จากลูกชาวนา สู่มหาเศรษฐีและประกาศตัวเป็๋นคู่แข่ง Jack Ma
คุณรู้หรือไม่ครับว่าในบรรดาบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในโลกนี้ทุกวันนี้ จริงๆ แล้ว บริษัทที่ทำรายได้ต่อปีสูงสุดสามอันดับแรกของโลกนั้นไม่ใช่ Amazon Google หรือ Facebook สองอันดับแรกน่ะใช่อยู่ แต่อันดับ 3 นี่ไม่ใช่ Facebook ครับ แต่เป็นบริษัทมหาอำนาจ e-commerce จากกรุงปักกิ่งนามว่า JD.com (ดูอันดับได้ ที่นี่
ซึ่งนั่นหมายความว่า JD.com นี่มีรายได้สูงกว่าบริษัทไอทียักษ์ใหญ่เพื่อนร่วมชาติอย่าง Alibaba และ Tencent เสียอีก
แต่เชื่อไหมครับว่าผู้ก่อตั้งแต่ CEO ของ JD.com นี่เป็นลูกชาวนาเลย เขาล้มลุกคลุกคลาน และสุดท้ายก็ทำมาค้าขายจนยิ่งใหญ่ได้ เขาผู้นี้มีนามว่า Richard Liu ซึ่งมีอายุอานามน้อยกว่ามหาเศรษฐี e-commerce จีนอีกคนที่คนไทยรู้จักกันดีอย่าง Jack Ma ถึง 10 ปีเลยทีเดียว นักธุรกิจหนุ่มผู้หาญกล้ามาท้าบัลลังก์ Alibaba ผู้นี้มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เรามาฟังเรื่องราวของเขากันครับ
Richard Liu
ช่วงตั้งตัว
Richard Liu หรือ Liu Qiangdong เกิดเมื่อปี 1974 ที่มณฑลเจียงซูของจีน ครอบครัวของเขานั้นดั้งเดิมเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีธุรกิจเรือส่งสินค้าทางแม่น้ำแยงซี แต่หลังจากการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนในปี 1949 และการปฏิวัติวัฒนธรรม ครอบครัวของเขาก็ต้องมากลายมาเป็นชาวนา ปลูกข้าวโพดบ้าง มันเทศบ้าง ตอนเด็กๆ ครอบครัวเขายากจนมาก วันๆ ก็มีแต่อาหารที่ทำจากข้าวโพดและมันเทศกิน ปีนึงจะได้กินเนื้อก็สักปีละ 2 ครั้ง ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่สภาวะที่ประหลาดอะไรเลย เพราะก่อนจีนจะ “เปิดประเทศ” จีนเป็นประเทศที่ยากจนมากจริงๆ
พอดี Liu เป็นคนหัวดี เขาเรียนเก่ง เลยมาสอบที่มหาวิทยาลัย People's University of China ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นมหาลัยที่มีชื่อมากๆ ของจีนซึ่งเด่นในทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งตอนนั้นเขาก็ยากจนระดับที่คนในหมู่บ้านช่วยกันรวมเงินเพื่อส่งเขามาสอบที่มหาวิทยาลัย พร้อมให้ไข่ไก่จำนวนมากมาเป็นเสบียง และตอนที่เขามาสอบเขาก็เล่าว่าอาหารอย่างเดียวที่เขากินก็คือไข่ไก่ที่ได้มาจากหมู่บ้านนั่นแหละ เพราะเขาไม่มีเงินจริงๆ
เขาสอบได้เข้าไปเรียนในสาขาสังคมวิทยาในวัย 18 ปีในปี 1992 ซึ่งสำหรับเขาวิชาที่เรียนมันง่ายไป เขาก็เลยมีงานอดิเรกในการเรียนรู้การหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งตอนนั้นเป็นเรื่องใหม่มากๆ ของสังคมจีน
