“มาทำไมกันเยอะแยะจะล้มละลายกันอยู่แล้ว อย่าให้ถึงต้องขายไตกันเลย” ตัวอย่างเสียงโอดครวญจากแฟนเพลงชาวไทยตอนนี้ ที่มีต่อโปรโมเตอร์ผู้นำเข้าคอนเสิร์ตจากศิลปินต่างชาติ เสียงโอดครวญดังกล่าวมาพร้อมกับคำถามที่ว่า ทำไมศิลปินต่างชาติถึงมาแสดงในบ้านเรามากขึ้น ? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
ต้องอธิบายถึงหลักการนำเข้าโชว์จากต่างประเทศเสียก่อน หลายคนสงสัยว่าการจะพาศิลปินระดับโลกมาแสดงในไทย มีขั้นตอนอะไรบ้าง ในสมัยก่อนการนำโชว์เข้ามาถือเป็นเรื่องยากสำหรับบ้านเรา การที่ศิลปินจะตัดสินใจบินมาโชว์ ทางตัวศิลปินและเอเยนต์ที่ดูแลการโชว์ จะดูภาพรวมหลายๆอย่าง ในการตัดสินใจ อย่างในอดีตรายได้หลักของศิลปินก็คือ “ยอดขายแผ่นซีดี” สิ่งนี้จึงกลายมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจว่าจะไปแสดงที่ประเทศเหล่านี้ไหม ประเทศที่มียอดขายซีดีสูง เขาก็จะมองว่าประเทศนั้นมีกำลังซื้อ น่าจะประสบความสำเร็จในการจัด แตกต่างกับประเทศที่ผู้บริโภคไม่นิยมสนับสนุนผลงานของศิลปินโดยตรง (สมัยก่อนยอดขายแผ่น 90% ในบ้านเรามาจากแผ่นผี) มันก็ไม่แปลกที่ศิลปินจะไม่มา ยกเว้นเสียแต่โปรโมเตอร์จะต้องทุ่มทุนสร้าง เสียเงินให้ศิลปินเพิ่มนั่นเอง
แต่โลกหมุนและเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สถานการณ์การนำเข้าโชว์ได้เปลี่ยนไปแล้วตามโลก ในยุคสมัยที่ Youtube, Music Steaming เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโลกดนตรี ตอนนี้เราคงไม่ได้เห็นภาพยอดขายถล่มทลาย หนึ่งล้านก็อปปี้ภายในหนึ่งสัปดาห์เหมือนแต่ก่อนแล้ว มันทำให้ตัวศิลปินต้องปรับตัวให้เท่าทันโลกด้วยเช่นกัน การขายโชว์ที่มากขึ้นจึงเข้ามามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนตอนนี้มันกลายเป็นรายได้หลักในการทำเงินของพวกเขา แตกต่างกับสมัยก่อนโชว์ครั้งหนึ่งเหมือนเป็นการโปรโมตศิลปิน แต่ละโชว์เราจะเห็นการแสดงที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา เป็นอีกหนึ่งคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมศิลปินถึงมาแสดงที่ไทยกันมากขึ้น
โดยปกติการนำเข้าโชว์จากต่างประเทศจะมี agency ที่ดูแลเรื่องการขายโชว์ ที่ถูกจ้างมาจากค่ายเพลงอีกที (agency บางที่ก็เป็นบริษัทลูกของค่ายเอง) ยกตัวอย่างเช่น AEG หรือจะเป็น Live Nation ที่เราคุ้นหูคุ้นตาอย่างมากในปีนี้ agency เหล่านี้จะดูแลการวางทัวร์ให้กับศิลปิน จะบินไปที่ไหนบ้าง ความต้องการของศิลปิน รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ต้องใช้ สเปคเครื่องดนตรี ศิลปินต้องพักโรงแรมแบบนี้เท่านั้น ทั้งหลายทั้งปวงนี้ agency จะเป็นคนจัดการแล้วส่งรายละเอียดทั้งหมดให้กับโปรโมเตอร์ท้องถิ่นไปจัดการต่อ แล้วเงินที่เราเสียไปเข้ากระเป๋าใคร ศิลปินหรือค่าย เราจะไม่พูดถึงระบบการจัดการของผู้จัด แต่ผมจะอธิบายระบบการจัดการของค่ายแทน
