"Only the Brave" เป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่สร้างจากเรื่องจริง ซึ่งครั้งนี้ Hollywood เลือกจับเอาเรื่องราวของ
"นักผจญเพลิง" หน่วย
"Granite Mountain Hotshots" ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าที่มีผลงานดับไฟป่า ป้องกันสมบัติชาติและประชาชนมาแล้วครับ และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ Granite Mountain Hotshots เติบโตจากการเป็นหน่วยปฏิบัติการระดับท้องถิ่นเท่านั้น ก่อนจะได้รับการยอมรับและยกย่องในความสามารถจากทั่วประเทศในเวลาต่อมา
"Only the Brave" เข้าฉายที่สหรัฐฯ ไปแล้ว และได้รับคำวิจารณ์ที่ค่อนข้างดี คะแนน Rotten Tomatoes ตอนนี้อยู่ที่ 90% โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 7.4 ซึ่งคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังโดนใจนักวิจารณ์กัน เพราะการเลือกเล่าชีวิตของนักผจญเพลิง อาชีพหนึ่งที่สังคมอเมริกันยกย่องให้เป็น "ฮีโร่" ดังนั้น ก่อนที่ Only the Brave จะเข้าฉายในไทยวันที่ 9 พ.ย. นี้ กระทู้นี้จะขอพาไปทำความรู้จักกับนักผจญเพลิงป่าของสหรัฐฯ กัน เพื่อเพิ่มความอินและเข้าใจในเรื่องราวของหนังมากยิ่งขึ้น
ระบบการควบคุมไฟป่าในสหรัฐฯ
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ประสบปัญหาไฟป่าเป็นประจำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันตกของประเทศ ที่เกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปีจนมีฤดูที่เรียกกันว่า
"ฤดูไฟป่า"(ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. ของทุกปี) ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทำให้ต้นไม้เสียดสีกัน รวมไปถึงฟ้าผ่า บวกกับกระแสลมแรงและสภาพป่าแห่ง กลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่ทำให้ไฟป่าในสหรัฐฯ มีความรุนแรงอยู่เสมอ ด้วยภาวะเช่นนี้ ทำให้ในสหรัฐฯ มีการจัดตั้งหน่วยงานควบคุมไฟป่าโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากหน่วยงานควบคุมเพลิงอาคาร
หน่วยควบคุมไฟป่าของสหรัฐมีทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง รัฐบาลมลรัฐ ไปจนถึงรัฐบาลท้องถิ่น อย่างพวกเทศบาลบางแห่งก็มีหน่วยควบคุมไฟป่าของตัวเองเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกหน่วยจะมีอำนาจหรือภารกิจที่เหมือนกันไปซะหมด หน่วยงานควบคุมไฟป่าของสหรัฐฯ จะถูกควบคุมโดยระบบการประเมินผล ซึ่งจะจำแนกหน่วยงานต่างๆ ออกเป็นขั้นๆ หน่วยงานที่อยู่ในขั้นสูงกว่าจะได้รับมอบหมายภารกิจที่อันตรายและต้องใช้ความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น โดยที่ระดับสูงสุดที่นักผจญเพลิงป่าทุกคนอยากไปให้ถึงก็คือ
"Hotshot"
