Light at The End of The Tunnel ! รีวิวอัลบั้ม The Thrill of It All อัลบั้มใหม่จาก Sam Smith
เรื่อง : วิทวัส ปัญญาเลิศวุฒิ
นี่ถือเป็นอัลบั้มที่ใครหลายคน รวมทั้งตัวผมด้วยรอคอย และตื่นเต้นที่จะได้ฟังผลงานชุดใหม่ของชายคนนี้ หลังฝากความประทับใจในอัลบั้ม In The Lonely Hour อัลบั้มชุดแรกของเขาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งยอดขายก็ดี รวมถึงคำวิจารณ์ก็ดี ทุกคนต่างรู้กันกันดีว่า อัลบั้มที่สองคือตัววัด ความเป็น “ตัวจริง” ของศิลปินระดับโลก เป็นแชมป์ว่ายากแล้ว ป้องกันแชมป์นี่สิยากกว่า วลีนี้สามารถนำมาใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบัน ของหนุ่มคนนี้ได้ เพราะดูเหมือนว่ากำลังมีสปอตไลท์ส่องตรงมาที่เขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างที่ทุกคนทราบนี่เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 2 ของหนุ่มจากย่านชนบทในลอนดอนคนนี้ อัลบั้มนี้ยังได้ทีมงานชุดเดิม จิมมี เนปส์ (Jimmy Napes ) และ สตีฟ ฟิตซ์มอริซ (Steve Fitzmaurice) สองโปรดิวซ์เซอร์คู่บุญ ที่มีส่วนในความสำเร็จจากอัลบั้มที่แล้ว กลับมาโปรดิวซ์ให้อีกครั้ง อัลบั้มชุดนี้มีส่วนผสมของดนตรีหลายแบบทั้ง กอสเปล ที่พวกเขาพรีเซนต์อย่างมากในอัลบั้มชุดนี้ อีกทั้งยังมีความเป็นป๊อป ดนตรีวินเทจโซล โมทาวด์ และแน่นอนที่จะขาดไม่ได้คือ ดนตรีอาร์แอนด์บี ในแบบฉบับอังกฤษ
ถ้าถามว่าจะมีศิลปินสักกี่คนที่เคยได้ทั้ง ออสการ์ และ แกรมมี่ จากการเดบิวต์อย่างเป็นทางการปีแรก แถมด้วยอายุยังน้อยอย่างนี้ คำตอบคงหนีไม่พ้นหนุ่มคนนี้แน่ ๆ “แซม สมิธ”
วันนี้ เราจะมารีวิว Track by Track กับผลงานชุดนี้กัน
01 Too Good at Goodbyes 3:21
เสียงเปียโนกับเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ที่ขึ้นมาในท่อนอินโทร แค่นี้ก็บอกได้แล้วว่านี่แหละ ดนตรีในแบบของเขาอย่างแท้จริง คอร์ดในโทนไมเนอร์ บวกกับเสียงร้องแบบเหงา ๆ ทำให้เพลงของแซม เพลงนี้ลงตัวที่สุดเพลงหนึ่งในอัลบั้มนี้ อีกทั้งเพลงนี้ยังได้โปรดิวซ์เซอร์มากความสามารถอย่าง อีริค เฮอมานเซ่น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ สตาร์เกต (Stargate) มาร่วมโปรดิวซ์ด้วย สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือสิ่งที่โปรดิวซ์เซอร์ทั้งสาม พยายามจะถ่ายทอด พวกเขาเน้นเสียงร้องประสานแบบกอสเปล ให้ดูหนากว่าเดิม เน้นกว่าเดิม จำนวนคนที่มาบันทึกเสียงน่าจะมากกว่าอัลบั้มที่แล้วเยอะ (ลองฟัง Stay With Me เปรียบเทียบดู) และ เครื่องสายที่อยู่ทั้งเพลง อิ่ม กว้าง เป็นฝ่ายสนับสนุนที่ดีให้กับเพลงนี้ ไม่มีเพลงไหนเหมาะสำหรับจะเป็นซิงเกิลเปิดตัวมากกว่าเพลงนี้อีกแล้ว อารมณ์ของนี้ชวนให้ผมนึกถึงเพลงหนึ่งของ อเดล อย่าง Set Fire To The Rain ที่มีเสียงร้อง เสียงเครื่องสาย และภาพรวมที่คล้ายกัน
02 Say It First 4:07