อุตสาหกรรมดนตรีในต่างประเทศ จะแบ่งการจัดการง่าย ๆ เป็น 2 แบบ Record company กับ Artist Management ทั้งสองจะทำหน้าที่คนละกลุ่มกัน Record company จะดูแลในเรื่องของการขายอัลบั้ม ส่วน Artist Management จะดูในเรื่องของการขายต่าง ๆ อย่างเช่น ขายโชว์ เป็นต้น ถ้าเล่าถึงตอนนี้จะรู้ว่าอุตสาหกรรมดนตรีโลก กว้างใหญ่และไม่ผูกขาด ซึ่งต่างกับบ้านเรามากนัก ! ค่ายเพลงในบ้านเรา ถือสิทธิขาดในหลายเรื่อง เช่นค่ายต้องโปรโมตเอง อัดที่ค่ายเอง ลิขสิทธิ์อยู่ที่ค่าย การจัดโชว์ต่าง ๆ ก็เป็นค่ายที่ตัดสินใจ
มาถึงตอนนี้คงจะเข้าใจหลักการง่าย ๆ ของการดีลคอนเสิร์ตกันแล้ว ทิ้งท้ายสุดพิเศษกันเล็กน้อย ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ สองผู้บริหารจากโปรโมเตอร์รายใหญ่ ผู้นำเข้าโชว์ระดับโลกมามากมาย ทั้งสองท่านจะมาตอบคำถามอย่างเช่น “ทำไมบัตรคอนเสิร์ตแพงจัง? ทำไมศิลปินคนนี้ไม่มาซะที ทำไมระบบเป็นซะแบบนี้” เราไปชมบทสัมภาษณ์ของทั้งสองท่านกันครับ
ท่านที่หนึ่ง คุณรักษิต รักการดี ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเสิร์ตและกิจกรรมพิเศษ บริษัท บีอีซี-เทโร เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัดมหาชน ผู้จัดรายใหญ่ของไทย ผู้นำเข้าโชว์ศิลปินมากมาย ที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว
“ถ้าถามว่าทำไมตอนนี้ทาง บีอีซี-เทโร นำเข้าโชว์เยอะมาก จริงๆแล้วถ้าสังเกตดี ๆ เรานำเข้าโชว์ในปริมาณความถี่ต่อปีประมาณนี้อยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมดนตรีโลกเปลี่ยนไป รายได้หลักของศิลปินคือการโชว์ ต่างจากเมื่อก่อนที่เน้นการขายเทปขายแผ่นเป็นหลัก มันยิ่งเป็นปัจจัยที่ตอกย้ำว่า เหตุใดศิลปินถึงต้องมีการขายโชว์มากขึ้น”
โลกที่เปลี่ยนไป ความยากง่ายในการดีล ก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นกันจริงหรือไม่
“เมื่อก่อนเวลาเราจะดีลศิลปินคนไหนเข้ามา เราไม่ได้แข่งกับโปรโมเตอร์รายอื่น ๆ ในบ้านเราอย่างเดียว เราต้องแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านเราอีก เมื่อก่อนทัวร์น้อย ตลาดเล็ก ศิลปินบอกว่าโซนนี้จะมาเล่นแค่สี่ประเทศเท่านั้น แต่บริเวณนี้มีสิบกว่าประเทศ มันยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากในการการจะนำโชว์เข้ามา แต่ทุกครั้งเราก็จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะนำโชว์ที่ดีมาให้คนไทยได้ดู แต่อย่างที่บอกไปข้างต้น ระบบการขายที่เปลี่ยนแปลงไปยิ่งทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น