เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 พฤษจิกายน ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 3352/2558 ที่นายอนุชา สีหนาทกถากุล นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายศิริโชค โสภา อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลยฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม– 8 ตุลาคม 2558 ต่อเนื่องกัน จำเลยโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ใส่ความ ทำให้บิดาของโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยจำเลยให้การปฏิเสธ ในวันนี้นายศิริโชค จำเลย ซึ่งได้รับการประกันตัว เดินทางมาศาล
ศาลพิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นบุตรของนายมนตรี สีหนาทกถากุล ผู้เสียชีวิต ซึ่งฟ้อง น.ส.เสาวรส โสภา มารดาของนายศิริโชค จำเลย ในคดีฉ้อโกงที่ศาลแขวงพระนครใต้ โดยศาลแขวงพระนครใต้มีคำพิพากษาให้จำคุก น.ส.เสาวรส และนายมนตรีได้ถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 22 กรกฎาคม2558 นายศิริโชคได้โพสต์เฟซบุ๊กประกอบภาพถ่ายระบุว่า แม่ของตนโดนหลอกให้ทำสัญญาเงินกู้แล้วไม่ได้รับเงิน สร้างหลักฐานเท็จมาฟ้องคดี และที่แม่ตนถูกจำคุกเพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ พร้อมกล่าวหาหมิ่นประมาทนายมนตรี ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฟ้องนายศิริโชคต่อศาลแพ่ง และศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย พยานหลักฐานที่นำสืบรับฟังได้หนักแน่นว่าจำเลยเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กดังกล่าวจริง การโพสต์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุ๊กต่อสาธารณะ ทำให้ผู้ติดตามแสดงความคิดเห็นตำหนินายมนตรี ผู้เสียชีวิต และครอบครัว เปรียบเทียบถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตรว่าจะโกงด้วยหรือไม่ หรือทายาทมีส่วนในทรัพย์ที่โกงด้วย เป็นการทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าผู้เสียชีวิตและครอบครัวโจทก์เป็นคนไม่ดี ได้รับความเสียหาย ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทั้งนี้ ระหว่างการพิจารณาได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้ไม่รวมความผิดฐานหมิ่นประมาท ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่ด้วย จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติใหม่ กรณีเป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จึงเป็นเหตุให้ยกฟ้องในความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ดังกล่าว
ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 327, 328 ให้ลงโทษบทหนักสุดตามมาตรา 328 จำคุก 2 ปี ปรับ 1 แสนบาท แต่จำเลยเป็นบุคคลสาธารณะ เคยทำประโยชน์ ไม่เคยต้องโทษมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา 2 ปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ และเดอะเนชั่นภาคภาษาอังกฤษ เป็นเวลา 7 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีที่นายมนตรี สีหนาทกถากุล เจ้าของธุรกิจโรงแรมแลนมาร์ค เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.เสาวรส โสภา มารดาของนายศิริโชค เป็นจำเลย ในความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341ต่อศาลแขวงพระนครใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 ให้ลงโทษจำคุก น.ส.เสาวรส 2 ปี ไม่รอลงอาญา โดยนายศิริโชคได้ยื่นประกันตัว ให้มารดาและโจทก์ถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ เนื่องจาก น.ส.เสาวรส เป็นบุคคลล้มละลาย ส่วนคดีแพ่งที่นายอนุชา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายศิริโชคในกรณีเดียวกันกับที่ศาลอาญามีคำพิพากษาในวันนี้นั้น ศาลแพ่งมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 เมษายน2560 ให้นายศิริโชคชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 7 วันโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
JJNY : คุก'ศิริโชค'2 ปี ปรับ 1 แสน โพสต์หมิ่นนักธุรกิจตระกูล 'สีหนาทกถากุล'แต่รอลงอาญา 2 ปี
กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม– 8 ตุลาคม 2558 ต่อเนื่องกัน จำเลยโพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ ใส่ความ ทำให้บิดาของโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง โดยจำเลยให้การปฏิเสธ ในวันนี้นายศิริโชค จำเลย ซึ่งได้รับการประกันตัว เดินทางมาศาล
ศาลพิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์เป็นบุตรของนายมนตรี สีหนาทกถากุล ผู้เสียชีวิต ซึ่งฟ้อง น.ส.เสาวรส โสภา มารดาของนายศิริโชค จำเลย ในคดีฉ้อโกงที่ศาลแขวงพระนครใต้ โดยศาลแขวงพระนครใต้มีคำพิพากษาให้จำคุก น.ส.เสาวรส และนายมนตรีได้ถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 22 กรกฎาคม2558 นายศิริโชคได้โพสต์เฟซบุ๊กประกอบภาพถ่ายระบุว่า แม่ของตนโดนหลอกให้ทำสัญญาเงินกู้แล้วไม่ได้รับเงิน สร้างหลักฐานเท็จมาฟ้องคดี และที่แม่ตนถูกจำคุกเพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ พร้อมกล่าวหาหมิ่นประมาทนายมนตรี ต่อมาโจทก์ได้ยื่นฟ้องนายศิริโชคต่อศาลแพ่ง และศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย พยานหลักฐานที่นำสืบรับฟังได้หนักแน่นว่าจำเลยเป็นเจ้าของเฟซบุ๊กดังกล่าวจริง การโพสต์ข้อความดังกล่าวในเฟซบุ๊กต่อสาธารณะ ทำให้ผู้ติดตามแสดงความคิดเห็นตำหนินายมนตรี ผู้เสียชีวิต และครอบครัว เปรียบเทียบถึงโจทก์ซึ่งเป็นบุตรว่าจะโกงด้วยหรือไม่ หรือทายาทมีส่วนในทรัพย์ที่โกงด้วย เป็นการทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าผู้เสียชีวิตและครอบครัวโจทก์เป็นคนไม่ดี ได้รับความเสียหาย ทำให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทั้งนี้ ระหว่างการพิจารณาได้มีการแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้ไม่รวมความผิดฐานหมิ่นประมาท ลักษณะการกระทำความผิดของจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่ด้วย จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติใหม่ กรณีเป็นเรื่องกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังมิได้กำหนดให้การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดต่อไป จึงเป็นเหตุให้ยกฟ้องในความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ดังกล่าว
ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 327, 328 ให้ลงโทษบทหนักสุดตามมาตรา 328 จำคุก 2 ปี ปรับ 1 แสนบาท แต่จำเลยเป็นบุคคลสาธารณะ เคยทำประโยชน์ ไม่เคยต้องโทษมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอลงอาญา 2 ปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 4 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ผู้จัดการ และเดอะเนชั่นภาคภาษาอังกฤษ เป็นเวลา 7 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีที่นายมนตรี สีหนาทกถากุล เจ้าของธุรกิจโรงแรมแลนมาร์ค เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.เสาวรส โสภา มารดาของนายศิริโชค เป็นจำเลย ในความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341ต่อศาลแขวงพระนครใต้ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 ให้ลงโทษจำคุก น.ส.เสาวรส 2 ปี ไม่รอลงอาญา โดยนายศิริโชคได้ยื่นประกันตัว ให้มารดาและโจทก์ถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ เนื่องจาก น.ส.เสาวรส เป็นบุคคลล้มละลาย ส่วนคดีแพ่งที่นายอนุชา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายศิริโชคในกรณีเดียวกันกับที่ศาลอาญามีคำพิพากษาในวันนี้นั้น ศาลแพ่งมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 เมษายน2560 ให้นายศิริโชคชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 7 วันโดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย