สวัสดีครับ ห่างหายไปพักใหญ่ๆ เป็นความตั้งใจที่จะรอให้งานราชพิธีผ่านพ้นไปก่อนถึงจะเริ่มเขียน ในเมื่อมีโอกาสได้เขียนในเวลาดึกๆแบบนี้ก็ไม่ให้เสียเวลาเรามาเริ่มกันเลย วันนี้ผมจะมาพูดเลนส์มือหมุนสัญชาติญี่ปุ่นแบรนนึงนั่นก็คือ Mamiya Sekor ก่อนหน้านี้ผมเคยทำคลิบเกี่ยวกับเจ้าเลนส์ Mamiya Sekor 55mm 1.4 M42 มาก่อนแล้ว แต่ในครั้งนี้ผมจะพูดถึงเลนส์ Mamiya Sekor 50mm F2 M42 Original Silver Version และก็ตามธรรมเนียม ผมจะขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของแบรน Mamiya สักนิดหน่อย เริ่มกันเลย
*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*
Mamiya อ่านว่า มา-มิ-ยะ [ผมอ่านผิดมาหลายปี] เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ผลิตกล้องและเลนส์คุณภาพสูง รวมทั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพต่างๆ ก่อตั้งในวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม ปี 1940 โดย คุณ Seiichi Mamiya (pronounced ma-MEE-yah) และนักธุรกิจหุ้นส่วน Tsunejiro Sugawara (pronounced su-ga-WAR-a) ในนามว่า Mamiya Koki Seisakusho or Mamiya Optical Works
โลโก้หรือสัญลักษณ์ ถูกออกแบบโดยนักเรียนศิลปะชาวญี่ปุ่น Japan Art Collage เป็นรูปชิ้นเลนส์สองอันซ้อนทับกัน และมีชื่อย่อของผู้ก่อตั้งเป็นตัว S และ M โดยตัวอักษร S คือ Sugawara M คือ Mamiya
กล้องตัวแรกที่ Mamiya ผลิตออกมาคือกล้องฟิลม์ 6*6 Medium-format (120 film) รุ่น Mamiya Six ออกมาในปี 1940
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โรงงานหลายแห่งของ Mamiya ใน Tokyo ก็ได้รับผลกระทบจากสงครามทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต จึงได้มีการซื้อวัตถุดิบเหล่านั้นจากหลายที่ และหนึ่งในนั้นก็มีการซื้อเลนส์จาก Olympus ด้วย
*ขอแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ณ เวลานั้นบริษัท Olympus ยังไม่ได้ผลิตกล้องถ่ายรูปเป็นจริงเป็นจัง เหมือนอยู่ในขั้นทดลอง เพิ่งออก Semi-Olympus I (1936) และ Semi-Olympus II (1938)
ยังเป็น Olympus Optical ที่เน้นการผลิตชิ้นเลนส์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นหลัก
Semi-Olympus I (1936)
หลังสงครามสิ้นสุด ในปี 1948 Mamiya ได้ผลิตกล้องสองเลนส์ออกมา
flash-synchronized twin lens reflex (TLR) ในชื่อว่า Mamayaflex
กล้องขนาด 35mm ของ Mamiya ก็ได้ออกมาในปี 1949. คือรุ่น The Mamiya 35-I และหลังจากนั้นก็ผลิตกล้องและเลนส์ออกมามากมาย ผมจะเล่าถึงเฉพาะตัวที่เด่นๆนะครับแบบผ่านๆนะครับ จะมีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษครับ
