มองอนาคตไฟฟ้าไทยยุค 4.0 นวัตกรรมพลังงานเปลี่ยนโลก

มองอนาคตไฟฟ้าไทยยุค 4.0 นวัตกรรมพลังงานเปลี่ยนโลก
สแกนความพร้อมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับการขับเคลื่อนองค์กรในยุค Energy 4.0
พลังงานไทยกำลังพลิกโฉมครั้งใหญ่ หลังรัฐบาลประกาศโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ “Thailand 4.0” ภาคพลังงานไฟฟ้าที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงปรับนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น โดย กฟผ. เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ร่วมสร้างเศรษฐกิจให้เข้มแข็งด้วยนวัตกรรมพลังงาน

พัฒนาและเสริมศักยภาพพลังงานหมุนเวียน


กฟผ. จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนบนจุดเด่นที่ไม่ใช่จำนวนกำลังการผลิต แต่คำนึงถึงประโยชน์รอบด้านที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ คือ

ใช้เซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำในพื้นที่อ่างเก็บน้ำของ กฟผ. เพื่อมิให้กระทบพื้นที่การเกษตร และความเย็นของน้ำ
ยังช่วยลดความร้อนของแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น
ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์บนดินในพื้นที่โรงไฟฟ้า เขื่อน และสถานีไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. เป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
มุ่งเน้นโครงการพลังน้ำท้ายเขื่อน เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพด้านพลังน้ำที่มี
ศึกษาความเหมาะสมในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ควบคู่กับการวิจัยและพัฒนาความร่วมมือด้านการปลูกพืชพลังงานเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
นำระบบ Wind Hydrogen Hybrid ซึ่งเป็นระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมในรูปก๊าซไฮโดรเจน ก่อนที่จะแปลงกลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) โดยพลังงานไฟฟ้าจะนำมาใช้ภายในศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
แก้ปัญหาความไม่มั่นคงของพลังงานหมุนเวียนด้วยระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ซึ่ง กฟผ. ได้เริ่มพัฒนาแล้วที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ขนาด 21 เมกะวัตต์ และที่อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ขนาด 16 เมกะวัตต์ โดยทั้งสองจังหวัดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านพลังงานทดแทนสูง
ต้นแบบนวัตกรรมพลังงานในยุค Energy 4.0
รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle)
กฟผ. ร่วมกับ สวทช. พัฒนารถไฟฟ้าดัดแปลงมาตั้งแต่ปี 2553 โดยในระยะที่ 1 พ.ศ. 2553-2559 ได้ดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว รุ่น Honda Jazz ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า และขณะนี้อยู่ในระยะที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2562 ที่จะพัฒนาชุดประกอบรถไฟฟ้าดัดแปลงและคู่มือดัดแปลงเพื่อลดต้นทุน

Smart Grid อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
กฟผ. นำร่องโครงการสมาร์ทกริดที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้ระบบสารสนเทศมาบริหารจัดการการผลิตและส่งจ่ายไฟฟ้า โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ

1.Smart Energy พัฒนาด้านการจัดหาไฟฟ้า โดยติดตั้งโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 3 เมกะวัตต์ และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ที่สามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ 4 เมกะวัตต์ 15 นาที เพื่อรอระบบไฟฟ้าหลักเริ่มเดินเครื่อง (Start up) เป็นการแก้ปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

2. Smart System พัฒนาระบบควบคุมและระบบปฏิบัติการทางไฟฟ้าที่เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นและมีการบริหารจัดการกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

3. Smart City สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีระบบโครงข่ายสมาร์ทกริด

4. Smart Learning  ก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีสมาร์ทกริดให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและเป็นการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้คู่ชุมชนผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย

เมืองนิเวศแห่งความสุข EGAT Eco Plus+
20170626-ART01-05
กฟผ. จะเนรมิตพื้นที่ 300 ไร่ของสำนักงานใหญ่ กฟผ. ให้เป็นต้นแบบการเชื่องโยงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยสร้างสมดุลระหว่าง “โรงไฟฟ้า ป่านิเวศ และมนุษย์”

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. (EGAT Learning Center)
L4S Series Post-01
กฟผ. ได้รวบรวมองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมพลังงานไว้ในศูนย์การเรียนรู้กฟผ. 8 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพลังงานด้วยความเข้าใจของประชาชนอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันกำลังเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก หรือ Disruptive Technology กฟผ. จึงมุ่งนำนวัตกรรมมาดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและจากแนวทางในอนาคตของ กฟผ. จะเห็นว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเชื้อเพลิงหลัก โดยให้โรงไฟฟ้าหลักเป็นพี่เลี้ยงให้พลังงานทดแทนทยอยเข้าสู่ระบบได้อย่างราบรื่นไม่ให้ประเทศไทยต้องพบกับอาการป่วยจากโรคพลังงานอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบกับภาวะค่าไฟฟ้าสูงและระบบไฟฟ้าไม่เสถียร

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่