แทร็คที่สองของอัลบั้มนี้จะเป็นเพลงที่ให้ความรู้สึก กว้าง ๆ ลอย ๆ ไลน์เบส กลอง ที่เป็นหัวใจสำคัญของเพลงทำหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกัน ฟังแล้วก็ดูเหมือนเสียงหัวใจเต้นเหมือนกันนะ เสียงของซาวด์สังเคราะห์ เครื่องสาย เสียงร้องที่ใส่รีเวิร์บหนาๆ ทำให้ผมนึกถึงเพลงเก่าจากอัลบั้มที่แล้วของแซมอย่าง Good Thing เพลงนี้ได้ มาเลย์ โปรดิวซ์เซอร์ของหนุ่ม แฟรงก์ โอเซียน มาร่วมแต่ง และโปรดิวซ์ด้วย โดยรวมฟังแล้วโอเค แต่ไม่น่าสนใจเท่าไหร่
03 One Last Song 3:12
เปียโนขึ้นมาด้วยจังหวะ suffle แบบนี้ ทางเดินคอร์ดแบบนี้ ตอนแรกผมนึกว่ากำลังฟังเพลงของ แซม คุก ตำนานนักร้องยุค 70s เสียงร้องของแซม ทำได้ดีในเพลงนี้ ไลน์ Unison ในท่อนอินเทอร์ลูด ก่อนเข้าท่อนเวิสสองน่าสนใจดี เสียงเบสทำให้ไม่รู้สึกว่าเป็นดนตรีแบบเก่ามากเกินไป เป็นเพลงแบบโมทาวด์เก่า ๆ กลิ่นกอสเปล อาร์แอนบีเล็ก ๆ ไม่เลวเลยทีเดียว ออกจะเท่ซะด้วยซ้ำ ถ้าเป็นโมทาวด์ ก็เป็นโมทาวด์ในแบบ แซม สมิธ เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจถ้าคิดจะทำดนตรีแบบกอสเปลในสไตล์ของตัวเอง ซึ่งเขาก็ทำออกมาได้ดี แต่แค่ว่าจะฟังดูหลุด ๆ จากความเป็นแซม สมิธ ไปหน่อย
04 Midnight Train 3:27
เพลงป๊อปจากคนโดนเท ในไอร์แลนด์ (แซม เคยเล่าถึงที่มาของเพลงนี้) เรียบ และคาดเดาง่ายไปหน่อย ไม่โดดเด่นอย่างที่ควรจะเป็น ฟังแล้วเหมือนไม่ได้ฟังเพลงของแซม สมิธ อยู่ ตอนแรกนึกว่าตัวเองเปิด Creep (Radiohead) เวอร์ชั่นสโลว์โมชั่นอยู่ แต่ทั้งหลายทั้งปวงผมชอบเสียงร้อง และเทคนิคที่เขาใช้นะ การร้องมีผ่อนหนัก เบา ไดนามิคแบบธรรมชาติดี เสียงร้องของแซม ช่วยไม่ทำให้เพลงนี้น่าเบื่อจนเกินไป น่าเสียดายไปนิดเพราะทำนองของเพลง น่าสนใจมาก ถ้าเล่าเรื่อง จับแต่งตัวในอีกแบบ น่าจะดีมากเลย
05 Burning 3:23
มาถึงเพลงที่ห้าของอัลบั้มแล้ว และแล้วผมก็สามารถประทับตราเพลงคุณภาพของอัลบั้มได้แล้ว เยส ! เพลงนี้แหละที่รอคอย แค่ร้องขึ้นมาเดี่ยว ๆ ก็ดีแล้ว เสียงหลบมีพลังขึ้นกว่าอัลบั้มที่แล้ว ร้องชัด ถ่ายทอดดีมาก ท่อนคอรัสสองที่มีประสานเข้ามาฟังแล้วขนลุก เรียบง่ายแต่ลงตัว แซม เคยเล่าถึงที่มาของเพลงนี้กับ BBC Radio ว่า “ผมได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมด ผ่านเสียงร้องของผมไปแล้วในเพลงนี้” นี่คือเพลงที่แซมร้องได้ดีอีกเพลงหนึ่งและ ยังเป็นอีกหนึ่งเพลงที่ผมชอบที่สุดในอัลบั้ม
06 Him 3:10
เพลงนี้แปลกดี ทางเดินคอร์ดแบบนี้ทำนองแบบนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินจากผลงานของ แซม ก่อนหน้านี้ Him เป็นการเล่นคำมาจาก คำว่า Hymn ที่แปลว่าเพลงสวด นั่นแหละ เพลงนี้แซม เล่าถึงที่มาที่ไปว่า เพลงนี้เขาได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ที่เขาได้ไปสารภาพบาปกับบาทหลวง ว่าเขาเป็น เกย์ เนื้อร้องในท่อน“I can’t give up his touch/ It is Him I love/ It is Him” เป็นตัวบ่งบอกเนื้อหาของเพลงได้ดี เสียงประสานในท่อนท้ายเองก็น่าสนใจดี ฟังแล้วดูหนา และอิ่ม โดยรวมเป็นเพลงที่เท่ดี แม้อยู่ในทำนองที่ไม่ touch เท่าที่ควรครับ