...ซึ่งก็โชคดีเหลือเกิน ช่วงนั้นธุรกิจจีนกำลังเริ่มเติบโตจากการที่อดีตผู้นำอย่างเติ้งเสี่ยวผิงได้ทำการ “เปิดประเทศ” พอดี และธุรกิจจำนวนมากในจีนก็ต้องการแรงงาน คนเขียนโปรแกรมจึงขาดแคลนเป็นอย่างมาก
Liu ที่กำลังเรียนอยู่รับงานฟรีแลนซ์เขียนโปรแกรมให้บริษัทต่างๆ และได้เงินมามหาศาลขนาดสร้างบ้านใหม่ให้พ่อแม่อยู่ได้ที่บ้านเกิด เศรษฐกิจดูสดใด และเขาก็เริ่มมีความใฝ่ฝันทางธุรกิจ พอเรียนจบเขาเลยเอาเงินที่เก็บมาได้รวมกับเงินที่เขากู้มาเพิ่มเพื่อเปิดร้านอาหารหน้ามหาวิทยาลัยของเขา
...แต่ผลคือ แม้ว่าเขาจะเป็นคนหาเงินจากการเขียนโปรแกรมได้เก่งจริงๆ แต่เขาไม่มีประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจ ธุรกิจเขาเจ๊งใน 8 เดือนหลังจากถูกบรรดาลูกน้องรวมหัวกันโกง
หลังจากเป็นหนี้ก้อนโตจากธุรกิจที่เจ๊งไป เขาก็เลยเริ่มต้นใหม่เป็นพนักงานบริษัทญี่ปุ่น Japan Life ที่ขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพื่อเรียนรู้การทำงานบริษัทและบริหารธุรกิจ ซึ่งเขาก็ทำไปได้ 2 ปีก็ใช้หนี้หมด และมีเงินเก็บก้อนหนึ่งเพื่อเริ่มธุรกิจ
เขาเลือกที่จะเปิดร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เล็กๆ ในปี 1998 เมื่อเขาอายุราวๆ 24 ปี โดยเขามีนโยบายสวนกระแสร้านขายคอมพิวเตอร์จีนในยุคนั้นที่จะเน้นเอาของปลอมและของด้อยคุณภาพมาขาย เพราะเขาจะขายแต่ของที่มีคุณภาพเท่านั้น และนี่ก็เป็นหลักธุรกิจที่เขายึดมาจนทุกวันนี้
เขาทำกิจการขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ ค่อยๆ ได้กำไรและขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนมี 12 สาขาทั่วกรุงปักกิ่งในปี 2003 ซึ่งในปีนั้นเอง มันก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้เขาเกิดไอเดียพลิกธุรกิจและชีวิตเขาโดยสิ้นเชิง
สู่ e-commerce
ในปี 2003 เกิดโรค SARS ระบาดซึ่งก็คร่าชีวิตคนจีนไปกว่า 300 คน ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ปักกิ่งกลายเป็นเมืองร้างกันไปพักใหญ่ คนไม่อยากออกจากบ้านกันเพราะกลัวโรคระบาด และแน่นอนว่าร้านค้าต่างๆ ได้รับผลกระทบสุดๆ เพราะขายของไม่ได้
...และในตอนนั้น Richard Liu ในวัย 29 ปีก็สั่งปิดร้านทั้งหมดเพราะเปิดไปก็ไม่มีลูกค้า แล้วก็ให้เหล่าพนักงานไปโพสต์สินค้าตามเว็บบอร์ดซึ่งเป็นสิ่งที่เขาไม่เคยทำมาก่อนแทน ผลปรากฏว่าสินค้าเขาขายได้ เขาเลยได้ไอเดียว่าถ้าคนไม่อยากออกจากบ้านกัน e-commerce น่าจะเป็นคำตอบที่ดี เขาไม่เคยคิดถึงการทำธุรกิจแบบนี้มาก่อน แต่เขาคิดว่ามันน่าจะเวิร์กแน่และมีอนาคตแน่ๆ
หลังจากวิกฤติโรค SARS ผ่านไป ร้านของเขาก็เปิดดังเดิม แต่เขาเห็นพลังของการขายของบนอินเทอร์เน็ตแล้ว เขาก็เลยให้มีพนักงานคนนึงรับหน้าที่ขายเฉพาะตามเว็บบอร์ด และพอสิ้นปี เขามาดูตัวเลขยอดขายออฟไลน์กับออนไลน์ คำตอบของเขาก็ชัดเจนมากว่า อนาคตน่าจะเป็นเรื่องของ e-commerce จริงๆ
