เรียนวิศวะในไทย หรือเยอรมันดีครับผม?

จขกท ตอนนี้เรียนอยู่ ม.6 แล้วครับ พอดีมีโอกาสไปเรียนซัมเมอร์ที่อเมริกามา 1 เดือนรู้สึกชอบการใช้ชีวิตต่างประเทศมากอยากไปเรียนและทำงานที่นู่น กลับมาไทยคราวนี้ก็เลยหาข้อมูลไปเรียน ป.ตรี ด้านวิศวะครับ อยากไปเมกาแต่คุณพ่อบอกว่าสู้ค่าเทอมไม่ไหว มีน้องอีก 2 คนก็ต้องเรียนเหมือนกัน เราก็เลยหาประเทศอื่นจนได้ที่เยอรมันครับ ข้อดีของที่นี่คือ ค่าเทอมฟรีเพราะรัฐบาลสนับสนุนด้านการศึกษา แถมมีคุณภาพมากๆเลยด้วยโดยเฉพาะด้านวิศวกรรมและการแพทย์
    เอาล่ะเข้าเรื่องเลยครับ ที่ผมกังวลใจคือ

1. กลัวเรียนไม่รู้เรื่อง - ที่เยอรมันหลักสูตรหลายๆหลักสูตรเป็นภาษาเยอรมันหมด เพราะฉะนั้นเราต้องเก่งภาษาเค้าพอตัวเลยอย่างมหาลัยที่ผมอยากเข้าเค้า require C1 ครับ (มีตั้งแต่ระดับ A1 A2 B1 B2 C1 C2 โดยเรียนจาก A1 (ระดับต่ำสุด) ไปจนถึง C2 (ระดับสูงสุด)) ต้องการระดับสูงมาก ซึ่งตอนนี้ผมเพิ่งเรียนถึง A2 เองครับ

2. เสียเวลา - เนื่องจากหลักสูตร ม.6 ของไทยไม่เทียบเท่ากับวุฒิของเยอรมัน Abitur ได้ เราจึงต้องเรียน Studienkolleg (stk) ก่อน 1 ปีเป็นการเตรียมมหาลัย และใช่ว่าจะเข้าเรียน stk ได้เลยนะครับ เราต้องไปสอบวัดระดับภาษา B1 หรือ B2 ก่อนครับ ถ้าไม่ได้ก็ต้องลงเรียนภาษาที่นั่นอีก นานช้าขึ้นกับความสามารถ ผมตีไปเลยว่า เตรียมภาษา 7 เดือน - 1 ปีและ stk อีก 1 ปี และเรียนมหาลัยอีก 3-4 ปี ก็เป็น 5-6 ปีสำหรับปริญญาตรีครับ

3. ความยากของการเรียนและการสอบ - หลังเรียน stk เรียบร้อยแล้ว ต้องสอบจบ stk ครับโดยสอบ Feststellungspufung ซึ่งถ้าผ่านก็ยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัยไหนก็ได้เลยในเยอรมนี แต่ถ้าไม่ผ่านต้องลงเพิ่มอีก 1 เทอมแล้วสอบอีกรอบและถ้ายังไม่ผ่านอีก หมดสิทธ์เรียนสายนั้นทันทีครับ ว่าง่ายๆ กลับไทย! ซึ่งตรงนี้ผมไม่มั่นใจมากเลยกลัวทำไม่ได้ และมันเสี่ยงมากถ้าจะต้องกลับไทยและเสียเวลาไป 2 ปีก่อนหน้านั้น

4. ด้านการเงิน - ตรงนี้ผมไม่ค่อยห่วงเพราะตราบใดที่พ่อบอกไหวผมก็โล่งใจ (พ่อผมทำงานคนเดียวครับ คุณแม่ดูแลบ้าน) แต่ปัญหาคือ ไปคราวนี้ไม่ได้มีงบเป็นก้อนตั้งเอาไว้ แต่เป็นรายได้เงินเดือนแต่ละเดือนของพ่อทั้งนั้นครับที่ต้องคอยทยอยส่งเสีย เพราะฉะนั้นหากพ่อเกิดป่วยทำงานไม่ได้แล้วใครจะส่งให้ผมเรียนต่อ อีกอย่างบ้านก็ไม่มีธุรกิจ

5. การหาเพื่อน - เยอรมนีไม่ใช่สถานที่นิยมสำหรับการไปเรียนต่อตรีเท่า อเมริกา อังกฤษ ออสซี่ เพราะฉะนั้นคนไทยก็น้อย อยากจะมีเพื่อนคนไทยซักคนอยู่ด้วยกันเวลาเกิดปัญหาอย่างน้อยมันก็ รู้สึกแบบเค้าพูดไทยกับเราได้น่ะะ อีกอย่างกลัวจะไม่มี connection หรือเพื่อนในไทยด้วยแหละ

6. การหางาน - ผมอยากทำงานที่อเมริกาครับ แต่ถ้าเรียนที่เยอรมันก็คงทำที่นั่นก่อนเพราะรู้สึกว่าเรียนจบแล้วเค้าจะให้ วีซ่าหางานได้ 1 ปีมั้งครับ แต่ปรึกษาครูที่โรงเรียนหลายๆท่านก็บอก ประเทศเค้าเค้าก็ต้องเลือกคนของเค้าก่อนสิ หางานต่างประเทศยากมากๆนะระวังไว้ด้วย

ทั้งนี้และทั้งนั้นผมก็มีช้อยส์ไว้เลือกสำรองอีกที่นึงครับถ้าไม่ได้ไป ก็คือ SIIT วิศวะอินเตอร์ของ ม.ธรรมศาสตร์ครับ พ่อบอกยังไงเรียนที่นี่ก่อนดูมั้ยถ้ากลัวสอบที่นู่นไม่ผ่าน แล้วค่อยไป ป.โท โดยคุณพ่อกลัวข้อ 3 มากที่สุดครับซึ่งพ่วงมาข้อ 2 ด้วยครับ แต่ใจผมคืออยากไปที่นู่นตั้งแต่ ป.ตรีแลย แต่ด้วย ประการทั้งหมดผมก็เลยไม่มั่นใจเป็นอย่างมากครับ ผมอยากทราบความคิดเห็นของทุกคนครับ ถ้าคุณเป็นผมคุณจะไปมั้ย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมไม่ค่อยตอบกระทู้แบบนี้มานานแล้ว เพราะมีคนมาถามทุกวัน แต่ส่วนมากถามกันแบบเอาง่ายเข้าว่า ไม่โลกสวยเกินไปแบบฉันจะมา ฉันอยากมา ก็ไม่หาข้อมูลกันมาเลย แบบอยากจะมาทำไงดี เพราะงั้นผมออกตัวชม จขกท ก่อนว่า จขกท ทำการบ้านมาใช้ได้สำหรับเด็ก ม.6 รวมถึงดูแล้วว่า เป็นเด็กมีความคิดดีใช้ได้ คิดหลายๆแง่มุม ข้อดีข้อเสียไล่มาเป็นข้อๆได้ดี ไม่โลกสวยแบบชีวิตนี้ง่ายทุกอย่าง สำหรับผม ผมถือว่า basic qualification ผ่าน

