เนื่องจากผมเป็นที่ใช้ Samsung เรือธงมาสองสามรุ่น วันนี้ลองตัดสินใจเปลี่ยนมาเล่นฝั่ง iPhone ดูบ้าง เนื่องจากไม่เคยใช้มาก่อน หลังจากใช้มาได้สักพักเริ่มรู้สึกเจอเรื่องจุกจิกเล็กน้อยที่คาดว่าคนที่ติดฝั่ง Android มานานต้องประสบปัญหาเหล่านี้เหมือนผมไม่มากก็น้อย วันนี้เลยอยากลองมาแชร์ประสบการณ์ดูครับว่าอะไรบ้างที่คุณจะต้องเจอถ้ากำลังคิดจะเปลี่ยนมาลองใช้ iPhone ในมุมมองของ User บ้าน ๆ ทั่วไปใช้ เป็นคำแนะนำประกอบการตัดสินใจได้เล็กน้อยครับ
1. iPhone ซ่อนแป้นพิมพ์บน Facebook ลำบากมาก
นี่เป็นปัญหาแรกสุดที่ผมเจอ และยากแก่การปรับตัวมากครับ โดยเฉพาะเวลาอ่าน Comment บน Facebook ที่เวลากดปุ่มแสดงความคิดเห็น มันจะเด้งแป้นขึ้นมาเลย ปกติถ้าใช้ Samsung หรือ Android รุ่นอื่น ๆ ก็จะติดปุ่ม Back กันระนาว บางค่ายก็ทำปุ่มหุบลงมาให้เลยบนแป้น แต่แป้นของ iPhone ดันไม่มีให้ จะซ่อนทีเพื่ออ่าน Comment ก็ต้องอาศัยวิธีการกดที่ว่างระหว่าง Comment เหล่านั้น ซึ่งที่มันก็มีให้เยอะจริ๊งงง จิ้มทีก็ไปโดนอย่างอื่นตลอด
2. ปุ่ม Home บน iPhone แต่บางทีมันไม่ Home จริง
การกดปุ่ม Home บางจังหวะบน iPhone ดันทำหน้าที่เหมือนปุ่ม Back บน Android ซะอย่างงั้น เช่นเวลาเปลี่ยนจากหน้าแอปมาเป็นหน้า Multitask พอกด Home ปุ๊บมันดันไม่ไปหน้าหลัก ดันกลับไปที่หน้าแอปเหมือนเดิม อันนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เท่าไหร่ แต่มันก็มีบางช่วงที่เราเผลอมาเจอหน้านี้แล้วก็แอบเซ็งได้เหมือนกัน จะรีบไปหน้า Home ยังต้องมาสตั๊นกันหนึ่งจังหวะ อยากให้มันเป็น Home ล้วนมากกว่าเหมือนฝั่ง Android เลยน่าจะดี (เรื่องนี้ iPhone X คงไม่มีปัญหาอะไรนะ)
3. แถบเลื่อนเวลาของวิดีโอ Youtube จิ้มไม่ได้
ต้องใช้วิธีจิ้มค้าง หรือใช้นิ้วเลื่อนจากจุดเดิมมาจุดใหม่ ซึ่งตามปกติมันควรจิ้มได้เลยเหมือนเวลาเราใช้เมาส์บนคอม จะเอาเวลาไหนก็คลิกได้ทันที ใครที่ติดนิสัยนี้มาบน Android ก็คงหงุดหงิดบ้างบางที นอกจาก Youtube ก็ยังมีแอปบางแอปที่ต้องใช้วิธีเดียวกันนี้เหมือนกัน ที่เจอมาเช่น VLC แถมยังเอาแถบวิดีโอไปวางไว้ข้างบน เอาแถบเสียงมาวางไว้ด้านล่างตรงปกติ แล้วยังทำมาให้ใหญ่กว่าอีกต่างหาก อยากรู้จริง ๆ ว่าใครมันออกแบบ
4. การแจ้งเตือนในแถบ Notification ปัดทิ้งทีเดียวไม่ได้
