รัฐเตรียมออกกฎหมายริบเงินฝากเข้าคลัง บัญชีธนาคารที่ไม่มีความเคลื่อนไหวเกิน 10 ปี!

รัฐเตรียมออกกฎหมายริบเงินฝากเข้าคลัง บัญชีธนาคารที่ไม่มีความเคลื่อนไหวเกิน 10 ปี!




คลังล้วงเงินฝากไม่เคลื่อนไหวเกิน 10 ปี เร่งออกกฎหมายริบเข้าเงินคงคลัง รอเจ้าของหรือทายาทมาขอคืน อ้างบริหารจัดการเงินในบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. … (ร่าง พ.ร.บ. Dormant Account) เนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์บริหารจัดการบัญชี เงินฝาก ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวในทางธุรกรรมการเงินเป็นระยะเวลานานของสถาบันการเงิน

ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ทำให้ไม่มีการบริหารจัดการเงินในบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม


นอกจากนี้ ระบบการเงินยังไม่มีการตรวจสอบดูแลบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้มีการบริหารจัดการบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และนำเงินในบัญชีดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม สมควรจัดตั้งบัญชีอันเป็นช่องทางในการบริหารจัดการเงินจากบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และนำเงินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการบริหารเงินคงคลังต่อไป

“ร่างกฎหมายที่จัดทำเป็นการบริหารจัดการเงินในบัญชีเงินฝาก ที่ไม่เคลื่อนไหวเวลานาน ซึ่งเป็นหลักการสากล ต่างประเทศก็ทำกัน โดยจะนำเงินมาไว้ในคงคลัง แต่ไม่ได้นำเงินจำนวนนี้ไปใช้อย่างอื่น เพราะเป็นเงินฝากของประชาชนนำไปใช้ไม่ได้ เอามาแค่พักไว้เท่านั้น เมื่อเจ้าของบัญชีมีหลักฐานมาขอคืนเงิน ก็จะส่งมอบคืนให้ ปัจจุบัน มีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวระดับหมื่นล้านบาท” นายสุวิชญกล่าว

ร่างพ.ร.บ.นี้มีสาระสำคัญคือ บัญชีเงินฝากที่ไม่มีการฝาก ถอน หรือโอนเงินในบัญชีเงินฝาก ระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่รวมถึงการได้รับดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน ภายใน 3 เดือนก่อนวันสิ้นปี

ให้สถาบันการเงินตรวจสอบข้อมูลของเจ้าของบัญชี ที่จะครบกำหนดระยะเวลาเป็นบัญชีเงินฝากที่ไม่มี การเคลื่อนไหว และแจ้งให้เจ้าของบัญชีหรือทายาทดำเนินการ ฝาก ถอน หรือโอนเงิน หรือปิดบัญชีนั้นภายใน วันสิ้นปี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่