ทางฝั่งเมกา ผมให้ข้อมูลคุณไม่ได้ ผมตอบได้แค่ข้อมูลของฝั่งเยอรมันเท่านั้น เนื่องด้วยตัวผมเองก็เป็นวิศวกรเยอรมัน ถึงแม้ตัวผมจะไม่ได้ผ่าน Studienkolleg ด้วยตัวเอง แต่คนใกล้ตัวผมก็ผ่านมาด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นผมสามารถให้ข้อมูลได้บ้าง และก็รู้จักเด็กหลายๆคนที่ผ่าน Studienkolleg ส่วนกรณีการเรียนวิศวะในเยอรมันีระดับมหาวิทยาลัย อันนี้เป็นประสบการณ์ตรงผม จนถึงปัจจุบันที่ผมทำงานเป็นวิศวะของเยอรมัน เรามาไล่กันเป็นข้อๆที่คุณว่ามาแล้วกัน  ผมจะค่อยๆทยอยตอบไป เพราะมันยาวมาก (นี่ผมเบรคทำงานตอนเที่ยง เลยแวะมาตอบได้หน่อยนึง)

1) เรื่องภาษา ควรเรียนภาษาไหน? ภาษาเยอรมันยากมั้ย? เป็นไปได้มั้ยที่จะเรียนให้ดีในระดับที่สามารถเรียนมหาวิทยาลัยได้?
คุณควรจะตัด factor ที่หลายๆคนว่ามาให้ ไปลองหาคอร์สภาษาอังกฤษได้เลย เพราะอะไรน่ะหรือ?
1.1)  คุณมาหลังจากจบ ม. 6 นั่นก็เท่ากับคุณก็อายุประมาณ  18-19 เท่านั้น ซึ่งก็เรียนว่ายังอยู่ในวัยที่สามารถเรียนภาษาใหม่ได้
1.2) จากสถานการณ์ปัจจุบัน จบตรีในเยอรมันปัจจับันด้านวิศวะ ไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศเท่าไหร่นัก ยังไงเสีย เด็กก็ต่อโทกันร้อยละ 90 อยู่ดี นั่นแปลว่า ถ้ามองกันระยะยาว จะเรียนที่นี่คุณต้องใช้ชีวิตที่นี่อย่างน้อยประมาณ 7-8 ปีขึ้นไป ภาษาเยอรมันคุณต้องได้ ต้องใช้เป็นภาษาทั่วไปในชีวิตประจำวัน และหากวันนึงจะทำงานนี่ คือ minimum qualification ที่คุณจะต้องมีในการหางานในอนาคต
1.3) ภาษาเยอรมันยากมั้ย? ยากครับ บอกเลยว่ายากมาก แต่ไม่ได้เกินความสามารถคนจะทำได้ และมันขึ้นอยู่กับว่า จะให้ดีระดับไหน จริงๆจะให้ดีพอที่จะเรียนในมหาวิทยาลัยได้ มันเป็นอะไรที่เป็นไปได้ (ทุกวันนี้มีเด็กไทยเรียนมหาลัยที่นี่เยอะแยะ ยิ่งมหาลัยใหญ่ด้านเทคนิคที่เรียกว่า TU9 เช่น TU München, KIT อะไรพวกนี้ เด็กไทยเยอะครับ อาจจะไม่ได้เยอะเท่าจีน แต่ก็ไม่ได้น้อย อยู่กันเป็นแก๊งค์ทีเดียว)
ถามว่า ในฐานะวิศวะ ภาษาควรจะต้องดีแค่ไหน จริงๆต้องเรียกว่ นั่นคือข้อดีข้อหนึ่ง ภาษาวิศวะสำหับต่างชาติควรจะต้องดีในระดับที่สามารถสื่อสารได้ทั้งพูด และเขียน แต่จะให้เขียนได้ดีเท่าคนเยอรมันนั้น ยากครับ แต่ก็ไม่ได้มีใครคาดหวังว่าจะต้องดีเท่านั้น เวลาคุณสอบวิชาต่างๆของวิศวะ ในระดับปริญญาตรี จะเน้นคำนวณเป็นหลัก พอเรียนโทถึงจะมีสอบ oral บ้าง  เวลาทำงานมันก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณทำงานแบบไหน
ภาษาเยอรมันใช้แกรมม่ากันผิดบ้าง เป็นอะไรที่ acceptable แต่ต้องคุยเรื่องงานรู้เรื่อง สรุปสั้นๆ ในระยะเวลา 2 ปีก่อนเข้ามหาลัย ภาษาคุณก็จะดีขึ้นไปเองตามเวลา ถ้าคุณขวนขวาย กล่าวง่ายๆ คือ อย่าอยู่แต่กับคนไทย!

2) เสียเวลา ที่คุณว่า จริงๆเวลามันเป็นอะไรที่ subjective กล่าวคือ คนเอเชียถือเรื่องนี้มากกว่าคนยุโรป (เยอะ) คำถาม คือ เพราะอะไร? ทำไมต้องรีบจบ? ด้วยเหตุผมไหน ด้านการเงิน ความรู้สึก่สวนตัว หรืออะไร? ถ้าจะเอากันตามสถิติคนเรียนจบตามเกณฑ์ที่กำหนดของเยอรมันี ไม่ถึงครึ่ง เรียนเกินกัน 2 เทอมเป็นเรื่องปกติ บางคนเกินไปอีกเสียด้วยซ้ำ ยิ่งของวิศวะยิ่งเรียนเกินกันเป็นปกติ เรื่องนี้ผมว่าคุณเอาไว้ทีหลังดีกว่า

