สวัสดีเพื่อนๆชาวพันทิปค่ะ
วันนี้เราจะมาเล่าประสปการณ์การทำงานของเรากับเด็กอนุบาล แล้วก็เปรียบเทียบโรงเรียนต่างๆในมุมของเราให้เพื่อนๆฟัง เผื่อใครมีลูกเล็กๆ และช่วยอยากพัฒนาการศึกษาของเมืองไทยตั้งแต่ระบบอนุบาลไป หรือแม้กระทั่งก่อนอนุบาล อาจจะมีประโยชน์
ประสปการณ์การทำงานกะเด็กอนุบาลของเราก็มีตั้งแต่โรงเรียรัฐบาล เอกชน อินเตอร์ โรงเรียนอนุบาลรัฐบาลในอเมริกายันเดย์แคร์ เลยรู้สึกดีที่ได้เห็นความแตกต่างของการศึกษาระดับอนุบาลทำให้เข้าใจถึงความสำคัญการศึกษาและพื้นฐานชีวิตมากขึ้น
จำได้ว่าครั้งนึงมีคนถามเราว่าเราทำงานอะไร เราตอบไปว่าเราป็นผู้ช่วยครูอนุบาล แล้วเจ้แกก็พูดออกมาว่า 'อ๋อ เป็นแค่พี่เลี้ยงเด็กสินะ' แล้วทำหน้าแบบดูถูกๆหน่อย เราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเจ้แกต้องทำหน้าแบบนั้นแล้วก็ต้องเน้นเสียงคำว่าแค่พี่เลี้ยงเด็กด้วย จนเวลาผ่านไปเราก็ถึงบางอ้อว่าทำไม เพราะว่าคนส่วนมากมักคิดว่า ครูอนุบาล พี่เลี้ยงเด็ก หรือการทำงานกับเเกเล็กๆไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะอะไร เป็นงานที่ง่ายหมูๆมาก ใครๆก็ทำได้ จริงอยู่มันอาจจะเป็นอะไรที่แลง่าย ใครๆก็ทำได้ แต่เป็นงานที่ไม่ใช่ใครๆก็ทนได้ บางคนลูกคนสองคนสามคนยังเอาไม่อยู่เลย นี่ครูต้องดูแลเด็กอย่างน้อยห้าคนในเวลาเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ห้าคนก็ห้าปัญหา ยิ่งเด็กมากเท่าไรปัญหาก็มากขึ้นตาม ไหนจะต้องตอบคำถามผู้ปกครองเอย สัมพาระของเด็กแต่ละคนเอย อาหารการกินเอย เดี๋ยวอึเดี๋ยวฉี่ โน่นนี่นั่นมากมาย
ต่อๆที่ความสำคัญของการศึกษาและพื้นฐานชีวิต อย่างที่บอกเราผ่านโรงเรียนอนุบาลมาพอสมควรเราเลยเห็นความเหมือนและความแตกต่างของแต่ละโรงเรียน ถ้าจะเทียบจากประสบการณ์ของเราโดยเอาโรงเรียนรัฐบาลไทยเป็นตัวตั้ง เราเทียบได้แบบนี้
โรงเรียนเอกชน 75:25
เหมือน 75% เพราะอาจจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนในประเทศไทยใช้มาตราฐานการศึกษาอันเดียวกัน ทำให้หลักสูตรกับการเรียนการสอนไม่ค่อยต่างกันมากมาย ส่วนมากเน้นรู้จักพญัชนะมีผสมคำบ้าง หัดนับเลข รู้จักการช่วยเหลือตัวเองละทักษะต่างๆขั้นพื้นฐาน ปูทางไปยังชั้นประถม
ต่าง 25% ให้ในเรื่องการดูแลเอาใจใส เพราะเอกชนส่วนมากจะดูแลมากกว่ารัฐบาล (ขออนุญาตใช้คำว่าให้บริการทางการศึกษาได้ดีกว่าจะได้มั๊ยนี่?) ไม่แน่ใจว่าเพราะเอกชนจ่ายแพงกว่าด้วยรึเปล่านะ 5555
โรงเรียนอินเตอร์ 50:50
เหมือน 50% คือสอนพื้นฐานทางด้านการช่วยเหลือตัวเองและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนกัน ถึงโรงเรียนจะเป็นโรงเรียนอินเตอร์แต่พอกลับบ้านก็จะเป็นแบบไทย เด็กก็จะได้พื้นฐานชีวิตและสภาพแวดล้อมแบบไทยจากบ้านเหมือนเดิม
