ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับกับงานสัมมนา
“2017 Seminar on Broadcasting Exchange between Thailand and Korea” นำโดย
คิม กวังดง ผู้อำนวยการ มูลนิธิ Foundation for Broadcast Culture (FBC) ในเครือสถานีโทรทัศน์ MBC ประเทศเกาหลีใต้ ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จในการจัดงานที่ผ่านในหลายๆประเทศรวมถึงการจัดสัมมนาครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยที่ร่วมเข้ารับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ โดยภายในงานได้มีการพูดถึงสถานการณ์ของวงการโทรทัศน์ของทั้งสองประเทศ การเปลี่ยนผันของโทรทัศน์ดิจิตอลที่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการออกอากาศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเนื้อหาการออกอากาศระหว่างประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากกระแส K-WAVE จนมีการซื้อลิขสิทธิ์ของเนื้อหารายการเกาหลีเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และการเตรียมรับเนื้อหารายการจากประเทศไทยไปออกอากาศที่ประเทศเกาหลีใต้ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยถึงการถ่ายทำร่วมกันหรือ co-production ของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการรีเมคละครหรือรายการต่างๆอีกด้วย
คิม กวังดง ผู้อำนวยการ มูลนิธิ Foundation for Broadcast Culture (FBC) “ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยที่ให้ความสนใจกับงานสัมมนาในครั้งนี้ เนื่องจากเราได้จัดงานนี้ขึ้นทุกปีเพื่อพูดคุยถึงสถานการณ์ของวงการโทรทัศน์ของทั้งสองฝ่าย และในครั้งนี้ที่ผมได้เลือกจัดงานนี้ขึ้นในประเทศไทยด้วยเหตุผลอย่างที่ทราบกันดีว่า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน จากการรับวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกระแสเกาหลีในประเทศไทยด้านนักร้องหรือซีรี่ย์ต่างๆของเกาหลี และการที่คนเกาหลีชื่นชอบที่จะมาท่องเที่ยวประเทศไทย นั่นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศของเราทั้งสองให้ความสนใจซึ่งกันและกัน ทำให้ผมคิดว่าการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมการออกอากาศเนื้อหาของทั้งสองประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สามารถขยายตลาดของวงการโทรทัศน์รวมถึงการแลกเปลี่ยนเนื้อหาการออกอากาศได้อีกด้วย เพราะที่ผ่านมารายการเกาหลีหรือซีรี่ย์ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในอนาคตเราเองก็เตรียมพร้อมที่จะรับเนื้อหารายการจากประเทศไทยไปออกอากาศที่เกาหลีเช่นกัน นี่จึงเป็นการดีที่ทั้งสองประเทศจะได้แลกเปลี่ยนเนื้อหาและข้อมูลที่นำไปสู่การพัฒนาวงการโทรทัศน์ต่อไป ซึ่งประเทศไทยอาจเกิดปัญหาการเปลี่ยนจากระบบอะนาลอคไปเป็นดิจิตอลเนื่องจากยังต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งเกาหลีใต้เองก็เคยเกิดปัญหานี้ ซึ่งทางเราต้องใช้เวลา 7-8 ปีในการทำความเข้าใจกับประชาชน ผมจึงอยากให้สิ่งนี้เป็นอีกสิ่งที่เกาหลีใต้จะสามารถแนะนำประเทศไทยให้ก้าวข้ามปัญหานี้จากการแลกเปลี่ยนเนื้อหาการออกอากาศในงานสัมมนาครั้งนี้”
FBC ผู้ถือหุ้นใหญ่สถานีโทรทัศน์ MBC เตรียมรับเนื้อหารายการไทยออกอากาศในเกาหลีใต้
ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วกับกับงานสัมมนา “2017 Seminar on Broadcasting Exchange between Thailand and Korea” นำโดยคิม กวังดง ผู้อำนวยการ มูลนิธิ Foundation for Broadcast Culture (FBC) ในเครือสถานีโทรทัศน์ MBC ประเทศเกาหลีใต้ ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จในการจัดงานที่ผ่านในหลายๆประเทศรวมถึงการจัดสัมมนาครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยที่ร่วมเข้ารับฟังการสัมมนาในครั้งนี้ โดยภายในงานได้มีการพูดถึงสถานการณ์ของวงการโทรทัศน์ของทั้งสองประเทศ การเปลี่ยนผันของโทรทัศน์ดิจิตอลที่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในการออกอากาศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเนื้อหาการออกอากาศระหว่างประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากกระแส K-WAVE จนมีการซื้อลิขสิทธิ์ของเนื้อหารายการเกาหลีเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก และการเตรียมรับเนื้อหารายการจากประเทศไทยไปออกอากาศที่ประเทศเกาหลีใต้ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้มีการพูดคุยถึงการถ่ายทำร่วมกันหรือ co-production ของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการรีเมคละครหรือรายการต่างๆอีกด้วย
คิม กวังดง ผู้อำนวยการ มูลนิธิ Foundation for Broadcast Culture (FBC) “ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยที่ให้ความสนใจกับงานสัมมนาในครั้งนี้ เนื่องจากเราได้จัดงานนี้ขึ้นทุกปีเพื่อพูดคุยถึงสถานการณ์ของวงการโทรทัศน์ของทั้งสองฝ่าย และในครั้งนี้ที่ผมได้เลือกจัดงานนี้ขึ้นในประเทศไทยด้วยเหตุผลอย่างที่ทราบกันดีว่า ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน จากการรับวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกระแสเกาหลีในประเทศไทยด้านนักร้องหรือซีรี่ย์ต่างๆของเกาหลี และการที่คนเกาหลีชื่นชอบที่จะมาท่องเที่ยวประเทศไทย นั่นเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประเทศของเราทั้งสองให้ความสนใจซึ่งกันและกัน ทำให้ผมคิดว่าการสัมมนาครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมการออกอากาศเนื้อหาของทั้งสองประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น สามารถขยายตลาดของวงการโทรทัศน์รวมถึงการแลกเปลี่ยนเนื้อหาการออกอากาศได้อีกด้วย เพราะที่ผ่านมารายการเกาหลีหรือซีรี่ย์ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ในอนาคตเราเองก็เตรียมพร้อมที่จะรับเนื้อหารายการจากประเทศไทยไปออกอากาศที่เกาหลีเช่นกัน นี่จึงเป็นการดีที่ทั้งสองประเทศจะได้แลกเปลี่ยนเนื้อหาและข้อมูลที่นำไปสู่การพัฒนาวงการโทรทัศน์ต่อไป ซึ่งประเทศไทยอาจเกิดปัญหาการเปลี่ยนจากระบบอะนาลอคไปเป็นดิจิตอลเนื่องจากยังต้องทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งเกาหลีใต้เองก็เคยเกิดปัญหานี้ ซึ่งทางเราต้องใช้เวลา 7-8 ปีในการทำความเข้าใจกับประชาชน ผมจึงอยากให้สิ่งนี้เป็นอีกสิ่งที่เกาหลีใต้จะสามารถแนะนำประเทศไทยให้ก้าวข้ามปัญหานี้จากการแลกเปลี่ยนเนื้อหาการออกอากาศในงานสัมมนาครั้งนี้”