07 Baby, You Make Me Crazy 3:27
ครั้งแรกที่ฟังเพลงนี้ มันทำให้ผมนึกถึงเพลงเก่าเพลงหนึ่งขึ้นมา ทีแรกก็นึกไม่ออก ฟังไปฟังมา เฮ้ยนี่มันเพลง Breeze & Soul ของวง Kool & the Gang นี่หว่า นี่ไม่ใช่การมิกซ์เทป หรือหลอกเลียนแต่อย่างใด เพราะเวอร์ชั่นต้นฉบับ เป็นเพลงที่มีแต่ดนตรีบรรเลงไม่มีเนื้อร้อง โดยเราสามารถดูได้จากเครดิตในแผ่นที่มีชื่อของผู้แต่งเพลงนี้อยู่ในนั้นด้วย เป็นเพลงสนุก ๆ ที่มีทำนองลงตัวกับเพลงเดิมได้ดี
08 No Peace (featuring YEBBA) 3:43
เซอร์ไพร์เล็ก ๆ สำหรับนักร้องคนแรกที่มาร่วม feat กับหนุ่มแซม นักร้องคนนั้นไม่ใช่นักร้องเบอร์ใหญ่ที่เรารู้จักกัน แต่กลับเป็นนักร้องสาวหน้าใหม่ เสียงดีจากอาร์คันซอ ที่ใช้ชื่อว่า YEBBA (เป็นการกลับคำมาจาก Abbey) เป็นเพลงคู่ที่ถ่ายทอดออกมาได้ดี และชวนให้สัมผัสถึงอารมณ์เหล่านั้นได้ แต่พูดถึงโดยรวมแล้วมันกลับไม่โดดเด่นเท่าที่ควรอีกแล้วนั่นแหละ ไม่รู้สึกถึงความเป็น แซม สมิธ เลย ถ้ามีเครื่องสายเต็ม ๆ กับดนตรีอคูสติก เหงา ๆ เศร้า แบบแซม น่าจะออกมาได้ดีกว่านี้
09 Palace 3:07
มาถึงเพลงท้าย ๆ ของอัลบั้มแล้ว เพลงนี้โดยร่วมองค์ประกอบมีความเป็นดนตรีในแบบ แซม สมิธ มาก ทั้งเสียงหลบสูง ๆ การไวเบรตเสียงสั่น ๆและดนตรีอคูสติก น้อย ๆ น่าเสียดายที่ทำนองไม่ได้ชวนติดหูขนาดนั้น ถ้าเทียบกับเพลงจากอัลบั้มแรกอย่าง Leave Your Lover หรือ Not In That Way
10 Pray 3:41
เพลงนี้ได้โปรดิวซ์เซอร์งานชุก ทิมบาแลนด์ (TIMBALAND) มาร่วมงานด้วย เป็นอีกครั้งที่แซม นำโปรดิวเซอร์จากฝั่งแอลเอมาร่วมงานด้วย อย่างในอัลบั้มที่แล้วก็ได้ ดาร์คไชลด์ (Darkchild) มาร่วมงานในเพลง Stay With Me เวอร์ชั่น ที่เข้าชิงแกรมมี่นั่นแหละ นี่กลายเป็นอีกเพลงในอัลบั้มนี้ที่ผมชอบนะ อาจจะเพราะส่วนตัวชอบเพลงอาร์แอนด์บี ที่มีความกอสเปลอยู่แล้วเลยทำให้รู้สึกอินกับเพลงนี้มากขึ้น อีกเหตุผลที่ผมชอบเป็นเรื่องของความแปลกใหม่ ในการนำดนตรีหลาย ๆอย่างมาผสมกับเสียงร้องของหนุ่มแซม ใช่แล้ว Pray เป็นเพลงที่มีความกอสเปล อาร์แอนด์บี ขนานแท้ ดีเกินคาด ลงตัวจนน่าสนใจ เสียงสูงของแซมแตะโน้ตได้โอเคเลยทีเดียว เสียงเครื่องสายที่อยู่ด้านหลังก็เรียบเรียงมาได้ดี ไม่เด่นจนเกินไป ติดนิดเดียวคือเสียงร้องประสานแบบกอสเปลในท่อนเวิสสอง ทำผมสะดุ้งตกใจไปเลย ลั่นดีจริง ๆ เป็นการปิดท้ายอัลบั้มที่ดูดีทีเดียว
อีกสี่เพลงต่อไปนี้มาจากอัลบั้มที่เป็น deluxe edition ซึ่งน่าสนใจมาก ๆ
11 Nothing Left for You 3:46