3) ความยากของการเรียนและการสอบ นี่ล่ะ factor ที่สำคัญที่สุด และเป็น factor ที่คุณควรจะต้องคำนึงถึงมากที่สุด วิศวะที่ได้ชื่อว่า ยากที่สุดของเยอรมันี คือ เครื่องกล และไฟฟ้า ตัวผมเองก็เป็นวิศวะไฟฟ้าเช่นกัน หลายสิบปีที่ผ่านมา แม้จำนวนเด็กเรียนวิศวะจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่อย่างนึงที่ไม่เคยเปลี่ยน คือ % เด็กที่จบ ไม่เคยถึง 50% เสียที ตกอยู่ที่ 40-45% มากกว่า นั่นก็เพราะความหินของระบบที่นี่
การเข้าเรียนตรีของวิศวะที่นี่ ไม่มีเกรดจำกัดนะครับ ใครที่จบ Highschool / Abitur หรือจบ Studienkolleg สาย Technik สามารถเข้าได้หมด เพราะยังไงเกินครึ่งก็หลุดจนกว่าจะจบอยู่ดี Professor หลายๆมหาลัยของขู่เด็กเทอมแรกกันเป็นประจำ ซึ่งส่วนตัวผม ผมว่า มันไม่ใช่เรื่องดี สมัยผมเรียนตรีนั้นวันแรกที่มา introduction โปรท่านนึงก็บอกว่า ให้เด็กสองแถวหลังสุดยืนขึ้น (จากซักสิบแถวมั้ง)  และบอกต่อว่า นั่นล่ะคือ จำนวนโดยประมาณนี่เด็กจะหลุดไปในเทอมแรก พอเข้าเทอมสอง ก็จะหลุดไปอีกครึ่งอีก บังเอิญมันดันตรงกับความจริง (แต่ผมก็มองว่าใช่เรื่องที่จะขู่เด็ก ไร้สาระเด็กเรียนไปก็รู้เองอยู่ดี ทำไมต้องมานั่งทำให้เด็กจิตตก หรือต้องการให้เด็ก motivate ไม่อาจจะทราบได้จริงๆ)

ยังมีกฏเหล็กอีก 1 กฏที่ใช้ทั่วประเทศ ทุกมหาวิทยาลัยอีก คือ ห้ามตกเกิน 3 ครั้งใน 1 วิชา ถ้าคุณตก 3 ครั้ง ก็จะโดน retire ออกโดยอัตโนมัติ และจะไม่สามารถไปเรียนต่อวิชาเดิมได้อีก (แต่จะสามารถเปลี่ยนแบบมหาวิทยาลัยได้ จาก uni ลงไปเรียน Fachhochschule ได้ เรื่องนี้ไว้ก่อนแล้วกัน) นั่น คือ วิธีกรองเด็กที่ไม่มีคุณภาพออกโดยอัตโนมัติ และข้อแตกต่างอย่างนึงของการเรียนที่นี่กับไทย คือ Professor ไม่สนใจคุณหรอกครับ ชื่อคุณเค้าก็ไม่รู้จัก หน้าตาเป็นไงเค้าก็จำไม่ได้  (เด็กเข้าเรียนกันทีร้อยสองร้อยคน สำหรับโปร แล้ว คุณ คือ เด็กน้อยคนหนึ่งที่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไรในโลกนี้ การเรียนที่เยอรมันีที่ทำให้วิศวะมีคุณภาพติดอันดับโลกนั้น คือ เพราะมันบีบให้คุณต้องอึด ถึก และสำคัญที่สุด คุณจะต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ที่จะดูแลตัวเอง และแก้ปัญหา ดิ้นรนเอาตัวรอดด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครมานั่งบังคับคุณให้ไปเรียนหรอกครับ จะไม่ไปเรียนเลย แล้วแค่โผล่หัวไปสอบก็ยังได้ ทุกอย่าง คือ คุณต้องรับผิดชอบตัวเอง ตั้งแต่ก้าวขาเข้ามหาวิทยาลัย ถ้าไม่มาเรียน ก็ไปหาทางตามเอาเอง จะจากทางเวป จะจากเพื่อน จะจากไหน ไม่มีใครแคร์ รวมถึงต่อให้ใครโดน retire ไปก็ไม่มีใครแคร์อีกเช่นกัน ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความสนใจ และความรับผิดชอบของตัวคุณเองเท่านั้น

ถามว่า มันเป็นอะไรที่ทำได้มั้ย ทำได้สิครับ 45% ของเด็กที่จบมันยังทำได้ ทำไมถ้าตั้งใจจะทำ มันจะไม่ได้  สำหรับเด็กต่างชาติแน่นอนว่า ความยากมันกำลังสอง (ครับ กำลังสอง ไม่ใช่คูณสอง ผมจงใจใช้) ต่อให้เรียนจบ Studienkolleg มา คุณก็จะยังมีปัญหาในการเรียน เพราะศัพท์ที่คุณเรียนมาจาก Studienkolleg จะช่วยให้คุณเข้าใจแค่ส่วนน้อยเท่านั้น คนใกล้ตัวผมที่จบ Studienkolleg และปัจจุบันเรียนไฟฟ้าอยู่ในหนึ่งของมหาลัยที่ใหญ่ที่สุด และมีชื่อเสียงที่สุด มักจะบ่นกับผมว่า สำหรับต่างชาติ เราต้องใช้เวลาอ่านหนังสือเป็นสองเท่า ไหนจะภาษาที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ไหนจะเนื้อหาที่ยากเย็น คือ ต้องอ่าน แล้วก็ search หาวนไปวนมาไม่ต่ำกว่าสามสี่รอบ กว่าจะเข้าใจ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าคุณตั้งใจทำ ก็จงอย่าชะล่าใจ แล้วเอาจริงๆข้อได้เปรียบอย่างนึงของเด็กเอเชีย คือ ถ้าเป็นเด็กที่เรียน รร โอเคจากที่ไทย เบสิควิชาพื้นฐานามาค่อนข้างแข็ง การจะไปต่อยอด ถ้าคุณตั้งใจ มันเป็นไปได้ไม่ยาก ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ครับ แต่ถามว่า ยากมั้ย? เอาเป็นว่า เด็กทุนที่รัฐบาลไทยส่งมา ขึ้นอยู่กับทุน และความอึดของเด็ก ก็มีโดนส่งกลับไทยไปทุกปี หรือหลุดทุนกันเป็นเรื่องปกติครับ จริงๆมันก็หลุดกันตั้งแต่ขาเข้า Studienkolleg เรียน Studienkolleg แล้วก็มาถึงมหาลัย ก็หลุดกันประปรายตามทางกันไปตลอด