ต่าง 50% คือแล้วแต่ว่าโรงเรียนเป็นแบบไหน แบบอเมริกัน แบบอังกฤษ แบบจีนหรืออื่นๆ โรงเรียนจะใช้พื้นฐานการเรียนการสอนของแบบนั้นๆแล้วปรับให้เข้ากับการเรียนการสอนของไทย โดยเฉพาะ ป.3,6 ม.3,6 เพราะมีสอบวัดระดับประเทศ
โรงเรียนเด็กเล็กในอเมริกา
เหมือน 25% ในเรื่องการช่วยเหลือตัวเองและทักษะพื้นฐาน
ต่าง 75% ด้วยวิธีการสอนและพื้นฐานวัฒนธรรมทางของที่นี่ เด็กบางคนเข้าเดย์แคร์ตั้งแต่อายุไม่กี่เดือน พออายุมากขึ้นก็เลื่อนระดับชัน ถึงการเลื่อนระดับชั้นจะวัดจากอายุของเด็กก็จริงแต่ ต้องดูความพร้อมของเด็กด้วยว่าเขาพร้อมที่จะเลื่อนชั้นหรือไม่ ดังนั้นการเลื่อนชั้นของเด็กเล็กเลยไม่ได้เลื่อนขั้นยกชั้นจนกระทั่งเข้าอนุบาล (kindergarten) ที่นี่สอนให้เด็กรู้จักการตัดสินใจด้วยตัวเองต้องแต่เล็กๆ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กที่นี่ถึงมีความมั่นใจในตัวเองกันมากทีเดียว เพราะครูจะบอกเสมอว่านักเรียนมีตัวเลือกนะ แล้วให้เด็กๆเป็นคนตัดสินใจเอง ( making good choices)
เราเสียดายมากเลยที่ไม่ได้เรียนครูมา เลยต้องมาเริ่มใหม่หมดตั้งแต่เราย้ายมาอยู่อเมริกา และต้องปรับตัวเรื่องการสอนใหม่ด้วย แต่โชคดีว่ามี ผ.อ. ดี ช่วยสอนทุกอย่างเลย ถ้าเราเอาการเรียนการสอนแบบที่นี่ไปปรับใช้ที่เมืองไทย เราเชื่อว่าเด็กเล็กๆจะมีพื้นฐานดีขึ้น และจะเป็นผู้ใหญ่มีคุณภาพด้วย
โรงเรียนอนุบาล พื้นฐานชีวิต ใครว่าไม่สำคัญ การศึกษาไทย น่าจะเริ่มต้นกับเด็กเล็กๆนะคะ
วันนี้เราจะมาเล่าประสปการณ์การทำงานของเรากับเด็กอนุบาล แล้วก็เปรียบเทียบโรงเรียนต่างๆในมุมของเราให้เพื่อนๆฟัง เผื่อใครมีลูกเล็กๆ และช่วยอยากพัฒนาการศึกษาของเมืองไทยตั้งแต่ระบบอนุบาลไป หรือแม้กระทั่งก่อนอนุบาล อาจจะมีประโยชน์
ประสปการณ์การทำงานกะเด็กอนุบาลของเราก็มีตั้งแต่โรงเรียรัฐบาล เอกชน อินเตอร์ โรงเรียนอนุบาลรัฐบาลในอเมริกายันเดย์แคร์ เลยรู้สึกดีที่ได้เห็นความแตกต่างของการศึกษาระดับอนุบาลทำให้เข้าใจถึงความสำคัญการศึกษาและพื้นฐานชีวิตมากขึ้น
จำได้ว่าครั้งนึงมีคนถามเราว่าเราทำงานอะไร เราตอบไปว่าเราป็นผู้ช่วยครูอนุบาล แล้วเจ้แกก็พูดออกมาว่า 'อ๋อ เป็นแค่พี่เลี้ยงเด็กสินะ' แล้วทำหน้าแบบดูถูกๆหน่อย เราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเจ้แกต้องทำหน้าแบบนั้นแล้วก็ต้องเน้นเสียงคำว่าแค่พี่เลี้ยงเด็กด้วย จนเวลาผ่านไปเราก็ถึงบางอ้อว่าทำไม เพราะว่าคนส่วนมากมักคิดว่า ครูอนุบาล พี่เลี้ยงเด็ก หรือการทำงานกับเเกเล็กๆไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะอะไร เป็นงานที่ง่ายหมูๆมาก ใครๆก็ทำได้ จริงอยู่มันอาจจะเป็นอะไรที่แลง่าย ใครๆก็ทำได้ แต่เป็นงานที่ไม่ใช่ใครๆก็ทนได้ บางคนลูกคนสองคนสามคนยังเอาไม่อยู่เลย นี่ครูต้องดูแลเด็กอย่างน้อยห้าคนในเวลาเดียวกัน มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ห้าคนก็ห้าปัญหา ยิ่งเด็กมากเท่าไรปัญหาก็มากขึ้นตาม ไหนจะต้องตอบคำถามผู้ปกครองเอย สัมพาระของเด็กแต่ละคนเอย อาหารการกินเอย เดี๋ยวอึเดี๋ยวฉี่ โน่นนี่นั่นมากมาย