เพลงนี้ได้เสียงกีตาร์ ทำหน้าที่เป็นพระเอกของเรื่อง ในเพลงจะมีไลน์กีตาร์ เด่น ๆ หลายท่อน เสียงริฟกีตาร์แบบซิงเกิลโน้ตเสียงตำ่ๆ ชวนให้นึกถึงเพลงสายลับอังกฤษดีจริง ๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แซม ไม่ได้ใช้เสียงเครื่องสายให้ออกมาโดดเด่น มากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะบางท่อนมีอารมณ์คล้าย ๆ Writing's on the Wall เหมือนกันนะ ซึ่งทั้งสองเพลงแตกต่างกันที่บทบาทของเครื่องสายเท่านั้นเอง
12 The Thrill of It All 3:28
เพลงที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้ม เป็นอีกเพลงที่ผมฟังแล้วนึกถึงเพลงเก่าของเขาอย่างเพลง Drowning Shadows และถือเป็นเพลง “โชว์” เสียงหลบของหนุ่มแซม ที่ฟังแล้วดูมีพัฒนาการจากอัลบั้มที่แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ผมชอบคือการเรียบเรียงเสียงประสานของเครื่องสาย ที่ติดหูดี โดยรวมถือว่าเพราะดีครับ
13 Scars 3:03
เพลงนี้น่าสนใจดี แซม เพลงนี้ มีความอคูสติกแบบ Leave Your Lover กับ Not In That Way บนความรู้สึกในแบบ I’ve Told You Now เฟสซิ่งกับทำนองไปด้วยกันได้ดี บวกกันเสียงร้องของแซม ซึ่งช่วงท้ายมีการพยายามใส่ซาวด์แปลก ๆ เข้าไป ถือเป็นการสร้างสรรค์ที่น่าประทับใจลงตัวและ มีความเพราะในแบบฉบับแซม สมิธ ผมชอบนะ
14 One Day at a Time 3:29
แซมโดดเด่น และมีเสน่ห์ เมื่อร้องกับเครื่องดนตรีน้อยชิ้นแบบนี้ ซึ่งมันกลายเป็นเอกลักษณ์ติดตัวเขาไปแล้ว เสียงร้องเหงา ๆ คู่กับเสียงกีตาร์ หรือเปียโน เมื่อนึกถึงสิ่งเหล่านี้ ชายที่ถ่ายทอดได้ดีจนน่าฟัง ในวงการเพลงตอนนี้ ก็คงต้องมีชื่อของแซม อยู่ในลิสต์แน่ๆ ถือเป็นการปิดฉากที่งดงามไม่เลวเลย
ภาพรวมของอัลบั้ม ถือเป็นผลงานที่ดี แต่แน่นอนโดยส่วนตัวผมรู้สึกว่ามันไม่เปรี้ยง ไม่ปัง แต่ก็ไม่แป็ก มันไม่แย่ แต่อาจจะไม่ลงตัวเท่าอัลบั้มที่แล้วเท่านั้นเอง ในทางกลับกันผมกับชอบ สี่เพลง ที่มีในอัลบั้ม deluxe edition มาก น่าเสียดายที่เพลงเหล่านี้ไม่ได้ถูกว่างไว้ในที่ที่ควรจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากอัลบั้มที่แล้วคือ เทคนิคการร้องที่ดีขึ้น โน้ตแม่นขึ้น ยังคงเป็นหนุ่มที่มีเสียงมากเสน่ห์
ด้านดนตรีมีการเน้นแบบโอลสคูลมากขึ้น แต่ความโดดเด่นของแซมในหลายๆ เรื่องหายไป อาจจะเป็นเพราะการอยากทดลองอะไรใหม่ ๆ ส่วนที่ผมชอบน่าจะเป็นการพยายามจะนำเสนอดนตรีกอสเปล ให้หนักแน่นขึ้น ชัดเจนขึ้น ส่วนที่ผมไม่ชอบน่าจะติดที่เรื่องของทำนองที่ยังไม่ “Touch” เท่าที่ควร จากชั่วโมงเหงา ๆ ของชายหนุ่มคนหนึ่ง นี่คืออัลบั้มใหม่ที่เขาอยากจะถ่ายทอดให้กับพวกเรา ผมเปรียบมันเป็นดั่ง แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ของเขาอย่างแท้จริง
ลองไปหาฟังกันดูนะครับ ใครที่อยากเติมเต็มความรู้สึกของตัวเองอัลบั้มนี้น่าจะเข้าถึงคุณได้ง่าย ๆ
โดยรวมผมให้ 6.5 คะแนน เพลงที่ชอบ Scars, Burning, Pray
enjoy !