"ตำแหน่ง Hotshot ของทีมนักผจญเพลิง เทียบเท่ากับหน่วยซีลแห่งโลกนักผจญเพลิง"
หน่วย Hotshot ประกอบด้วยนักผจญเพลิง 20 คน มีภารกิจหลักในการเป็นหน่วยภาคพื้นดิน เข้าควบคุมไฟป่าในพื้นที่เกิดเหตุโดยตรง นั่นทำให้หน่วยนี้เป็นหน่วยที่มีความเสี่ยงอันตรายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ไฟมากที่สุด ซึ่งใน Only the Brave เราจะได้พบกับเรื่องราวของหน่วย "Granite Moutain Hotshots" หนึ่งในหน่วย Hotshot มืออาชีพที่ผ่านภารกิจควบคุมไฟป่ามานับไม่ถ้วน และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น หน่วยนี้เป็นหน่วยควบคุมไฟป่าระดับเทศบาลหน่วยเดียวในสหรัฐฯ ที่ผ่านการประเมินจนได้เป็นหน่วย Hotshot
เขาดับไฟป่ากันอย่างไร
ตามความเข้าใจของเรา ไฟไหม้ก็ต้องดับด้วยน้ำสิ แต่สำหรับไฟป่าที่มีความรุนแรง กระจายวงกว้าง และลุกลามรวดเร็วมากกว่า การใช้น้ำอาจไม่ทันกาล (ไม่นับว่าในป่าจะไปหาน้ำจากไหนมาให้พออีก) ใน Only the Brave เราจะได้เห็นแนวทางการดับไฟป่าของหน่วย Granite Moutain Hotshots ที่ไม่ได้ใช้น้ำ แต่ใช้
"ไฟดับไฟ"
แทนที่จะราดน้ำ พวกเขาขุดดิน ตัดต้นไม้ เพื่อสร้างเส้นทางสกัดไฟ รวมถึงเผาป่าบางบริเวณเพื่อไม่ให้เหลือเชื้อเพลิงที่ไฟป่าจะลุกลามได้อีกต่อไป กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เมื่อกระแสลมอาจเปลี่ยนทิศได้ทุกเมื่อ จนสร้างเส้นสกัดไฟไม่ทัน หรือเพียงแต่พุ่มไม้ใบหญ้าที่หลุดรอดจากการเผาไปนิดเดียว ก็อาจเพียงพอให้ไฟป่าฝ่าไปได้เช่นกัน นี่ยังไม่รวมถึงอันตรายในป่า ทั้งสัตว์และแมลง ที่ทำให้อาชีพนักผจญเพลิงเป็นหนึ่งในอาชีพที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงมากทีเดียว
ฮีโร่ของสังคมอเมริกัน
หากเราดูพวกหนังหรือซีรีส์อเมริกัน จะเห็นว่าอาชีพนักผจญเพลิงนั้น เป็นหนึ่งอาชีพในฝัน และได้รับการยกย่องอย่างมากจากสังคม นอกเหนือจากชุดเครื่องแบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ค่อนข้างเท่แล้ว อาชีพนักผจญเพลิงในสหรัฐฯ ยังถูกมองว่าเป็นอาชีพที่กล้าหาญและเสียสละ จากการที่ต้องเสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยเหลือชีวิตคน ภารกิจของนักผจญเพลิงปัจจุบันก็ไม่ได้มีเพียงแต่การดับเพลิงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงงานกู้ชีพ กู้ภัย ต่างๆ เห็นได้จากตอนเกิดเหตุ 911 ที่นักผจญเพลิงเป็นหน่วยงานสำคัญที่เข้าไปกู้ภัยในพื้นที่ (แต่ขณะเดียวกันเหตุการณ์นั้นก็ทำให้มีนักผจญเพลิงเสียชีวิตไปมากเช่นกัน) ขณะเดียวกัน ด้วยความที่เหตุร้ายอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ทำให้นักผจญเพลิงต้องเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นหมายถึงการสละเวลาส่วนตัวหรือครอบครัวให้กับการช่วยเหลือสังคม
