สมรภูมิค้าปลีกโคราชส่อโอเวอร์ซัพพลาย หลังยักษ์ใหญ่ “เซ็นทรัล พลาซา” ปักธงเปิดบริการ ชู “มิกซ์ยูส” ดึงลูกค้า หนุนพื้นที่ค้าปลีกรวมพุ่งเกือบ “1 ล้านตร.ม.”
นครราชสีมา หรือ เมืองโคราช ประตูสู่ “ภาคอีสาน” มีประชากรอันดับ 2 ของไทยรองจากกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาคเชื่อมเพื่อนบ้านซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยรัฐบาลมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพิ่มศักยภาพของการเป็นเมืองหน้าด่าน ทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟทางคู่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมา โครงการเปิดเส้นทางบินพาณิชย์ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา นิคมอุตสาหกรรมการบินโคราช ฯลฯ ปัจจัยบวกเหล่านี้ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาปักหลักสร้างฐานธุรกิจอย่างต่อเนื่องรองรับโอกาสแห่งอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่เป็นสนามแข่งขันของ 3 ยักษ์ใหญ่ เดอะมอลล์ เทอร์มินอล 21 ล่าสุด “เซ็นทรัล พลาซา” ได้ฤกษ์เปิดบริการหลังเคยมีแผนเข้าลงทุนเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น กล่าวว่า เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เป็น “มิกซ์ยูสโปรเจค” รองรับผู้บริโภคครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกระดับ วางเป้าหมายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัด นำเสนอและสร้างประสบการณ์ใหม่ชาวโคราช พร้อมกระตุ้นธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายใต้ธีม Korat Illuminant Festival แสดงแสง สี เสียงในรูปแบบอินเตอร์แรคทีฟ พร้อมแคมเปญโปรโมชั่นจากร้านค้าแฟชั่นและร้านอาหารกว่า 500 ร้าน
เซ็นทรัล พลาซา โคราช พัฒนาภายใต้คอนเซปต์ “Seasons of Life” ตกแต่งธีม 5 ฤดูกาล โดยจำลองเอกลักษณ์ของภาคอีสาน อาทิ ผาเก็บตะวัน สามพันโบก น้ำตกแสงจันทร์ สร้างประสบการณ์เอาท์ดอร์ เช่น พื้นที่พักผ่อนลานเมือง เดิ่นคนชุม และ ตลาดด๊ะดาด ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ต
ตลาดจ่อโอเวอร์ซัพพลาย
นายไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า เดอะมอลล์ นครราชสีมา ได้ขยายพื้นที่ด้านหลังเพิ่ม 30 ไร่ พัฒนาภายใต้ชื่อ “ลำตะคอง วิลเลจ” เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ของชาวโคราช โดยมีไฮไทล์ที่ “ฟู้ดทรัก” 50-60 คัน ให้บริการประชาชน
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ เดอะมอลล์ ได้ใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ขยายพื้นที่และพลิกโฉม “เดอะมอลล์ นครราชสีมา”ภายใต้คอนเซปต์มหานครหฤหรรษ์แห่งอีสาน (THE GREATEST KINGDOM OF HAPPINESS IN ISAN) ขยายพื้นที่รวมเป็นกว่า 3.5 แสนตร.ม.ตอกย้ำความเป็นอภิมหาอาณาจักรห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้ายิ่งใหญ่และครบวงจรที่สุดในภาคอีสาน
เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของแม่เหล็ก ทั้งการรวบรวมแฟชั่นระดับโลกและไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่กว่า 1 แสนตร.ม. รวม 500 ร้านค้า เพิ่มแบรนด์แฟชั่นและกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ รองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ขนาด 5.5 หมื่นตร.ม. กูร์เมต์ มาร์เก็ต ศูนย์รวมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ “วันเดอร์กราวด์” กว่า 200 ร้านค้า ใน 7 โซนถนนแห่งแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ พร้อมบันเทิงและเอ็นเตอร์เทนเมนท์ สโนว์แอนด์ไอซ์แพลเน็ตแอนด์เดอะริงก์ สวนน้ำ แฟนตาเซีย ลากูน, โคราช ซีนีเพล็กซ์ บาย เมเจอร์ กรุ๊ป และฟิตเนสเฟิร์ส
“ต้องยอมรับว่าตลาดค้าปลีกโคราชค่อนข้างโอเวอร์ซัพพลาย ต้องใช้เวลารอกำลังซื้อเติบโต”
แข็งแรงที่สุดได้เปรียบ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคู่แข่งเพิ่มเข้ามาในตลาดถือเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันที่ทำให้กำลังซื้อกระจายตัวออกไป แต่เชื่อว่า ผู้แข็งแรงที่สุดย่อมได้เปรียบภายใต้การพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาศูนย์การค้าแบบไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเน้นความครบวงจร และความเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เปี่ยมเสน่ห์ หรือTourist Attraction เพื่อคงความเป็น “เบอร์1” ในหัวใจของคนโคราชและลูกค้ารัสมีโดยรอบ
ปัจจุบันเดอะมอลล์ โคราช มีลูกค้าหมุนเวียนเฉลี่ยมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน ในอนาคต ยังมีแผนพัฒนาโครงการต่อเนื่องในรูปแบบ “มิกซ์ยูส” เสริมความแข็งแกร่งให้โครงการมีความครบวงจรยิ่งขึ้น
เตรียมลงทุนโรงแรมเสริมแกร่ง
สำหรับศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ได้มีการพัฒนาและขยายสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าใช้บริการ ล่าสุดอยู่ระหว่างก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามบริเวณด้านหน้าเอื้อต่อการเดินทางเข้าถึงเทอร์มินอล 21 ได้สะดวก
นอกจากนี้อยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนต่อเนื่องตามแผนพัฒนาโครงการโรงแรมขนาด 300 ห้อง เพื่อเพิ่มความครบวงจรให้กับโครงการ รองรับลูกค้าเป้าหมายกลุ่มนักธุรกิจ ผู้บริหารชาวต่างชาติ ซึ่งโคราชเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีการขยายตัวของภาคการค้า การลงทุน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงนักเดินทาง นักท่องเที่ยว อีกด้วย
พื้นที่แตะเกือบ “ล้านตร.ม.”
