NGO ไม่ใช่องค์กรจดทะเบียนตามกฎหมาย บางแห่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเช่น สมาคม มูลนิธิ หรือ บางแห่งแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเหมือนองค์กรนอกกฎหมาย Outlaw ที่ไม่มีการตรวจสอบได้จากบุคคลใด ส่วนที่สามารถตรวจสอบได้ แต่ก็เป็นการตรวจสอบที่แสนจะธรรมดา ตรวจสอบเงินเข้า-เงินออก การลงบัญชีรับจ่าย งบดุล แต่ไม่ได้ตรวจสอบการดำเนินงาน รวมทั้งผลการปฏิบัติงาน และไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า งบที่ขอไปนำไปตอบโจทย์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือว่ามีการนำงบดังกล่าวไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือไม่
ยิ่งถ้าเป็น NGO ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ก็แทบไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าการบริหารจัดการจะเป็นไปอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีการตรวจสอบจากผู้มีส่วนร่วม และประชาชนได้อย่างไร
โดยกลุ่มที่เป็น NGO ในประเทศไทย จะแบ่งตามประเภทของ NGO ได้ ดังนี้
• Animals
• Community Development
• Disabled
• Education and children
• Elderly
• Environment
• Hilltribes
• Human Rights
• Medical
• HIV/AIDS
• Women
ซึ่งแหล่งเงินทุนของ NGO ในประเทศไทย จะมาจากเงินสนับสนุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยผ่านมูลนิธิ หรือหน่วยงานต่างๆ ที่มาจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ เช่น มูลนิธิกองทุนไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น และส่วนแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศก็เช่น
• American Association of Retired Persons (AARP)
• Doctors Without Borders
• World Vision United States
• World Wildlife Fund
• SSNC - Swedish Society for Nature Conservation
• OXFAM Great Britain
• GRAIN
และส่วนหนึ่งก็จะมาจากเงินบริจาคทั่วไป เช่น เงินบริจาคของ เท็ด เทอเนอร์ (Ted Turner) เจ้าพ่อในสื่อมวลชนชาวอเมริกันในนามของนักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งเคเบิล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (CNN) ให้กับ UN หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่บริจาคให้กับมูลนิธิบิล และเมลินดา เกตส์ เป็นต้น
จนทำให้ NGO ในประเทศไทยหลายคน กลายเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน หรือขับเคลื่อนกิจกรรมบางคนมักจะเป็นคนที่มีฐานะดี มีสิ่งของหรูหรา ที่แย้งกับภาพของนักเคลื่อนไหว หรือการได้มาถึงแหล่งเงินทุนที่ไม่สามารถตรวจสอบได้นี้ ทำให้ NGO กลายเป็นเหมือนสัญญลักษณ์ที่บริษัท องค์กร หรือรัฐบาลต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้าหาก NGO เหล่านี้ออกมาเคลื่อนไหว และต่อต้านธุรกิจ หรือโครงการใดใดแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งจากคนในพื้นที่ และลุกลามจนกลายเป็นปัญหาในระดับชาติ อย่างเช่น การขุดคอคอดกระ การสร้างเขื่อนแม่วงก์ พรบ.จีเอ็มโอ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นต้น
ดังนั้น ปัญหาธรรมาภิบาลของ NGO ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยนับเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข บางประเทศมีการออกกฎหมายให้ NGO ต้องขึ้นทะเบียน มิฉะนั้นจะผิดกฏหมาย และต้องหยุดรับเงินสนับสนุนทั้งหมดโดยทันที เช่น
“อินเดีย” เอาจริง! ถอนใบอนุญาต “NGO” เพียบ พบเบื้องลึก รับทุนต่างชาติ ทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการรณรงค์ต่อต้านโครงการพัฒนาสำคัญหลายโครงการของรัฐบาล โดย NGO ที่อ้างการใช้เงินบริจาคต่างชาติ มาใช้ในการทำลายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และคุกคามต่อความสามัคคีของคนในชาติ เพราะเอ็นจีโอมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายสร้างความแตกแยกระหว่างกลุ่มคนต่างศาสนา เชื้อชาติ สังคม ภาษา และชนชั้นวรรณะ
ออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายให้ NGO เปิดเผยแหล่งที่มาเงินต่างชาติ รัฐบาลออสเตรเลีย พบความเชื่อมโยงกับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิในอเมริกา ที่พยายามต่อต้านอุตสาหกรรมถ่านหิน ทำลายการจ้างงาน หรือทำลายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่สำคัญในออสเตรเลีย โดยที่กลุ่มต่อต้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ สามารถได้รับการยกเว้นภาษี จนทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงการต่างๆ ที่ทำให้ต้องชะงัก หรือล่าช้าออกไป หรือต้องยกเลิกโครงการไปในที่สุด ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
