การที่จะตอบว่าตายแล้วไปเกิดหรือไม่อย่างไร ? กรรมที่ทำไว้ตามไปด้วยหรือไม่? ถ้าจะลองหาคำตอบตามพุทธพจน์ดู ผมก็ยังไม่ทราบว่าจะถูกต้องเป็นประการใด ก็คงให้ผู้รู้ช่วยพิจารณาและให้คำแนะนำดังนี้ครับ
ถ้าถามว่าตายแล้วไปเกิดหรือไม่อย่างไร ? ถ้าจะตอบตามพุทธพจน์ดังนี้ครับ
ตัณหา คือ “เชื้อแห่งการเกิด สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ (สอุปาทานสฺส) ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
วัจฉะ ! เปรียบเหมือน ไฟที่มีเชื้อ ย่อมโพลงขึ้นได้ (อคฺคิ สอุปาทาโน ชลติ)ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน “พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล, สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ
วัจฉะ ! เพราะว่า สมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.“พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น, สมัยนั้นพระโคดม ย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่า มันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น เรากล่าว สัตว์นี้ ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อเพราะว่า สมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล.
ตายแล้วไปเกิดหรือไม่อย่างไร ? กรรมที่ทำไว้ตามไปด้วยหรือไม่ ?
ถ้าถามว่าตายแล้วไปเกิดหรือไม่อย่างไร ? ถ้าจะตอบตามพุทธพจน์ดังนี้ครับ
ตัณหา คือ “เชื้อแห่งการเกิด สฬา. สํ. ๑๘/๔๘๕/๘๐๐.
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ (สอุปาทานสฺส) ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน
วัจฉะ ! เปรียบเหมือน ไฟที่มีเชื้อ ย่อมโพลงขึ้นได้ (อคฺคิ สอุปาทาโน ชลติ)ที่ไม่มีเชื้อ ก็โพลงขึ้นไม่ได้อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น
วัจฉะ ! เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ที่ยังมีอุปาทานอยู่ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ที่ไม่มีอุปาทาน “พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล, สมัยนั้น พระโคดมย่อมบัญญัติซึ่งอะไรว่าเป็นเชื้อแก่เปลวไฟนั้น ถ้าถือว่ามันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด เปลวไฟ ถูกลมพัดหลุดปลิวไปไกล เราย่อมบัญญัติเปลวไฟนั้น ว่า มีลมนั่นแหละเป็นเชื้อ
วัจฉะ ! เพราะว่า สมัยนั้น ลมย่อมเป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.“พระโคดมผู้เจริญ ! ถ้าสมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น, สมัยนั้นพระโคดม ย่อมบัญญัติ ซึ่งอะไร ว่าเป็นเชื้อแก่สัตว์นั้น ถ้าถือว่า มันยังมีเชื้ออยู่ ?”
วัจฉะ ! สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ และยังไม่บังเกิดขึ้นด้วยกายอื่น เรากล่าว สัตว์นี้ ว่า มีตัณหานั่นแหละเป็นเชื้อเพราะว่า สมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น แล.