คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
แพรแถบ ที่ติดอกซ้ายนั้น
จะมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญบำเหน็จ
2. แพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก
อธิบายง่ายๆ แถบสีต่างๆ ที่ติดอกซ้ายของเครื่องแบบ ข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ นั้น จะแยกเป็น 2 แบบ ข้างต้น
สำหรับ แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญบำเหน็จ จะต้องได้รับพระราชทาน จึงจะมีสิทธิประดับ
ในส่วน แพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก (ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9)
มีทั้งสิ้น 20 แพรแถบเหรียญ คือ
1. เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9
2. เหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
3. เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
4. เหรียญรัชดาภิเษก
5. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
6. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
7. เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
8. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
9. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
10. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
11. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
12. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
13. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
14. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
15. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
16. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
17. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
18. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
19. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
20. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙
ประชาชนทุกคน มีสิทธิประดับได้เลย โดยไม่ต้องคำนึงถึง พ.ศ. เกิด (เว้นอยู่ 2 เหรียญแรก)
หลายๆ คน ไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนี้ ต่างคิดไปเองว่าต้องเกิดก่อน พ.ศ. ที่จัดสร้างเหรียญเท่านั้น จึงจะมีสิทธิประดับ ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่เลย
สำหรับแพรแถบเหรียญที่เว้นอยู่ 2 แพรแถบเหรียญ คือ
1. แพรแถบเหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.9
- บุคคลต้องได้รับพระราชทาน จึงมีสิทธิประดับ
2. แพรแถบเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- ตาม พ.ร.บ. เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499
มาตรา 4 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ให้มีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป
ส่วนแพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก อื่นๆ นั้น
กฎหมายบัญญัติไว้เพียงว่า "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้"
หรือ "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ตั้งแต่วัน..... เป็นต้นไป" เท่านั้น
ซึ่งไม่ได้มีการกำหนด พ.ศ. เกิดของบุคคลที่มีสิทธิประดับแต่อย่างใด
สรุป
แพรแถบในสมัยรัชกาลที่ 9 คนไทยติดได้ทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องรับราชการ
แต่ติดได้เลยเฉพาะแพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก (ยกเว้น 2 เหรียญข้างต้น)
ส่วนแพรแถบเครื่องราชหรือเหรียญราช ต้องได้รับพระราชทานก่อน จึงมีสิทธิประดับ
ปีก ติดได้ไหม ก็ได้ ถ้าเป็นปีกที่ได้มาถูกต้อง ไม่ว่าจะไปฝึกมาเอง หรือ กิตติมศักดิ์ ก็ติดได้
เสมา ก็ติดได้ เพราะเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัดประกอบเครื่องแบบ ไม่มีระเบียบห้าม
ป้ายชื่อ ถ้าถูกระเบียบ ก็ติดได้ ไม่มีระเบียบห้าม
เครื่องแบบ เครื่องหมายอื่นๆ ติดได้ตามที่บอก
แต่ครูอัตราจ้าง จะไม่มีอินทรนู
เพราะครูอัตราจ้าง ไม่ถือเป็นบุคลากรรัฐประเภทใดเลย
ผมเห็นบางคนเอาอินทรนูลูกจ้าง หรือ พนักงานราชการ มาติด ซึ่งเอาจริง ๆ มันผิด ติดไม่ได้
(เอาจริงๆ ก็ไม่มีเครื่องแบบกากีด้วยซ้ำ เพราะไม่มีระเบียบ แต่อาจอนุโลมให้แต่งชุดกากี แต่ไม่ติดอินทรนูก็ได้)
จะมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญบำเหน็จ
2. แพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก
อธิบายง่ายๆ แถบสีต่างๆ ที่ติดอกซ้ายของเครื่องแบบ ข้าราชการ, รัฐวิสาหกิจ นั้น จะแยกเป็น 2 แบบ ข้างต้น
สำหรับ แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญบำเหน็จ จะต้องได้รับพระราชทาน จึงจะมีสิทธิประดับ
ในส่วน แพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก (ในรัชสมัยรัชกาลที่ 9)
มีทั้งสิ้น 20 แพรแถบเหรียญ คือ
1. เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9
2. เหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
3. เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป
4. เหรียญรัชดาภิเษก
5. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
6. เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
7. เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
8. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
9. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
10. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
11. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
12. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
13. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
14. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
15. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
16. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
17. เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
18. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
19. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษายน ๒๕๕๘
20. เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙
ประชาชนทุกคน มีสิทธิประดับได้เลย โดยไม่ต้องคำนึงถึง พ.ศ. เกิด (เว้นอยู่ 2 เหรียญแรก)
หลายๆ คน ไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนี้ ต่างคิดไปเองว่าต้องเกิดก่อน พ.ศ. ที่จัดสร้างเหรียญเท่านั้น จึงจะมีสิทธิประดับ ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ใช่เลย
สำหรับแพรแถบเหรียญที่เว้นอยู่ 2 แพรแถบเหรียญ คือ
1. แพรแถบเหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ร.9
- บุคคลต้องได้รับพระราชทาน จึงมีสิทธิประดับ
2. แพรแถบเหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- ตาม พ.ร.บ. เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499
มาตรา 4 บัญญัติว่า บุคคลซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ให้มีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 เป็นต้นไป
ส่วนแพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก อื่นๆ นั้น
กฎหมายบัญญัติไว้เพียงว่า "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้"
หรือ "บุคคลมีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้ตั้งแต่วัน..... เป็นต้นไป" เท่านั้น
ซึ่งไม่ได้มีการกำหนด พ.ศ. เกิดของบุคคลที่มีสิทธิประดับแต่อย่างใด
สรุป
แพรแถบในสมัยรัชกาลที่ 9 คนไทยติดได้ทุกคน โดยไม่จำเป็นต้องรับราชการ
แต่ติดได้เลยเฉพาะแพรแถบเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก (ยกเว้น 2 เหรียญข้างต้น)
ส่วนแพรแถบเครื่องราชหรือเหรียญราช ต้องได้รับพระราชทานก่อน จึงมีสิทธิประดับ
ปีก ติดได้ไหม ก็ได้ ถ้าเป็นปีกที่ได้มาถูกต้อง ไม่ว่าจะไปฝึกมาเอง หรือ กิตติมศักดิ์ ก็ติดได้
เสมา ก็ติดได้ เพราะเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัดประกอบเครื่องแบบ ไม่มีระเบียบห้าม
ป้ายชื่อ ถ้าถูกระเบียบ ก็ติดได้ ไม่มีระเบียบห้าม
เครื่องแบบ เครื่องหมายอื่นๆ ติดได้ตามที่บอก
แต่ครูอัตราจ้าง จะไม่มีอินทรนู
เพราะครูอัตราจ้าง ไม่ถือเป็นบุคลากรรัฐประเภทใดเลย
ผมเห็นบางคนเอาอินทรนูลูกจ้าง หรือ พนักงานราชการ มาติด ซึ่งเอาจริง ๆ มันผิด ติดไม่ได้
(เอาจริงๆ ก็ไม่มีเครื่องแบบกากีด้วยซ้ำ เพราะไม่มีระเบียบ แต่อาจอนุโลมให้แต่งชุดกากี แต่ไม่ติดอินทรนูก็ได้)
แสดงความคิดเห็น
ครูอัตราจ้าง แต่งเครื่องแบบสีกากี ติดเครื่องหมายอื่นๆ
เพื่อนผม เรียน รด.ปี 5 มา เขามีแถบสี กับ ปีกนก แล้วเอามาติดกับ ชุดกากี ครูอัตราจ้าง ที่ให้ติดกับ เสมา กระทรวงศึกษา และ ป้ายชื่อ แต่ เอา ป้าย รด.มาติด ที่ชุด กากีด้วย
อยากทราบว่า ไม่อนุญาติ หรือ อนุญาต อย่างไร