พระราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก
เอกสารข้อมูลในชุดนี้ประกอบด้วย ๔ เรื่อง คือ -
๑ พระราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒ พระราชปรารภ มูลเหตุที่จะแปลและพิมพ์นิบาตชาดก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓ ตำนานการสร้างหนังสือนิบาตชาดก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
๔ คำอุทิศถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า (ภาษาบาลีและคำแปล)
-------------------------------
ขอบพระคุณ
คุณจตุพร มีสกุล
ผู้เอื้อเฟื้อจัดหาต้นฉบับเอกสารข้อมูล
-------------------------------
ตอนที่ ๑
พระราชวิจารณ์
ว่าด้วยนิทานชาดก
หนังสือชาดกปกรณ์นี้ เป็นคัมภีร์ชนิดหนึ่งซึ่งได้ร้อยกรองขึ้นไว้เพื่อประโยชน์บางประการ แต่ไม่ใคร่จะได้รับความวิจารณ์ของเราทั้งหลายโดยถ้วนถี่ ฯ ว่าโดยท่านผู้ที่ศึกษาในพระคัมภีร์พุทธศาสนาหรือผู้ที่ฝักฝ่ายในการศาสนาพอใจฟังเทศน์เป็นต้น มักจะมีเป็น ๓ จำพวก ฯ พวกหนึ่งที่ชอบฟังนิทาน ก็ใส่ใจแต่เรื่องนิทานนั้น ฟังเพลิดเพลินไป ไม่ใคร่ใส่ใจในธรรมหรือสุภาษิตซึ่งมีอยู่ในนิทานชาดกนั้น ฯ อีกพวกหนึ่งเป็นผู้แสวงหาแต่ธรรม เมื่ออ่านแล้วก็เห็นว่าเป็นแต่เรื่องเล่านิยาย การที่จะแสวงหาธรรมในชาดกเหมือนร่อนทรายหาทองซึ่งมีอยู่แต่เล็กน้อยไม่คุ้มความลำบาก สู้หนังสือฉบับอื่นซึ่งอาจจะพบธรรมได้ง่ายไม่ได้ ก็ละเลยเสียไม่ได้อ่าน ฯ ยังความคิดในชั้นหลังๆ ซึ่งแรงขึ้นไปกว่าท่านทั้งสองพวกซึ่งกล่าวแล้วนั้น มักจะถือว่าชาดกเป็นนิทานซึ่งนึกแต่งขึ้นไม่มีความจริงเป็นหลักฐาน เช่นดิรัจฉานพูดได้เหมือนมนุษย์เป็นต้น ถึงจะเชื่อว่าเป็นความเปรียบก็ยังมีข้อติเตียนด้วยเรื่องกลับชาติต่อไปอีก ฯ อีกอย่างหนึ่ง คติโบราณซึ่งถือกันมาว่า ไม่ควรจะสอดแคล้วในบรรดาหนังสือทั้งปวงที่อ้างว่าเป็นพระพุทธวจนะ ถ้าผู้ใดไม่เชื่อถือก็จะต้องตกนรก เป็นการบังคับกะเกณฑ์ให้เชื่อ ก็ยิ่งเป็นเหตุซ้ำร้ายให้เบื่อหน่ายจนเป็นข้อติเตียนว่า ท่านทั้งหลายผู้แต่งหนังสือนี้กระทำให้เกิดไฝฝ้าขึ้นในพระพุทธศาสนาโดยมาก เพราะเหตุที่กล่าวยืนยันว่าพระพุทธเจ้าได้เทศนาเช่นนี้ จนถึงเมื่อกลับชาติก็อาจจะยิ้มเยาะหรือทายเดาล่วงหน้าได้ ฯ
การซึ่งเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุที่ผู้อ่านตั้งวงความพิจารณาคับแคบ คือ พวกหนึ่งปรารถนาแต่จะฟังนิทาน พวกหนึ่งปรารถนาแต่จะฟังธรรม พวกหนึ่งปรารถนาแต่จะวินิจฉัยว่าหนังสือนี้พระพุทธเจ้าจะได้เทศนาอย่างนี้จริงทีเดียวหรือ ฯ
ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะรับอธิบายโต้เถียงทางความคิดของท่านทั้งหลายสามพวกซึ่งได้กล่าวมาแล้วนี้ ซึ่งเป็นความประสงค์และความมุ่งหมายต่างๆ กัน ฯ แต่จะขอชักนำให้พิจารณาในเรื่องหนังสือชาดกนี้ โดยความเห็นที่เป็นวงกว้าง ซึ่งบางทีจะทำให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าหนังสือชาดกปกรณ์นี้เป็นเรื่องที่น่าอ่านอยู่ เพราะเหตุฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงได้อุตส่าห์ร้อยกรองเข้าไว้เป็นอันมาก ฯ แต่เบื้องต้นที่จะอ่าน ท่านจะต้องคิดถึงเหตุการณ์อันจะกล่าวต่อไปนี้ให้เข้าใจเสียก่อน ฯ
คือต้องคิดเห็นว่า ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาจนถึงบัดนี้ก็เกือบจะถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว ความคิดและโวหารทั้งปวงที่จะทำให้เข้าใจกันง่าย ย่อมเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันนี้เป็นอันมาก ฯ ถ้าจะเทียบแต่ใกล้ๆ เช่นไปหาหนังสือฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งแต่งไว้แต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันล่วงมาเพียงระยะ ๖๐ ปี มาอ่านเทียบกับหนังสือในปัจจุบันนี้ ผู้อ่านคงจะทักได้หลายแห่งว่า ความคิดข้อนี้แปลกอย่างนั้นๆ โวหารแห่งนี้ใช้แปลกเช่นนั้นๆ ฯ ถ้าขยับขึ้นไปอีกระยะ ๖๐ ปีหนึ่งเป็น ๑๒๐ ปี ตกอยู่ในระวางแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาหนังสืออันใดอันหนึ่งมีร่างหมายเป็นต้นมาอ่าน คงจะพบแปลกไปจากหนังสือในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก ฯ ถ้าขยับขึ้นไปอีกเพียงกึ่งรอบคือ ๓๐ ปี เป็น ๑๕๐ ปี ไปอ่านหนังสือคำจารึกที่วัดป่าโมก ก็คงเห็นมีอะไรๆ ที่แปลกอีก ฯ เมื่อคิดดูระยะเพียง ๑๕๐ ปี อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นนี้แล้ว จงคิดดูว่า ๑๕๐ ปีกี่ครั้งจะครบ ๒,๕๐๐ ปีหย่อน ก็คงคิดเห็นได้ว่า ความคิดและความประสงค์ของผู้ซึ่งเกิดแต่ชั้นนั้น ถึงว่ามีความคิดและมุ่งหมายความสำเร็จอย่างหนึ่งอย่างใด เช่นเราจะมุ่งหมายทางความคิดและโวหารย่อมจะต่างกันกับเราในเวลานี้เป็นอันมาก ฯ
อีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านทั้งหลายจะอ่านหนังสือนี้ คงจะทราบอยู่แล้วโดยมาก หรือถ้ายังไม่ทราบชัด ก็อาจจะคิดเห็นได้โดยง่าย ว่าพระพุทธเจ้านั้นได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นหาใช่ประเทศเราไม่ ถ้าจะเทียบประเทศอันตั้งอยู่ใกล้เคียงกันกับเรา เช่น รามัญ พม่า ญวน เพียงเท่านี้ ความประพฤติและภาษาก็ยังต่างกันกับเรามากไม่ใช่หรือ ฯ และพระพุทธเจ้าหาได้เป็นชาติเราไม่ ข้อนี้ก็เห็นได้โดยง่ายด้วยภาษาที่ใช้ก็หาใช่ภาษาเราไม่ ฯ ธรรมดาว่าคนต่างประเทศต่างชาติต่างภาษากัน อาการกิริยาความคิดและโวหารย่อมเปลี่ยนแปลกกัน ฯ เช่นถ้าจะสังเกตถ้อยคำที่เขียนลงเป็นภาษาไทยแล้ว เหมือนอย่างหนังสือซึ่งออกใหม่เร็วๆ นี้ ซึ่งเรียกชื่อเรื่องว่า “ความพยาบาท” ท่านจะเห็นหรือไม่ว่า ความคิดและโวหารที่แต่งลงเป็นภาษาไทยแล้วนั้น ถ้าหากว่าคนไทยเราที่ไม่ได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จะเรียบเรียงหนังสือขึ้นเรื่องหนึ่ง ความคิดและโวหารจะเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ ฯ ท่านคงจะคิดเห็นได้โดยง่ายว่า ความคิดนั้นเป็นความคิดต่างประเทศ โวหารก็เป็นโวหารต่างประเทศ ทั้งโวหารที่เรียงนั้นเป็นภาษาซึ่งกำลังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในประเทศอันหนึ่ง เรายังเห็นแปลกจากที่เราเคยคิดเราเคยแต่งเพียงเท่าใด ฯ ก็โวหารภาษาบาลี ซึ่งพื้นเดิมเป็นภาษามคธ แต่เป็นอย่างเก่า จนเป็นภาษาอันหนึ่งซึ่งจะเรียกว่าภาษามคธในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ตลอดทั้งที่กลายมาเป็นภาษามคธ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ อันนับว่าเป็นภาษาตาย ไม่มีชาติใดที่พูดกันด้วยภาษาบาลีในทุกวันนี้แล้ว ความคิดและโวหารจะไม่เปลี่ยนแปลงไปได้มากหรือ ฯ ข้อซึ่งภาษากลายเป็นภาษาตายไปนั้น เหตุด้วยมนุษย์ซึ่งเป็นผู้พูดภาษานั้นแต่เดิมเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนโวหารเปลี่ยนถ้อยคำมาโดยลำดับ
เมื่อกาลล่วงนานมา ภาษาซึ่งได้พูดกันอยู่ในสมัยหนึ่งแต่แรกนั้นกลายเป็นคนละภาษากันกับที่พูดอยู่ในปัจจุบันนี้ในประเทศแห่งเดียวกันนั้นเอง ฯ อย่าตกใจว่าภาษาจะมีตายแต่ภาษาบาลี ภาษาละติน ภาษากรีกเป็นต้น ก็ตายมาแล้วเหมือนกัน ฯ ถึงแม้ว่าภาษาบาลีเป็นภาษาตายแล้ว เป็นภาษาเขียนพุทธวจนะอย่างเดียว มีผู้เรียนผู้อ่านเขียนและแต่งแต่เฉพาะผู้ที่ศึกษาในพระพุทธศาสนา เช่นนั้นก็ยังเดินได้แต่ลำพังตัว ผู้ที่ศึกษาภาษาบาลีอาจจะชี้ได้ว่า หนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือเก่า หนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือใหม่ หรือเรียงลำดับได้ว่า คัมภีร์นั้นแต่งก่อนแล้วถึงคัมภีร์นั้นๆ ลงมาเป็นลำดับ ฯ จะยกมากล่าวในที่นี้ก็ดูไม่ต้องการ เพราะไม่เป็นการที่ต้องการจะรู้ทั่วไป เป็นวิสัยของผู้ที่ได้เล่าเรียนภาษาบาลีซึ่งจะสังเกตได้เองแล้ว ฯ