เมื่อได้ไอเดียดังนี้ เขาซึ่งมีพื้นฐานเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่แล้วก็เลยเขียนโค้ดของเว็บไซต์ JD.com ขึ้นเองกับมือ และใช้คอมพิวเตอร์ออฟฟิศนั่นแหละเป็นเซิร์ฟเวอร์เครื่องแรก (โดยใช้ชื่อเว็บไซต์คือ jdlaser.com)
และเขาก็เป็นคนบ้างานสุดๆ ใน 4 ปีแรก เขานอนที่ออฟฟิศตลอด และเป็นคนรับโทรศัพท์จากลูกค้าเองกับมือไม่ว่าจะโทรมาดึกดื่นแค่ไหน เพราะเขาคิดว่าการทำแบบนี้จะทำให้เขาเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรได้อย่างตรงไปตรงมามากกว่า ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิศของเขานั้นก็น่าจะยาวนานเป็น 10 ปีเลย พูดง่ายๆ คือ ช่วงอายุระหว่าง 30 - 40 ปีของเขา เขานอนออฟฟิศตลอด และออฟฟิศก็พัฒนาจากออฟฟิศเก่าๆ มาจนหรูหราอย่างทุกวันนี้
ทะยานสู่ความยิ่งใหญ่
ธุรกิจของ JD.com ค่อยๆ ขยายตัวมาเรื่อยๆ จากการขยายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเป็นขายของแบบสากกะเบือยันเรือรบแบบ Amazon ของอเมริกา (ที่เริ่มจากการขายหนังสือ) และในวัย 35 ปีในปี 2009 เขาก็ตัดสินใจซื้อที่ดินทำสำนักงานใหม่ โดยในปีนั้นเขามีพนักงานเพียง 300 คนเท่านั้น
...แต่ทุกวันนี้ JD.com มีพนักงานทั้งหมด 120,000 คน ซึ่งเกินครึ่งหนึ่งเป็นพนักงานที่ทำเกี่ยวกับด้านการส่งสินค้า
ความโดดเด่นของ JD.com คือมันเป็นบริษัทที่มีโกดังสินค้าของตัวเองและส่งของเอง ซึ่งนี่ทำให้บริษัทสามารถส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วสุดๆ แบบสั่งวันนี้ส่งถึงพรุ่งนี้ได้สบายๆ ซึ่งนี่เป็นข้อได้เปรียบของ JD.com ในตลาดสินค้าผู้บริโภคมากกว่ากลุ่มบริษัทของทาง Alibaba (ซึ่งคือ Taobao กับ Tmall) ที่เล่นบทบาทเป็นแพลตฟอร์มกลางให้คนมาเปิดร้านค้ากันเป็นหลัก ไม่ได้ส่งของเอง (และโดนลูกค้าบ่นเรื่องส่งของตลอด)
ฟังๆ ดู JD.com ก็เป็น e-commerce ธรรมดา แต่ทำไมถึงยิ่งใหญ่และรายได้เยอะนัก ประเด็นคือตลาด e-commerce ค้าปลีกในจีนนี่ใหญ่กว่าอเมริกาประมาณสองเท่าครับ และ JD.com ก็มีส่วนแบ่งตลาดอยู่เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีกราวๆ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ จะเป็นของทางกลุ่ม Alibaba และทาง JD.com ก็ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน Liu พูดอย่างภูมิใจว่า เขาจะได้ส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 5 ปีหลังจากนี้
อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยกันนะครับว่าทำไม JD.com ถึงมี “รายได้” มากกว่าทาง Alibaba ทั้งๆ ที่ตอนนี้ Alibaba มียังส่วนแบ่งมากกว่าในตลาดค้าปลีกและแทบจะครองตลาดค้าส่งของจีนไปแล้ว? ประเด็นคือ JD.com มีโมเดลธุรกิจแบบที่ตัวเองขายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรงครับ คือคุมทั้งซัพพลายเชน รับออร์เดอร์และส่งของเอง ดังนั้นทุกๆ ออร์เดอร์สินค้าคือรายได้บริษัทหมด แต่ในทางกลับกัน Alibaba นั้นทำตัวเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ให้คนมาเปิดร้านมากกว่า และเป็นตัวกลางในการชำระเงิน ซึ่งรายได้หลักส่วนหนึ่งเลยจะมาจากค่าโฆษณา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะเป็น e-commerce เหมือนกัน แต่โมเดลธุรกิจมันคนละเรื่องเลย
ทั้งนี้สิ่งที่สร้างความแข็งแกร่งสุดๆ ให้ JD.com ก็คือในปี 2014 ทางมหาอำนาจอินเทอร์เน็ตอีกเจ้าอย่าง Tencent เข้ามาซื้อหุ้นไป 15 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับเชื่อมโยงบริการทั้งหมดของทั้งคู่เข้าด้วยกันซึ่งนี่หมายความว่าระบบของ WeChatPay ของ Tencent ที่เป็นระบบ e-payment ที่หาญกล้าขึ้นมาท้าทาย Alipay ของฝั่ง Alibaba ก็ได้มีพาร์ทเนอร์ทาง e-commerce เพื่อฟาดฟันกับ Alibaba เต็มตัวแล้ว และพาร์ตเนอร์ที่ว่าก็คือ JD.com นี่เอง
ซึ่งแน่นอนถ้าพอรู้ว่า Tencent ทำอะไรบ้างนี่เป็นเรื่องใหญ่มากเพราะ Tencent คุมชีวิตทางสังคมบนอินเทอร์เน็ตคนจีนไว้เกือบหมดเพราะทุกคนใช้ WeChat หรือถ้าจะเทียบกับฝั่งอเมริกา นี่อาจเป็นอะไรคล้ายๆ การที่ Facebook กับ Amazon ตกลงเป็นพาร์ทเนอร์กันน่ะครับ ซึ่งก็คงพอจะจินตนาการออกว่ามันครึกโครมแน่ๆ
...และก็แน่นอนพอเป็นพาร์ทเนอร์กับ Tencent แล้ว Tencent ก็ช่วย JD.com แบบยับเลย โปรโมทบน WeChat กระจุย (ลองนึกภาพเราเล่น Facebook อยู่แล้วมีโฆษณาสินค้าของทาง Amazon ขึ้นมารัวๆ น่ะครับ) เรียกได้ว่าอนาคตสดใสสุดๆ
ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรที่ในปี 2014 นี่เองที่ JD.com ได้เปิดตัวขายหุ้นแก่สาธารณะผ่านตลาดหุ้น NASDAQ ที่อเมริกาอย่างสวยงาม และธุรกิจก็โตมาเรื่อยๆ ถึงทุกวันนี้ ซึ่งการขายหุ้นสาธารณะในครั้งนี้ก็ทำให้ Richard Liu ขึ้นแท่นหนึ่งใน 20 มหาเศรษฐีของจีนไปเป็นที่เรียบร้อยเนื่องจากหุ้นที่เขาถืออยู่ในบริษัท
เรื่องราวทั้งหมดก็คงจะเป็นเรื่องชวนประทับใจของ Richard Liu ผู้มาจากครอบครัวยากจน ผู้ล้มเหลวแต่ก็ลุกขึ้นสู้ใหม่ จนประสบความสำเร็จในที่สุด
...แต่สิ่งที่ทำให้หนุ่มคนจีนอิจฉาเขาสุดๆ อาจจะไม่ใช่การที่เขาเป็นมหาเศรษฐีเท่ากับที่เขาเพิ่งแต่งงานกับเน็ตไอดอลวัยใสขวัญใจมหาชนชาวจีนไปหมาดๆ ในปี 2015