NGO ก็เป็นคนที่มีครอบครัว มีความอยากได้ อยากมี อยากเป็นเหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป
แต่ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ ... ประเทศไทยจะขึ้นทะเบียน NGO เหล่านี้อย่างจริงจัง และมีการตรวจสอบเงินสนับสนุน และรายได้ทั้งหมดว่านำไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ... ก่อนที่บุคคลเหล่านี้จะเป็นตัวการปัญหาในการทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย
NGO กับความโปร่งใส
ยิ่งถ้าเป็น NGO ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ก็แทบไม่มีหลักประกันอะไรเลยว่าการบริหารจัดการจะเป็นไปอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล และมีการตรวจสอบจากผู้มีส่วนร่วม และประชาชนได้อย่างไร
โดยกลุ่มที่เป็น NGO ในประเทศไทย จะแบ่งตามประเภทของ NGO ได้ ดังนี้
• Animals
• Community Development
• Disabled
• Education and children
• Elderly
• Environment
• Hilltribes
• Human Rights
• Medical
• HIV/AIDS
• Women
ซึ่งแหล่งเงินทุนของ NGO ในประเทศไทย จะมาจากเงินสนับสนุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยผ่านมูลนิธิ หรือหน่วยงานต่างๆ ที่มาจากรัฐบาลในแต่ละประเทศ เช่น มูลนิธิกองทุนไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นต้น และส่วนแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศก็เช่น
• American Association of Retired Persons (AARP)
• Doctors Without Borders
• World Vision United States
• World Wildlife Fund
• SSNC - Swedish Society for Nature Conservation
• OXFAM Great Britain
• GRAIN
และส่วนหนึ่งก็จะมาจากเงินบริจาคทั่วไป เช่น เงินบริจาคของ เท็ด เทอเนอร์ (Ted Turner) เจ้าพ่อในสื่อมวลชนชาวอเมริกันในนามของนักธุรกิจ ผู้ก่อตั้งเคเบิล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (CNN) ให้กับ UN หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกันที่บริจาคให้กับมูลนิธิบิล และเมลินดา เกตส์ เป็นต้น
จนทำให้ NGO ในประเทศไทยหลายคน กลายเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน หรือขับเคลื่อนกิจกรรมบางคนมักจะเป็นคนที่มีฐานะดี มีสิ่งของหรูหรา ที่แย้งกับภาพของนักเคลื่อนไหว หรือการได้มาถึงแหล่งเงินทุนที่ไม่สามารถตรวจสอบได้นี้ ทำให้ NGO กลายเป็นเหมือนสัญญลักษณ์ที่บริษัท องค์กร หรือรัฐบาลต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้าหาก NGO เหล่านี้ออกมาเคลื่อนไหว และต่อต้านธุรกิจ หรือโครงการใดใดแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ทั้งจากคนในพื้นที่ และลุกลามจนกลายเป็นปัญหาในระดับชาติ อย่างเช่น การขุดคอคอดกระ การสร้างเขื่อนแม่วงก์ พรบ.จีเอ็มโอ หรือการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นต้น
ดังนั้น ปัญหาธรรมาภิบาลของ NGO ในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงประเทศไทยนับเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข บางประเทศมีการออกกฎหมายให้ NGO ต้องขึ้นทะเบียน มิฉะนั้นจะผิดกฏหมาย และต้องหยุดรับเงินสนับสนุนทั้งหมดโดยทันที เช่น
“อินเดีย” เอาจริง! ถอนใบอนุญาต “NGO” เพียบ พบเบื้องลึก รับทุนต่างชาติ ทำลายเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการรณรงค์ต่อต้านโครงการพัฒนาสำคัญหลายโครงการของรัฐบาล โดย NGO ที่อ้างการใช้เงินบริจาคต่างชาติ มาใช้ในการทำลายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และคุกคามต่อความสามัคคีของคนในชาติ เพราะเอ็นจีโอมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายสร้างความแตกแยกระหว่างกลุ่มคนต่างศาสนา เชื้อชาติ สังคม ภาษา และชนชั้นวรรณะ
ออสเตรเลียเตรียมออกกฎหมายให้ NGO เปิดเผยแหล่งที่มาเงินต่างชาติ รัฐบาลออสเตรเลีย พบความเชื่อมโยงกับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิในอเมริกา ที่พยายามต่อต้านอุตสาหกรรมถ่านหิน ทำลายการจ้างงาน หรือทำลายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่สำคัญในออสเตรเลีย โดยที่กลุ่มต่อต้านสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ สามารถได้รับการยกเว้นภาษี จนทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงการต่างๆ ที่ทำให้ต้องชะงัก หรือล่าช้าออกไป หรือต้องยกเลิกโครงการไปในที่สุด ทำให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ
แต่ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ ... ประเทศไทยจะขึ้นทะเบียน NGO เหล่านี้อย่างจริงจัง และมีการตรวจสอบเงินสนับสนุน และรายได้ทั้งหมดว่านำไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ... ก่อนที่บุคคลเหล่านี้จะเป็นตัวการปัญหาในการทำลายเศรษฐกิจของประเทศไทย