เมื่อไม่กี่วันก่อน ทีมวิจัยของ ดร.อลัน เจมิสัน จาก Newcastle University ได้สุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ซึ่งหลักๆ จะเป็นพวก Crustaceans (สัตว์มีกระดอง จำพวกกุ้ง กั้ง ปู) รวมไปถึงบรรดา Microbes จากส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรในหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นหลุมมาเรียน่า หลุมญี่ปุ่น หลุมอิซุ-โบนิน หลุมเปรู-ชิลี หลุมนิวเฮอบริดิส และหลุมลึกเคอร์มาเดค ซึ่งแต่ละหลุมนั้นมีความลึกไม่ต่ำกว่า 7 พันเมตร และหลุมที่ลึกที่สุดก็คือหลุมมาเรียน่า ซึ่งมีความลึกอยู่ที่ 10,890 เมตรเลยทีเดียว
ภาพหนอนธนูที่กินเส้นใยพลาสติกเข้าไป ทำให้ไปอุดตันทางเดินอาหารของมัน
ทีมวิจัยของเขาได้ตรวจสอบสัตว์น้ำที่จับมาได้กว่า 90 ชนิด พบว่ากว่าครึ่งของสัตว์น้ำที่พบในหลุมนิวเฮอบริดีส มีชิ้นส่วนพลาสติกอยู่ในระบบย่อยอาหาร ในขณะที่สัตว์น้ำจากหลุมมารีน่า พบว่ามีเศษพลาสติกในท้องของพวกมันทั้งหมด โดยเศษชิ้นส่วนที่พบ มีตั้งแต่เส้นใยกึ่งสังเคราะห์จากเซลลูโลส เช่น เรยอน (Rayon) ไลโอเซลล์ (Lyocell) และรามี (Ramie) ซึ่งทั้งหมดเป็นเส้นใยที่ใช้ในพวกอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมไปถึงไนลอน PE PA PVA และ PVC
ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกที่ถูกนำมาตรวจหาพลาสติก
ดร.เจมิสัน กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลลึก จะรอกินอาหารที่จมลงสู่ก้นมหาสมุทร เนื่องจากบริเวณนั้นมีอาหารที่น้อยมาก พวกมันจึงต้องปรับตัวโดยการกินทุกอย่างเข้าไป และรวมถึงเศษพลาสติกพวกนี้ด้วย การค้นพบครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากทีเดียว
โซนเก็บตัวอย่างบริเวณหลุมลึกมาเรียน่า
Footage การเก็บตัวอย่างโดยใช้เครื่องหย่อนลงไปครับ
เอาจริงๆ ผมว่าเป็นข่าวที่น่ากลัวทีเดียวนะ นั่นแปลว่าแม้กระทั่งมหาสมุทรในส่วนที่ลึกที่สุดก็เกิดมลพิษซะแล้ว พวก Microbeads นี่น่ากลัวมากครับ ยิ่งถ้าเราทานอาหารทะเลเข้าไปด้วย อยากให้รณรงค์ในเรื่องการทิ้งและการใช้พลาสติกอย่างมีความรับผิดชอบกันเยอะๆ ครับ ถึงแม้ภาครัฐจะไม่ขยับ แต่เราก็สามารถเริ่มต้นที่ตัวเราเองได้ครับ มาลดใช้พลาสติกเท่าที่ทำได้กันเถอะ!!
แหล่งที่มา
•
Man-made fibres and plastic found in the deepest living organisms | Newcastle University
•
Sea creatures living as low as 7 miles deep are eating plastic | COUNTRY LIVING
•
Sea creatures in Mariana Trench (the deepest place on Earth) have plastic in their stomachs | The Telegraph
•
Sea creatures in deepest parts of ocean found to have plastic fibres in their stomachs for first time | INDEPENDENT
•
Plastics found in stomachs of deepest sea creatures | theguardian
"ขยะพลาสติก" ถูกพบในสัตว์ทะเลในส่วนลึกที่สุดของมหาสมุทร!
เมื่อไม่กี่วันก่อน ทีมวิจัยของ ดร.อลัน เจมิสัน จาก Newcastle University ได้สุ่มเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ซึ่งหลักๆ จะเป็นพวก Crustaceans (สัตว์มีกระดอง จำพวกกุ้ง กั้ง ปู) รวมไปถึงบรรดา Microbes จากส่วนที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรในหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นหลุมมาเรียน่า หลุมญี่ปุ่น หลุมอิซุ-โบนิน หลุมเปรู-ชิลี หลุมนิวเฮอบริดิส และหลุมลึกเคอร์มาเดค ซึ่งแต่ละหลุมนั้นมีความลึกไม่ต่ำกว่า 7 พันเมตร และหลุมที่ลึกที่สุดก็คือหลุมมาเรียน่า ซึ่งมีความลึกอยู่ที่ 10,890 เมตรเลยทีเดียว
ทีมวิจัยของเขาได้ตรวจสอบสัตว์น้ำที่จับมาได้กว่า 90 ชนิด พบว่ากว่าครึ่งของสัตว์น้ำที่พบในหลุมนิวเฮอบริดีส มีชิ้นส่วนพลาสติกอยู่ในระบบย่อยอาหาร ในขณะที่สัตว์น้ำจากหลุมมารีน่า พบว่ามีเศษพลาสติกในท้องของพวกมันทั้งหมด โดยเศษชิ้นส่วนที่พบ มีตั้งแต่เส้นใยกึ่งสังเคราะห์จากเซลลูโลส เช่น เรยอน (Rayon) ไลโอเซลล์ (Lyocell) และรามี (Ramie) ซึ่งทั้งหมดเป็นเส้นใยที่ใช้ในพวกอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมไปถึงไนลอน PE PA PVA และ PVC
ดร.เจมิสัน กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตในท้องทะเลลึก จะรอกินอาหารที่จมลงสู่ก้นมหาสมุทร เนื่องจากบริเวณนั้นมีอาหารที่น้อยมาก พวกมันจึงต้องปรับตัวโดยการกินทุกอย่างเข้าไป และรวมถึงเศษพลาสติกพวกนี้ด้วย การค้นพบครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากทีเดียว
เอาจริงๆ ผมว่าเป็นข่าวที่น่ากลัวทีเดียวนะ นั่นแปลว่าแม้กระทั่งมหาสมุทรในส่วนที่ลึกที่สุดก็เกิดมลพิษซะแล้ว พวก Microbeads นี่น่ากลัวมากครับ ยิ่งถ้าเราทานอาหารทะเลเข้าไปด้วย อยากให้รณรงค์ในเรื่องการทิ้งและการใช้พลาสติกอย่างมีความรับผิดชอบกันเยอะๆ ครับ ถึงแม้ภาครัฐจะไม่ขยับ แต่เราก็สามารถเริ่มต้นที่ตัวเราเองได้ครับ มาลดใช้พลาสติกเท่าที่ทำได้กันเถอะ!!
แหล่งที่มา
• Man-made fibres and plastic found in the deepest living organisms | Newcastle University
• Sea creatures living as low as 7 miles deep are eating plastic | COUNTRY LIVING
• Sea creatures in Mariana Trench (the deepest place on Earth) have plastic in their stomachs | The Telegraph
• Sea creatures in deepest parts of ocean found to have plastic fibres in their stomachs for first time | INDEPENDENT
• Plastics found in stomachs of deepest sea creatures | theguardian