นอกจากนี้ ด้วยความที่หน่วยงานดับเพลิงในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่สังกัดท้องถิ่น และไม่ได้มีหน้าที่แค่ดับเพลิง แต่รวมถึงงานเล็กๆ น้อยๆ อย่างช่วยแมวจากต้นไม้ งูเข้าบ้าน คนจะโดดตึก หมาติดอยู่ในท่อ (งานพวกนี้ในไทยจะเป็นหน้าที่ของพวกมูลนิธิกู้ภัย) นั่นทำให้ ดับเพลิงในอเมริกาค่อนข้างใกล้ชิดกับคนในพื้นที่มากกว่าทหารหรือตำรวจ
สำหรับหน่วย Granite Mountain Hotshots แม้จะเป็นหน่วยควบคุมไฟป่า ที่ไม่ได้มีหน้าที่ดับไฟอาคารหรือกู้ภัยภายในเมือง แต่ก็จะเห็นว่าได้รับการยกย่องมากเหมือนกัน ด้วยความที่เมืองตั้งอยู่ใกล้กับป่า มีโอกาสจะเกิดไฟป่าได้ทุกเมื่อ และอีกส่วนสำคัญอาจเพราะหน่วยนี้เกิดจากการริเริ่มของเทศบาล ทำให้คนในชุมชนรู้สึกเสมือนว่าพวกเขาเป็นครอบครัวเดียวกัน ยิ่งเมื่อหน่วยสามารถก้าวถึงการเป็น Hotshots ยิ่งทำให้คนทั้งเมืองยิ่งภาคภูมิใจเข้าไปใหญ่
หน่วยควบคุมไฟป่าในไทย
ทิ้งท้ายด้วยประเทศไทย บ้านเราก็มีการจัดตั้งหน่วยควบคุมไฟป่าเหมือนกัน สังกัดอยู่กับหน่วยส่งเสริมควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ ซึ่งมีหลายแห่งทั่วประเทศ และมีชื่อเรียกเฉพาะหน่วยว่า
"หน่วยเหยี่ยวไฟ" ทั้งนี้ ประเทศไทยเองก็มีความเสี่ยงการเกิดไฟป่าในฤดูร้อนพอควร โดยเฉพาะพื้นที่ป่าทางภาคกลางตอนบนไปจนถึงภาคเหนือ นี่ยังไม่รวมถึงไฟป่าที่เกิดจากฝีมือคนอีก
วิธีการทำงานของหน่วยควบคุมไฟป่าในไทยกับสหรัฐฯ คงแตกต่างกันบ้างด้วยปัจจัยด้านลักษณะพื้นที่และผืนป่าที่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่วิธีการป้องกันไฟป่าต่างๆ ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กันได้ ส่วนที่ต่างจริงๆ น่าจะเป็นโครงสร้างหน่วยงาน ที่ของบ้านเราเหมือนจะสังกัดกับส่วนกลางเป็นหลัก (แต่ถ้าเป็นกรณีดับเพลิงอาคารเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้มีที่สังกัดกับท้องถิ่นด้วย) นอกจากนั้น คนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับหน่วยควบคุมไฟป่าบ้านเรามากนัก คงจะดีถ้าอาชีพนี้จะได้รับการพูดถึงและยอมรับ แบบเดียวที่ Only the Brave สดุดีวีรบุรุษของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ได้เพียงแค่ดับไฟป่า หากแต่ยังเป็นการทั้งปกป้องป่า ปกป้องสัตว์ป่า ปกป้องระบบนิเวศน์ และปกป้องพวกเราไปด้วยในตัว
"Only the Brave" น่าจะเป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตนักผจญเพลิงป่าได้ดียิ่งขึ้น ได้รู้ว่าพวกเขาทำงานกันอย่างไร ต้องสู้กับอะไรบ้าง และคนในสังคมคิดเห็นอย่างไรกับอาชีพนี้ ใครสนใจหนังแนวสร้างจากเรื่องจริง หรืออยากรู้เรื่องนักผจญเพลิงในอเมริกา ก็ไม่ควรพลาดครับ แค่ไปดูดาราที่รวบรวมมือดีไว้หลายคนก็คุ้มแล้ว ไม่แน่เราอาจจะได้เห็นหนังเรื่องนี้ในเวที Oscars ปีหน้าก็ได้
