ผมไปค้นเจอหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “ตำราปลูกไม้ผลกับตำราปลูกเข้า (ข้าว-ผู้เขียน) ของโบราณ” เขียนโดยมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ พิมพ์เป็นมิตรพลีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ปีชวด พ.ศ.๒๔๖๗ ลองพลิกอ่านดูมีเรื่องราวน่าสนใจ โดยเฉพาะการปลูกไม้ผลของคนโบราณ ไม่ใช่สักแต่ว่าเอาเมล็ดมาปลูก เอาดินกลบ รดน้ำเท่านั้น แต่มีกลวิธีแยบยลกว่าที่คนทั่วไปคิดไว้มาก
อาทิเช่น การปลูกทุเรียน ซึ่งในสมัยนั้นมีพันธุ์ต่างๆ ดังนี้ พันธุ์กบหนามเหยี่ยว กำปั่น การเกศเขียว เหรา สาวน้อย ทองย้อย ทองสุก มังกร บาตรใหญ่ บาตรเล็ก และกบก้นป้าน (ไม่เห็นมีพันธุ์ชะนี หมอนทอง ก้านยาว อย่างปัจจุบันนี้)
ท่านว่า ทุเรียนนี้พันธุ์ดีอยู่ตำบลบางกอกน้อย บางยี่ขัน เป็นพืชไม่ชอบน้ำ ถ้าแรกลงเพียง ๒-๓ ปี น้ำท่วม ๒ วันก็ตาย ชอบที่ดอนสักหน่อย
ถ้าจะปลูกต้องตอนดีกว่าเพาะ แต่เมื่อปลูกนั้นไม่ได้ขุดฝังเหมือนไม้ทั้งปวง ต้องเอาไม้ทองหลางเสี้ยมทำเข็มรองก้นหลุม แล้วพูนดินเป็นโคกขึ้น จึงเอาต้น ทุเรียนลง เพราะจะอาศัยรากทองหลางให้เย็น จึงจะเจริญงาม ต้องปลูกระยะห่าง กันประมาณ ๓ วา ถ้าเวลาแรกลง ๒ ศอก ๖ ปีมีผลเพียงเล็กน้อย ถ้า ๗ ปีลำต้นงาม บริบูรณ์ คราวฤดูหนึ่งประมาณ ๓๐ ผล...
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า คนโบราณสมัยก่อน มีภูมิปัญญาในการปลูกทุเรียน โดยใช้รากทองหลางมาช่วยให้ทุเรียนเจริญงอกงามแทนการใส่ปุ๋ย ซึ่งผมไม่ทราบว่า ผู้ปลูกทุเรียนในปัจจุบันยังยึดภูมิปัญญานี้อยู่หรือไม่ ?
คราวนี้ลองมาดูมะม่วงยุคโบราณบ้าง เห็นชื่อพันธุ์มะม่วงแต่ละชนิด อดนั่ง อมยิ้มไม่ได้ มะม่วงแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ มะม่วงรสดี และมะม่วงคลายรส (เสียดาย ในตำรานี้ไม่ได้บอกว่าเป็นอย่างไร แต่พอจะสันนิษฐานเอาว่า อาจเป็นมะม่วงที่อมเปรี้ยวอมหวานกระมัง)
มะม่วงรสดี มีพันธุ์ต่างๆดังนี้ พันธุ์อกพร่อง (น่าจะเพี้ยนมาเป็น “อกร่อง” ในปัจจุบัน) พันธุ์ทุเรียน, เซาดำ, เซาขาว, น้ำตาลจีน, ทองดำ และ ทศกัณฐ์
มะม่วงรสคลาย มีพันธุ์ดังนี้ พันธุ์หนังกลางวัน, พราหมณ์ขายเมีย (ไม่รู้ว่าอร่อย จนต้องขายเมียไปซื้อมะม่วงพันธุ์นี้เลยหรือ ?), พิมเสน, พิมเสนมัน, เหนียงนกกะทุง, ไข่
, หัศคุณ, สาวกระทืบหอ (นึกภาพว่าอาจจะเปรี้ยวหรืออร่อยจนต้องกระทืบเท้า?), กะเป๋า, มะตูม และกระล่อนทอง
ท่านว่า มะม่วงพันธุ์ดีนี้อยู่ที่ตำบลบางช้าง เป็นไม้เพาะทนน้ำเหมือนกับลิ้นจี่ ปลูกระยะห่างกันประมาณ ๓ วา ถ้าแรกลง ๒ ศอก ๖ ปีมีผลแต่เล็กน้อย ถ้า ๑๒ ปีต้นลำงามบริบูรณ์ คราวฤดูหนึ่งประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ผล