บวกกับตอนนี้กรุงเทพกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้น โอเคมันอาจจะสืบเนื่องจากการที่เรารวมบริษัทกับ ทาง Live Nation ที่เป็นเอเจนซี่กึ่งๆโปรโมเตอร์ด้วย มันยิ่งทำให้เราได้รับโชว์เข้ามาถี่ขึ้น เหมือนเป็นการยกระดับจากโปรโมเตอร์ท้องถิ่น ไปเป็นโปรโมเตอร์ระดับโลกมากขึ้น ในอนาคตมันก็ยิ่งเป็นงานที่ง่ายขึ้นสำหรับเรา ในการจะดีลศิลปินระดับโลกให้มาโชว์ที่บ้านเราง่ายขึ้นด้วย”
ด้วยการที่เราสองคนเป็นคอดนตรีเหมือนกัน การสนทนาของเราจึง มีชื่อของศิลปินคนนั้นคนนี้ โผล่ขึ้นมาอยู่ในบทสนทนา หลายคนที่โชว์ดีมาก ๆ และดังมาก ๆ ในต่างประเทศแต่ยังไม่เคยมาแสดงที่ไทยเลยสักครั้ง เหตุใดทำไมศิลปินเหล่านั้นถึงยังไม่มา ทาง บีอีซี-เทโร ไม่เอาเข้ามาเองหรือเพราะอะไรกันแน่
“มีหลายศิลปินที่เราสนใจ อยากให้เขามาแสดงที่ไทย แต่สุดท้ายมันก็เป็นเรื่องของปัจจัยราย ๆ อย่าง หลายศิลปินไม่อยากทัวร์นอกประเทศบ้าง ไม่สะดวกที่จะมาบ้าง ถามว่าทางเราติดต่อพวกเขาไปไหม แน่นอน อย่าง จัสติน ทิมเบอร์เลค หรือ จอห์น เมเยอร์ ที่ส่วนตัวผมชอบมาก ๆ ทางเรารีเครสเขาไปหลายครั้ง แต่สุดท้ายมันก็เป็นเรื่องของจังหวะที่ไม่ตรงกัน ทางเขาไม่มีกำหนดการมาด้วย แต่เมื่อไหร่มีข่าวว่าเขาจะมา ทางเราก็พร้อมอย่างมากที่จะจัดให้คนไทยได้ดูแน่นอน”
คุณรักษิต รักการดี
ก่อนหน้านี้มีกระแสเรื่องราคาบัตรที่แสนแพง แน่นอนประเด็นนี้กลายเรื่องที่ผมกับคุณรักษิต หยิบมาพูดถึง ทางบีอีซี มีความเห็นเรื่องนี้อย่างไรไปชมกัน
“บัตรจะแพง ไม่แพงขึ้นอยู่ที่ค่าตัวของศิลปิน ถ้าเทียบราคาบัตรของบ้านเรากับประเทศอื่น ราคาบัตรบ้านเราแทบจะถูกที่สุดแล้ว เราพยายามหาวิธีที่จะทำให้คนดูได้ซื้อบัตรในราคาที่คุ้มค่าที่สุด ลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ เพิ่มสปอนเซอร์ตรงนั้น เพราะผมเองเมื่อก่อนก็ไม่ได้มีโอกาสจะซื้อบัตรคอนเสิร์ตในราคาสูงเหมือนกัน เราจึงเข้าใจความรู้สึกของแฟนๆดี เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งแรกที่เราคำนึงถึง ”
แน่นอนการสนทนาในครั้งนี้ เราได้แลกเปลี่ยนหลายอย่างร่วมกัน ผมจึงถามคุณรักษิต ต่อว่า ตลอดเวลากว่า 20 ปีของบีอีซี-เทโร โชว์ที่ส่วนตัวคุณรักษิตประทับใจที่สุดอะไรบ้างที่สุด
“ถ้าพูดถึงโชว์ ผมชอบการแสดงของ อาเรียนา แกรนเด มากๆ เขาทำโชว์เตรียมโชว์มาได้ดีมาก ๆ ส่วนอีกอันก็จะเป็น วง Queen ซึ่งส่วนตัวผมเป็นแฟนเพลงวงนี้อยู่แล้ว ตอนผมทำ ผมยังไม่เชื่อตัวเองเลยว่าในชีวิตนี้จะได้มาเป็นผู้จัดการแสดงให้ Queen ถึงแม้ตอนมาจะไม่มี เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ นักร้องนำแล้วก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงศิลปินที่ผมชอบนิสัยและความเป็นมืออาชีพที่สุด ก็คงจะเป็น ทอม โจนส์ กับ แอนดี้ วิลเลียมส์ ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาทั้งสองมีความเป็นมืออาชีพสูงมาก และนิสัยดีมาก ๆ ทั้งสองคนเหมือนอยู่เหนือคำว่าซุปเปอร์สตาร์ไปแล้ว ส่วนถ้าพูดถึงเป้าหมายส่วนตัวของผม สักครั้งหนึ่งในชีวิตผมอยากนำ สตีวี่ วันเดอร์ เข้ามาแสดงในไทยนะ มันคงเป็นอะไรที่สุดยอดมากๆ จริง ๆ”