[Preview] Only the Brave - รู้จัก "นักผจญเพลิง" ในอเมริกา อาชีพที่หลายคนยกให้เป็น "ฮีโร่"
"Only the Brave" เป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่สร้างจากเรื่องจริง ซึ่งครั้งนี้ Hollywood เลือกจับเอาเรื่องราวของ "นักผจญเพลิง" หน่วย "Granite Mountain Hotshots" ชุดปฏิบัติการดับไฟป่าที่มีผลงานดับไฟป่า ป้องกันสมบัติชาติและประชาชนมาแล้วครับ และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ Granite Mountain Hotshots เติบโตจากการเป็นหน่วยปฏิบัติการระดับท้องถิ่นเท่านั้น ก่อนจะได้รับการยอมรับและยกย่องในความสามารถจากทั่วประเทศในเวลาต่อมา
"Only the Brave" เข้าฉายที่สหรัฐฯ ไปแล้ว และได้รับคำวิจารณ์ที่ค่อนข้างดี คะแนน Rotten Tomatoes ตอนนี้อยู่ที่ 90% โดยมีคะแนนเฉลี่ยที่ 7.4 ซึ่งคิดว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังโดนใจนักวิจารณ์กัน เพราะการเลือกเล่าชีวิตของนักผจญเพลิง อาชีพหนึ่งที่สังคมอเมริกันยกย่องให้เป็น "ฮีโร่" ดังนั้น ก่อนที่ Only the Brave จะเข้าฉายในไทยวันที่ 9 พ.ย. นี้ กระทู้นี้จะขอพาไปทำความรู้จักกับนักผจญเพลิงป่าของสหรัฐฯ กัน เพื่อเพิ่มความอินและเข้าใจในเรื่องราวของหนังมากยิ่งขึ้น
สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ประสบปัญหาไฟป่าเป็นประจำ โดยเฉพาะทางภาคตะวันตกของประเทศ ที่เกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปีจนมีฤดูที่เรียกกันว่า "ฤดูไฟป่า"(ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. ของทุกปี) ซึ่งเกิดจากความแห้งแล้งทำให้ต้นไม้เสียดสีกัน รวมไปถึงฟ้าผ่า บวกกับกระแสลมแรงและสภาพป่าแห่ง กลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่ทำให้ไฟป่าในสหรัฐฯ มีความรุนแรงอยู่เสมอ ด้วยภาวะเช่นนี้ ทำให้ในสหรัฐฯ มีการจัดตั้งหน่วยงานควบคุมไฟป่าโดยเฉพาะ แยกต่างหากจากหน่วยงานควบคุมเพลิงอาคาร
หน่วยควบคุมไฟป่าของสหรัฐมีทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง รัฐบาลมลรัฐ ไปจนถึงรัฐบาลท้องถิ่น อย่างพวกเทศบาลบางแห่งก็มีหน่วยควบคุมไฟป่าของตัวเองเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าทุกหน่วยจะมีอำนาจหรือภารกิจที่เหมือนกันไปซะหมด หน่วยงานควบคุมไฟป่าของสหรัฐฯ จะถูกควบคุมโดยระบบการประเมินผล ซึ่งจะจำแนกหน่วยงานต่างๆ ออกเป็นขั้นๆ หน่วยงานที่อยู่ในขั้นสูงกว่าจะได้รับมอบหมายภารกิจที่อันตรายและต้องใช้ความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น โดยที่ระดับสูงสุดที่นักผจญเพลิงป่าทุกคนอยากไปให้ถึงก็คือ "Hotshot"