ต้องปัดหนึ่งรอบเพื่อเรียกคำสั่งลบขึ้นมาก่อนถึงจะกดลบได้ หรือใช้วิธีว่าปัด 2 ครั้งต่อกันสำหรับ 1 การแจ้งเตือน ถือว่าค่อนข้างไม่สะดวกเลยทีเดียวสำหรับสาย ignore และไม่มีปุ่มเคลียร์ทีเดียวหมดให้อีก ต้องมาไล่ปิดทิ้งโดยต้องกดกากะบาทมุมขวาทีนึง แล้วจะโผล่ปุ่มเคลียร์มาให้กดอีกรอบของแต่ละหมวดที่แยกเป็นวันไว้ ค่อนข้างหงุดหงิดเลยทีเดียวกับอันนี้ตอนใช้ใหม่ ๆ
5. Emoji นับเป็น 1 ภาษาบนแป้นพิมพ์
ในการเปลี่ยนภาษาพิมพ์ก็อยากให้มันฉับไวทันใจกว่านี้นิดนึง เวลาพิมพ์ภาษาไทย จะเปลี่ยนไปพิมพ์คำศัพท์อังกฤษซักคำ แล้ววกมาภาษาไทยใหม่ ยังต้องมาเจอ Emoji ขั้นกลางอีก จริง ๆ มันก็ปิดไปเลยให้เหลือแค่ 2 ภาษาได้เหมือนกัน แต่นาน ๆ ครั้งเราก็อยากใช้ Emoji อยู่บ้าง น่าจะทำแบบแป้น Samsung ไปเลยที่มีปุ่มเรียกเฉพาะไว้ตอนอยากใช้ ไม่ต้องให้มายุ่งกับตัวสลับภาษาแบบนี้
6. ความ Sensitive ในการ Touch Screen ของ iPhone ค่อนข้างเอ๋อกว่า
โดยเฉพาะส่วนขอบด้านข้างที่จิ้มไม่ติดบ่อย ๆ แต่ตรงกลางยังปกติดี อันนี้ตอนแรกนึกว่าเครื่องมีปัญหา แต่ไปลองของคนอื่นก็เป็นเหมือนกัน จะเจอบ่อยมากตอนกดปุ่มลบข้อความบนแป้นพิมพ์ที่อยู่ริมสุดเลย หรืออาจจะเป็นปัญหาของนิ้วคนใช้เองด้วย เนื่องจากผมเป็นคนเล่นกีตาร์ นิ้วด้านมาก ๆ สแกนยังไม่ค่อยติด เลยพยายามใช้เล็บเขี่ยแทน แต่ใช้เล็บก็ไม่ค่อยติดอีก เทียบกับจอ Samsung คือมันตอบสนองได้ดีกว่านี้มาก ใช้ปลายเล็บใช้นิ้วด้านก็เลื่อนหรือจิกติดตรงเป๊ะหมดเลย
7. การ Scroll หน้าไม่ค่อยรวดเร็วปรื๊ดปร๊าด
ถ้าใครมี Android แรง ๆ ซักเครื่องมาลองปัดเทียบกับ iPhone ดูจะเห็นความต่างชัดเจนมาก ออกแรงเท่ากัน Android นี่พุ่งไปไกลได้เป็นกิโลแต่ iPhone นี่ผ่านไป 5-6 โพสต์นิ่งเลย ยิ่งบน Safari นี่ยิ่งต้องปลง ปิดการ Scroll แบบพุ่งไว้โดยสมบูรณ์ น่าจะเป็นความตั้งใจที่จะออกแบบมาแบบนี้เอง ไม่รู้ว่ามีเหตุผลอะไร ในความรู้สึกของคนใช้จริง ๆ ทั้งคู่อย่างผมจะรู้สึกว่ามือถือรุ่นอื่นตอบสนองแรงสะบัดทางกายภาพของนิ้วในการ Scroll ได้สมจริงกว่า iPhone เยอะ
8. การจัดการไฟล์ไม่ง่ายเหมือน Android อีกต่อไป
คนที่เปลี่ยนมาใหม่ ๆ ต้องอาศัยการเรียนรู้ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว กับเรื่องจัดการไฟล์บน iPhone ไม่มีแบบ Android ที่ว่าไฟล์เดียวกันใช้ร่วมกันหลายแอปอีกต่อไป เช่น ปกติเราจะก๊อปวิดีโอลง Android ก็เสียบสายต่อเข้าคอมก๊อปวางอย่างกะ USB Drive เลย แล้วทีนี้พอไปอยู่บนเครื่องปุ๊บ จะใช้แอปไหนเปิดไฟล์วิดีโอนั้นก็ใช้ร่วมกันได้หมด