ไว้ผมว่างตอนเย็น ผมค่อยมาตอบต่อแล้วกันครับ ก็ให้คนอื่นเค้าให้ข้อมูลคุณต่อไปก่อนแล้วกันครับ
ความคิดเห็นที่ 11
5) การหาเพื่อน จริงๆข้อนี้มันเป็นอะไรที่เด็กๆมาก (แต่โอเค คุณก็เป็นเด็กจริงๆ เรื่องนี้ให้อภัย เพราะผมก็เคยเด็กมาก่อน เคยรู้สึกแบบนี้) เด็กไทยในเยอรมันีเยอะแยะมากมาย อย่าง Aachen, Munich, Karlsruhe etc. นี่เยอะแบบจัดปาร์ตี้กันประจำ ถึงขนาดมีสมาคมนักเรียนไทยในเยอรมนีฯที่มีสมาชิกไม่น้อย ก็เห็นเลือกตั้งนายกสมาคมกันอยู่ทุกปี ถ้าถามผม คุณต้องใช้ชีวิตให้เป็น การหมกตัวแต่กับคนไทยนั้น ไม่ทำให้ภาษาคุณดีขึ้นแม้แต่น้อย แต่มันสบายใจ มันสนุก ผมก็เข้าใจ เพราะยังไงคุณก็ยังเด็ก แล้วยังไงก็ภาษาเดียวกัน มันง่ายในการสื่อสาร การบ่น หรือปรับทุกข์ แต่จริงๆแล้วคนเรามันต้องหัด balance ชีวิตให้เป็น และข้อสำคัญที่สุดที่ผมมักจะสอนเด็กไทยเสมอๆ คือ ต้องหัดมีเพื่อนเป็นคนเยอรมัน! การที่มาเรียนที่นี่ อยู่ที่นี่ คุณต้องรู้ว่า คนที่นี่อยู่กันยังไง ใช้ชีวิตยังไง นิสัยยังไง สังคมเป็นยังไง ทำไมประเทศเค้าถึงเจริญกว่าไทย จงจำไว้ว่า ประเทษเยอรมันีเป็นประเทศที่ไม่ค่อยจะมีทรรพยากรธรรมชาติเท่าไหร่นัก แตสิ่งหนึ่งที่สามารถพึ่งพาได้เสมอ คือ ทรรพยากรคน (ไม่ใช่ว่า ฝรั่งเยอรมันจะดีทุกอย่างหรอกนะ) ถ้ามองย้อนประวัติศาสตร์กลับไป ก็จะชัดเจนว่า เพียงแค่เวลา 10 ปีหลังจากพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันีกลับมาเป็นประเทศมหาอำนาจอีกครั้ง เพราะประชาชนในประเทศล้วนๆ เพราะฉะนั้นจงออกจาก comfort zone ของตัวเองให้ได้ จงเรียนรู้ข้อดีของเค้า และวางข้อเสียซะ เลิกคาดหวังว่า มันจะมีใครใจดีเดินมาจับมือทักทายกับคุณ และจะอยากเป็นเพื่อนกับคุณ คนเยอรมันโดยพื้นฐานเป็นคนค่อนข้างเย็นชา และรักษาระยะห่าง เรียกว่าตรงกันข้ามกับพวกเมกาเลยล่ะ อาจจะดูเหมือนไม่ friendly ตอนรู้จักแรกๆด้วยซ้ำ

ทางแก้ปัญหา คือ ต้องพยายามฝืนตัวเอง และเดินเข้าไปหาเค้าเอง จงพึงจำไว้ในใจเสมอว่า นี่ คือ ประเทศของเค้า ในฐานะต่างชาติ ที่มาอาศัยประเทศและมาอาศัยสวัสดิการต่างๆของเค้า เรามาหวังพึ่งเค้า เราเป็นหนี้บุญคุณเค้าซะด้วย ไม่ใช่เค้าหวังพึ่งเรา (ผมไม่ได้พูดเกินไปหรอก มันคือความจริง ที่เรียนกันจ่ายค่าเทอมต่ำๆนี่ เค้าเอาเงินมาจากไหนกันล่ะ? ถ้าไม่ใช่จากภาษีประชาชนของเค้า เรื่องนี้เด็กไทยหลายๆคนมักจะไม่พึงสำนึกเอาเสียเลย สักแต่คิดว่า จะเรียนฟรีๆ โดยไม่ได้คิดว่า ตัวเองหรือพ่อแม่ของตนไม่เคย contribute อะไรให้เค้ามาก่อน สักแต่เรียกร้องกันแบบไม่คิด) เราต้องเป็นคนเข้าไปเอง มันจะยากแรกๆก็ต้องฝืนหน่อย แต่ถ้าทำครั้งแรกแล้ว คุณจะเฉยๆครั้งต่อๆไป จงเรียนรู้ที่จะมีเพื่อนเป็นเยอรมันให้ได้เท่ากับคนไทย และผมรับประกันคุณได้อย่าง ถ้าวันใดคุณสามารถเป็นเพื่อนที่เป็นเพื่อนจริงๆกับคนเยอรมันได้ มันจะเป็นเพื่อนที่ดีมากกับคุณ คือ รู้จักช่วยเหลือ ไม่ทิ้งกันยามมีปัญหา เรียกว่าเป็นที่พึ่งยามยากได้ ในหลายๆครั้งดีกว่าคนไทยเสียด้วย เพราะมันเชื่อถือได้ ไม่ใช่สักแต่รับปากส่งๆไป แต่มันใช้เวลากว่าจะถึงจุดนั้นได้ เพื่อนสนิทผมคนนึงเคยบอกผมว่า "เออ จำได้ ตอนเจอกันครั้งแรกที่คณะ แกเดินมาคุยกับเราเหมือนเราเป็นเพื่อน แบบซี้กัน เราก็งงๆ แต่ก็เนียนๆตามไป" จนสุดท้ายพอเป็นเพื่อนกัน แม้ผมกับเพื่อนคนนี้จะไม่ได้เจอกันเป็นปี แต่ก็ยังคุยกันได้เหมือนเดิม คนเยอรมันเข้าถึงยากจริงครับ แต่ถ้าเข้าถึงแล้ว คนเยอรมันจะไม่เป็นคนผิวเผินแบบเมกัน แน่นอนว่าคนดีไม่ดีในประเทศนี้มีปนกันไป ผมก็เคยเจอหมดแล้วเช่นกัน แต่ nature ของคนชาตินี้มันก็แบบนี้แหละ และที่สำคัญคนเยอรมันพูดตรง (มาก) คุณต้องเรียนรู้ที่จะรับข้อติ และต้องเรียนรู้ที่จะติเป็นเช่นกัน แต่จะเป็นเรื่องๆไป มักจะไม่ปนเรื่องส่วนตัวกับงาน (เท่าไหร่นัก คนที่มันบ้าๆบอๆก็มีอีก ผมก็เคยเจอเองอีก แต่เป็นเคสยกเว้น)

6) การหางาน เอาจริงๆนะ เรื่องนี้ที่คุณว่ามาก็เพราะคุณเป็นเด็กอีกนั่นล่ะ คุณถึงน่าจะอยากทำงานที่เมกามากกว่า โดยที่คุณไม่ได้รู้ข้อมูลอย่างแท้จริง ในความเป็นนจริงเยอรมันีจัดว่าเป็นประเทศหนึ่งที่ให้สวัสดิการ และปกป้องคนทำงานเป็นอันมาก  มากกว่าเมกาเยอะเสียด้วย เทียบกับเมกาที่งานคุณจะโดนเด้งเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าว่ากันตามจริง ประเทศเยอรมันมีวิศวะเป็นสันหลังของชาติ อุตสาหกรรมที่ทำงินให้ประเทศมากที่สุด ก็คือรถยนตร์ และเครื่องจักรต่างๆ เพราะฉะนั้นเยอรมันีเองก็มีค่าจ้างรายงานที่สูง(มาก) แม้แต่ฝรั่งเศสเองก็ยังจ่ายวิศวะได้ไม่ดีเท่าเยอรมันี การจะไล่คนออกจากบริษัทของเยอรมันนั้นเป็นไปแทบไม่ได้เลย เว้นแต่คนๆนั้นจะำอะไรท่ร้ายแรงจริงๆ เช่น ขายความลับของบริษัท ขโมยของ ฉ้อโกง กฏหมายเยอรมันก็ปกป้องคนทำงานมาก เช่น จำกัดว่า ห้ามทำงานเกิน 10 ชม ต่อ วัน (บวกเวลาพักเข้าไปด้วยนะ) ซึ่งไม่ใช่แต่กฏบนกระดาษท่านั้น ปกติเงินเดือน start เด็กจบโท(เครื่องกล ไฟฟ้า) ตกอยู่ที่ประมาณ 50 k € ซึ่งก็เรียกว่าสูงมากกว่าอาชีพอื่น ยิ่งถ้าได้ในสายรถยนตร์ยิ่งแล้วใหญ่ เอาจริงๆ ค่าครองชีพของเยอรมันีก็สูงกว่าเเมกาตามเงินเดือนด้วยเช่นกัน (อันนี้เราพูดถึงวิศวะฑรรมดานะ ไม่ใช่พวก ceo หรืออะไร พวกนั้นไม่ต้องพูดถึงจะอยู่ไหนก็เงินเดือนหลักล้าน)  ตามกฏหมายบริษัทก็ต้องช่วยออกค่าประกันสุขภาพให้ครึ่งนึงอีก บางบริษัทก็ช่วยพวกเงินเกษียณให้อีกด้วยซ้ำ

แม้แต่หากวันนึงคุณตัดสินใจจะกลับไทย เงินมี่คุณโดนหักไปเป็นค่าเกษีนณนั้น ก็สามารถเอาออกไปเป็นเงินก้อนได้ (ซึ่งคนไทยหลายๆคนทำ กลายเป็นมีเงินไปเริ่มต้นอะไรใหม่ที่ไทยกันไปเลย) ถ้าคุณคิดว่า คุณเรียนจบแล้วอยากจะไปทำงานที่เมกาจริงๆ ก็เอาสิครับ ด้วย degree ของเยอรมัน ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส แต่ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์การทำงาน ไม่ว่าจะประเทศไหน งานแรกคือหินทั้งนั้น ยากที่จะไปไหนได้ตามใจชอบ แน่นอนว่า เนื่องด้วยประเทศนี้เป็นประเทศที่ค่อนไปทางซ้าย พวก tax ต่างๆก็จะสูงตามไปด้วย ขั้นสูงสุดอยู่ที่ 45% ถ้าเป็นคนโสดก็จะโดนหักเยอะสุด แต่ในฐานะวิศวกร ก็สามารถอยู่จากเงินเดือนที่ได้อย่างไม่ยากเย็นอะไรแต่แน่นอนว่า การเป็นต่างชาติมีผลทำให้โดนกดเงินเดือนลงเยอะ บางคนพอใจงานก็ยอมเรื่องเงินเดือน ยิ่งในฐานะที่เป็นต่างชาติ หากภาษาไม่แข็ง โอกาสจะขึ้นไปตำแหน่งสูงก็จะลำบากมากกว่า เรื่องงงานนี้มันขึ้นอยู่กัหลายๆ factor นอกจากความสามารถแล้ว ก็ต้องมีโชคด้วย คนไทยที่ทำงาน Bosch, Siemens ก็มีให้เห็นประปราย ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ และไม่ใช่ว่าจะหางานไม่ได้ แต่จงทำใจไว้ว่า การเป็นต่างชาติไม่ว่าจะเมกา หรือยุโรป ยังไงก็ยังเป็นชนชั้นสอง ถ้าไม่ขยัน แล้วยังเลือกงาน ไม่ว่าที่ไหนคุณก็จะลำบาก

สุดท้าย อยากจะให้ความรู้ไว้อีกซักนิดในฐานะอนาคตวิศวะไว้ว่า ทุกวันนี้เมกาเสียดุลการค้าให้กับเยอรมันีนะครับ เยอะเสียด้วย ข้อมูลเป๊ะๆ ของ 2016  กล่าวคือเมกา import หริอซื้อจากเยอรมันีมากกว่าเยอรมันีเอาของเมกาเข้า ถ้าเอาเป็นตัวเลขเป๊ะๆ คือ เมกา import ของจากเเยอรมัน เป็นมูลค่า 107 billions € และในทางกลับกันเยอรมันี Import ของเมกาเข้ามาเป็นมูลค่าเกือบ 58 billions € คือ ครึ่งต่อครึ่งนั่นเเอง และจงอย่าลืมว่า ไซส์ประเทศเยอรมันีกับเมกาต่างกันแค่ไหน ตัวอย่างที่ผมทราบก็ เช่น ไฟของรถยนตร์ต่างๆที่รถพวกเมกาใช้ นอกจากบริษัทเยอรมันแล้ว ก็มีฝรั่งเศสอีกบริษัท ที่เป็นผู้พัฒนา และผลิตให้ ไม่ได้ทำเองนะครับ ซึ่งหากพูดถึงเรื่องรถยนตร์ เครื่องจักร หรือเรื่องเลนส์ชั้นสูง (เช่นที่ใช้กับกระสวยต่างๆ หรือใช้ในอวกาศ) เมกาก็ยังเทียบเยอรมันีไม่ได้ เรื่องเทคนิคการแพทย์นั้นก็ยังสูสีๆกันอยู่ ส่วนเรื่องรถยนตร์คงไม่ต้องบอกล่ะมั้ง มองดูรอบๆที่ไทยก็น่าจะเห็นอยู่ว่า BMW, Benz, Mini อะไรเทือกๆนั้นเยอะหรือไม่ทั่วโลก