ต่อๆที่ความสำคัญของการศึกษาและพื้นฐานชีวิต อย่างที่บอกเราผ่านโรงเรียนอนุบาลมาพอสมควรเราเลยเห็นความเหมือนและความแตกต่างของแต่ละโรงเรียน ถ้าจะเทียบจากประสบการณ์ของเราโดยเอาโรงเรียนรัฐบาลไทยเป็นตัวตั้ง เราเทียบได้แบบนี้
โรงเรียนเอกชน 75:25
เหมือน 75% เพราะอาจจะเป็นเพราะว่าโรงเรียนในประเทศไทยใช้มาตราฐานการศึกษาอันเดียวกัน ทำให้หลักสูตรกับการเรียนการสอนไม่ค่อยต่างกันมากมาย ส่วนมากเน้นรู้จักพญัชนะมีผสมคำบ้าง หัดนับเลข รู้จักการช่วยเหลือตัวเองละทักษะต่างๆขั้นพื้นฐาน ปูทางไปยังชั้นประถม
ต่าง 25% ให้ในเรื่องการดูแลเอาใจใส เพราะเอกชนส่วนมากจะดูแลมากกว่ารัฐบาล (ขออนุญาตใช้คำว่าให้บริการทางการศึกษาได้ดีกว่าจะได้มั๊ยนี่?) ไม่แน่ใจว่าเพราะเอกชนจ่ายแพงกว่าด้วยรึเปล่านะ 5555
โรงเรียนอินเตอร์ 50:50
เหมือน 50% คือสอนพื้นฐานทางด้านการช่วยเหลือตัวเองและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันเหมือนกัน ถึงโรงเรียนจะเป็นโรงเรียนอินเตอร์แต่พอกลับบ้านก็จะเป็นแบบไทย เด็กก็จะได้พื้นฐานชีวิตและสภาพแวดล้อมแบบไทยจากบ้านเหมือนเดิม
ต่าง 50% คือแล้วแต่ว่าโรงเรียนเป็นแบบไหน แบบอเมริกัน แบบอังกฤษ แบบจีนหรืออื่นๆ โรงเรียนจะใช้พื้นฐานการเรียนการสอนของแบบนั้นๆแล้วปรับให้เข้ากับการเรียนการสอนของไทย โดยเฉพาะ ป.3,6 ม.3,6 เพราะมีสอบวัดระดับประเทศ
โรงเรียนเด็กเล็กในอเมริกา
เหมือน 25% ในเรื่องการช่วยเหลือตัวเองและทักษะพื้นฐาน
ต่าง 75% ด้วยวิธีการสอนและพื้นฐานวัฒนธรรมทางของที่นี่ เด็กบางคนเข้าเดย์แคร์ตั้งแต่อายุไม่กี่เดือน พออายุมากขึ้นก็เลื่อนระดับชัน ถึงการเลื่อนระดับชั้นจะวัดจากอายุของเด็กก็จริงแต่ ต้องดูความพร้อมของเด็กด้วยว่าเขาพร้อมที่จะเลื่อนชั้นหรือไม่ ดังนั้นการเลื่อนชั้นของเด็กเล็กเลยไม่ได้เลื่อนขั้นยกชั้นจนกระทั่งเข้าอนุบาล (kindergarten) ที่นี่สอนให้เด็กรู้จักการตัดสินใจด้วยตัวเองต้องแต่เล็กๆ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเด็กที่นี่ถึงมีความมั่นใจในตัวเองกันมากทีเดียว เพราะครูจะบอกเสมอว่านักเรียนมีตัวเลือกนะ แล้วให้เด็กๆเป็นคนตัดสินใจเอง ( making good choices)
เราเสียดายมากเลยที่ไม่ได้เรียนครูมา เลยต้องมาเริ่มใหม่หมดตั้งแต่เราย้ายมาอยู่อเมริกา และต้องปรับตัวเรื่องการสอนใหม่ด้วย แต่โชคดีว่ามี ผ.อ. ดี ช่วยสอนทุกอย่างเลย ถ้าเราเอาการเรียนการสอนแบบที่นี่ไปปรับใช้ที่เมืองไทย เราเชื่อว่าเด็กเล็กๆจะมีพื้นฐานดีขึ้น และจะเป็นผู้ใหญ่มีคุณภาพด้วย