1949 Mamiya 35-I, the first 35mm Mamiya camera.
1956 Mamiya 35-III, the first Mamiya helical focus rangefinder with self-cocking lever and linked finder.
1957 Mamiya Magazine 35, the first production 35mm camera with an interchangeable film back.
1958 Mamiya Elca, the first Japanese camera with match-needle metering.
1959 Mamiya Ruby, which would become the style basis for several Mamiya rangefinders
1961 Mamiya Prismat, Mamiya's first 35mm SLR.
1961 Mamiya Prismat PH, Mamiya's first leaf shutter SLR.
1964 Mamiya Prismat CWP (in USA - CP elsewhere) used a 42mm threaded lens mount.
1966 Mamiya 500TL, Mamiya's first 35mm with CdS through the lens (TTL) metering.
1968 Mamiya 500DTL, the first 35mm SLR with dual spot/averaging CdS TTL metering.
1971 Mamiya AutoXTL, arguably the most advanced 35mm SLR of its time.
1978 Mamiya NC1000, a quality lightweight 35mm SLR system, with a full complement of lenses.
1980 Mamiya ZE, the first Japanese SLR to use an electronic coupling system to transmit information between the camera body and its interchangeable lenses.
หลังจากนั้น Mamiya ก็ยังคงผลิตกล้องและเลนส์ออกมาอีกหลายรุ่น มีทั้งที่ประสบผลสำเร็จและไม่สำเร็จ ปี 1984 Mamiya ประสบปัญหาด้านการเงินหลายๆอย่างการพัฒนาต่อยอดกล้องหยุดชะงัก ส่งผลทำให้ กล้องฟิลม์ 35mm ของ Mamiya หยุดผลิตไปในปีนี้เอง
1985 กล้อง Mamiya 645 ได้ถูกผลิตขึ้น
1988 กล้อง Mamiya 6 และ Mamiya 7 ถูกผลิตขึ้น
กล้อง Medium Format ยังคงถูกผลิตและพัฒนาต่อ จนก้าวข้ามจากยุคฟิลม์มาสู่ Digital
Mamiya ได้ผลิตกล้อง Digital Medium Format รุ่น Mamiya ZD ออกมาในปี 2005
1 กันยายน 2006 บริษัทถูกซื้อไปโดยบริษัท Cosmo Digital Imaging และถูกซื้ออีกครั้งในปี 2009 โดย Phase One บริษัทผลิตกล้อง Digital Medium Format จาก Denmark
ผู้อ่านหลายท่านคงเริ่มสงสัยว่าผมจะพูดถึงเลนส์หรือพูดถึงกล้องกันแน่ เนื่องจากว่ายังไม่มีคนไทยเขียนเรื่อง Mamiya สักเท่าไหร่ผมจะถือโอกาสเขียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจในรุ่นต่อๆไปครับ ว่าแล้วก็เลี้ยวกลับเข้าเรื่องเลนส์ของเรา Mamiya Sekor 50mm F2 M42 เลนส์ตัวนี้มากับกล้อง Mamiya 500TL ที่ออกในปี 1966 - 1978
มีทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นพอจะแบ่งได้ดังนี้
[การแบ่งเหล่านี้สามารถอ้างอิงถึงเลนส์ระยะ 55mm ได้เช่นกัน]
1. เวอร์ชั่นต้นฉบับ คือตัวนี้ที่นำมาเล่า
AUTO mamiya/sekor 1:2 f=50 mm (TL Series)
- บอดี้ส่วนบนและล่างเป็นสีเงิน
- มีสวิท A - M
- ฟ้อนตัวหนังสือ ขาว แดง ดำ
2. ตัวเวอร์ชั่นแรก มากับกล้อง DTL Series
AUTO mamiya/sekor 1:2 f=50 mm Model I (DTL Series)
- บอดี้ดำล้วน จมูกเงิน
- มีสวิท A - M
- ฟ้อนตัวหนังสือ ขาว แดง ดำ
3. ตัวเวอร์ชั่นสอง มากับกล้อง DTL Seris เช่นกัน
AUTO mamiya/sekor 1:2 f=50 mm Model II (DTL Series)
- บอดี้ดำล้วน
- ไม่มีสวิท A - M
- วงแหวนปรับรูรับแสงจะเป็นสันๆไม่เรียบเหมือนสองรุ่นก่อน
- สังเกตุตรงหน้าเลนส์ส่วนที่เป็นหลุมก่อนถึงชิ้นเลนส์ด้านหน้า จะเป็นหลุมสองชั้น
- Font มามิยะ ด้านหน้าเลนส์จะตัวใหญ่กว่าสองเวอร์ชั่นแรกนิดนึง และมีการเว้นวรรคช่องไฟที่แต่ละตัวอักษรมากกว่าสองโฉมก่อน
- ฟ้อนตัวหนังสือ ขาว แดง ดำ
4. ตัวเวอร์ชั่นสุดท้าย มากับกล้อง Mamiya MSX/DSX Series
AUTO mamiya/sekor SX 1:2 f=50 mm
- บอดี้สีดำล้วน
- ไม่มีสวิทปรับ A - M
- Font มามิยะ ด้านหน้าเลนส์จะตัวใหญ่เท่ากันกับเวอร์ชั่น 2
- ฟ้อนตัวหนังสือ เขียว ขาว ส้ม
- ระยะเข้าใกล้แบบ เข้าใกล้ได้มากกว่าสามรุ่นแรก อยู่ที่ 0.45 m (1.5 ft.)