ผมไม่ได้บอกว่า เยอรมันีดีกว่าเมกาทุกอย่างนะ และไม่ได้บอกว่า คนเยอรมันดีกว่า หรือดีที่สุดอะไร คนทุกชาติมันมีทั้งดีและไม่ดีทั้งนั้น แต่ถ้ามองกันตามเหตุตามผล มันก็มีเหตุผลในตัวของมันว่า ทำไมประเทศนี้ถึงยังเป็นมหาอำนาจได้ในปัจจุบัน ทั้งๆที่ไซส์ประเทศไม่ได้ใหญ่โต (ถ้าจะเอาด้านเศรษฐกิจก็กลับขึ้นไปอ่านเสียว่าใครขาดทุนอยู่) และผู้นำดันเป็นผู้หญิงเสียด้วย นิสัยเสียของคนเยอรมันก็มีมากมาย และข้อผิดพลาดของเยอรมันก็มีนับไม่ถ้วนในอดีตรวมถึงปัจจุบัน (ดูสิ รัฐบาลยังก่อตั้งไม่ได้เสียที) แต่ในฐานะที่ผมอยู่ที่นี่มาเกินครึ่งชีวิต ผมก็ยังถือว่า ประเทศนี้ให้อะไรกับผมมากมาย มีทั้งดี และไม่ดีปนกันไป ผมผ่านอะไรมาเยอะ เรียนรู้มาแยะ ไม่ใช่แค่เรื่องเรียน แต่เป็นการใช้ชีวิตด้วย ทุกวันนี้ที่มีการศึกษา มีงานมีการทำได้ ก็เพราะสวัสดิการของประเทศนี้ทั้งสิ้น การจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างมีความสุข คุณจะต้องรู้จักจะ identify ตัวเองกับประเทศนั้นๆ ข้อดีข้อเสียทุกที่มีหมด แค่แตกต่างกันไป อยู่ที่ตัวคุณเองจะรับมันได้หรือไม่ และจะปรับตัวเอง แก้ปัญหา และใช้ชีวิตยังไงให้มีความมสุข

ขอให้โชคดีกับการตัดสินใจของคุณแล้วกันครับ จขกท คิดดีๆ ตัดสินใจให้ดี ตัดสินใจแล้วก็จงอย่าท้อถอย ล้มก็ต้องลุกให้ได้ พยายามพึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเสมอครับ จำไว้ ทำตัวให้เป็นภาระพ่อแม่ให้น้อยที่สุดเป็นดี
ความคิดเห็นที่ 10
อ่ะ ผมกลับมาต่อให้ตามสัญญา เรามาต่อกันดีกว่า เอาเรื่องเรียนก่อนแล้วกัน

4) ระบบการเข้าเรียนสำหรับนักศึกษามันเป็นยังไงกันแน่ กว่าจะได้เข้ามหาวิทยาลัย (อันนี้ง่าย ขาออกก็ง่ายถ้าโดนเค้าเอาออก แต่จะออกแบบเรียนจบนั้นก็อย่างที่บอกไปแล้ว) ในย่อหน้านี้ ผมก็จะกล่าวถึงระยะเวลาในการเรียนโดยรวมไปเลยด้วย

คุณเข้าใจถูกแล้ว ม.6 ของไทย ไม่ได้รับการยอมรับให้เทียบเท่ากับ Abitur ของเยอรมันี (ซึ่งมันไม่ได้แปลว่า มัธยมไทยไม่ดีนะ ผมเดาเอาว่า มันเป็นเพราะคุณภาพการศึกษาไทยมันไม่เท่าเทียม ถ้าอยู่ รร จากพวกเตรียมอุดม หรือโรงเรียนเอกชนดังๆ มันก็ดี ถ้าไม่ใช่ก็แย่) เพราะฉะนั้น คุณจะต้องเข้า Studienkolleg ก่อน

ผมยกตัวอย่างให้ว่า อย่าง ๑ อำเภอ ๑ ทุน ที่ส่งเด็กมาหลายรุ่นแล้ว (รุ่นแรกก็ทำงานกันอยู่แล้วปัจจุบันนี้) ตามหลักสูตรนั้น ปีแรกเค้าบังคับให้เด็กเรียน Goethe ก่อนหนึ่งปี เป็นการเตรียมภาษา สอบกันผ่านถึงจะปล่อยให้ไปสอบเข้า Kolleg เอาง่ายๆว่า ยังไงเสีย B1-B2 ต้องได้ เอาจริงๆนั่นก้ยังน้อยเหลือเกิน Abitur หรือจบ Highschool ของเยอรมันจะนับเป็นประมาณ C1 จริงๆแล้ว B2 นี่คุณยังสื่อสารได้แค่ใช้ชีวิตประจำวันง่ายๆ เข้ามหาลัยไม่ไหวแน่นอน เจอศัพท์เทคนิคเข้าไป ตายหยังเขียด Studienkolleg ของมหาลัยแต่ละที่ก็ยากง่ายไม่เท่ากัน บางอันแค่ของ FH บางอันของ TU9 ก็จะยากหน่อย เข้ายากกว่าเป็นธรรมดา จริงๆถ้าเรียนจากเมืองไทยมาได้ดี เรื่องเข้า Kolleg ไม่น่าจะเกินความสามารถ แต่ถ้าภาษาอ่อน ไม่ขยันอีก ก็ไม่รอดครับ เรียนใน Kolleg นี่จริงๆแล้ว ถ้าเทียบกับ Abitur เนื้อหายังห่างไกลกันเยอะ เอาจริงๆ Kolleg นี่อารมณ์เรียนแยกสาย ลดวิชาเฉพาะทางแล้วด้วยซ้ำ พวกจะเข้าวิศวะ สายวิทยาศาสตร์ก็เข้าสายเทคนิคไป แล้วก็เรียนวิชาพื้นฐานแบบเลข ฟิสิกส์ เคมี ภาษาเยอรมัน เรียกว่า เรียนน้อยครับ เวลาว่างเยอะ

เอาจริงๆเด็กไทยที่เรียน รร ดีๆมา เรียนปานกลางขึ้นไป ไม่มีปัญหาหรอกครับ การผ่าน Studienkolleg สบายๆ แต่ถามว่าจำเป็นมั้ย จำเป็นมาก เพราะใน Kolleg นี้ เค้าจะสอบให้คุณรู้จักศัพท์พื้นฐานด้านเทคนิค ที่เด็กไทยต้องปรับทั้งหมด เพราะว่าเมืองไทยเรียนตามระบบอังกฤษ อย่าลืมว่า หลายๆอย่างเยอรมันีเป็นประเทศที่คิดค้นเองทั้งสิ้น ตำราเขียนเองหมด ไม่ได้เอามาแปล นอกจากหน่วยแล้ว ศัพท์ต่างไปหมด ผมยกตัวอย่างซัพท์พื้นฐานไฟฟ้าง่ายๆให้ Spannung (Voltage) in V [ตัวย่อเยอรมันใช้ U], Strom (Current) in A [ต่อย่อ I], Leistung (Power) in W  etc.
และเป็นแบบนี้ทุกวิชาสายวิทย์ คือ เด็กต้องปรับตัวให้ชิน และเยอรมันีแทบจะไม่ใช่ศัพท์ทับจากภาษาอังกฤษเลย (เอาจริงๆตอนนี้นึกไม่ออกว่า คำไหนทับของอังกฤษ มีแต่ Latin ซะมากกว่า) เด็กที่เรียนมาอ่อนก็จะหลุดตั้งแต่แถวนี้แล้ว เรียน Kolleg ก็ตกอีกประมาณปีนิดๆนะ ถ้าผมจำไม่ผิด แล้วถึงจะเข้ามหาลัย คุณก็ต้องไปเลือกเอาเองว่า อยากจะเข้ามหาวิทยาลัยไหน เมืองไหน  จะเป็นแบบ Universität หรือแบบ Fachhochschule (ผมขอไม่อธิบายนะว่าต่างกันยังไง มันยาวอีกล่ะ)