นักวิเคราะห์ในธุรกิจค้าปลีก กล่าวว่า พื้นที่ค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมารวม 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ มีปริมาณเกือบ 1 ล้านตร.ม. ถือว่าสูงมาก โดยแต่ละรายมีขนาดการลงทุนใหญ่ พัฒนาพื้นที่หลัก 2-3 แสนตร.ม. เทียบได้กับศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะย่านราชประสงค์ หรือย่านสยาม แหล่งชอปปิงมอลล์ขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ
“กำลังซื้อโคราชไม่หวือหวา ซึ่งอำนาจซื้อของลูกค้าต่างจังหวัดยังเทียบกรุงเทพฯ ไม่ได้ ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาสนับสนุนการทำตลาด ที่ผ่านมาตลาดค้าปลีกโคราชปริ่มๆ มาตลอด เวลานี้เข้าขั้นโอเวอร์ซัพพลาย"
ทั้งนี้ แม้โคราชจะเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภาคอีสานและเป็นตลาดนักท่องเที่ยว แต่ในเชิงปริมาณของนักท่องเที่ยวเทียบไม่ได้กับกรุงเทพฯ ขณะที่กำลังซื้อท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดชะลอตัว
JJNY : เสดตะกิดต้มกบดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ค้าปลีกโคราชส่อ ‘โอเวอร์ซัพพลาย’ พื้นที่ล้น ‘ล้านตร.ม.’
นครราชสีมา หรือ เมืองโคราช ประตูสู่ “ภาคอีสาน” มีประชากรอันดับ 2 ของไทยรองจากกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาคเชื่อมเพื่อนบ้านซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยรัฐบาลมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพิ่มศักยภาพของการเป็นเมืองหน้าด่าน ทั้งโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา รถไฟทางคู่ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองมอเตอร์เวย์ บางปะอิน-นครราชสีมา โครงการเปิดเส้นทางบินพาณิชย์ที่ท่าอากาศยานนครราชสีมา นิคมอุตสาหกรรมการบินโคราช ฯลฯ ปัจจัยบวกเหล่านี้ดึงดูดนักลงทุนเข้ามาปักหลักสร้างฐานธุรกิจอย่างต่อเนื่องรองรับโอกาสแห่งอนาคต โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกที่เป็นสนามแข่งขันของ 3 ยักษ์ใหญ่ เดอะมอลล์ เทอร์มินอล 21 ล่าสุด “เซ็นทรัล พลาซา” ได้ฤกษ์เปิดบริการหลังเคยมีแผนเข้าลงทุนเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน
นายปรีชา เอกคุณากูล กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น กล่าวว่า เซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เป็น “มิกซ์ยูสโปรเจค” รองรับผู้บริโภคครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกระดับ วางเป้าหมายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัด นำเสนอและสร้างประสบการณ์ใหม่ชาวโคราช พร้อมกระตุ้นธุรกิจการค้าและเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้จัดงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายใต้ธีม Korat Illuminant Festival แสดงแสง สี เสียงในรูปแบบอินเตอร์แรคทีฟ พร้อมแคมเปญโปรโมชั่นจากร้านค้าแฟชั่นและร้านอาหารกว่า 500 ร้าน
เซ็นทรัล พลาซา โคราช พัฒนาภายใต้คอนเซปต์ “Seasons of Life” ตกแต่งธีม 5 ฤดูกาล โดยจำลองเอกลักษณ์ของภาคอีสาน อาทิ ผาเก็บตะวัน สามพันโบก น้ำตกแสงจันทร์ สร้างประสบการณ์เอาท์ดอร์ เช่น พื้นที่พักผ่อนลานเมือง เดิ่นคนชุม และ ตลาดด๊ะดาด ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ต
ตลาดจ่อโอเวอร์ซัพพลาย
นายไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า เดอะมอลล์ นครราชสีมา ได้ขยายพื้นที่ด้านหลังเพิ่ม 30 ไร่ พัฒนาภายใต้ชื่อ “ลำตะคอง วิลเลจ” เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแห่งใหม่ของชาวโคราช โดยมีไฮไทล์ที่ “ฟู้ดทรัก” 50-60 คัน ให้บริการประชาชน
