถสองแถว กลับเป็นอันตรายมากกว่า เพราะไม่มีเบาะด้านหน้าคอยรองรับการกระแทกเมื่อเกิดการชน

And, while the nearly universal trend of purchasing low-floor buses makes it much easier for passengers, particularly elderly and disabled passengers, to get on and off the bus, it also means that in the event of a crash the other vehicle could end up in the seating area.
สำหรับรถโดยสารแบบพื้นต่ำ ซึ่งอำนวยประโยชน์มหาศาลต่อการขึ้นลงของคนชราและผู้พิการ ต่อให้มีการชนเกิดขึ้นตัวผู้โดยสารก็จะยังอยู่ในพื้นที่ที่นั่งของตนเอง   

SEATBELTS WOULD SIGNIFICANTLY INCREASE THE COST OF BUSES เข็มขัดนิรภัย...ต้นทุนของรถโดยสาร?
Another answer why buses do not have seatbelts is cost. สาเหตุอีกประการที่รถโดยสารไม่มีเข็มขัดนิรภัยก็คือต้นทุนนี่ละ


It is estimated that adding seat belts to buses would add between $8,000 and 15,000 to the cost of each bus . In addition, seatbelts would take up room currently used as seats, meaning that each bus would have fewer seating places. The additional room in the bus taken up by seatbelts would mean that bus fleets would have to increase by as much as 15% just to carry the same number of people. Such an increase would be especially difficult in cities that experience overcrowding on their transit vehicles.
ว่ากันว่าการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยมีต้นทุนสูงถึง 8000-15000 เหรียญต่อคัน และการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทำให้ห้องโดยสารหรือพื้นที่โดยสารเล็กลงอีกด้วย จะเพิ่มพื้นที่ห้องโดยสารเพื่อให้ได้จำนวนผู้ด้วยสารเท่าเดิมก็ต้องทำตัวถังให้ใหญ่ขึ้น 15%...ลองคิดถึงความยากลำบากของเมืองที่หนาแน่นแบบกรุงเทพฯ ดูสิ (ที่มาของรถบรรเทาของ ขสมก. แน่ๆเลย)

DESPITE THE OBSTACLES, THERE HAS BEEN SOME PROGRESS IN REQUIRING SEATBELTS ON BUSES ถึงกระนั่นก็ยังมีความพยายามติดตั้งเข็มขัดนิรภัยบนรถโดยสาร
Despite the cost and the fact that installing seatbelts is unlikely to add much in the way of safety improvements, in 2010, six states currently require seatbelts on school buses—California, Florida, Louisiana, New Jersey, New York, and Texas—although the laws in Louisiana and Texas will not be in effect unless there is adequate funding. Given that Louisiana and Texas are Republican-dominated states with a tradition of limited government funding, it seems unlikely that those laws will come into effect anytime soon. In contrast, no state requires seatbelts on coach buses, although there has been some rumbling on the federal front about passing legislation requiring seatbelts and other safety improvements on highway coaches—a rumbling that has increased in intensity with the recent increase in deadly bus crashes.
แม้ว่าต้นทุนและเรื่องที่ว่าการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยไม่ได้ช่วยให้เกิดความปลอดภัยขึ้นสักเท่าไหร่ แต่อย่างน้อยก็มีบางพื้นที่ที่มีข้อบังคับกำหนดให้รถโดยสารรับส่งนักเรียนต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย บางพื้นที่บอกว่าถ้าไม่มีเงินก็ไม่ต้องทำ แต่เรื่องการบังคับใช้กฎดังกล่าวอย่างทั่วถึงก็ยังไม่มีวี่แวว ที่ร้ายกว่านั้น ไม่มีรัฐใดในสหรัฐกำหนดให้มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยบนรถโค้ช แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้ผ่านร่างกฎหมาย...ซึ่งเป็นเสียงเรียกร้องที่มักจะดังทุกครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรง

In any case, unlike the school bus industry, the highway coach industry is not waiting around for legislation—up to 80% of new coaches now have seatbelts installed. Unfortunately, given the long lifecycle of a highway coach—as much as fifteen to twenty years—it will be a while before all of them have seatbelts.
สำหรับผู้ผลิตรถโค้ชแล้ว คงไม่ต้องรอให้ร่างกฎหมายบังคับใช้ เพราะรถโค้ชรุ่นใหม่ 8 ใน 10 คันมีเข็มขัดนิรภัยติดตั้งมาจากโรงงาน กว่าจะรอให้รถโค้ชมีเข็มขัดนิรภัยทุกคน อาจต้องรอรอบการใช้งาน...ราวๆ 15-20 ปีสำหรับรถหนึ่งคัน

In contrast with school buses and highway coaches, there has been little movement to require seatbelts on city buses. From a practical perspective, there seems to be little need for seatbelts on city buses. Although the design of the modern low-floor city bus is less safe than the design of school and highway buses, the fact that city buses rarely travel at speeds greater than 35 mph means that any collision is likely to be minor. Also, given that most trips on city buses are short and that many trips have standing passengers, the presence of seatbelts will make even less of a difference.
เข็มขัดนิรภัยบนรถโดยสารภายในเมืองแทบจะไม่จำป็นสักเท่าไหร่ เพราะการออกแบบรถโดยสารแบบพื้นต่ำในยุคสมัยนิยมจะว่าไปก็มีความปลอดภัยน้อยกว่ารถโค้ชหรือรถรับส่งนักเรียน แต่ก็นะ...รถโดยสารภายในเมืองกำหนดความเร็วไว้เพียง 35 ไมล์ต่อชั่วโมง (55 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยประมาณ) ก็หมายความว่าการชนแต่ละครั้งมันไม่รุนแรงมาก และการเดินทางด้วยรถโดยสารประเภทนี้คือทริปสั้นๆ มีคนยืน...การติดตั้งเข็มขัดนิรภัยแทบไม่มีผลอะไร

Regardless of whether their passengers have seatbelts, all buses provide seatbelts for drivers and most bus companies make their drivers wear seatbelts to avoid impact with the dashboard or windshield in the event of a collision.
หากไม่ได้มองถึงผู้โดยสาร แท้จริงแล้วรถโดยสารทุกคันติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในตำแหน่งคนขับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ผลิตรถโดยสารกำหนดให้คนขับต้องคาดเข็มขัดก็เพราะเขาไม่มีเบาะนุ่มๆ รองรับแรงกระแทก...จะมีก็แต่คอนโซลหน้าและกระจกบานหน้า...ที่เป็นเพื่อนสนิทคนขับยามเกิดอุบัติเหตุ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่