อย่างที่บอกว่า ถ้าของ Technische Universität นั้น จะมี 9 มหาลัยใหญ่ทั่วประเทศที่เรียกว่าเป็นมหาวิทยาชั้นนำ และเป็นมหาวิทยาลัยใหญ่ที่คนไทยมักจะอยากจะเข้ากันมากกว่า (ค่านิยมกันมากกว่าแหละ) แต่!! คราวนี้ผมจะขอยกข้อดีอย่างนึงของเยอรมันีให้ ซึ่งเมกาไม่มี ไม่เพียงแค่ค่าเล่าเรียนของเยอรมันีถูกกว่า แต่คุณภาพก็ยังค่อนข้างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ จะมหาลัยเล็กใหญ่ เรียนให้ได้ เรียนให้จบแล้วกัน และบริษัทต่างๆในเยอรมันีก็ไม่ค่อยจะสนใจหรอกว่า คุณจบมาจากที่ไหน ตราบใดที่คุณมีความสามารถ ผมยกตัวอย่างบริษัทใหญ่ของเยอรมันีให้ 1 บริษัท เช่น Bosch คนที่ทำงานที่ Bosch มาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยมากมาย ไม่ได้มีจากที่ไหนเยอะกว่าที่ใด (เว้นแต่มหาวิทยาลัยเจ้าที่แถวนั้น เด็กก็มาสมัครได้เยอะ แต่ไม่ใช่ว่า เพราะชื่อนี้ๆ บริษัทถึงรับ)

นี่ คือ ข้อแตกต่างที่เห็นชัดที่สุดรพหว่างเยอรมันีกับเมกา เพราะประเทศนี้ถือว่า คนมีสามารถจะมาจากเมืองใหญ่แบบมิวนิค หริอเมืองหลังเขาเล็กๆ ก็เหมือนกัน ยังไงคนเก่ง อยู่ที่ไหนมันก็เก่ง ยกตัวอย่างในบบริษัทผมเลยละกัน หัวหน้าใหญ่ของ R&D จบมาจากมหาวิทยาลัยใหญ่และดังของเยอรมันก็จริง แต่หัวหน้าแผนกคนอื่นๆมาจากคนละที่หมด คนนึงมาจากมหาวิทยาลัยเล็กแถวนี้ อีกคนมาจากอีกทิศนู่น ปะปนกันไปหมดไม่สามารถจะบอกได้ว่า เพราะมาจากมหาวิทยาลัยใหญ่แล้วจะเก่งกว่า หรือเพราะมาจากมหาววิทยาลัยเล็ก แล้วจะทำงานแย่กว่า

มาเรื่องการสอบ เอาเป็นตรีก่อนละกัน มันแล้วแต่คนสอน บางคนให้เอาหนังสือเข้าได้ทุกเล่ม ใช้ได้ทุกอย่าง เพราะมันไม่ช่วยอะไร แต่เลขนี่ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ใช้หัวล้วนๆ 4 ตัว ตอนเรียนตรีสอบข้อเขียนเกือบหมด เวลาไม่ค่อยพอเป็นปกติ แต่ตัดเอาอิงกลุ่มเป็นหลัก ระบบเกรดเยอรมันตรงข้ามกับไทย 1-5 ซึ่ง 1 คือ ดีสุด และ 5 ถือตก ได้ 4 เท่ากับคาบเส้นผ่าน เกรดก็มีตั้งแต่ 1.0, 1.3, 1.7, 2.0 ไล้ไปครับ การจะนับว่าเป็น Sehr gut คือ 1.0-1.3 ตั้งแต่ 1.7-2.3 นับว่า gut เกรดตรีพวกเรียนวิศวะกากกันเป็นเรื่องปกติ การสอบตกนี่ปกติครับ มีไม่กี่คนที่เรียนแล้วไม่เคยตก คุณจะเคยชินกับการตกไปเลย แต่มันจะเครียดตอนสอบรอบ 2 ว่าคุณจะอยากให้ผ่าน เพราะถ้าตกอีก คราวนี้ล่ะโอกาสสุดท้าย หรือที่เรียกว่า 3. Versuch (Third / Last attempt) เรียกว่าอนาคตขึ้นอยู่กับเส้นด้าย ถ้าซวยหน่อยเรียนมาไกลลิบ มาถึงเทอมหลังดันมาตกตัวใดตัวหนึ่งรอบสาม เท่ากับที่เรียนมาทั้งหมดตั้งแต่แรกเป็นศูนย์!!

จริงๆแล้วการเรียนในเยอรมันี ถ้าว่ากันตามจริง ยากที่สุด คือ การเรียนตรี ถ้าคุณเรียนจนจบตรี โทนี่เด็กๆครับ (สมัยผมเรียนตรี แม่ผมนี่เครียด นอนไม่หลับไม่รู้กี่ครั้ง สอบทีมานั่งลุ้นเป็นเพื่อนลูก เครียดเป็นเพื่อนลูกเลยทีเดียว) เพราะการเรียนตรึ มันเรียนแบบ universal มาก คือต้องเรียนพื้นฐานของวิชานั้นๆทุกด้านจริงๆ เพื่อให้เด็กค้นหาตัวเองด้วย แล้วแต่ละคนถนัดแต่ละวิชาไม่เท่ากัน มันก็จะหนักมากทีเดียวสำหรับทุกคนที่จะต้องเรียนให้ผ่านทุกตัว กว่าจะเรียนจบตรีกันนั้นก็เสียทั้งแรง เวลานอน และน้ำตากันไม่รู้เท่าไหร่  อย่างเดียวที่ช่วยได้ คือ การอ่านหนังสือเยอะๆ และการทำแบบฝึกหัด รวมถึงการทำข้อสอบเก่าๆ ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าๆ ข้อสอบลากกลับไปถึงปี 199x ก็มีถมไป (นี่ผมเห็นเด็กรุ่นนี้นอนห้องสมุดกันเลยทีเดียวช่วงสอบ) ถ้าดั้นดนกันจนจบตรีได้ พอเข้าไปโท คนส่วนมากก็จะรู้แล้วว่า ตัวเองถนัด และสนใจสายไหน ต้องอ่านหนังสือยังไง เตรียมตัวแบบไหน การเรียนก็จะดูง่ายขึ้น เพราะเรียนกันตามความถนัด และเรียนตามความเข้าใจมากขึ้น ไม่ใช่การกรองเด็กแบบก่อน ก็จะมีปัญหาใหม่สำหรับต่างชาติ คือ สอบ oral เพราะการสอบ oral มันอาศัยความเข้าใจ ไม่ใช่การท่องจำอย่างเดียวหรือการทำแบบฝึกหัด โปรเค้าจะ test ว่า คุณเข้าใจที่เรียนจริงแค่ไหน คำถามก็จะสามารถพลิกไปได้เรื่อยๆ แม้จะมีข้อสอบที่จดๆกันไว้เก่าๆ ถ้าคุณไม่เข้าใจก็ตกอยู่ดี ยิ่งถ้าภาษาอ่อนแบบต่างชาติหลายๆคนที่มาต่อโทนั้น ก็ตกกันไป (โปรบางคนก็ 2 มาตรฐานเหลือเกิน ต่างชาติคนไหนง่อยภาษา ให้ผ่านก็มี เพราะสงสาร สมัยผมเรียน เรื่องนี้ก็ทำให้ผมเองก็รู้สึกไม่แฟร์มาหลายครั้ง แต่ก็นะ มันก็ได้บทเรียนใหม่อีกคือ ในชีวิตไม่มีอะไรยุติธรรม)