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ เดอะมอลล์ ได้ใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ขยายพื้นที่และพลิกโฉม “เดอะมอลล์ นครราชสีมา”ภายใต้คอนเซปต์มหานครหฤหรรษ์แห่งอีสาน (THE GREATEST KINGDOM OF HAPPINESS IN ISAN) ขยายพื้นที่รวมเป็นกว่า 3.5 แสนตร.ม.ตอกย้ำความเป็นอภิมหาอาณาจักรห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้ายิ่งใหญ่และครบวงจรที่สุดในภาคอีสาน
เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของแม่เหล็ก ทั้งการรวบรวมแฟชั่นระดับโลกและไลฟ์สไตล์ บนพื้นที่กว่า 1 แสนตร.ม. รวม 500 ร้านค้า เพิ่มแบรนด์แฟชั่นและกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ รองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ ขนาด 5.5 หมื่นตร.ม. กูร์เมต์ มาร์เก็ต ศูนย์รวมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ “วันเดอร์กราวด์” กว่า 200 ร้านค้า ใน 7 โซนถนนแห่งแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ พร้อมบันเทิงและเอ็นเตอร์เทนเมนท์ สโนว์แอนด์ไอซ์แพลเน็ตแอนด์เดอะริงก์ สวนน้ำ แฟนตาเซีย ลากูน, โคราช ซีนีเพล็กซ์ บาย เมเจอร์ กรุ๊ป และฟิตเนสเฟิร์ส
“ต้องยอมรับว่าตลาดค้าปลีกโคราชค่อนข้างโอเวอร์ซัพพลาย ต้องใช้เวลารอกำลังซื้อเติบโต”
แข็งแรงที่สุดได้เปรียบ
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคู่แข่งเพิ่มเข้ามาในตลาดถือเป็นเรื่องปกติของการแข่งขันที่ทำให้กำลังซื้อกระจายตัวออกไป แต่เชื่อว่า ผู้แข็งแรงที่สุดย่อมได้เปรียบภายใต้การพัฒนาและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาศูนย์การค้าแบบไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเน้นความครบวงจร และความเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เปี่ยมเสน่ห์ หรือTourist Attraction เพื่อคงความเป็น “เบอร์1” ในหัวใจของคนโคราชและลูกค้ารัสมีโดยรอบ
ปัจจุบันเดอะมอลล์ โคราช มีลูกค้าหมุนเวียนเฉลี่ยมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน ในอนาคต ยังมีแผนพัฒนาโครงการต่อเนื่องในรูปแบบ “มิกซ์ยูส” เสริมความแข็งแกร่งให้โครงการมีความครบวงจรยิ่งขึ้น
เตรียมลงทุนโรงแรมเสริมแกร่ง
สำหรับศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช ได้มีการพัฒนาและขยายสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าใช้บริการ ล่าสุดอยู่ระหว่างก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามบริเวณด้านหน้าเอื้อต่อการเดินทางเข้าถึงเทอร์มินอล 21 ได้สะดวก
นอกจากนี้อยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนต่อเนื่องตามแผนพัฒนาโครงการโรงแรมขนาด 300 ห้อง เพื่อเพิ่มความครบวงจรให้กับโครงการ รองรับลูกค้าเป้าหมายกลุ่มนักธุรกิจ ผู้บริหารชาวต่างชาติ ซึ่งโคราชเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีการขยายตัวของภาคการค้า การลงทุน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงนักเดินทาง นักท่องเที่ยว อีกด้วย
พื้นที่แตะเกือบ “ล้านตร.ม.”
นักวิเคราะห์ในธุรกิจค้าปลีก กล่าวว่า พื้นที่ค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมารวม 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ มีปริมาณเกือบ 1 ล้านตร.ม. ถือว่าสูงมาก โดยแต่ละรายมีขนาดการลงทุนใหญ่ พัฒนาพื้นที่หลัก 2-3 แสนตร.ม. เทียบได้กับศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะย่านราชประสงค์ หรือย่านสยาม แหล่งชอปปิงมอลล์ขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ
“กำลังซื้อโคราชไม่หวือหวา ซึ่งอำนาจซื้อของลูกค้าต่างจังหวัดยังเทียบกรุงเทพฯ ไม่ได้ ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาสนับสนุนการทำตลาด ที่ผ่านมาตลาดค้าปลีกโคราชปริ่มๆ มาตลอด เวลานี้เข้าขั้นโอเวอร์ซัพพลาย"
ทั้งนี้ แม้โคราชจะเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภาคอีสานและเป็นตลาดนักท่องเที่ยว แต่ในเชิงปริมาณของนักท่องเที่ยวเทียบไม่ได้กับกรุงเทพฯ ขณะที่กำลังซื้อท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดชะลอตัว