เปิดธรรมที่ถูกปิด ทุกข์เจริญขึ้น สุข เสื่อมไป สิ่งที่ปราถนากลับไม่ได้ เพราะอะไร

กระทู้สนทนา
บุรุษผู้หิว  5 จำพวก

พุทธวจน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนน้ำเต้าขมอันระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิต
ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ มาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่าดูกรบุรุษผู้เจริญ น้ำเต้าขมนี้
ระคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด น้ำเต้าขมนั้น จักไม่อร่อยแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี
ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย.
บุรุษนั้นไม่พิจารณาน้ำเต้าขมนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง.
ก็ไม่อร่อย เพราะสีบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย
หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์ในปัจจุบัน
และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี
กลิ่น และรส แต่ระคนด้วยยาพิษ. บุรุษที่รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มาถึงเข้า.
ประชุมชนก็บอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ภาชนะน้ำหวานอันน่าดื่ม ถึงพร้อมด้วยสี กลิ่น และรส
แต่ละคนด้วยยาพิษ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ภาชนะน้ำหวานนั้น จักชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม
ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นท่านดื่มเข้าแล้วจักถึงตาย หรือจักถึงทุกข์ปางตาย บุรุษนั้นไม่พิจารณา
ภาชนะน้ำหวานนั้นแล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว พึงถึงตาย
หรือพึงถึงทุกข์ปางตาย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน
แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ. บุรุษที่เป็น
โรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ มูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ
นี้ ถ้าท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด มูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ก็แต่
ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วาง ก็ไม่ชอบใจ ทั้งสี ทั้งกลิ่น
ทั้งรส ครั้นดื่มแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีทุกข์
ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมาฉันนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนมส้ม น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อย เขา
ระคนเข้าด้วยกัน. บุรุษผู้เป็นโรคลงโลหิตมาถึงเข้า ประชุมชนบอกเขาว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ นมส้ม
น้ำผึ้ง เนยใส และน้ำอ้อยนี้ เขาระคนรวมกันเข้า ท่านหวังจะดื่ม ก็ดื่มเถิด ยานั้นจักชอบใจ
แก่ท่านผู้ดื่ม ทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส และท่านครั้นดื่มเข้าแล้ว จักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณายานั้น
แล้ว ดื่มมิได้วาง ก็ชอบใจทั้งสี ทั้งกลิ่น ทั้งรส ครั้นดื่มเข้าแล้ว ก็มีสุข แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ ที่มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ว่ามีอุปมา
ฉันนั้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย อันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ ของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องสุขของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑
อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้ อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ศาสนาพุทธ บทสวดมนต์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่