-วิทวัส ปัญญาเลิศวุฒิ-
#TheThrillofItAll #SamSmith
[CR] รีวิวอัลบั้ม The Thrill of It All อัลบั้มใหม่จาก Sam Smith
เรื่อง : วิทวัส ปัญญาเลิศวุฒิ
นี่ถือเป็นอัลบั้มที่ใครหลายคน รวมทั้งตัวผมด้วยรอคอย และตื่นเต้นที่จะได้ฟังผลงานชุดใหม่ของชายคนนี้ หลังฝากความประทับใจในอัลบั้ม In The Lonely Hour อัลบั้มชุดแรกของเขาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งยอดขายก็ดี รวมถึงคำวิจารณ์ก็ดี ทุกคนต่างรู้กันกันดีว่า อัลบั้มที่สองคือตัววัด ความเป็น “ตัวจริง” ของศิลปินระดับโลก เป็นแชมป์ว่ายากแล้ว ป้องกันแชมป์นี่สิยากกว่า วลีนี้สามารถนำมาใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบัน ของหนุ่มคนนี้ได้ เพราะดูเหมือนว่ากำลังมีสปอตไลท์ส่องตรงมาที่เขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างที่ทุกคนทราบนี่เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 2 ของหนุ่มจากย่านชนบทในลอนดอนคนนี้ อัลบั้มนี้ยังได้ทีมงานชุดเดิม จิมมี เนปส์ (Jimmy Napes ) และ สตีฟ ฟิตซ์มอริซ (Steve Fitzmaurice) สองโปรดิวซ์เซอร์คู่บุญ ที่มีส่วนในความสำเร็จจากอัลบั้มที่แล้ว กลับมาโปรดิวซ์ให้อีกครั้ง อัลบั้มชุดนี้มีส่วนผสมของดนตรีหลายแบบทั้ง กอสเปล ที่พวกเขาพรีเซนต์อย่างมากในอัลบั้มชุดนี้ อีกทั้งยังมีความเป็นป๊อป ดนตรีวินเทจโซล โมทาวด์ และแน่นอนที่จะขาดไม่ได้คือ ดนตรีอาร์แอนด์บี ในแบบฉบับอังกฤษ
ถ้าถามว่าจะมีศิลปินสักกี่คนที่เคยได้ทั้ง ออสการ์ และ แกรมมี่ จากการเดบิวต์อย่างเป็นทางการปีแรก แถมด้วยอายุยังน้อยอย่างนี้ คำตอบคงหนีไม่พ้นหนุ่มคนนี้แน่ ๆ “แซม สมิธ”
วันนี้ เราจะมารีวิว Track by Track กับผลงานชุดนี้กัน
01 Too Good at Goodbyes 3:21
เสียงเปียโนกับเสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์ที่ขึ้นมาในท่อนอินโทร แค่นี้ก็บอกได้แล้วว่านี่แหละ ดนตรีในแบบของเขาอย่างแท้จริง คอร์ดในโทนไมเนอร์ บวกกับเสียงร้องแบบเหงา ๆ ทำให้เพลงของแซม เพลงนี้ลงตัวที่สุดเพลงหนึ่งในอัลบั้มนี้ อีกทั้งเพลงนี้ยังได้โปรดิวซ์เซอร์มากความสามารถอย่าง อีริค เฮอมานเซ่น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ สตาร์เกต (Stargate) มาร่วมโปรดิวซ์ด้วย สิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ คือสิ่งที่โปรดิวซ์เซอร์ทั้งสาม พยายามจะถ่ายทอด พวกเขาเน้นเสียงร้องประสานแบบกอสเปล ให้ดูหนากว่าเดิม เน้นกว่าเดิม จำนวนคนที่มาบันทึกเสียงน่าจะมากกว่าอัลบั้มที่แล้วเยอะ (ลองฟัง Stay With Me เปรียบเทียบดู) และ เครื่องสายที่อยู่ทั้งเพลง อิ่ม กว้าง เป็นฝ่ายสนับสนุนที่ดีให้กับเพลงนี้ ไม่มีเพลงไหนเหมาะสำหรับจะเป็นซิงเกิลเปิดตัวมากกว่าเพลงนี้อีกแล้ว อารมณ์ของนี้ชวนให้ผมนึกถึงเพลงหนึ่งของ อเดล อย่าง Set Fire To The Rain ที่มีเสียงร้อง เสียงเครื่องสาย และภาพรวมที่คล้ายกัน
02 Say It First 4:07
แทร็คที่สองของอัลบั้มนี้จะเป็นเพลงที่ให้ความรู้สึก กว้าง ๆ ลอย ๆ ไลน์เบส กลอง ที่เป็นหัวใจสำคัญของเพลงทำหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกัน ฟังแล้วก็ดูเหมือนเสียงหัวใจเต้นเหมือนกันนะ เสียงของซาวด์สังเคราะห์ เครื่องสาย เสียงร้องที่ใส่รีเวิร์บหนาๆ ทำให้ผมนึกถึงเพลงเก่าจากอัลบั้มที่แล้วของแซมอย่าง Good Thing เพลงนี้ได้ มาเลย์ โปรดิวซ์เซอร์ของหนุ่ม แฟรงก์ โอเซียน มาร่วมแต่ง และโปรดิวซ์ด้วย โดยรวมฟังแล้วโอเค แต่ไม่น่าสนใจเท่าไหร่
03 One Last Song 3:12
เปียโนขึ้นมาด้วยจังหวะ suffle แบบนี้ ทางเดินคอร์ดแบบนี้ ตอนแรกผมนึกว่ากำลังฟังเพลงของ แซม คุก ตำนานนักร้องยุค 70s เสียงร้องของแซม ทำได้ดีในเพลงนี้ ไลน์ Unison ในท่อนอินเทอร์ลูด ก่อนเข้าท่อนเวิสสองน่าสนใจดี เสียงเบสทำให้ไม่รู้สึกว่าเป็นดนตรีแบบเก่ามากเกินไป เป็นเพลงแบบโมทาวด์เก่า ๆ กลิ่นกอสเปล อาร์แอนบีเล็ก ๆ ไม่เลวเลยทีเดียว ออกจะเท่ซะด้วยซ้ำ ถ้าเป็นโมทาวด์ ก็เป็นโมทาวด์ในแบบ แซม สมิธ เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจถ้าคิดจะทำดนตรีแบบกอสเปลในสไตล์ของตัวเอง ซึ่งเขาก็ทำออกมาได้ดี แต่แค่ว่าจะฟังดูหลุด ๆ จากความเป็นแซม สมิธ ไปหน่อย
04 Midnight Train 3:27
เพลงป๊อปจากคนโดนเท ในไอร์แลนด์ (แซม เคยเล่าถึงที่มาของเพลงนี้) เรียบ และคาดเดาง่ายไปหน่อย ไม่โดดเด่นอย่างที่ควรจะเป็น ฟังแล้วเหมือนไม่ได้ฟังเพลงของแซม สมิธ อยู่ ตอนแรกนึกว่าตัวเองเปิด Creep (Radiohead) เวอร์ชั่นสโลว์โมชั่นอยู่ แต่ทั้งหลายทั้งปวงผมชอบเสียงร้อง และเทคนิคที่เขาใช้นะ การร้องมีผ่อนหนัก เบา ไดนามิคแบบธรรมชาติดี เสียงร้องของแซม ช่วยไม่ทำให้เพลงนี้น่าเบื่อจนเกินไป น่าเสียดายไปนิดเพราะทำนองของเพลง น่าสนใจมาก ถ้าเล่าเรื่อง จับแต่งตัวในอีกแบบ น่าจะดีมากเลย
05 Burning 3:23
มาถึงเพลงที่ห้าของอัลบั้มแล้ว และแล้วผมก็สามารถประทับตราเพลงคุณภาพของอัลบั้มได้แล้ว เยส ! เพลงนี้แหละที่รอคอย แค่ร้องขึ้นมาเดี่ยว ๆ ก็ดีแล้ว เสียงหลบมีพลังขึ้นกว่าอัลบั้มที่แล้ว ร้องชัด ถ่ายทอดดีมาก ท่อนคอรัสสองที่มีประสานเข้ามาฟังแล้วขนลุก เรียบง่ายแต่ลงตัว แซม เคยเล่าถึงที่มาของเพลงนี้กับ BBC Radio ว่า “ผมได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมด ผ่านเสียงร้องของผมไปแล้วในเพลงนี้” นี่คือเพลงที่แซมร้องได้ดีอีกเพลงหนึ่งและ ยังเป็นอีกหนึ่งเพลงที่ผมชอบที่สุดในอัลบั้ม
06 Him 3:10
เพลงนี้แปลกดี ทางเดินคอร์ดแบบนี้ทำนองแบบนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินจากผลงานของ แซม ก่อนหน้านี้ Him เป็นการเล่นคำมาจาก คำว่า Hymn ที่แปลว่าเพลงสวด นั่นแหละ เพลงนี้แซม เล่าถึงที่มาที่ไปว่า เพลงนี้เขาได้แรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์ที่เขาได้ไปสารภาพบาปกับบาทหลวง ว่าเขาเป็น เกย์ เนื้อร้องในท่อน“I can’t give up his touch/ It is Him I love/ It is Him” เป็นตัวบ่งบอกเนื้อหาของเพลงได้ดี เสียงประสานในท่อนท้ายเองก็น่าสนใจดี ฟังแล้วดูหนา และอิ่ม โดยรวมเป็นเพลงที่เท่ดี แม้อยู่ในทำนองที่ไม่ touch เท่าที่ควรครับ