น่าเสียดาย ไม่รู้ว่า พันธุ์พืชผลไม้ที่กล่าวมาบางพันธุ์ ไม่มีให้เห็นในปัจจุบัน คาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปตามผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัยเสียแล้ว
ชาคริต เพชรอินทร์
Facebook : ข้าวคำน้ำขัน
ตำราปลูกไม้ผลโบราณ
อาทิเช่น การปลูกทุเรียน ซึ่งในสมัยนั้นมีพันธุ์ต่างๆ ดังนี้ พันธุ์กบหนามเหยี่ยว กำปั่น การเกศเขียว เหรา สาวน้อย ทองย้อย ทองสุก มังกร บาตรใหญ่ บาตรเล็ก และกบก้นป้าน (ไม่เห็นมีพันธุ์ชะนี หมอนทอง ก้านยาว อย่างปัจจุบันนี้)
ท่านว่า ทุเรียนนี้พันธุ์ดีอยู่ตำบลบางกอกน้อย บางยี่ขัน เป็นพืชไม่ชอบน้ำ ถ้าแรกลงเพียง ๒-๓ ปี น้ำท่วม ๒ วันก็ตาย ชอบที่ดอนสักหน่อย
ถ้าจะปลูกต้องตอนดีกว่าเพาะ แต่เมื่อปลูกนั้นไม่ได้ขุดฝังเหมือนไม้ทั้งปวง ต้องเอาไม้ทองหลางเสี้ยมทำเข็มรองก้นหลุม แล้วพูนดินเป็นโคกขึ้น จึงเอาต้น ทุเรียนลง เพราะจะอาศัยรากทองหลางให้เย็น จึงจะเจริญงาม ต้องปลูกระยะห่าง กันประมาณ ๓ วา ถ้าเวลาแรกลง ๒ ศอก ๖ ปีมีผลเพียงเล็กน้อย ถ้า ๗ ปีลำต้นงาม บริบูรณ์ คราวฤดูหนึ่งประมาณ ๓๐ ผล...
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า คนโบราณสมัยก่อน มีภูมิปัญญาในการปลูกทุเรียน โดยใช้รากทองหลางมาช่วยให้ทุเรียนเจริญงอกงามแทนการใส่ปุ๋ย ซึ่งผมไม่ทราบว่า ผู้ปลูกทุเรียนในปัจจุบันยังยึดภูมิปัญญานี้อยู่หรือไม่ ?
คราวนี้ลองมาดูมะม่วงยุคโบราณบ้าง เห็นชื่อพันธุ์มะม่วงแต่ละชนิด อดนั่ง อมยิ้มไม่ได้ มะม่วงแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ มะม่วงรสดี และมะม่วงคลายรส (เสียดาย ในตำรานี้ไม่ได้บอกว่าเป็นอย่างไร แต่พอจะสันนิษฐานเอาว่า อาจเป็นมะม่วงที่อมเปรี้ยวอมหวานกระมัง)
มะม่วงรสดี มีพันธุ์ต่างๆดังนี้ พันธุ์อกพร่อง (น่าจะเพี้ยนมาเป็น “อกร่อง” ในปัจจุบัน) พันธุ์ทุเรียน, เซาดำ, เซาขาว, น้ำตาลจีน, ทองดำ และ ทศกัณฐ์
มะม่วงรสคลาย มีพันธุ์ดังนี้ พันธุ์หนังกลางวัน, พราหมณ์ขายเมีย (ไม่รู้ว่าอร่อย จนต้องขายเมียไปซื้อมะม่วงพันธุ์นี้เลยหรือ ?), พิมเสน, พิมเสนมัน, เหนียงนกกะทุง, ไข่ , หัศคุณ, สาวกระทืบหอ (นึกภาพว่าอาจจะเปรี้ยวหรืออร่อยจนต้องกระทืบเท้า?), กะเป๋า, มะตูม และกระล่อนทอง
ท่านว่า มะม่วงพันธุ์ดีนี้อยู่ที่ตำบลบางช้าง เป็นไม้เพาะทนน้ำเหมือนกับลิ้นจี่ ปลูกระยะห่างกันประมาณ ๓ วา ถ้าแรกลง ๒ ศอก ๖ ปีมีผลแต่เล็กน้อย ถ้า ๑๒ ปีต้นลำงามบริบูรณ์ คราวฤดูหนึ่งประมาณ ๔๐๐-๕๐๐ ผล
น่าเสียดาย ไม่รู้ว่า พันธุ์พืชผลไม้ที่กล่าวมาบางพันธุ์ ไม่มีให้เห็นในปัจจุบัน คาดว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปตามผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัยเสียแล้ว
ชาคริต เพชรอินทร์
Facebook : ข้าวคำน้ำขัน