อีกข้อหนึ่ง เรื่องชาดกนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องราวในครั้งพุทธกาล เป็นเรื่องมีมาเก่าแก่ก่อนพุทธกาลนาน ที่จะพึงกำหนดได้ด้วยหลักฐานหลายอย่าง ถึงในชาดกเองก็รับว่าเป็นเรื่องเก่า ด้วยขึ้น อตีเต ทุกแห่ง ฯ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมถึงที่ควรจะให้ความชัดขึ้นด้วยชักนิทานมากล่าวก็ชักมาสาธกให้ความกระจ่างขึ้น ฯคำที่แสดงโดยวิธีนี้เรียกว่าชาดก ในบาลีขึ้นต้นว่า ภูตปุพฺพํ (เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว) จัดเข้าในนวังคสัตถุศาสนะ (คำสอนของพระพุทธเจ้ามีองค์เก้า) ฯ เมื่อพิเคราะห์ดูนิทานที่ยกมากล่าวนั้นมีหลายชั้น ที่เป็นนิทานเก่าทีเดียวก็มี ที่เป็นชั้นหลังๆ ลงมาก็มี ฯ และนิทานอย่างเช่นชาดกนี้ไม่ได้มีแต่ในคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ในหมู่ชนชาติอื่นภาษาอื่นนอกพระพุทธศาสนาก็มีปรากฏเหมือนกัน ฯ ชาติอื่นๆ เช่นอาหรับ เปอร์เซีย เป็นต้น ก็ว่ามีนิทานเช่นนี้คล้ายคลึงกัน แต่จะยกไว้ไม่กล่าว เพราะไม่มีตัวเรื่องมาเทียบ ฯ
จะยกแต่นิยายอีสอป ซึ่งข้าพเจ้าได้แปลลงเป็นภาษาไทยช้านานมาแล้ว ได้ตั้งชื่อว่า อีสอปปกรณัม ของนักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อว่าอีสอปเป็นผู้แต่งขึ้นในประเทศกรีก ฯ นักปราชญ์ผู้นี้ได้แต่งหนังสือฉบับนั้นแต่ในเมื่อเวลาราวๆ กันกับพุทธกาล มีทำนองนิทานอย่างเดียวกัน คือเทวดาพูดกับคน ดิรัจฉานพูดกับคน ดิรัจฉานต่อดิรัจฉานพูดกันเอง ทำนองเดียวกันกับชาดก ฯ และเรื่องราวที่อีสอปกล่าวนั้นก็มีคล้ายคลึงกัน ที่อาจจะเทียบกับเรื่องราวชาดกได้หลายเรื่อง เช่นเรื่องกันทคลกชาดกในทุกนิบาต กับเรื่องสุนัขป่ากับนกกระสา ในอีสอปปกรณัม (เรื่องที่ ๕) เป็นเรื่องเดียวกันแท้ ฯ ในกันทคลกชาดกมีเรื่องว่า ราชสีห์จับสัตว์กินเป็นอาหาร กระดูกเข้าไปขวางติดคอได้ความเจ็บเป็นสาหัสเจียนจะถึงแก่ชีวิต อ้อนวอนนกชื่อ กันทคลกะ (แปลว่ามีปมที่คอ) เป็นชนิดมีจะงอยปากยาวให้ช่วยสงเคราะห์ นกนั้นรับแล้วไม่ไว้ใจเอาไม้ค้ำปากไว้สอดจะงอยปากเข้าไปเขี่ยปลายกระดูกที่ขวางคอให้ตกลงไป แล้วเคาะไม้ที่ค้ำปากออก ราชสีห์ก็ได้ความสบาย วันหนึ่งนกเห็นราชสีห์กำลังกินมังสะ ปรารถนาจะลองใจว่าจะคิดถึงบุญคุณหรือไม่ จึงอ้างอุปการะของตนแล้วขอมังสะบ้าง ราชสีห์ตอบว่า เมื่อเจ้าเคาะกระดูกที่ติดคอข้าได้กินมังสะที่ติดอยู่ตามซอกฟันของข้าพอแล้ว ฯ ในนิยายอีสอปเล่าความมีต้นเค้าเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ในชาดกเป็นราชสีห์ ในอีสอปปกรณัมเป็นสุนัขป่าเท่านั้น โวหารนั้นย่อมผิดกันไปบ้างเป็นธรรมดา ฯ
พระราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก
เอกสารข้อมูลในชุดนี้ประกอบด้วย ๔ เรื่อง คือ -
๑ พระราชวิจารณ์ว่าด้วยนิทานชาดก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒ พระราชปรารภ มูลเหตุที่จะแปลและพิมพ์นิบาตชาดก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓ ตำนานการสร้างหนังสือนิบาตชาดก ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ
๔ คำอุทิศถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า (ภาษาบาลีและคำแปล)
-------------------------------
ขอบพระคุณ
คุณจตุพร มีสกุล
ผู้เอื้อเฟื้อจัดหาต้นฉบับเอกสารข้อมูล
-------------------------------
พระราชวิจารณ์
ว่าด้วยนิทานชาดก
หนังสือชาดกปกรณ์นี้ เป็นคัมภีร์ชนิดหนึ่งซึ่งได้ร้อยกรองขึ้นไว้เพื่อประโยชน์บางประการ แต่ไม่ใคร่จะได้รับความวิจารณ์ของเราทั้งหลายโดยถ้วนถี่ ฯ ว่าโดยท่านผู้ที่ศึกษาในพระคัมภีร์พุทธศาสนาหรือผู้ที่ฝักฝ่ายในการศาสนาพอใจฟังเทศน์เป็นต้น มักจะมีเป็น ๓ จำพวก ฯ พวกหนึ่งที่ชอบฟังนิทาน ก็ใส่ใจแต่เรื่องนิทานนั้น ฟังเพลิดเพลินไป ไม่ใคร่ใส่ใจในธรรมหรือสุภาษิตซึ่งมีอยู่ในนิทานชาดกนั้น ฯ อีกพวกหนึ่งเป็นผู้แสวงหาแต่ธรรม เมื่ออ่านแล้วก็เห็นว่าเป็นแต่เรื่องเล่านิยาย การที่จะแสวงหาธรรมในชาดกเหมือนร่อนทรายหาทองซึ่งมีอยู่แต่เล็กน้อยไม่คุ้มความลำบาก สู้หนังสือฉบับอื่นซึ่งอาจจะพบธรรมได้ง่ายไม่ได้ ก็ละเลยเสียไม่ได้อ่าน ฯ ยังความคิดในชั้นหลังๆ ซึ่งแรงขึ้นไปกว่าท่านทั้งสองพวกซึ่งกล่าวแล้วนั้น มักจะถือว่าชาดกเป็นนิทานซึ่งนึกแต่งขึ้นไม่มีความจริงเป็นหลักฐาน เช่นดิรัจฉานพูดได้เหมือนมนุษย์เป็นต้น ถึงจะเชื่อว่าเป็นความเปรียบก็ยังมีข้อติเตียนด้วยเรื่องกลับชาติต่อไปอีก ฯ อีกอย่างหนึ่ง คติโบราณซึ่งถือกันมาว่า ไม่ควรจะสอดแคล้วในบรรดาหนังสือทั้งปวงที่อ้างว่าเป็นพระพุทธวจนะ ถ้าผู้ใดไม่เชื่อถือก็จะต้องตกนรก เป็นการบังคับกะเกณฑ์ให้เชื่อ ก็ยิ่งเป็นเหตุซ้ำร้ายให้เบื่อหน่ายจนเป็นข้อติเตียนว่า ท่านทั้งหลายผู้แต่งหนังสือนี้กระทำให้เกิดไฝฝ้าขึ้นในพระพุทธศาสนาโดยมาก เพราะเหตุที่กล่าวยืนยันว่าพระพุทธเจ้าได้เทศนาเช่นนี้ จนถึงเมื่อกลับชาติก็อาจจะยิ้มเยาะหรือทายเดาล่วงหน้าได้ ฯ
การซึ่งเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุที่ผู้อ่านตั้งวงความพิจารณาคับแคบ คือ พวกหนึ่งปรารถนาแต่จะฟังนิทาน พวกหนึ่งปรารถนาแต่จะฟังธรรม พวกหนึ่งปรารถนาแต่จะวินิจฉัยว่าหนังสือนี้พระพุทธเจ้าจะได้เทศนาอย่างนี้จริงทีเดียวหรือ ฯ
ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะรับอธิบายโต้เถียงทางความคิดของท่านทั้งหลายสามพวกซึ่งได้กล่าวมาแล้วนี้ ซึ่งเป็นความประสงค์และความมุ่งหมายต่างๆ กัน ฯ แต่จะขอชักนำให้พิจารณาในเรื่องหนังสือชาดกนี้ โดยความเห็นที่เป็นวงกว้าง ซึ่งบางทีจะทำให้ท่านทั้งหลายเห็นว่าหนังสือชาดกปกรณ์นี้เป็นเรื่องที่น่าอ่านอยู่ เพราะเหตุฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึงได้อุตส่าห์ร้อยกรองเข้าไว้เป็นอันมาก ฯ แต่เบื้องต้นที่จะอ่าน ท่านจะต้องคิดถึงเหตุการณ์อันจะกล่าวต่อไปนี้ให้เข้าใจเสียก่อน ฯ
คือต้องคิดเห็นว่า ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานมาจนถึงบัดนี้ก็เกือบจะถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว ความคิดและโวหารทั้งปวงที่จะทำให้เข้าใจกันง่าย ย่อมเปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันนี้เป็นอันมาก ฯ ถ้าจะเทียบแต่ใกล้ๆ เช่นไปหาหนังสือฉบับใดฉบับหนึ่ง ซึ่งแต่งไว้แต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันล่วงมาเพียงระยะ ๖๐ ปี มาอ่านเทียบกับหนังสือในปัจจุบันนี้ ผู้อ่านคงจะทักได้หลายแห่งว่า ความคิดข้อนี้แปลกอย่างนั้นๆ โวหารแห่งนี้ใช้แปลกเช่นนั้นๆ ฯ ถ้าขยับขึ้นไปอีกระยะ ๖๐ ปีหนึ่งเป็น ๑๒๐ ปี ตกอยู่ในระวางแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาหนังสืออันใดอันหนึ่งมีร่างหมายเป็นต้นมาอ่าน คงจะพบแปลกไปจากหนังสือในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก ฯ ถ้าขยับขึ้นไปอีกเพียงกึ่งรอบคือ ๓๐ ปี เป็น ๑๕๐ ปี ไปอ่านหนังสือคำจารึกที่วัดป่าโมก ก็คงเห็นมีอะไรๆ ที่แปลกอีก ฯ เมื่อคิดดูระยะเพียง ๑๕๐ ปี อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นนี้แล้ว จงคิดดูว่า ๑๕๐ ปีกี่ครั้งจะครบ ๒,๕๐๐ ปีหย่อน ก็คงคิดเห็นได้ว่า ความคิดและความประสงค์ของผู้ซึ่งเกิดแต่ชั้นนั้น ถึงว่ามีความคิดและมุ่งหมายความสำเร็จอย่างหนึ่งอย่างใด เช่นเราจะมุ่งหมายทางความคิดและโวหารย่อมจะต่างกันกับเราในเวลานี้เป็นอันมาก ฯ
อีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อว่าท่านทั้งหลายจะอ่านหนังสือนี้ คงจะทราบอยู่แล้วโดยมาก หรือถ้ายังไม่ทราบชัด ก็อาจจะคิดเห็นได้โดยง่าย ว่าพระพุทธเจ้านั้นได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นหาใช่ประเทศเราไม่ ถ้าจะเทียบประเทศอันตั้งอยู่ใกล้เคียงกันกับเรา เช่น รามัญ พม่า ญวน เพียงเท่านี้ ความประพฤติและภาษาก็ยังต่างกันกับเรามากไม่ใช่หรือ ฯ และพระพุทธเจ้าหาได้เป็นชาติเราไม่ ข้อนี้ก็เห็นได้โดยง่ายด้วยภาษาที่ใช้ก็หาใช่ภาษาเราไม่ ฯ ธรรมดาว่าคนต่างประเทศต่างชาติต่างภาษากัน อาการกิริยาความคิดและโวหารย่อมเปลี่ยนแปลกกัน ฯ เช่นถ้าจะสังเกตถ้อยคำที่เขียนลงเป็นภาษาไทยแล้ว เหมือนอย่างหนังสือซึ่งออกใหม่เร็วๆ นี้ ซึ่งเรียกชื่อเรื่องว่า “ความพยาบาท” ท่านจะเห็นหรือไม่ว่า ความคิดและโวหารที่แต่งลงเป็นภาษาไทยแล้วนั้น ถ้าหากว่าคนไทยเราที่ไม่ได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จะเรียบเรียงหนังสือขึ้นเรื่องหนึ่ง ความคิดและโวหารจะเป็นเช่นนั้นได้หรือไม่ ฯ ท่านคงจะคิดเห็นได้โดยง่ายว่า ความคิดนั้นเป็นความคิดต่างประเทศ โวหารก็เป็นโวหารต่างประเทศ ทั้งโวหารที่เรียงนั้นเป็นภาษาซึ่งกำลังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในประเทศอันหนึ่ง เรายังเห็นแปลกจากที่เราเคยคิดเราเคยแต่งเพียงเท่าใด ฯ ก็โวหารภาษาบาลี ซึ่งพื้นเดิมเป็นภาษามคธ แต่เป็นอย่างเก่า จนเป็นภาษาอันหนึ่งซึ่งจะเรียกว่าภาษามคธในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ตลอดทั้งที่กลายมาเป็นภาษามคธ ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ อันนับว่าเป็นภาษาตาย ไม่มีชาติใดที่พูดกันด้วยภาษาบาลีในทุกวันนี้แล้ว ความคิดและโวหารจะไม่เปลี่ยนแปลงไปได้มากหรือ ฯ ข้อซึ่งภาษากลายเป็นภาษาตายไปนั้น เหตุด้วยมนุษย์ซึ่งเป็นผู้พูดภาษานั้นแต่เดิมเปลี่ยนความคิดเปลี่ยนโวหารเปลี่ยนถ้อยคำมาโดยลำดับ
เมื่อกาลล่วงนานมา ภาษาซึ่งได้พูดกันอยู่ในสมัยหนึ่งแต่แรกนั้นกลายเป็นคนละภาษากันกับที่พูดอยู่ในปัจจุบันนี้ในประเทศแห่งเดียวกันนั้นเอง ฯ อย่าตกใจว่าภาษาจะมีตายแต่ภาษาบาลี ภาษาละติน ภาษากรีกเป็นต้น ก็ตายมาแล้วเหมือนกัน ฯ ถึงแม้ว่าภาษาบาลีเป็นภาษาตายแล้ว เป็นภาษาเขียนพุทธวจนะอย่างเดียว มีผู้เรียนผู้อ่านเขียนและแต่งแต่เฉพาะผู้ที่ศึกษาในพระพุทธศาสนา เช่นนั้นก็ยังเดินได้แต่ลำพังตัว ผู้ที่ศึกษาภาษาบาลีอาจจะชี้ได้ว่า หนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือเก่า หนังสือฉบับนี้เป็นหนังสือใหม่ หรือเรียงลำดับได้ว่า คัมภีร์นั้นแต่งก่อนแล้วถึงคัมภีร์นั้นๆ ลงมาเป็นลำดับ ฯ จะยกมากล่าวในที่นี้ก็ดูไม่ต้องการ เพราะไม่เป็นการที่ต้องการจะรู้ทั่วไป เป็นวิสัยของผู้ที่ได้เล่าเรียนภาษาบาลีซึ่งจะสังเกตได้เองแล้ว ฯ
อีกข้อหนึ่ง เรื่องชาดกนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องราวในครั้งพุทธกาล เป็นเรื่องมีมาเก่าแก่ก่อนพุทธกาลนาน ที่จะพึงกำหนดได้ด้วยหลักฐานหลายอย่าง ถึงในชาดกเองก็รับว่าเป็นเรื่องเก่า ด้วยขึ้น อตีเต ทุกแห่ง ฯ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมถึงที่ควรจะให้ความชัดขึ้นด้วยชักนิทานมากล่าวก็ชักมาสาธกให้ความกระจ่างขึ้น ฯคำที่แสดงโดยวิธีนี้เรียกว่าชาดก ในบาลีขึ้นต้นว่า ภูตปุพฺพํ (เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว) จัดเข้าในนวังคสัตถุศาสนะ (คำสอนของพระพุทธเจ้ามีองค์เก้า) ฯ เมื่อพิเคราะห์ดูนิทานที่ยกมากล่าวนั้นมีหลายชั้น ที่เป็นนิทานเก่าทีเดียวก็มี ที่เป็นชั้นหลังๆ ลงมาก็มี ฯ และนิทานอย่างเช่นชาดกนี้ไม่ได้มีแต่ในคัมภีร์ฝ่ายพระพุทธศาสนา ในหมู่ชนชาติอื่นภาษาอื่นนอกพระพุทธศาสนาก็มีปรากฏเหมือนกัน ฯ ชาติอื่นๆ เช่นอาหรับ เปอร์เซีย เป็นต้น ก็ว่ามีนิทานเช่นนี้คล้ายคลึงกัน แต่จะยกไว้ไม่กล่าว เพราะไม่มีตัวเรื่องมาเทียบ ฯ
จะยกแต่นิยายอีสอป ซึ่งข้าพเจ้าได้แปลลงเป็นภาษาไทยช้านานมาแล้ว ได้ตั้งชื่อว่า อีสอปปกรณัม ของนักปราชญ์ผู้หนึ่งชื่อว่าอีสอปเป็นผู้แต่งขึ้นในประเทศกรีก ฯ นักปราชญ์ผู้นี้ได้แต่งหนังสือฉบับนั้นแต่ในเมื่อเวลาราวๆ กันกับพุทธกาล มีทำนองนิทานอย่างเดียวกัน คือเทวดาพูดกับคน ดิรัจฉานพูดกับคน ดิรัจฉานต่อดิรัจฉานพูดกันเอง ทำนองเดียวกันกับชาดก ฯ และเรื่องราวที่อีสอปกล่าวนั้นก็มีคล้ายคลึงกัน ที่อาจจะเทียบกับเรื่องราวชาดกได้หลายเรื่อง เช่นเรื่องกันทคลกชาดกในทุกนิบาต กับเรื่องสุนัขป่ากับนกกระสา ในอีสอปปกรณัม (เรื่องที่ ๕) เป็นเรื่องเดียวกันแท้ ฯ ในกันทคลกชาดกมีเรื่องว่า ราชสีห์จับสัตว์กินเป็นอาหาร กระดูกเข้าไปขวางติดคอได้ความเจ็บเป็นสาหัสเจียนจะถึงแก่ชีวิต อ้อนวอนนกชื่อ กันทคลกะ (แปลว่ามีปมที่คอ) เป็นชนิดมีจะงอยปากยาวให้ช่วยสงเคราะห์ นกนั้นรับแล้วไม่ไว้ใจเอาไม้ค้ำปากไว้สอดจะงอยปากเข้าไปเขี่ยปลายกระดูกที่ขวางคอให้ตกลงไป แล้วเคาะไม้ที่ค้ำปากออก ราชสีห์ก็ได้ความสบาย วันหนึ่งนกเห็นราชสีห์กำลังกินมังสะ ปรารถนาจะลองใจว่าจะคิดถึงบุญคุณหรือไม่ จึงอ้างอุปการะของตนแล้วขอมังสะบ้าง ราชสีห์ตอบว่า เมื่อเจ้าเคาะกระดูกที่ติดคอข้าได้กินมังสะที่ติดอยู่ตามซอกฟันของข้าพอแล้ว ฯ ในนิยายอีสอปเล่าความมีต้นเค้าเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ในชาดกเป็นราชสีห์ ในอีสอปปกรณัมเป็นสุนัขป่าเท่านั้น โวหารนั้นย่อมผิดกันไปบ้างเป็นธรรมดา ฯ