ท่านที่สอง คุณหล้า แสงจันทร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ปราชญ์ มิวสิค กรุ๊ป จำกัด หรือ PMG ผู้นำเข้าโชว์ดนตรีดี ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น 30 Seconds To Mars Live in Bangkok , Dream Theater Live in Bangkok ในมุมมองของผู้จัดสายคนดนตรี จะเป็นเช่นไรเราไปชมบทสัมภาษณ์กัน
“ในมุมมองของพี่ดีลโชว์ ตอนนี้กับเมื่อก่อนไม่ต่างกัน แต่เรื่องของกลุ่มเป้าหมายจะเปลี่ยนไป ดีลโชว์ให้มาแสดงที่ไทยง่ายขึ้นจริง เพราะการขายโชว์กลายมาเป็นรายได้หลักของศิลปิน แต่เศรษฐกิจในบ้านเราไม่ดีมาหลายปี เรื่องนี้มีผลกระทบกับการจัดโชว์อยู่แล้ว คนจ่ายเงินเข้ามาซื้อคอนเสิร์ตน้อยลง แต่กลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น เราเป็นผู้จัดที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เราเป็นคนดนตรีที่ไม่เน้นกำไร แค่อยากให้คนไทยได้ดูโชว์ดีๆ จากระดับโลก แต่แน่นอนเราทำธุรกิจ เรื่องขาดทุน กำไร เป็นเรื่องสำคัญ แต่เราคิดแค่ว่าไม่ขาดทุนมากก็พอแล้ว แลกกับการที่พี่ๆ น้องๆ ในบ้านเราได้มีโอกาสเจอศิลปินตัวเป็น ๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากตัวศิลปินเพื่อพัฒนาความสามารถของคนไทยเอง เพราะตัว PMG เราทำเรื่อง ด้านการศึกษาด้วย เราจึงไม่ได้คาดหวังเรื่องจะขายโชว์อย่างเดียว”
“เราเหมือนเป็นตัวแทนคนดนตรี ที่จะหวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนยุคหลัง ที่เข้ามาชมคอนเสิร์ตแล้วได้อะไรกลับไป มากกว่าแค่ใช้เวลา enjoy กับช่วงเวลานั้น ตลอดระยะเวลาที่ได้จัดคอนเสิร์ต ภาพที่เห็นคนได้รับอะไรใหม่ ๆ กลับไปจึงเป็นภาพที่ดีที่สุดของเรา ตอนที่เราจัด Dream Theater ครั้งแรกที่อิมแพ็ค ตอนนั้นก็กลัวเจ๊งอยู่นะ รู้สึกจะเป็นโชว์ที่สอง ที่ได้จัดด้วย ตอนนั้นหลายคนก็เป็นห่วงว่าจะไหวเหรอจัดใหญ่มาก กลัวบริษัทจะล้มละลายอยู่เหมือนกัน สรุปบัตรขายหมดเกลี้ยง และกลายเป็นโชว์ที่เราประทับใจที่สุด การที่ได้เห็นแฟนๆ ดีใจ จนน้ำตาไหล ภาพที่แฟนๆมาจากทุกสารทิศ ถึงขนาดมีมากันเป็นรถทัวร์ยังกับ แห่ผ้าป่าไรอย่างนั้น เป็นภาพที่เราประทับใจมาก ๆ เราเปรียบเหมือนตัวแทนแฟน ๆ จริง ๆ ”
ที่มา :
https://gmlive.com/a-guide-to-dealing-concert
สงสัยไหมว่า ทำไมปีนี้มีศิลปินต่างประเทศ มาแสดงที่ “ไทย” มากขึ้น ไปฟังจากปากผู้จัดเข้ากันเลย !
