คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ปัญหาลักษณะนี้ ความรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดเป็นของห้องข้างบน (ไม่ว่าจะเป็น คชจ.ในการซ่อมเพื่อยุติปัญหา และ คชจ.ในการซ่อมเพดานของ จขกท.) เพราะเป็นเจ้าของทรัพย์สินห้องน้ำที่เสื่อมสภาพและบกพร่อง . . . . หากเป็นนิติฯที่มี ปสก.และทราบถึงปัญหาลักษณะดังกล่าว ก็เป็นหน้าที่เบื้องต้นที่จะต้องเข้าไปแจ้งให้ห้องข้างบนเข้าใจถึงความถูกต้อง และตัวบทกฏหมาย แต่หากทางเจ้าของห้องต้นเหตุยังดื้อแพ่ง ทาง จขกท.ก็ต้องไปแจ้งความดำเนินคดีเอง
กระทู้เก่าที่มีเนื้อหาแบบเดียวกัน : น้ำจากห้องน้ำด้านบนหยดลงมาตลอด เจ้าของห้องไม่ยอมซ่อม ทำยังไงได้บ้างคะ >> https://ppantip.com/topic/36864026
ทำนองเดียวกัน จขกท. ก็ควรเตรียมตัวเตรียมใจ ในเรื่องที่เราเองก็อาจจะต้องตกเป็นจำเลยเองเหมือนกันในอนาคต (ดังที่ จขกท.เกริ่นว่ามีปัญหาแบบนี้หลายๆห้องในอาคารนี้) ดังนั้นจึงควรหาจังหวะทางการเงินและโอกาสในการปรับปรุงพื้นห้องน้ำไว้ล่วงหน้าเลย ซึ่งจะเสีย คชจ.น้อยกว่า (เพราะไม่ต้องไปจ่ายค่าเสียหายให้ห้องข้างล่าง) . . . . โดยปัญหาการรั่วซึมอาจจะเกิดจากความบกพร่องของระบบท่อสุขาภิบาล (ท่อน้ำดี & ท่อน้ำทิ้ง) หรือเกิดจากการรั่วซึมของการใช้งานแล้วน้ำรั่วซึมผ่านยาแนว (ที่เสื่อมสภาพ) สะสมไว้ใต้กระเบื้องแล้วค่อยๆซึมผ่านพื้นลงมา . . . ซึ่งต้องรื้อหรือเปิดฝ้าเพดานจากห้องด้านล่าง เพื่อหาสาเหตุต้นเหตุของปัญหา
• โดยหากเกิดจากความบกพร่องของระบบท่อต่างๆ ก็จะแก้ไขได้ไม่ยุ่งยาก โดยแก้ไขปรับเปลี่ยนท่อนั้นๆไป
• หากเป็นการรั่วซึมผ่านพื้นลงมา ก็จะยุ่งยากในการแก้ไข เพราะควรทำ "ระบบกันซึมชนิดยืดหยุ่น ไร้รอยต่อ" ซึ่งจะใช้วิธีรื้อกระเบื้องพื้นออกทั้งหมดและกระเบื้องผนังแถวล่างสุด เพื่อทาวัสดุกันซึมที่ว่า หรือจะเลือกใช้วัสดุกันซึมชนิดที่ทาทับกระเบื้องได้ (ก็ไม่ต้องทำการสกัดรื้อกระเบื้อง) แต่ก็จะทำให้พื้นห้องน้ำสูงขึ้น 2-3 ซม. ซึ่งอาจจะต้องปรับแต่งบานประตู และปรับแต่งฐานชักโครก & ฝาท่อระบายน้ำที่พื้นใหม่ . . . ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะใช้ คชจ.มากพอสมควร และยังรบกวนการใช้งานห้องน้ำที่ซ่อมแซม 2-4 วัน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนะนำดูคลิปการทำระบบกันซึมพื้นห้องน้ำ >> https://www.youtube.com/watch?v=j-0YKaVvU6Q และ https://www.youtube.com/watch?v=TuQPV8_oFJc