"ตำแหน่ง Hotshot ของทีมนักผจญเพลิง เทียบเท่ากับหน่วยซีลแห่งโลกนักผจญเพลิง"
หน่วย Hotshot ประกอบด้วยนักผจญเพลิง 20 คน มีภารกิจหลักในการเป็นหน่วยภาคพื้นดิน เข้าควบคุมไฟป่าในพื้นที่เกิดเหตุโดยตรง นั่นทำให้หน่วยนี้เป็นหน่วยที่มีความเสี่ยงอันตรายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ไฟมากที่สุด ซึ่งใน Only the Brave เราจะได้พบกับเรื่องราวของหน่วย "Granite Moutain Hotshots" หนึ่งในหน่วย Hotshot มืออาชีพที่ผ่านภารกิจควบคุมไฟป่ามานับไม่ถ้วน และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น หน่วยนี้เป็นหน่วยควบคุมไฟป่าระดับเทศบาลหน่วยเดียวในสหรัฐฯ ที่ผ่านการประเมินจนได้เป็นหน่วย Hotshot
ตามความเข้าใจของเรา ไฟไหม้ก็ต้องดับด้วยน้ำสิ แต่สำหรับไฟป่าที่มีความรุนแรง กระจายวงกว้าง และลุกลามรวดเร็วมากกว่า การใช้น้ำอาจไม่ทันกาล (ไม่นับว่าในป่าจะไปหาน้ำจากไหนมาให้พออีก) ใน Only the Brave เราจะได้เห็นแนวทางการดับไฟป่าของหน่วย Granite Moutain Hotshots ที่ไม่ได้ใช้น้ำ แต่ใช้ "ไฟดับไฟ"
แทนที่จะราดน้ำ พวกเขาขุดดิน ตัดต้นไม้ เพื่อสร้างเส้นทางสกัดไฟ รวมถึงเผาป่าบางบริเวณเพื่อไม่ให้เหลือเชื้อเพลิงที่ไฟป่าจะลุกลามได้อีกต่อไป กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เมื่อกระแสลมอาจเปลี่ยนทิศได้ทุกเมื่อ จนสร้างเส้นสกัดไฟไม่ทัน หรือเพียงแต่พุ่มไม้ใบหญ้าที่หลุดรอดจากการเผาไปนิดเดียว ก็อาจเพียงพอให้ไฟป่าฝ่าไปได้เช่นกัน นี่ยังไม่รวมถึงอันตรายในป่า ทั้งสัตว์และแมลง ที่ทำให้อาชีพนักผจญเพลิงเป็นหนึ่งในอาชีพที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงมากทีเดียว
หากเราดูพวกหนังหรือซีรีส์อเมริกัน จะเห็นว่าอาชีพนักผจญเพลิงนั้น เป็นหนึ่งอาชีพในฝัน และได้รับการยกย่องอย่างมากจากสังคม นอกเหนือจากชุดเครื่องแบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ค่อนข้างเท่แล้ว อาชีพนักผจญเพลิงในสหรัฐฯ ยังถูกมองว่าเป็นอาชีพที่กล้าหาญและเสียสละ จากการที่ต้องเสี่ยงชีวิตเข้าไปช่วยเหลือชีวิตคน ภารกิจของนักผจญเพลิงปัจจุบันก็ไม่ได้มีเพียงแต่การดับเพลิงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงงานกู้ชีพ กู้ภัย ต่างๆ เห็นได้จากตอนเกิดเหตุ 911 ที่นักผจญเพลิงเป็นหน่วยงานสำคัญที่เข้าไปกู้ภัยในพื้นที่ (แต่ขณะเดียวกันเหตุการณ์นั้นก็ทำให้มีนักผจญเพลิงเสียชีวิตไปมากเช่นกัน) ขณะเดียวกัน ด้วยความที่เหตุร้ายอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ทำให้นักผจญเพลิงต้องเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นหมายถึงการสละเวลาส่วนตัวหรือครอบครัวให้กับการช่วยเหลือสังคม