07 Baby, You Make Me Crazy 3:27
ครั้งแรกที่ฟังเพลงนี้ มันทำให้ผมนึกถึงเพลงเก่าเพลงหนึ่งขึ้นมา ทีแรกก็นึกไม่ออก ฟังไปฟังมา เฮ้ยนี่มันเพลง Breeze & Soul ของวง Kool & the Gang นี่หว่า นี่ไม่ใช่การมิกซ์เทป หรือหลอกเลียนแต่อย่างใด เพราะเวอร์ชั่นต้นฉบับ เป็นเพลงที่มีแต่ดนตรีบรรเลงไม่มีเนื้อร้อง โดยเราสามารถดูได้จากเครดิตในแผ่นที่มีชื่อของผู้แต่งเพลงนี้อยู่ในนั้นด้วย เป็นเพลงสนุก ๆ ที่มีทำนองลงตัวกับเพลงเดิมได้ดี
08 No Peace (featuring YEBBA) 3:43
เซอร์ไพร์เล็ก ๆ สำหรับนักร้องคนแรกที่มาร่วม feat กับหนุ่มแซม นักร้องคนนั้นไม่ใช่นักร้องเบอร์ใหญ่ที่เรารู้จักกัน แต่กลับเป็นนักร้องสาวหน้าใหม่ เสียงดีจากอาร์คันซอ ที่ใช้ชื่อว่า YEBBA (เป็นการกลับคำมาจาก Abbey) เป็นเพลงคู่ที่ถ่ายทอดออกมาได้ดี และชวนให้สัมผัสถึงอารมณ์เหล่านั้นได้ แต่พูดถึงโดยรวมแล้วมันกลับไม่โดดเด่นเท่าที่ควรอีกแล้วนั่นแหละ ไม่รู้สึกถึงความเป็น แซม สมิธ เลย ถ้ามีเครื่องสายเต็ม ๆ กับดนตรีอคูสติก เหงา ๆ เศร้า แบบแซม น่าจะออกมาได้ดีกว่านี้
09 Palace 3:07
มาถึงเพลงท้าย ๆ ของอัลบั้มแล้ว เพลงนี้โดยร่วมองค์ประกอบมีความเป็นดนตรีในแบบ แซม สมิธ มาก ทั้งเสียงหลบสูง ๆ การไวเบรตเสียงสั่น ๆและดนตรีอคูสติก น้อย ๆ น่าเสียดายที่ทำนองไม่ได้ชวนติดหูขนาดนั้น ถ้าเทียบกับเพลงจากอัลบั้มแรกอย่าง Leave Your Lover หรือ Not In That Way
10 Pray 3:41
เพลงนี้ได้โปรดิวซ์เซอร์งานชุก ทิมบาแลนด์ (TIMBALAND) มาร่วมงานด้วย เป็นอีกครั้งที่แซม นำโปรดิวเซอร์จากฝั่งแอลเอมาร่วมงานด้วย อย่างในอัลบั้มที่แล้วก็ได้ ดาร์คไชลด์ (Darkchild) มาร่วมงานในเพลง Stay With Me เวอร์ชั่น ที่เข้าชิงแกรมมี่นั่นแหละ นี่กลายเป็นอีกเพลงในอัลบั้มนี้ที่ผมชอบนะ อาจจะเพราะส่วนตัวชอบเพลงอาร์แอนด์บี ที่มีความกอสเปลอยู่แล้วเลยทำให้รู้สึกอินกับเพลงนี้มากขึ้น อีกเหตุผลที่ผมชอบเป็นเรื่องของความแปลกใหม่ ในการนำดนตรีหลาย ๆอย่างมาผสมกับเสียงร้องของหนุ่มแซม ใช่แล้ว Pray เป็นเพลงที่มีความกอสเปล อาร์แอนด์บี ขนานแท้ ดีเกินคาด ลงตัวจนน่าสนใจ เสียงสูงของแซมแตะโน้ตได้โอเคเลยทีเดียว เสียงเครื่องสายที่อยู่ด้านหลังก็เรียบเรียงมาได้ดี ไม่เด่นจนเกินไป ติดนิดเดียวคือเสียงร้องประสานแบบกอสเปลในท่อนเวิสสอง ทำผมสะดุ้งตกใจไปเลย ลั่นดีจริง ๆ เป็นการปิดท้ายอัลบั้มที่ดูดีทีเดียว
อีกสี่เพลงต่อไปนี้มาจากอัลบั้มที่เป็น deluxe edition ซึ่งน่าสนใจมาก ๆ
11 Nothing Left for You 3:46