เช่นใช้แอป Video Player เปิดดูเฉย ๆ หรือใช้แอปตัดต่อคลิปก็ Browse ไฟล์เดียวกันนั้นไปตัดต่อได้เลย เหมือนใช้ Windows ยังไงอย่างงั้น แต่ฝั่ง iPhone ต้องลากผ่านลงผ่าน iTunes อีกทีเพื่อมาลงแอปไหนแอปนั้น จะดึงเข้าแอป Player ก็ส่วน Player แอปตัดต่อก็ส่วนตัดต่อ ของใครของมัน ห้ามยุ่งเกี่ยวกัน บางแอปมีฟังก์ชันโยนไฟล์ไปหาแอปอื่นได้ผ่านการ Send file แต่มันก็ต้องใช้วิธีการ Copy เป็น 2 ไฟล์แยกส่วนกันอยู่ดี คิดว่า iOS ทำแบบนี้ก็คงจะเพื่อเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ต้องสละความง่ายที่คุ้นชินนี้ออกไปอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว สำหรับใครที่ไม่ค่อยแคร์เรื่องความปลอดภัยมาก คงจะรับไม่ได้เลยที่จะเปลี่ยนมาใช้ iPhone เพื่อแลกกับการนี้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นมุมมองส่วนตัวของผมเองนะครับผม อาจจะไม่ได้ตรงกับคนอื่นมากทีเดียว บางคนก็ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาก็ได้ เพราะมันค่อนข้างเล็กน้อยขี้ประติ๋วมาก ใช้นาน ๆ เดี๋ยวก็ชิน โดยภาพรวม iPhone นั้นดีมาก ๆ ครับ แต่มือถือทุกรุ่นมันก็ต้องมีข้อดีข้อเสียคละกันไป ไม่มีอะไรดีถึงพริกถึงขิงที่สุด ฝั่ง Samsung Android ก็มีหลายอย่างเหมือนกันที่เก็บรายละเอียดปลีกย่อยได้ไม่ดีเท่า iPhone ถ้าใครมีประเด็นอื่นเพิ่มเติมลองเอามาแชร์กันดูได้นะครับ
ปัญหาจุกจิกที่คุณต้องเจอสำหรับคนที่จะย้ายฝั่งจาก Samsung มาใช้ iPhone (ฉบับ User ทั่วไป)
1. iPhone ซ่อนแป้นพิมพ์บน Facebook ลำบากมาก
นี่เป็นปัญหาแรกสุดที่ผมเจอ และยากแก่การปรับตัวมากครับ โดยเฉพาะเวลาอ่าน Comment บน Facebook ที่เวลากดปุ่มแสดงความคิดเห็น มันจะเด้งแป้นขึ้นมาเลย ปกติถ้าใช้ Samsung หรือ Android รุ่นอื่น ๆ ก็จะติดปุ่ม Back กันระนาว บางค่ายก็ทำปุ่มหุบลงมาให้เลยบนแป้น แต่แป้นของ iPhone ดันไม่มีให้ จะซ่อนทีเพื่ออ่าน Comment ก็ต้องอาศัยวิธีการกดที่ว่างระหว่าง Comment เหล่านั้น ซึ่งที่มันก็มีให้เยอะจริ๊งงง จิ้มทีก็ไปโดนอย่างอื่นตลอด
2. ปุ่ม Home บน iPhone แต่บางทีมันไม่ Home จริง
การกดปุ่ม Home บางจังหวะบน iPhone ดันทำหน้าที่เหมือนปุ่ม Back บน Android ซะอย่างงั้น เช่นเวลาเปลี่ยนจากหน้าแอปมาเป็นหน้า Multitask พอกด Home ปุ๊บมันดันไม่ไปหน้าหลัก ดันกลับไปที่หน้าแอปเหมือนเดิม อันนี้ไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เท่าไหร่ แต่มันก็มีบางช่วงที่เราเผลอมาเจอหน้านี้แล้วก็แอบเซ็งได้เหมือนกัน จะรีบไปหน้า Home ยังต้องมาสตั๊นกันหนึ่งจังหวะ อยากให้มันเป็น Home ล้วนมากกว่าเหมือนฝั่ง Android เลยน่าจะดี (เรื่องนี้ iPhone X คงไม่มีปัญหาอะไรนะ)