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://brandthinkbiz.com/p/richard-liu-%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B5-e-commerce-xfza1s?utm_source=Facebook&utm_medium=Read&utm_campaign=Richard%2C+Lui%2C+JD.com
Richard Liu จากลูกชาวนาสู่มหาเศรษฐี e-commerce
คุณรู้หรือไม่ครับว่าในบรรดาบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในโลกนี้ทุกวันนี้ จริงๆ แล้ว บริษัทที่ทำรายได้ต่อปีสูงสุดสามอันดับแรกของโลกนั้นไม่ใช่ Amazon Google หรือ Facebook สองอันดับแรกน่ะใช่อยู่ แต่อันดับ 3 นี่ไม่ใช่ Facebook ครับ แต่เป็นบริษัทมหาอำนาจ e-commerce จากกรุงปักกิ่งนามว่า JD.com (ดูอันดับได้ ที่นี่
ซึ่งนั่นหมายความว่า JD.com นี่มีรายได้สูงกว่าบริษัทไอทียักษ์ใหญ่เพื่อนร่วมชาติอย่าง Alibaba และ Tencent เสียอีก
แต่เชื่อไหมครับว่าผู้ก่อตั้งแต่ CEO ของ JD.com นี่เป็นลูกชาวนาเลย เขาล้มลุกคลุกคลาน และสุดท้ายก็ทำมาค้าขายจนยิ่งใหญ่ได้ เขาผู้นี้มีนามว่า Richard Liu ซึ่งมีอายุอานามน้อยกว่ามหาเศรษฐี e-commerce จีนอีกคนที่คนไทยรู้จักกันดีอย่าง Jack Ma ถึง 10 ปีเลยทีเดียว นักธุรกิจหนุ่มผู้หาญกล้ามาท้าบัลลังก์ Alibaba ผู้นี้มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร เรามาฟังเรื่องราวของเขากันครับ
Richard Liu
ช่วงตั้งตัว
Richard Liu หรือ Liu Qiangdong เกิดเมื่อปี 1974 ที่มณฑลเจียงซูของจีน ครอบครัวของเขานั้นดั้งเดิมเป็นตระกูลพ่อค้าที่มีธุรกิจเรือส่งสินค้าทางแม่น้ำแยงซี แต่หลังจากการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีนในปี 1949 และการปฏิวัติวัฒนธรรม ครอบครัวของเขาก็ต้องมากลายมาเป็นชาวนา ปลูกข้าวโพดบ้าง มันเทศบ้าง ตอนเด็กๆ ครอบครัวเขายากจนมาก วันๆ ก็มีแต่อาหารที่ทำจากข้าวโพดและมันเทศกิน ปีนึงจะได้กินเนื้อก็สักปีละ 2 ครั้ง ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่สภาวะที่ประหลาดอะไรเลย เพราะก่อนจีนจะ “เปิดประเทศ” จีนเป็นประเทศที่ยากจนมากจริงๆ
พอดี Liu เป็นคนหัวดี เขาเรียนเก่ง เลยมาสอบที่มหาวิทยาลัย People's University of China ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นมหาลัยที่มีชื่อมากๆ ของจีนซึ่งเด่นในทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งตอนนั้นเขาก็ยากจนระดับที่คนในหมู่บ้านช่วยกันรวมเงินเพื่อส่งเขามาสอบที่มหาวิทยาลัย พร้อมให้ไข่ไก่จำนวนมากมาเป็นเสบียง และตอนที่เขามาสอบเขาก็เล่าว่าอาหารอย่างเดียวที่เขากินก็คือไข่ไก่ที่ได้มาจากหมู่บ้านนั่นแหละ เพราะเขาไม่มีเงินจริงๆ
เขาสอบได้เข้าไปเรียนในสาขาสังคมวิทยาในวัย 18 ปีในปี 1992 ซึ่งสำหรับเขาวิชาที่เรียนมันง่ายไป เขาก็เลยมีงานอดิเรกในการเรียนรู้การหัดเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งตอนนั้นเป็นเรื่องใหม่มากๆ ของสังคมจีน