เพลงนี้ได้เสียงกีตาร์ ทำหน้าที่เป็นพระเอกของเรื่อง ในเพลงจะมีไลน์กีตาร์ เด่น ๆ หลายท่อน เสียงริฟกีตาร์แบบซิงเกิลโน้ตเสียงตำ่ๆ ชวนให้นึกถึงเพลงสายลับอังกฤษดีจริง ๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ แซม ไม่ได้ใช้เสียงเครื่องสายให้ออกมาโดดเด่น มากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะบางท่อนมีอารมณ์คล้าย ๆ Writing's on the Wall เหมือนกันนะ ซึ่งทั้งสองเพลงแตกต่างกันที่บทบาทของเครื่องสายเท่านั้นเอง
12 The Thrill of It All 3:28
เพลงที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้ม เป็นอีกเพลงที่ผมฟังแล้วนึกถึงเพลงเก่าของเขาอย่างเพลง Drowning Shadows และถือเป็นเพลง “โชว์” เสียงหลบของหนุ่มแซม ที่ฟังแล้วดูมีพัฒนาการจากอัลบั้มที่แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ผมชอบคือการเรียบเรียงเสียงประสานของเครื่องสาย ที่ติดหูดี โดยรวมถือว่าเพราะดีครับ
13 Scars 3:03
เพลงนี้น่าสนใจดี แซม เพลงนี้ มีความอคูสติกแบบ Leave Your Lover กับ Not In That Way บนความรู้สึกในแบบ I’ve Told You Now เฟสซิ่งกับทำนองไปด้วยกันได้ดี บวกกันเสียงร้องของแซม ซึ่งช่วงท้ายมีการพยายามใส่ซาวด์แปลก ๆ เข้าไป ถือเป็นการสร้างสรรค์ที่น่าประทับใจลงตัวและ มีความเพราะในแบบฉบับแซม สมิธ ผมชอบนะ
14 One Day at a Time 3:29
แซมโดดเด่น และมีเสน่ห์ เมื่อร้องกับเครื่องดนตรีน้อยชิ้นแบบนี้ ซึ่งมันกลายเป็นเอกลักษณ์ติดตัวเขาไปแล้ว เสียงร้องเหงา ๆ คู่กับเสียงกีตาร์ หรือเปียโน เมื่อนึกถึงสิ่งเหล่านี้ ชายที่ถ่ายทอดได้ดีจนน่าฟัง ในวงการเพลงตอนนี้ ก็คงต้องมีชื่อของแซม อยู่ในลิสต์แน่ๆ ถือเป็นการปิดฉากที่งดงามไม่เลวเลย
ภาพรวมของอัลบั้ม ถือเป็นผลงานที่ดี แต่แน่นอนโดยส่วนตัวผมรู้สึกว่ามันไม่เปรี้ยง ไม่ปัง แต่ก็ไม่แป็ก มันไม่แย่ แต่อาจจะไม่ลงตัวเท่าอัลบั้มที่แล้วเท่านั้นเอง ในทางกลับกันผมกับชอบ สี่เพลง ที่มีในอัลบั้ม deluxe edition มาก น่าเสียดายที่เพลงเหล่านี้ไม่ได้ถูกว่างไว้ในที่ที่ควรจะเป็น ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดจากอัลบั้มที่แล้วคือ เทคนิคการร้องที่ดีขึ้น โน้ตแม่นขึ้น ยังคงเป็นหนุ่มที่มีเสียงมากเสน่ห์
ด้านดนตรีมีการเน้นแบบโอลสคูลมากขึ้น แต่ความโดดเด่นของแซมในหลายๆ เรื่องหายไป อาจจะเป็นเพราะการอยากทดลองอะไรใหม่ ๆ ส่วนที่ผมชอบน่าจะเป็นการพยายามจะนำเสนอดนตรีกอสเปล ให้หนักแน่นขึ้น ชัดเจนขึ้น ส่วนที่ผมไม่ชอบน่าจะติดที่เรื่องของทำนองที่ยังไม่ “Touch” เท่าที่ควร จากชั่วโมงเหงา ๆ ของชายหนุ่มคนหนึ่ง นี่คืออัลบั้มใหม่ที่เขาอยากจะถ่ายทอดให้กับพวกเรา ผมเปรียบมันเป็นดั่ง แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ของเขาอย่างแท้จริง
ลองไปหาฟังกันดูนะครับ ใครที่อยากเติมเต็มความรู้สึกของตัวเองอัลบั้มนี้น่าจะเข้าถึงคุณได้ง่าย ๆ
โดยรวมผมให้ 6.5 คะแนน เพลงที่ชอบ Scars, Burning, Pray
enjoy !
-วิทวัส ปัญญาเลิศวุฒิ-
#TheThrillofItAll #SamSmith