ต้องอธิบายถึงหลักการนำเข้าโชว์จากต่างประเทศเสียก่อน หลายคนสงสัยว่าการจะพาศิลปินระดับโลกมาแสดงในไทย มีขั้นตอนอะไรบ้าง ในสมัยก่อนการนำโชว์เข้ามาถือเป็นเรื่องยากสำหรับบ้านเรา การที่ศิลปินจะตัดสินใจบินมาโชว์ ทางตัวศิลปินและเอเยนต์ที่ดูแลการโชว์ จะดูภาพรวมหลายๆอย่าง ในการตัดสินใจ อย่างในอดีตรายได้หลักของศิลปินก็คือ “ยอดขายแผ่นซีดี” สิ่งนี้จึงกลายมาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจว่าจะไปแสดงที่ประเทศเหล่านี้ไหม ประเทศที่มียอดขายซีดีสูง เขาก็จะมองว่าประเทศนั้นมีกำลังซื้อ น่าจะประสบความสำเร็จในการจัด แตกต่างกับประเทศที่ผู้บริโภคไม่นิยมสนับสนุนผลงานของศิลปินโดยตรง (สมัยก่อนยอดขายแผ่น 90% ในบ้านเรามาจากแผ่นผี) มันก็ไม่แปลกที่ศิลปินจะไม่มา ยกเว้นเสียแต่โปรโมเตอร์จะต้องทุ่มทุนสร้าง เสียเงินให้ศิลปินเพิ่มนั่นเอง
แต่โลกหมุนและเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สถานการณ์การนำเข้าโชว์ได้เปลี่ยนไปแล้วตามโลก ในยุคสมัยที่ Youtube, Music Steaming เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในโลกดนตรี ตอนนี้เราคงไม่ได้เห็นภาพยอดขายถล่มทลาย หนึ่งล้านก็อปปี้ภายในหนึ่งสัปดาห์เหมือนแต่ก่อนแล้ว มันทำให้ตัวศิลปินต้องปรับตัวให้เท่าทันโลกด้วยเช่นกัน การขายโชว์ที่มากขึ้นจึงเข้ามามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนตอนนี้มันกลายเป็นรายได้หลักในการทำเงินของพวกเขา แตกต่างกับสมัยก่อนโชว์ครั้งหนึ่งเหมือนเป็นการโปรโมตศิลปิน แต่ละโชว์เราจะเห็นการแสดงที่สดใหม่อยู่ตลอดเวลา เป็นอีกหนึ่งคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมศิลปินถึงมาแสดงที่ไทยกันมากขึ้น
โดยปกติการนำเข้าโชว์จากต่างประเทศจะมี agency ที่ดูแลเรื่องการขายโชว์ ที่ถูกจ้างมาจากค่ายเพลงอีกที (agency บางที่ก็เป็นบริษัทลูกของค่ายเอง) ยกตัวอย่างเช่น AEG หรือจะเป็น Live Nation ที่เราคุ้นหูคุ้นตาอย่างมากในปีนี้ agency เหล่านี้จะดูแลการวางทัวร์ให้กับศิลปิน จะบินไปที่ไหนบ้าง ความต้องการของศิลปิน รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ต้องใช้ สเปคเครื่องดนตรี ศิลปินต้องพักโรงแรมแบบนี้เท่านั้น ทั้งหลายทั้งปวงนี้ agency จะเป็นคนจัดการแล้วส่งรายละเอียดทั้งหมดให้กับโปรโมเตอร์ท้องถิ่นไปจัดการต่อ แล้วเงินที่เราเสียไปเข้ากระเป๋าใคร ศิลปินหรือค่าย เราจะไม่พูดถึงระบบการจัดการของผู้จัด แต่ผมจะอธิบายระบบการจัดการของค่ายแทน