...ซึ่งก็โชคดีเหลือเกิน ช่วงนั้นธุรกิจจีนกำลังเริ่มเติบโตจากการที่อดีตผู้นำอย่างเติ้งเสี่ยวผิงได้ทำการ “เปิดประเทศ” พอดี และธุรกิจจำนวนมากในจีนก็ต้องการแรงงาน คนเขียนโปรแกรมจึงขาดแคลนเป็นอย่างมาก
Liu ที่กำลังเรียนอยู่รับงานฟรีแลนซ์เขียนโปรแกรมให้บริษัทต่างๆ และได้เงินมามหาศาลขนาดสร้างบ้านใหม่ให้พ่อแม่อยู่ได้ที่บ้านเกิด เศรษฐกิจดูสดใด และเขาก็เริ่มมีความใฝ่ฝันทางธุรกิจ พอเรียนจบเขาเลยเอาเงินที่เก็บมาได้รวมกับเงินที่เขากู้มาเพิ่มเพื่อเปิดร้านอาหารหน้ามหาวิทยาลัยของเขา
...แต่ผลคือ แม้ว่าเขาจะเป็นคนหาเงินจากการเขียนโปรแกรมได้เก่งจริงๆ แต่เขาไม่มีประสบการณ์ด้านการบริหารธุรกิจ ธุรกิจเขาเจ๊งใน 8 เดือนหลังจากถูกบรรดาลูกน้องรวมหัวกันโกง
หลังจากเป็นหนี้ก้อนโตจากธุรกิจที่เจ๊งไป เขาก็เลยเริ่มต้นใหม่เป็นพนักงานบริษัทญี่ปุ่น Japan Life ที่ขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพื่อเรียนรู้การทำงานบริษัทและบริหารธุรกิจ ซึ่งเขาก็ทำไปได้ 2 ปีก็ใช้หนี้หมด และมีเงินเก็บก้อนหนึ่งเพื่อเริ่มธุรกิจ
เขาเลือกที่จะเปิดร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เล็กๆ ในปี 1998 เมื่อเขาอายุราวๆ 24 ปี โดยเขามีนโยบายสวนกระแสร้านขายคอมพิวเตอร์จีนในยุคนั้นที่จะเน้นเอาของปลอมและของด้อยคุณภาพมาขาย เพราะเขาจะขายแต่ของที่มีคุณภาพเท่านั้น และนี่ก็เป็นหลักธุรกิจที่เขายึดมาจนทุกวันนี้
เขาทำกิจการขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเรื่อยๆ ค่อยๆ ได้กำไรและขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนมี 12 สาขาทั่วกรุงปักกิ่งในปี 2003 ซึ่งในปีนั้นเอง มันก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ทำให้เขาเกิดไอเดียพลิกธุรกิจและชีวิตเขาโดยสิ้นเชิง
สู่ e-commerce
ในปี 2003 เกิดโรค SARS ระบาดซึ่งก็คร่าชีวิตคนจีนไปกว่า 300 คน ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ปักกิ่งกลายเป็นเมืองร้างกันไปพักใหญ่ คนไม่อยากออกจากบ้านกันเพราะกลัวโรคระบาด และแน่นอนว่าร้านค้าต่างๆ ได้รับผลกระทบสุดๆ เพราะขายของไม่ได้
...และในตอนนั้น Richard Liu ในวัย 29 ปีก็สั่งปิดร้านทั้งหมดเพราะเปิดไปก็ไม่มีลูกค้า แล้วก็ให้เหล่าพนักงานไปโพสต์สินค้าตามเว็บบอร์ดซึ่งเป็นสิ่งที่เขาไม่เคยทำมาก่อนแทน ผลปรากฏว่าสินค้าเขาขายได้ เขาเลยได้ไอเดียว่าถ้าคนไม่อยากออกจากบ้านกัน e-commerce น่าจะเป็นคำตอบที่ดี เขาไม่เคยคิดถึงการทำธุรกิจแบบนี้มาก่อน แต่เขาคิดว่ามันน่าจะเวิร์กแน่และมีอนาคตแน่ๆ