จึงมักพบว่า มักจะใช้วิธีการแก้ปัญหาที่สะดวก และเสีย คชจ.น้อย โดยทำเพียงการแก้ไขยาแนวกระเบื้องพื้นเท่านั้น แต่วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ปัญหาการรั่วซึมก็จะกลับมาอีกในไม่ช้า และยิ่งปล่อยปัญหาไว้เนิ่นนาน ก็จะทำให้เหล็กเสริมในพื้นค่อยๆเป็นสนิม และขยายตัว ค่อยๆเบ่งตัวดันเนื้อคอนกรีตแตกร้าว และค่อยๆกระเทาะล่อนร่วงหล่นมาทีละน้อย อันจะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างซ้อนขึ้นมาอีกปัญหา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนะนำดูบทความ : ปรับปรุงห้องน้ำชั้นบน ควรทำระบบกันซึมที่พื้นด้วยหรือ ? >> https://ppantip.com/topic/36316024
กระทู้เก่าที่มีเนื้อหาแบบเดียวกัน : น้ำจากห้องน้ำด้านบนหยดลงมาตลอด เจ้าของห้องไม่ยอมซ่อม ทำยังไงได้บ้างคะ >> https://ppantip.com/topic/36864026
ทำนองเดียวกัน จขกท. ก็ควรเตรียมตัวเตรียมใจ ในเรื่องที่เราเองก็อาจจะต้องตกเป็นจำเลยเองเหมือนกันในอนาคต (ดังที่ จขกท.เกริ่นว่ามีปัญหาแบบนี้หลายๆห้องในอาคารนี้) ดังนั้นจึงควรหาจังหวะทางการเงินและโอกาสในการปรับปรุงพื้นห้องน้ำไว้ล่วงหน้าเลย ซึ่งจะเสีย คชจ.น้อยกว่า (เพราะไม่ต้องไปจ่ายค่าเสียหายให้ห้องข้างล่าง) . . . . โดยปัญหาการรั่วซึมอาจจะเกิดจากความบกพร่องของระบบท่อสุขาภิบาล (ท่อน้ำดี & ท่อน้ำทิ้ง) หรือเกิดจากการรั่วซึมของการใช้งานแล้วน้ำรั่วซึมผ่านยาแนว (ที่เสื่อมสภาพ) สะสมไว้ใต้กระเบื้องแล้วค่อยๆซึมผ่านพื้นลงมา . . . ซึ่งต้องรื้อหรือเปิดฝ้าเพดานจากห้องด้านล่าง เพื่อหาสาเหตุต้นเหตุของปัญหา
• โดยหากเกิดจากความบกพร่องของระบบท่อต่างๆ ก็จะแก้ไขได้ไม่ยุ่งยาก โดยแก้ไขปรับเปลี่ยนท่อนั้นๆไป
• หากเป็นการรั่วซึมผ่านพื้นลงมา ก็จะยุ่งยากในการแก้ไข เพราะควรทำ "ระบบกันซึมชนิดยืดหยุ่น ไร้รอยต่อ" ซึ่งจะใช้วิธีรื้อกระเบื้องพื้นออกทั้งหมดและกระเบื้องผนังแถวล่างสุด เพื่อทาวัสดุกันซึมที่ว่า หรือจะเลือกใช้วัสดุกันซึมชนิดที่ทาทับกระเบื้องได้ (ก็ไม่ต้องทำการสกัดรื้อกระเบื้อง) แต่ก็จะทำให้พื้นห้องน้ำสูงขึ้น 2-3 ซม. ซึ่งอาจจะต้องปรับแต่งบานประตู และปรับแต่งฐานชักโครก & ฝาท่อระบายน้ำที่พื้นใหม่ . . . ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้จะใช้ คชจ.มากพอสมควร และยังรบกวนการใช้งานห้องน้ำที่ซ่อมแซม 2-4 วัน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนะนำดูคลิปการทำระบบกันซึมพื้นห้องน้ำ >> https://www.youtube.com/watch?v=j-0YKaVvU6Q และ https://www.youtube.com/watch?v=TuQPV8_oFJc
