คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
หลงไปจิตนาการถึงอนัตตา
ไปนั่งจินตนาการ นอนจินตาการ เดินจินตนาการ ยืนจินตาการ
ถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ตนไม่เห็นอัตตาของตนก็จะไปเพิกเฉยต่ออัตตา
ก็นึกว่าตนไม่มีอัตตา
มันก็เลย เง่าเต่า ตุ่น
ไปนั่งจินตนาการ นอนจินตาการ เดินจินตนาการ ยืนจินตาการ
ถึงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ตนไม่เห็นอัตตาของตนก็จะไปเพิกเฉยต่ออัตตา
ก็นึกว่าตนไม่มีอัตตา
มันก็เลย เง่าเต่า ตุ่น
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
หลงธรรมะที่ปลายเหตุ
ธรรมะที่ต้นเหตุ สาเหตุ ไม่รู้ก็จะไปนึกถึง ความเป็นอนัตตา เลยหลง
ยกตัวอย่างเช่น กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ตนโกรธก็ไม่รู้ว่าโกรธ ตีแม่ ด้วยความโกรธ พอมารู้สึกตัวอีกทีแม่ตายแล้ว
เพราะตนไม่รู้จักกำหนดความโกรธ ปล่อยให้อารมณ์โกรธเกาะกินจิตใจ
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของ เรา ไม่เป็นเรา
ไปพูดปลายเหตุ แล้วต้นเหตุมาจากไหน สาเหตุมาจากไหน
รู้ว่าปลายเหตุเป็นแบบนี้แต่ไม่รู้ต้นเหตุ หลงทั้งนั้น
พระอรหันต์รู้จักกำหนดทุกข์ก็เลยเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ ก็เกิดนิโรธ ดับทุกข์ได้ตรงตัว
เพราะพระอรหันต์ กำหนดทุกข์ในตนเป็นอัตตา จึงกำหนดทุกข์ได้ในตน ไม่ใช่ทุกข์ในตัวผู้อื่น
ที่เป็นอนัตตา ทุกข์ผู้อื่นเป็นอนัตตาเพราะไปบังคับเขาไม่ได้ ทุกข์ของใครของมัน
พระอรหันต์กำหนดทุกของตนได้เพราะทุกข์ของตนคืออัตตาเฉพาะตน
ไม่ใช่อัตตาของคนอื่น อัตตาของใครของมันปนกันไม่ได้
พระอรหันต์จะทำให้อัตตาของตนหมดไปกลายเป็นอนัตตา
พระอรหันต์บังคับอัตตาของตนได้ ทุกข์ที่เป็นอัตตาของตน
พระอรหันต์ กำหนดให้หมดไปได้ก็เหลือแต่อนัตตา
ปุถุชนรู้จักกำหนดทุกข์ เพื่อให้เห็นสาเหตุของทุกข์
ฉนั้น การกำหนดทุกข์ของตน ไม่ใช่ทุกข์ของคนอื่น
เพื่อให้รู้ทุกข์ เกิดวิปัสสนาญาณ
จึงต้องกำหนดทุกข์ของตน ให้อยู่กับตน รู้ว่าตนทุกข์อยู่
เราไปนึกว่าทุกข์ไม่ใช่ตนเป็นอนัตตาก็เลยไม่รู้จักกำหนดทุกข์ ไม่เห็นทุกข์
ไม่รู้จักสาเหตุแห่งทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ แล้วไปรู้นิโรธเพื่ออะไร จะเอานิโรธไปดับอะไร
ไปรู้มรรคทำไม ในเมื่อไม่มีทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์เพราะทุกข์เป็นอนัตตา ไม่เห็นทุกข์
ทุกข์ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน ตนจะไปทุกข์ทำไม
ทุกข์เป็นตน เป็นของตน ทุกวันนี้จึงทุกข์
การรู้ว่าทุกข์เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตาอันไปพูดถึงปลายเหตุ
แต่ต้นเหตุยังไม่รู้ก็จะเอาปลายเหตุก็หลง ต้นเหตุว่ามาจากไหน