อุตสาหกรรมดนตรีในต่างประเทศ จะแบ่งการจัดการง่าย ๆ เป็น 2 แบบ Record company กับ Artist Management ทั้งสองจะทำหน้าที่คนละกลุ่มกัน Record company จะดูแลในเรื่องของการขายอัลบั้ม ส่วน Artist Management จะดูในเรื่องของการขายต่าง ๆ อย่างเช่น ขายโชว์ เป็นต้น ถ้าเล่าถึงตอนนี้จะรู้ว่าอุตสาหกรรมดนตรีโลก กว้างใหญ่และไม่ผูกขาด ซึ่งต่างกับบ้านเรามากนัก ! ค่ายเพลงในบ้านเรา ถือสิทธิขาดในหลายเรื่อง เช่นค่ายต้องโปรโมตเอง อัดที่ค่ายเอง ลิขสิทธิ์อยู่ที่ค่าย การจัดโชว์ต่าง ๆ ก็เป็นค่ายที่ตัดสินใจ
มาถึงตอนนี้คงจะเข้าใจหลักการง่าย ๆ ของการดีลคอนเสิร์ตกันแล้ว ทิ้งท้ายสุดพิเศษกันเล็กน้อย ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์ สองผู้บริหารจากโปรโมเตอร์รายใหญ่ ผู้นำเข้าโชว์ระดับโลกมามากมาย ทั้งสองท่านจะมาตอบคำถามอย่างเช่น “ทำไมบัตรคอนเสิร์ตแพงจัง? ทำไมศิลปินคนนี้ไม่มาซะที ทำไมระบบเป็นซะแบบนี้” เราไปชมบทสัมภาษณ์ของทั้งสองท่านกันครับ
ท่านที่หนึ่ง คุณรักษิต รักการดี ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเสิร์ตและกิจกรรมพิเศษ บริษัท บีอีซี-เทโร เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัดมหาชน ผู้จัดรายใหญ่ของไทย ผู้นำเข้าโชว์ศิลปินมากมาย ที่เรารู้จักกันดีอยู่แล้ว
“ถ้าถามว่าทำไมตอนนี้ทาง บีอีซี-เทโร นำเข้าโชว์เยอะมาก จริงๆแล้วถ้าสังเกตดี ๆ เรานำเข้าโชว์ในปริมาณความถี่ต่อปีประมาณนี้อยู่แล้ว แต่ต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่า ตอนนี้อุตสาหกรรมดนตรีโลกเปลี่ยนไป รายได้หลักของศิลปินคือการโชว์ ต่างจากเมื่อก่อนที่เน้นการขายเทปขายแผ่นเป็นหลัก มันยิ่งเป็นปัจจัยที่ตอกย้ำว่า เหตุใดศิลปินถึงต้องมีการขายโชว์มากขึ้น”
โลกที่เปลี่ยนไป ความยากง่ายในการดีล ก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นกันจริงหรือไม่
“เมื่อก่อนเวลาเราจะดีลศิลปินคนไหนเข้ามา เราไม่ได้แข่งกับโปรโมเตอร์รายอื่น ๆ ในบ้านเราอย่างเดียว เราต้องแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านเราอีก เมื่อก่อนทัวร์น้อย ตลาดเล็ก ศิลปินบอกว่าโซนนี้จะมาเล่นแค่สี่ประเทศเท่านั้น แต่บริเวณนี้มีสิบกว่าประเทศ มันยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากในการการจะนำโชว์เข้ามา แต่ทุกครั้งเราก็จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะนำโชว์ที่ดีมาให้คนไทยได้ดู แต่อย่างที่บอกไปข้างต้น ระบบการขายที่เปลี่ยนแปลงไปยิ่งทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น บวกกับตอนนี้กรุงเทพกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้น