จึงมักพบว่า มักจะใช้วิธีการแก้ปัญหาที่สะดวก และเสีย คชจ.น้อย โดยทำเพียงการแก้ไขยาแนวกระเบื้องพื้นเท่านั้น แต่วิธีนี้จะเป็นการแก้ไขเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ปัญหาการรั่วซึมก็จะกลับมาอีกในไม่ช้า และยิ่งปล่อยปัญหาไว้เนิ่นนาน ก็จะทำให้เหล็กเสริมในพื้นค่อยๆเป็นสนิม และขยายตัว ค่อยๆเบ่งตัวดันเนื้อคอนกรีตแตกร้าว และค่อยๆกระเทาะล่อนร่วงหล่นมาทีละน้อย อันจะเป็นปัญหาด้านโครงสร้างซ้อนขึ้นมาอีกปัญหา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แนะนำดูบทความ : ปรับปรุงห้องน้ำชั้นบน ควรทำระบบกันซึมที่พื้นด้วยหรือ ? >> https://ppantip.com/topic/36316024
แสดงความคิดเห็น
คอนโด ห้องน้ำ น้ำหยดฝ้าพังต้องร้องกับใครครับ
ทำให้ฝ้าชั้นล่างจะพัง ซึ่งห้องผมช่างได้มาแก้โดยการปูกระเบื้องใหม่ (ไม่รู้เกี่ยวกับท่อยังไง ?) ซึ่งชั้นล่างก็ไม่มีปัญหาการรั่วจากชั้นผม แต่ชั้นบน
ของผมมีการรั่วใส่ฝ้าห้องของผม ได้แจ้งทางนิติไปแล้ว ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าเรื่องนี้ได้เกิดมานานแล้ว เจ้าของห้องด้านบนเค้าอยู่ไม่บ่อยแต่เวลาอยู่ใช้ห้องน้ำก็จะมีปัญหาครับ
จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไข เจ้าของห้องชั้นบนเป็นคุณป้า คุยไม่รู้เรื่องทางนิติคนเก่าก็เพื่อนกับป้าอีกเรื่องมันไม่ไปไหนเลย มีการบอกว่าให้เอาเงินมาเดียวจะซ่อมให้ เจอยังงี้ไปผมเลยอึ้งไปเลย แล้วเรื่องก็เงียบไป ตอนนี้ได้เปลี่ยนนิติคนใหม่ คนเก่าหมดวาระไป ผมจึงได้ยื่นเรื่องนี้อีกครั้ง คราวนี้ป้าไปแล้วให้น้องชายมาอยู่แทน คำตอบที่ได้เหมือนกันกับป้าเลย ลุงยังมีการบอกว่าห้องผมข้างบนรั่ว ผมซ้อมเอง ถ้าชั้นล่างผมเป็นก็ให้ซ่อมเอง (นิติที่ไปคุยเล่ามาอีกที)
เรื่องปัญหาแบบนี้ผมต้องให้ใครรับผิดชอบ เจ้าของห้อง/ห้องน้ำรั่ว/นิติคอนโด? ต้องมีการฟ้องมั้ย? ถ้าคุยไม่รู้เรื่อง จะได้ให้ซ่อมฝ้าที่พังให้ด้วย?
แล้วถ้าฟ้องต้องผ่านนิติมั้ยครับ ไม่เคยรู้วิธีการฟ้องร้องเลยครับ รบกวนผู้รู้กฎหมายช่วยให้คำตอบหน่อยครับเรื่องนี้มันผ่านมา 2-3 ปีแล้วนิติที่ผ่านมาเรื่องเงียบมาก จนตอนนี้โคมไฟผมระร่วงมาใส่หัวตอนไหนก็ไม่รู้ อยากซ่อมฝ้ามากแต่ปัญหาเรื่องน้ำยังไม่ไปซะที
ขอบคุณครับ
รูปประกอบ ผมเอาแผ่น PP board มาทำเป็นรางน้ำไม่งั้นใช้ชักโครกไม่ได้หยดใส่หัวครับ