ระยะเวลาตามกระดาษของวิศวะ คือ เรียนตรี 6-7 เทอม แต่โทอีกปีครึ่ง-2ปี แต่ในความเป็นจริง คือ เรียนตรีกว่าจะจบกันก็ปาเข้าไป 8-9 เทอม เรียนโทนี่อาจจะมีทางให้จบใน 4 เทอม (2 ปี)ได้ แต่ก็ลากเกินกันนิดๆหน่อยเป็นปกติ 5-6 เทอมก็มีให้เห็นประปราย สรุปง่ายๆ ตรี + โท ไม่มีทางต่ำกว่า 6 -7 ปี (5 ปีนี่นับหัวได้ พวกที่มันทำได้นี่มันก็เก่งจริงๆ เทพเหลือเกิน) บางคนเกือบ 10 ปีผมก็เคยเจอ ยิ่งเอกนี่อย่างน้อย 5 ปี บางคนปาเข้าไป 7-8 ปี ผมเองก็เป็นคนนึงที่ตัดสินใจปฏิเสธ professors ไปสองคนที่จะทำเอก เพราะไม่ไหวเหมือนกันหากจะเสียเวลาอีก 5-7 ปีเรื่องนี้ สู้ออกไปเก็บประสบการณ์จากการทำงานดีกว่า แต่คนที่เค้าเต็มใจจะอยู่ เต็มใจจะทำเอกก็ถมเถไปนะ เดี๋ยวนี้จบโทออกมาก็เฉลี่ยแล้วน่าจะ 24-25 กันได้ (ลองคิดดูเอาเองว่ากว่าจะจบเอก แก่ไปขนาดไหนแล้ว) แต่การจบเร็วไม่ได้หมายความว่าจะหางานได้ดีกว่าจบช้า ถ้าคุณจบช้า แต่ทำงานเก็บประสบการณ์ไปด้วย อย่างผมสมัยเรียน ผมอยากเก็บประสบการณ์การทำงาน ผมก็ทำงาน part-time ไปด้วยด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับประเทศนี้ที่นักเรียนทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย คุณถามว่า ถ้าพ่อคุณเกิดป่วยขึ้นมา คุณจะทำยังไง จริงๆมันก็มีหลายทางเลือก

1) ไปสอบทุน ทุนไทยที่ส่งมาเยอรมันีมีเยอะแยะ แม้แต่ของ DAAD เอง ที่ทางรัฐบาลเยอรมันเป็นคนให้ หรืออย่างคนใกล้ตัวผมก็ทุน 1 อ ำเถอ 1 ทุนนี้ไม่บังคับคุณให้คืนเงิน หรือต้องกลับไทยด้วยนะ แต่แน่นอนว่า มีการควมคุมผลการเรียนเด็กเรื่อยๆ แต่ไม่ได้หินเกินความสามารถ

2) ภาษาได้ในระดับหนึ่ง ไปหางาน part-time ทำเสีย แล้วก็เก็บเงินซะ (บริษัทใหญ่ๆในเยอรมันีให้เด็กไม่น้อยนะครับ ตกชมละ 13-15 ยูโร ทำอาทิตย์นึง 10-20 ชม ก็ได้ 300 แล้วนะ) ยิ่งถ้าช่วงที่ไม่มีเรียน ทำได้เยอะได้กันเป็นพัน ปกติครับ มันอยู่ที่คุณเลือกงานรึเปล่า สู้งานมั้ย ยินยอมจะเริ่มจากข้างล่างมั้ย อย่างตัวผมเองงานแรกแค่ทำงานแบบเด็กขนของ ทำงานใน production บริษัทเล็กๆ แล้วก็ไต่เต้าขึ้นไปเรื่อยๆ งานสุดท้ายก่อนผมจะเรียนจบ ผมทำเป็น working student ในแผนก sensor ให้กับ Continental เรียกว่าได้ทำงานตรงสาายที่เรียน ไม่ใช่งานแรงงาน แถมเงินดี ได้ประสบการณ์อีกต่างหาก แต่ก่อนหน้านั้นผมไต่เต้าขึ้นไป  ทำรวมๆแล้วไม่น้อยกว่า 4-5 บริษัทนะ)

ถ้าอยากจะใช้ชีวิตที่นี่ให้ได้ดี คุณจะต้องทำตัวเป็นผู้ใหญ่ และจงอย่าคิดหวังพึ่งพ่อแม่ เอาจริงๆพวกเด็กทุนหลายๆคนเงินที่ได้จากทุนก็เก็บๆกัน แล้วส่งกลับบ้านเสียด้วยซ้ำ ไม่ได้คาดหวังว่า จะให้เค้าส่งเงินมาให้กันเลย อยากจะใช้ชีวิตที่เยอรมันี คุณต้องยืนบนขาตัวเองให้ได้มากที่สุด ประเทศนี้ไม่เคยดูแคลนคนขยัน และคนสู้งาน แต่ถ้าทำตัวเป็นเด็กเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ วันนึงเวลาออกไปทำงาน คุณก็จะมีปัญหาอยู่ดี

เยอรมันีเน้นให้วิศวะมีความรู้ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ (วันนึงเวลาคุณออกไปทำงาน คุณจะรู้ว่า การที่เรียนจบออกมาเกรดดีแต่ไม่เคยทำงานในบริษัทเลยนั้น ก็หางานแสนจะยากลำบากเหลือเกิน) เพราะฉะนั้นก็ควรจะต้องฝึกงาน ทำงาน part-time ตามสายที่เรียนกันไปด้วย ยิ่งถ้าอยากทำงานที่นี่ต่อ การจะต้องมีประสบการณ์การทำงานเล็กๆน้อยๆ คือ mandatory
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่