มาดูเลนส์ที่ผมนำมาพูดถึงกันครับ Mamiya Sekor 50mm F2 M42 Original Silver Version
หน้าตา ใช้ฝาหน้าขนาด 52mm
ระยะเข้าใกล้แบบ เข้าใกล้ได้มากที่สุดอยู่ที่ 0.5 เมตร หรือ 1.75 ฟุต
สีแดงบอกหน่วยเมตร m สีขาวบอกหน่วยฟุต ft
ท้ายเลนส์เป็น Mount M42 มีเดือยโผล่มาให้เห็น และมีสวิท A-M ให้เราสามารถเลื่อนเลือกได้
มาดูใบเบลดรูรับแสงกัน เมื่อเปิดกว้างสุด
หรี่รูรับแสงลงมาใบเบลดจะเป็นหกเหลี่ยมปลายๆมน
เมื่อหรี่สุดที่ 16
จมูกและกระบอกเลนส์บนล่างจะเป็นสีเงิน
ข้อความกำลังจะเต็ม ขอไปต่อที่ความเห็นที่ 1 นะครับ
*ก่อนอ่านต่อขอกำลังใจด้วยการกด + ให้ด้วยนะครับ*
เลนส์เก่า เล่าใหม่ #8 Mamiya Sekor 50mm F2 สมญานาม "คมอิ๊บอ๊าย"
*ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการค้นหาและรวบรวมด้วยตัวผมเอง ซึ่งถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ*
Mamiya อ่านว่า มา-มิ-ยะ [ผมอ่านผิดมาหลายปี] เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ผลิตกล้องและเลนส์คุณภาพสูง รวมทั้งอุปกรณ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพต่างๆ ก่อตั้งในวันที่ 10 เดือน พฤษภาคม ปี 1940 โดย คุณ Seiichi Mamiya (pronounced ma-MEE-yah) และนักธุรกิจหุ้นส่วน Tsunejiro Sugawara (pronounced su-ga-WAR-a) ในนามว่า Mamiya Koki Seisakusho or Mamiya Optical Works
โลโก้หรือสัญลักษณ์ ถูกออกแบบโดยนักเรียนศิลปะชาวญี่ปุ่น Japan Art Collage เป็นรูปชิ้นเลนส์สองอันซ้อนทับกัน และมีชื่อย่อของผู้ก่อตั้งเป็นตัว S และ M โดยตัวอักษร S คือ Sugawara M คือ Mamiya
กล้องตัวแรกที่ Mamiya ผลิตออกมาคือกล้องฟิลม์ 6*6 Medium-format (120 film) รุ่น Mamiya Six ออกมาในปี 1940
ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โรงงานหลายแห่งของ Mamiya ใน Tokyo ก็ได้รับผลกระทบจากสงครามทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต จึงได้มีการซื้อวัตถุดิบเหล่านั้นจากหลายที่ และหนึ่งในนั้นก็มีการซื้อเลนส์จาก Olympus ด้วย
*ขอแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ณ เวลานั้นบริษัท Olympus ยังไม่ได้ผลิตกล้องถ่ายรูปเป็นจริงเป็นจัง เหมือนอยู่ในขั้นทดลอง เพิ่งออก Semi-Olympus I (1936) และ Semi-Olympus II (1938)
ยังเป็น Olympus Optical ที่เน้นการผลิตชิ้นเลนส์และอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นหลัก