3. แถบเลื่อนเวลาของวิดีโอ Youtube จิ้มไม่ได้
ต้องใช้วิธีจิ้มค้าง หรือใช้นิ้วเลื่อนจากจุดเดิมมาจุดใหม่ ซึ่งตามปกติมันควรจิ้มได้เลยเหมือนเวลาเราใช้เมาส์บนคอม จะเอาเวลาไหนก็คลิกได้ทันที ใครที่ติดนิสัยนี้มาบน Android ก็คงหงุดหงิดบ้างบางที นอกจาก Youtube ก็ยังมีแอปบางแอปที่ต้องใช้วิธีเดียวกันนี้เหมือนกัน ที่เจอมาเช่น VLC แถมยังเอาแถบวิดีโอไปวางไว้ข้างบน เอาแถบเสียงมาวางไว้ด้านล่างตรงปกติ แล้วยังทำมาให้ใหญ่กว่าอีกต่างหาก อยากรู้จริง ๆ ว่าใครมันออกแบบ
4. การแจ้งเตือนในแถบ Notification ปัดทิ้งทีเดียวไม่ได้
ต้องปัดหนึ่งรอบเพื่อเรียกคำสั่งลบขึ้นมาก่อนถึงจะกดลบได้ หรือใช้วิธีว่าปัด 2 ครั้งต่อกันสำหรับ 1 การแจ้งเตือน ถือว่าค่อนข้างไม่สะดวกเลยทีเดียวสำหรับสาย ignore และไม่มีปุ่มเคลียร์ทีเดียวหมดให้อีก ต้องมาไล่ปิดทิ้งโดยต้องกดกากะบาทมุมขวาทีนึง แล้วจะโผล่ปุ่มเคลียร์มาให้กดอีกรอบของแต่ละหมวดที่แยกเป็นวันไว้ ค่อนข้างหงุดหงิดเลยทีเดียวกับอันนี้ตอนใช้ใหม่ ๆ
5. Emoji นับเป็น 1 ภาษาบนแป้นพิมพ์
ในการเปลี่ยนภาษาพิมพ์ก็อยากให้มันฉับไวทันใจกว่านี้นิดนึง เวลาพิมพ์ภาษาไทย จะเปลี่ยนไปพิมพ์คำศัพท์อังกฤษซักคำ แล้ววกมาภาษาไทยใหม่ ยังต้องมาเจอ Emoji ขั้นกลางอีก จริง ๆ มันก็ปิดไปเลยให้เหลือแค่ 2 ภาษาได้เหมือนกัน แต่นาน ๆ ครั้งเราก็อยากใช้ Emoji อยู่บ้าง น่าจะทำแบบแป้น Samsung ไปเลยที่มีปุ่มเรียกเฉพาะไว้ตอนอยากใช้ ไม่ต้องให้มายุ่งกับตัวสลับภาษาแบบนี้
6. ความ Sensitive ในการ Touch Screen ของ iPhone ค่อนข้างเอ๋อกว่า
โดยเฉพาะส่วนขอบด้านข้างที่จิ้มไม่ติดบ่อย ๆ แต่ตรงกลางยังปกติดี อันนี้ตอนแรกนึกว่าเครื่องมีปัญหา แต่ไปลองของคนอื่นก็เป็นเหมือนกัน จะเจอบ่อยมากตอนกดปุ่มลบข้อความบนแป้นพิมพ์ที่อยู่ริมสุดเลย หรืออาจจะเป็นปัญหาของนิ้วคนใช้เองด้วย เนื่องจากผมเป็นคนเล่นกีตาร์ นิ้วด้านมาก ๆ สแกนยังไม่ค่อยติด เลยพยายามใช้เล็บเขี่ยแทน แต่ใช้เล็บก็ไม่ค่อยติดอีก เทียบกับจอ Samsung คือมันตอบสนองได้ดีกว่านี้มาก ใช้ปลายเล็บใช้นิ้วด้านก็เลื่อนหรือจิกติดตรงเป๊ะหมดเลย
7. การ Scroll หน้าไม่ค่อยรวดเร็วปรื๊ดปร๊าด