โอเคมันอาจจะสืบเนื่องจากการที่เรารวมบริษัทกับ ทาง Live Nation ที่เป็นเอเจนซี่กึ่งๆโปรโมเตอร์ด้วย มันยิ่งทำให้เราได้รับโชว์เข้ามาถี่ขึ้น เหมือนเป็นการยกระดับจากโปรโมเตอร์ท้องถิ่น ไปเป็นโปรโมเตอร์ระดับโลกมากขึ้น ในอนาคตมันก็ยิ่งเป็นงานที่ง่ายขึ้นสำหรับเรา ในการจะดีลศิลปินระดับโลกให้มาโชว์ที่บ้านเราง่ายขึ้นด้วย”
ด้วยการที่เราสองคนเป็นคอดนตรีเหมือนกัน การสนทนาของเราจึง มีชื่อของศิลปินคนนั้นคนนี้ โผล่ขึ้นมาอยู่ในบทสนทนา หลายคนที่โชว์ดีมาก ๆ และดังมาก ๆ ในต่างประเทศแต่ยังไม่เคยมาแสดงที่ไทยเลยสักครั้ง เหตุใดทำไมศิลปินเหล่านั้นถึงยังไม่มา ทาง บีอีซี-เทโร ไม่เอาเข้ามาเองหรือเพราะอะไรกันแน่
“มีหลายศิลปินที่เราสนใจ อยากให้เขามาแสดงที่ไทย แต่สุดท้ายมันก็เป็นเรื่องของปัจจัยราย ๆ อย่าง หลายศิลปินไม่อยากทัวร์นอกประเทศบ้าง ไม่สะดวกที่จะมาบ้าง ถามว่าทางเราติดต่อพวกเขาไปไหม แน่นอน อย่าง จัสติน ทิมเบอร์เลค หรือ จอห์น เมเยอร์ ที่ส่วนตัวผมชอบมาก ๆ ทางเรารีเครสเขาไปหลายครั้ง แต่สุดท้ายมันก็เป็นเรื่องของจังหวะที่ไม่ตรงกัน ทางเขาไม่มีกำหนดการมาด้วย แต่เมื่อไหร่มีข่าวว่าเขาจะมา ทางเราก็พร้อมอย่างมากที่จะจัดให้คนไทยได้ดูแน่นอน”
ก่อนหน้านี้มีกระแสเรื่องราคาบัตรที่แสนแพง แน่นอนประเด็นนี้กลายเรื่องที่ผมกับคุณรักษิต หยิบมาพูดถึง ทางบีอีซี มีความเห็นเรื่องนี้อย่างไรไปชมกัน
“บัตรจะแพง ไม่แพงขึ้นอยู่ที่ค่าตัวของศิลปิน ถ้าเทียบราคาบัตรของบ้านเรากับประเทศอื่น ราคาบัตรบ้านเราแทบจะถูกที่สุดแล้ว เราพยายามหาวิธีที่จะทำให้คนดูได้ซื้อบัตรในราคาที่คุ้มค่าที่สุด ลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ เพิ่มสปอนเซอร์ตรงนั้น เพราะผมเองเมื่อก่อนก็ไม่ได้มีโอกาสจะซื้อบัตรคอนเสิร์ตในราคาสูงเหมือนกัน เราจึงเข้าใจความรู้สึกของแฟนๆดี เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งแรกที่เราคำนึงถึง ”
แน่นอนการสนทนาในครั้งนี้ เราได้แลกเปลี่ยนหลายอย่างร่วมกัน ผมจึงถามคุณรักษิต ต่อว่า ตลอดเวลากว่า 20 ปีของบีอีซี-เทโร โชว์ที่ส่วนตัวคุณรักษิตประทับใจที่สุดอะไรบ้างที่สุด
“ถ้าพูดถึงโชว์ ผมชอบการแสดงของ อาเรียนา แกรนเด มากๆ เขาทำโชว์เตรียมโชว์มาได้ดีมาก ๆ ส่วนอีกอันก็จะเป็น วง Queen ซึ่งส่วนตัวผมเป็นแฟนเพลงวงนี้อยู่แล้ว ตอนผมทำ ผมยังไม่เชื่อตัวเองเลยว่าในชีวิตนี้จะได้มาเป็นผู้จัดการแสดงให้ Queen ถึงแม้ตอนมาจะไม่มี เฟรดดี้ เมอร์คิวรี่ นักร้องนำแล้วก็ตาม แต่ถ้าพูดถึงศิลปินที่ผมชอบนิสัยและความเป็นมืออาชีพที่สุด ก็คงจะเป็น ทอม โจนส์ กับ แอนดี้ วิลเลียมส์ ที่ล่วงลับไปแล้ว เขาทั้งสองมีความเป็นมืออาชีพสูงมาก และนิสัยดีมาก ๆ ทั้งสองคนเหมือนอยู่เหนือคำว่าซุปเปอร์สตาร์ไปแล้ว ส่วนถ้าพูดถึงเป้าหมายส่วนตัวของผม สักครั้งหนึ่งในชีวิตผมอยากนำ สตีวี่ วันเดอร์ เข้ามาแสดงในไทยนะ มันคงเป็นอะไรที่สุดยอดมากๆ จริง ๆ”