Semi-Olympus I (1936)
หลังสงครามสิ้นสุด ในปี 1948 Mamiya ได้ผลิตกล้องสองเลนส์ออกมา
flash-synchronized twin lens reflex (TLR) ในชื่อว่า Mamayaflex
กล้องขนาด 35mm ของ Mamiya ก็ได้ออกมาในปี 1949. คือรุ่น The Mamiya 35-I และหลังจากนั้นก็ผลิตกล้องและเลนส์ออกมามากมาย ผมจะเล่าถึงเฉพาะตัวที่เด่นๆนะครับแบบผ่านๆนะครับ จะมีคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษครับ
1949 Mamiya 35-I, the first 35mm Mamiya camera.
1956 Mamiya 35-III, the first Mamiya helical focus rangefinder with self-cocking lever and linked finder.
1957 Mamiya Magazine 35, the first production 35mm camera with an interchangeable film back.
1958 Mamiya Elca, the first Japanese camera with match-needle metering.
1959 Mamiya Ruby, which would become the style basis for several Mamiya rangefinders
1961 Mamiya Prismat, Mamiya's first 35mm SLR.
1961 Mamiya Prismat PH, Mamiya's first leaf shutter SLR.
1964 Mamiya Prismat CWP (in USA - CP elsewhere) used a 42mm threaded lens mount.
1966 Mamiya 500TL, Mamiya's first 35mm with CdS through the lens (TTL) metering.
1968 Mamiya 500DTL, the first 35mm SLR with dual spot/averaging CdS TTL metering.
1971 Mamiya AutoXTL, arguably the most advanced 35mm SLR of its time.
1978 Mamiya NC1000, a quality lightweight 35mm SLR system, with a full complement of lenses.
1980 Mamiya ZE, the first Japanese SLR to use an electronic coupling system to transmit information between the camera body and its interchangeable lenses.
หลังจากนั้น Mamiya ก็ยังคงผลิตกล้องและเลนส์ออกมาอีกหลายรุ่น มีทั้งที่ประสบผลสำเร็จและไม่สำเร็จ ปี 1984 Mamiya ประสบปัญหาด้านการเงินหลายๆอย่างการพัฒนาต่อยอดกล้องหยุดชะงัก ส่งผลทำให้ กล้องฟิลม์ 35mm ของ Mamiya หยุดผลิตไปในปีนี้เอง
1985 กล้อง Mamiya 645 ได้ถูกผลิตขึ้น
1988 กล้อง Mamiya 6 และ Mamiya 7 ถูกผลิตขึ้น
กล้อง Medium Format ยังคงถูกผลิตและพัฒนาต่อ จนก้าวข้ามจากยุคฟิลม์มาสู่ Digital
Mamiya ได้ผลิตกล้อง Digital Medium Format รุ่น Mamiya ZD ออกมาในปี 2005
1 กันยายน 2006 บริษัทถูกซื้อไปโดยบริษัท Cosmo Digital Imaging และถูกซื้ออีกครั้งในปี 2009 โดย Phase One บริษัทผลิตกล้อง Digital Medium Format จาก Denmark