นอกจากนี้ ด้วยความที่หน่วยงานดับเพลิงในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่สังกัดท้องถิ่น และไม่ได้มีหน้าที่แค่ดับเพลิง แต่รวมถึงงานเล็กๆ น้อยๆ อย่างช่วยแมวจากต้นไม้ งูเข้าบ้าน คนจะโดดตึก หมาติดอยู่ในท่อ (งานพวกนี้ในไทยจะเป็นหน้าที่ของพวกมูลนิธิกู้ภัย) นั่นทำให้ ดับเพลิงในอเมริกาค่อนข้างใกล้ชิดกับคนในพื้นที่มากกว่าทหารหรือตำรวจ
สำหรับหน่วย Granite Mountain Hotshots แม้จะเป็นหน่วยควบคุมไฟป่า ที่ไม่ได้มีหน้าที่ดับไฟอาคารหรือกู้ภัยภายในเมือง แต่ก็จะเห็นว่าได้รับการยกย่องมากเหมือนกัน ด้วยความที่เมืองตั้งอยู่ใกล้กับป่า มีโอกาสจะเกิดไฟป่าได้ทุกเมื่อ และอีกส่วนสำคัญอาจเพราะหน่วยนี้เกิดจากการริเริ่มของเทศบาล ทำให้คนในชุมชนรู้สึกเสมือนว่าพวกเขาเป็นครอบครัวเดียวกัน ยิ่งเมื่อหน่วยสามารถก้าวถึงการเป็น Hotshots ยิ่งทำให้คนทั้งเมืองยิ่งภาคภูมิใจเข้าไปใหญ่
ทิ้งท้ายด้วยประเทศไทย บ้านเราก็มีการจัดตั้งหน่วยควบคุมไฟป่าเหมือนกัน สังกัดอยู่กับหน่วยส่งเสริมควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ ซึ่งมีหลายแห่งทั่วประเทศ และมีชื่อเรียกเฉพาะหน่วยว่า "หน่วยเหยี่ยวไฟ" ทั้งนี้ ประเทศไทยเองก็มีความเสี่ยงการเกิดไฟป่าในฤดูร้อนพอควร โดยเฉพาะพื้นที่ป่าทางภาคกลางตอนบนไปจนถึงภาคเหนือ นี่ยังไม่รวมถึงไฟป่าที่เกิดจากฝีมือคนอีก
วิธีการทำงานของหน่วยควบคุมไฟป่าในไทยกับสหรัฐฯ คงแตกต่างกันบ้างด้วยปัจจัยด้านลักษณะพื้นที่และผืนป่าที่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่วิธีการป้องกันไฟป่าต่างๆ ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กันได้ ส่วนที่ต่างจริงๆ น่าจะเป็นโครงสร้างหน่วยงาน ที่ของบ้านเราเหมือนจะสังกัดกับส่วนกลางเป็นหลัก (แต่ถ้าเป็นกรณีดับเพลิงอาคารเข้าใจว่าเดี๋ยวนี้มีที่สังกัดกับท้องถิ่นด้วย) นอกจากนั้น คนไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ค่อยได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับหน่วยควบคุมไฟป่าบ้านเรามากนัก คงจะดีถ้าอาชีพนี้จะได้รับการพูดถึงและยอมรับ แบบเดียวที่ Only the Brave สดุดีวีรบุรุษของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ได้เพียงแค่ดับไฟป่า หากแต่ยังเป็นการทั้งปกป้องป่า ปกป้องสัตว์ป่า ปกป้องระบบนิเวศน์ และปกป้องพวกเราไปด้วยในตัว
"Only the Brave" น่าจะเป็นหนังอีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจชีวิตนักผจญเพลิงป่าได้ดียิ่งขึ้น ได้รู้ว่าพวกเขาทำงานกันอย่างไร ต้องสู้กับอะไรบ้าง และคนในสังคมคิดเห็นอย่างไรกับอาชีพนี้ ใครสนใจหนังแนวสร้างจากเรื่องจริง หรืออยากรู้เรื่องนักผจญเพลิงในอเมริกา ก็ไม่ควรพลาดครับ แค่ไปดูดาราที่รวบรวมมือดีไว้หลายคนก็คุ้มแล้ว ไม่แน่เราอาจจะได้เห็นหนังเรื่องนี้ในเวที Oscars ปีหน้าก็ได้