หลังจากวิกฤติโรค SARS ผ่านไป ร้านของเขาก็เปิดดังเดิม แต่เขาเห็นพลังของการขายของบนอินเทอร์เน็ตแล้ว เขาก็เลยให้มีพนักงานคนนึงรับหน้าที่ขายเฉพาะตามเว็บบอร์ด และพอสิ้นปี เขามาดูตัวเลขยอดขายออฟไลน์กับออนไลน์ คำตอบของเขาก็ชัดเจนมากว่า อนาคตน่าจะเป็นเรื่องของ e-commerce จริงๆ
เมื่อได้ไอเดียดังนี้ เขาซึ่งมีพื้นฐานเป็นโปรแกรมเมอร์อยู่แล้วก็เลยเขียนโค้ดของเว็บไซต์ JD.com ขึ้นเองกับมือ และใช้คอมพิวเตอร์ออฟฟิศนั่นแหละเป็นเซิร์ฟเวอร์เครื่องแรก (โดยใช้ชื่อเว็บไซต์คือ jdlaser.com)
และเขาก็เป็นคนบ้างานสุดๆ ใน 4 ปีแรก เขานอนที่ออฟฟิศตลอด และเป็นคนรับโทรศัพท์จากลูกค้าเองกับมือไม่ว่าจะโทรมาดึกดื่นแค่ไหน เพราะเขาคิดว่าการทำแบบนี้จะทำให้เขาเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไรได้อย่างตรงไปตรงมามากกว่า ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ในออฟฟิศของเขานั้นก็น่าจะยาวนานเป็น 10 ปีเลย พูดง่ายๆ คือ ช่วงอายุระหว่าง 30 - 40 ปีของเขา เขานอนออฟฟิศตลอด และออฟฟิศก็พัฒนาจากออฟฟิศเก่าๆ มาจนหรูหราอย่างทุกวันนี้
ทะยานสู่ความยิ่งใหญ่
ธุรกิจของ JD.com ค่อยๆ ขยายตัวมาเรื่อยๆ จากการขยายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาเป็นขายของแบบสากกะเบือยันเรือรบแบบ Amazon ของอเมริกา (ที่เริ่มจากการขายหนังสือ) และในวัย 35 ปีในปี 2009 เขาก็ตัดสินใจซื้อที่ดินทำสำนักงานใหม่ โดยในปีนั้นเขามีพนักงานเพียง 300 คนเท่านั้น
...แต่ทุกวันนี้ JD.com มีพนักงานทั้งหมด 120,000 คน ซึ่งเกินครึ่งหนึ่งเป็นพนักงานที่ทำเกี่ยวกับด้านการส่งสินค้า
ความโดดเด่นของ JD.com คือมันเป็นบริษัทที่มีโกดังสินค้าของตัวเองและส่งของเอง ซึ่งนี่ทำให้บริษัทสามารถส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็วสุดๆ แบบสั่งวันนี้ส่งถึงพรุ่งนี้ได้สบายๆ ซึ่งนี่เป็นข้อได้เปรียบของ JD.com ในตลาดสินค้าผู้บริโภคมากกว่ากลุ่มบริษัทของทาง Alibaba (ซึ่งคือ Taobao กับ Tmall) ที่เล่นบทบาทเป็นแพลตฟอร์มกลางให้คนมาเปิดร้านค้ากันเป็นหลัก ไม่ได้ส่งของเอง (และโดนลูกค้าบ่นเรื่องส่งของตลอด)
ฟังๆ ดู JD.com ก็เป็น e-commerce ธรรมดา แต่ทำไมถึงยิ่งใหญ่และรายได้เยอะนัก ประเด็นคือตลาด e-commerce ค้าปลีกในจีนนี่ใหญ่กว่าอเมริกาประมาณสองเท่าครับ และ JD.com ก็มีส่วนแบ่งตลาดอยู่เกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีกราวๆ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ จะเป็นของทางกลุ่ม Alibaba และทาง JD.com ก็ได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน Liu พูดอย่างภูมิใจว่า เขาจะได้ส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 5 ปีหลังจากนี้
อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะสงสัยกันนะครับว่าทำไม JD.com ถึงมี “รายได้” มากกว่าทาง Alibaba ทั้งๆ ที่ตอนนี้ Alibaba มียังส่วนแบ่งมากกว่าในตลาดค้าปลีกและแทบจะครองตลาดค้าส่งของจีนไปแล้ว? ประเด็นคือ JD.com มีโมเดลธุรกิจแบบที่ตัวเองขายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรงครับ คือคุมทั้งซัพพลายเชน รับออร์เดอร์และส่งของเอง ดังนั้นทุกๆ ออร์เดอร์สินค้าคือรายได้บริษัทหมด แต่ในทางกลับกัน Alibaba นั้นทำตัวเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ให้คนมาเปิดร้านมากกว่า และเป็นตัวกลางในการชำระเงิน ซึ่งรายได้หลักส่วนหนึ่งเลยจะมาจากค่าโฆษณา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้ว่าจะเป็น e-commerce เหมือนกัน แต่โมเดลธุรกิจมันคนละเรื่องเลย
ทั้งนี้สิ่งที่สร้างความแข็งแกร่งสุดๆ ให้ JD.com ก็คือในปี 2014 ทางมหาอำนาจอินเทอร์เน็ตอีกเจ้าอย่าง Tencent เข้ามาซื้อหุ้นไป 15 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับเชื่อมโยงบริการทั้งหมดของทั้งคู่เข้าด้วยกันซึ่งนี่หมายความว่าระบบของ WeChatPay ของ Tencent ที่เป็นระบบ e-payment ที่หาญกล้าขึ้นมาท้าทาย Alipay ของฝั่ง Alibaba ก็ได้มีพาร์ทเนอร์ทาง e-commerce เพื่อฟาดฟันกับ Alibaba เต็มตัวแล้ว และพาร์ตเนอร์ที่ว่าก็คือ JD.com นี่เอง
ซึ่งแน่นอนถ้าพอรู้ว่า Tencent ทำอะไรบ้างนี่เป็นเรื่องใหญ่มากเพราะ Tencent คุมชีวิตทางสังคมบนอินเทอร์เน็ตคนจีนไว้เกือบหมดเพราะทุกคนใช้ WeChat หรือถ้าจะเทียบกับฝั่งอเมริกา นี่อาจเป็นอะไรคล้ายๆ การที่ Facebook กับ Amazon ตกลงเป็นพาร์ทเนอร์กันน่ะครับ ซึ่งก็คงพอจะจินตนาการออกว่ามันครึกโครมแน่ๆ
...และก็แน่นอนพอเป็นพาร์ทเนอร์กับ Tencent แล้ว Tencent ก็ช่วย JD.com แบบยับเลย โปรโมทบน WeChat กระจุย (ลองนึกภาพเราเล่น Facebook อยู่แล้วมีโฆษณาสินค้าของทาง Amazon ขึ้นมารัวๆ น่ะครับ) เรียกได้ว่าอนาคตสดใสสุดๆ
ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรที่ในปี 2014 นี่เองที่ JD.com ได้เปิดตัวขายหุ้นแก่สาธารณะผ่านตลาดหุ้น NASDAQ ที่อเมริกาอย่างสวยงาม และธุรกิจก็โตมาเรื่อยๆ ถึงทุกวันนี้ ซึ่งการขายหุ้นสาธารณะในครั้งนี้ก็ทำให้ Richard Liu ขึ้นแท่นหนึ่งใน 20 มหาเศรษฐีของจีนไปเป็นที่เรียบร้อยเนื่องจากหุ้นที่เขาถืออยู่ในบริษัท
เรื่องราวทั้งหมดก็คงจะเป็นเรื่องชวนประทับใจของ Richard Liu ผู้มาจากครอบครัวยากจน ผู้ล้มเหลวแต่ก็ลุกขึ้นสู้ใหม่ จนประสบความสำเร็จในที่สุด
...แต่สิ่งที่ทำให้หนุ่มคนจีนอิจฉาเขาสุดๆ อาจจะไม่ใช่การที่เขาเป็นมหาเศรษฐีเท่ากับที่เขาเพิ่งแต่งงานกับเน็ตไอดอลวัยใสขวัญใจมหาชนชาวจีนไปหมาดๆ ในปี 2015
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้