ผู้อ่านหลายท่านคงเริ่มสงสัยว่าผมจะพูดถึงเลนส์หรือพูดถึงกล้องกันแน่ เนื่องจากว่ายังไม่มีคนไทยเขียนเรื่อง Mamiya สักเท่าไหร่ผมจะถือโอกาสเขียนให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจในรุ่นต่อๆไปครับ ว่าแล้วก็เลี้ยวกลับเข้าเรื่องเลนส์ของเรา Mamiya Sekor 50mm F2 M42 เลนส์ตัวนี้มากับกล้อง Mamiya 500TL ที่ออกในปี 1966 - 1978
มีทั้งหมด 4 เวอร์ชั่นพอจะแบ่งได้ดังนี้
[การแบ่งเหล่านี้สามารถอ้างอิงถึงเลนส์ระยะ 55mm ได้เช่นกัน]
1. เวอร์ชั่นต้นฉบับ คือตัวนี้ที่นำมาเล่า
AUTO mamiya/sekor 1:2 f=50 mm (TL Series)
- บอดี้ส่วนบนและล่างเป็นสีเงิน
- มีสวิท A - M
- ฟ้อนตัวหนังสือ ขาว แดง ดำ
2. ตัวเวอร์ชั่นแรก มากับกล้อง DTL Series
AUTO mamiya/sekor 1:2 f=50 mm Model I (DTL Series)
- บอดี้ดำล้วน จมูกเงิน
- มีสวิท A - M
- ฟ้อนตัวหนังสือ ขาว แดง ดำ
3. ตัวเวอร์ชั่นสอง มากับกล้อง DTL Seris เช่นกัน
AUTO mamiya/sekor 1:2 f=50 mm Model II (DTL Series)
- บอดี้ดำล้วน
- ไม่มีสวิท A - M
- วงแหวนปรับรูรับแสงจะเป็นสันๆไม่เรียบเหมือนสองรุ่นก่อน
- สังเกตุตรงหน้าเลนส์ส่วนที่เป็นหลุมก่อนถึงชิ้นเลนส์ด้านหน้า จะเป็นหลุมสองชั้น
- Font มามิยะ ด้านหน้าเลนส์จะตัวใหญ่กว่าสองเวอร์ชั่นแรกนิดนึง และมีการเว้นวรรคช่องไฟที่แต่ละตัวอักษรมากกว่าสองโฉมก่อน
- ฟ้อนตัวหนังสือ ขาว แดง ดำ
4. ตัวเวอร์ชั่นสุดท้าย มากับกล้อง Mamiya MSX/DSX Series
AUTO mamiya/sekor SX 1:2 f=50 mm
- บอดี้สีดำล้วน
- ไม่มีสวิทปรับ A - M
- Font มามิยะ ด้านหน้าเลนส์จะตัวใหญ่เท่ากันกับเวอร์ชั่น 2
- ฟ้อนตัวหนังสือ เขียว ขาว ส้ม
- ระยะเข้าใกล้แบบ เข้าใกล้ได้มากกว่าสามรุ่นแรก อยู่ที่ 0.45 m (1.5 ft.)
มาดูเลนส์ที่ผมนำมาพูดถึงกันครับ Mamiya Sekor 50mm F2 M42 Original Silver Version
หน้าตา ใช้ฝาหน้าขนาด 52mm
ระยะเข้าใกล้แบบ เข้าใกล้ได้มากที่สุดอยู่ที่ 0.5 เมตร หรือ 1.75 ฟุต
สีแดงบอกหน่วยเมตร m สีขาวบอกหน่วยฟุต ft
ท้ายเลนส์เป็น Mount M42 มีเดือยโผล่มาให้เห็น และมีสวิท A-M ให้เราสามารถเลื่อนเลือกได้
มาดูใบเบลดรูรับแสงกัน เมื่อเปิดกว้างสุด
หรี่รูรับแสงลงมาใบเบลดจะเป็นหกเหลี่ยมปลายๆมน
เมื่อหรี่สุดที่ 16
จมูกและกระบอกเลนส์บนล่างจะเป็นสีเงิน
ข้อความกำลังจะเต็ม ขอไปต่อที่ความเห็นที่ 1 นะครับ
*ก่อนอ่านต่อขอกำลังใจด้วยการกด + ให้ด้วยนะครับ*