ท่านที่สอง คุณหล้า แสงจันทร์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ปราชญ์ มิวสิค กรุ๊ป จำกัด หรือ PMG ผู้นำเข้าโชว์ดนตรีดี ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น 30 Seconds To Mars Live in Bangkok , Dream Theater Live in Bangkok ในมุมมองของผู้จัดสายคนดนตรี จะเป็นเช่นไรเราไปชมบทสัมภาษณ์กัน
“ในมุมมองของพี่ดีลโชว์ ตอนนี้กับเมื่อก่อนไม่ต่างกัน แต่เรื่องของกลุ่มเป้าหมายจะเปลี่ยนไป ดีลโชว์ให้มาแสดงที่ไทยง่ายขึ้นจริง เพราะการขายโชว์กลายมาเป็นรายได้หลักของศิลปิน แต่เศรษฐกิจในบ้านเราไม่ดีมาหลายปี เรื่องนี้มีผลกระทบกับการจัดโชว์อยู่แล้ว คนจ่ายเงินเข้ามาซื้อคอนเสิร์ตน้อยลง แต่กลุ่มเป้าหมายกว้างขึ้น เราเป็นผู้จัดที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เราเป็นคนดนตรีที่ไม่เน้นกำไร แค่อยากให้คนไทยได้ดูโชว์ดีๆ จากระดับโลก แต่แน่นอนเราทำธุรกิจ เรื่องขาดทุน กำไร เป็นเรื่องสำคัญ แต่เราคิดแค่ว่าไม่ขาดทุนมากก็พอแล้ว แลกกับการที่พี่ๆ น้องๆ ในบ้านเราได้มีโอกาสเจอศิลปินตัวเป็น ๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากตัวศิลปินเพื่อพัฒนาความสามารถของคนไทยเอง เพราะตัว PMG เราทำเรื่อง ด้านการศึกษาด้วย เราจึงไม่ได้คาดหวังเรื่องจะขายโชว์อย่างเดียว”
“เราเหมือนเป็นตัวแทนคนดนตรี ที่จะหวังสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนยุคหลัง ที่เข้ามาชมคอนเสิร์ตแล้วได้อะไรกลับไป มากกว่าแค่ใช้เวลา enjoy กับช่วงเวลานั้น ตลอดระยะเวลาที่ได้จัดคอนเสิร์ต ภาพที่เห็นคนได้รับอะไรใหม่ ๆ กลับไปจึงเป็นภาพที่ดีที่สุดของเรา ตอนที่เราจัด Dream Theater ครั้งแรกที่อิมแพ็ค ตอนนั้นก็กลัวเจ๊งอยู่นะ รู้สึกจะเป็นโชว์ที่สอง ที่ได้จัดด้วย ตอนนั้นหลายคนก็เป็นห่วงว่าจะไหวเหรอจัดใหญ่มาก กลัวบริษัทจะล้มละลายอยู่เหมือนกัน สรุปบัตรขายหมดเกลี้ยง และกลายเป็นโชว์ที่เราประทับใจที่สุด การที่ได้เห็นแฟนๆ ดีใจ จนน้ำตาไหล ภาพที่แฟนๆมาจากทุกสารทิศ ถึงขนาดมีมากันเป็นรถทัวร์ยังกับ แห่ผ้าป่าไรอย่างนั้น เป็นภาพที่เราประทับใจมาก ๆ เราเปรียบเหมือนตัวแทนแฟน ๆ จริง ๆ ”
ที่มา : https://gmlive.com/a-guide-to-dealing-concert