ถ้าใครมี Android แรง ๆ ซักเครื่องมาลองปัดเทียบกับ iPhone ดูจะเห็นความต่างชัดเจนมาก ออกแรงเท่ากัน Android นี่พุ่งไปไกลได้เป็นกิโลแต่ iPhone นี่ผ่านไป 5-6 โพสต์นิ่งเลย ยิ่งบน Safari นี่ยิ่งต้องปลง ปิดการ Scroll แบบพุ่งไว้โดยสมบูรณ์ น่าจะเป็นความตั้งใจที่จะออกแบบมาแบบนี้เอง ไม่รู้ว่ามีเหตุผลอะไร ในความรู้สึกของคนใช้จริง ๆ ทั้งคู่อย่างผมจะรู้สึกว่ามือถือรุ่นอื่นตอบสนองแรงสะบัดทางกายภาพของนิ้วในการ Scroll ได้สมจริงกว่า iPhone เยอะ
8. การจัดการไฟล์ไม่ง่ายเหมือน Android อีกต่อไป
คนที่เปลี่ยนมาใหม่ ๆ ต้องอาศัยการเรียนรู้ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว กับเรื่องจัดการไฟล์บน iPhone ไม่มีแบบ Android ที่ว่าไฟล์เดียวกันใช้ร่วมกันหลายแอปอีกต่อไป เช่น ปกติเราจะก๊อปวิดีโอลง Android ก็เสียบสายต่อเข้าคอมก๊อปวางอย่างกะ USB Drive เลย แล้วทีนี้พอไปอยู่บนเครื่องปุ๊บ จะใช้แอปไหนเปิดไฟล์วิดีโอนั้นก็ใช้ร่วมกันได้หมด เช่นใช้แอป Video Player เปิดดูเฉย ๆ หรือใช้แอปตัดต่อคลิปก็ Browse ไฟล์เดียวกันนั้นไปตัดต่อได้เลย เหมือนใช้ Windows ยังไงอย่างงั้น แต่ฝั่ง iPhone ต้องลากผ่านลงผ่าน iTunes อีกทีเพื่อมาลงแอปไหนแอปนั้น จะดึงเข้าแอป Player ก็ส่วน Player แอปตัดต่อก็ส่วนตัดต่อ ของใครของมัน ห้ามยุ่งเกี่ยวกัน บางแอปมีฟังก์ชันโยนไฟล์ไปหาแอปอื่นได้ผ่านการ Send file แต่มันก็ต้องใช้วิธีการ Copy เป็น 2 ไฟล์แยกส่วนกันอยู่ดี คิดว่า iOS ทำแบบนี้ก็คงจะเพื่อเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ต้องสละความง่ายที่คุ้นชินนี้ออกไปอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว สำหรับใครที่ไม่ค่อยแคร์เรื่องความปลอดภัยมาก คงจะรับไม่ได้เลยที่จะเปลี่ยนมาใช้ iPhone เพื่อแลกกับการนี้
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นมุมมองส่วนตัวของผมเองนะครับผม อาจจะไม่ได้ตรงกับคนอื่นมากทีเดียว บางคนก็ไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาก็ได้ เพราะมันค่อนข้างเล็กน้อยขี้ประติ๋วมาก ใช้นาน ๆ เดี๋ยวก็ชิน โดยภาพรวม iPhone นั้นดีมาก ๆ ครับ แต่มือถือทุกรุ่นมันก็ต้องมีข้อดีข้อเสียคละกันไป ไม่มีอะไรดีถึงพริกถึงขิงที่สุด ฝั่ง Samsung Android ก็มีหลายอย่างเหมือนกันที่เก็บรายละเอียดปลีกย่อยได้ไม่ดีเท่า iPhone ถ้าใครมีประเด็นอื่นเพิ่มเติมลองเอามาแชร์กันดูได้นะครับ