NTT (Nippon Telegraph and Telephone company) เผยต้นแบบของระบบ Quantum Computing System สู่สาธารณะชนด้วยอินเตอร์เน็ท ถือเป็นการเปิดข้อมูลเทคโนโลยีครั้งใหญ่สู่คนทั่วโลกที่จะเห็นการทำงานอันซับซ้อนของคอมพิวเตอร์แห่งโลกอนาคต
ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ญี่ปุ่นจะกลายเป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงชัยวงการควอนตัมคอมพิวติ้ง โดยปัจจุบันสองยักษ์ใหญ่อย่างจีน และสหรัฐอเมริกากำลังพยายามสร้างกันอยู่
โครงการของ NTT นี้ได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบาล พัฒนาร่วมกับ National Institute of Information จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า และพันธมิตรรายอื่นๆ โดยจะใช้วิธีที่แตกต่างจากการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ โดยจะคุณสมบัติของแสงที่เรียกว่า LOQC (Linear Optics Quantum Computation) ทำให้ Qubits สลายตัว และส่งข้อมูลผ่านโฟตอนแทนได้ ทำให้สามารถใช้งานได้ในสภาพอุณหภูมิปกติ โดยจะต้องใช้อุปกรณ์ทางแสงอื่นๆ เข้าร่วม เช่น Beam Splitters, Phase Shifters และกระจก การทำงานจะย้ายจาก Qubits มาเป็นโฟตอนแทน
สิ่งที่วงการ Quantum Computing เผชิญอยู่คือการทำให้ Qubits สเถียรและทำงานได้ การเปลี่ยนไปใช้งานด้วยโฟตอนแทนจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอุณหภูมิการทำงานที่ต้องเย็นยิ่งยวดให้หมดไป สามารถทำงานในอุณหภูมิปกติได้ นักพัฒนาสามารถมองระยะยาวไปถึงการพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับ Quantum Computers ได้เลย
การทำงานในยุคปัจจุบันที่ต้องใช้กำลังไฟ 10,000kW บนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้น สามารถทำงานได้บน Quantum Computing System ของ NTT รุ่นต้นแบบนี้โดยใช้ไฟเพียง 1kW เท่านั้น
ที่มา
https://www.overclockzone.com/news/9395-ญี่ปุ่นเปิดต้นแบบ-quantum-computing-system-สู่สาธารณะ/
https://www.techpowerup.com/239040/japan-opens-prototype-quantum-computing-system-for-public-worldwide-use
ญี่ปุ่นเปิดต้นแบบ Quantum Computing System สู่สาธารณะ
NTT (Nippon Telegraph and Telephone company) เผยต้นแบบของระบบ Quantum Computing System สู่สาธารณะชนด้วยอินเตอร์เน็ท ถือเป็นการเปิดข้อมูลเทคโนโลยีครั้งใหญ่สู่คนทั่วโลกที่จะเห็นการทำงานอันซับซ้อนของคอมพิวเตอร์แห่งโลกอนาคต
ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ญี่ปุ่นจะกลายเป็นหนึ่งในผู้เข้าชิงชัยวงการควอนตัมคอมพิวติ้ง โดยปัจจุบันสองยักษ์ใหญ่อย่างจีน และสหรัฐอเมริกากำลังพยายามสร้างกันอยู่
โครงการของ NTT นี้ได้รับเงินสนับสนุนจากทางรัฐบาล พัฒนาร่วมกับ National Institute of Information จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า และพันธมิตรรายอื่นๆ โดยจะใช้วิธีที่แตกต่างจากการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์รายอื่นๆ โดยจะคุณสมบัติของแสงที่เรียกว่า LOQC (Linear Optics Quantum Computation) ทำให้ Qubits สลายตัว และส่งข้อมูลผ่านโฟตอนแทนได้ ทำให้สามารถใช้งานได้ในสภาพอุณหภูมิปกติ โดยจะต้องใช้อุปกรณ์ทางแสงอื่นๆ เข้าร่วม เช่น Beam Splitters, Phase Shifters และกระจก การทำงานจะย้ายจาก Qubits มาเป็นโฟตอนแทน
สิ่งที่วงการ Quantum Computing เผชิญอยู่คือการทำให้ Qubits สเถียรและทำงานได้ การเปลี่ยนไปใช้งานด้วยโฟตอนแทนจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอุณหภูมิการทำงานที่ต้องเย็นยิ่งยวดให้หมดไป สามารถทำงานในอุณหภูมิปกติได้ นักพัฒนาสามารถมองระยะยาวไปถึงการพัฒนาซอฟท์แวร์สำหรับ Quantum Computers ได้เลย
การทำงานในยุคปัจจุบันที่ต้องใช้กำลังไฟ 10,000kW บนซุปเปอร์คอมพิวเตอร์นั้น สามารถทำงานได้บน Quantum Computing System ของ NTT รุ่นต้นแบบนี้โดยใช้ไฟเพียง 1kW เท่านั้น
ที่มา
https://www.overclockzone.com/news/9395-ญี่ปุ่นเปิดต้นแบบ-quantum-computing-system-สู่สาธารณะ/
https://www.techpowerup.com/239040/japan-opens-prototype-quantum-computing-system-for-public-worldwide-use