ทำไมสถานีอวกาศ ถึงไม่ตกลงสู่โลกครับ

เหมือนอ่านข่าว สถานีอวกาศเทียนกง 1 ติดต่อกับภาคพื้นดินไม่ได้ ทำให้เสี่ยงต่อการตกสู้โลก ก็เลยเกิดความสงสัยว่า ISS ทำไมถึงโคจรรอบโลกได้โดยไม่ตกครับ แล้วถ้าวันใดวันนึง มีแรงมากระทำกับ iss ทำให้วงโคจรเปลี่ยนไป จะมีวิธีการแก้ไขยังไงให้กลับมาที่วงโคจรเดินครับ แล้วเวลา iss docking กับยานลำอื่นๆ มันจะทำให้เกิดโมเมนตั้ม ส่งผลต่อตำแหน่งของ iss ไหมคับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
เกิดความสงสัยว่า ISS ทำไมถึงโคจรรอบโลกได้โดยไม่ตกครับ
การที่ ISS ไม่ตกลงสู่พื้นโลก  เป็นเพราะว่า ISS ไม่ได้ ลอย เฉย ๆ อยู่เหนือพื้นโลกครับ
แต่ ISS กำลังโคจรอยู่รอบโลก  ซึ่งนิยามของการโคจรรอบโลกนี้  ก็คือการเคลื่อนที่เป็นวงกลมตามทฤษฏีฟิสิกส์
ซึ่ง การเคลื่อนที่เป็นวงกลมนี้  วัตถุจะมี ความเร็ว ในการพยายามวิ่งไปข้างหน้า  โดยมีแรงโน้มถ่วงของโลก
คอย ดึง อยู่ตลอดเวลา  ทำให้ ISS วิ่งวนโคจรรอบโลกได้ครับ (แรงโน้มถ่วงโลก ก็คือ Centripetal force ในภาพนี้)


แล้วถ้าวันใดวันนึง มีแรงมากระทำกับ iss ทำให้วงโคจรเปลี่ยนไป จะมีวิธีการแก้ไขยังไงให้กลับมาที่วงโคจรเดินครับ
แรงที่กระทำต่อ ISS นั้น  มีตลอดเวลาเลยครับ  ก็คือแรงต้านอากาศ (Air drag) นั่นเอง
ซึ่ง air drag นั้น ที่ความสูงของ ISS 400 กิโลเมตร ก็ถือว่าน้อยมาก ๆ แล้ว  แต่ก็ยังมีอยู่
นั่นทำให้ ISS มีความเร็วโคจร ลดลง ตลอดเวลา  และก็ทำให้ ISS มีความสูงลดลงเช่นกัน
การลดระดับของวงโคจรจะมีค่าประมาณ วันละ 100 เมตร

ดังนั้น ISS จะมีระบบนึงเรียกว่า Station keeping  ระบบนี้ทำงานโดยใช้เครื่องยนต์ (ไอพ่น) หลัก ที่อยู่ด้านหลังสุดของ ISS  
พ่นออกไปทางตรงในวิถีโคจรเพื่อ เพิ่มความเร็ว ของ ISS  ซึ่งการเพิ่มความเร็วในการโคจรรอบโลก นี้  
จะต้องทำประมาณ เดือนละ 1 - 2 ครั้ง ครับ  ทำให้ ISS โคจร สูง ขึ้นไปเหมือนเดิม


แล้วเวลา iss docking กับยานลำอื่นๆ มันจะทำให้เกิดโมเมนตั้ม ส่งผลต่อตำแหน่งของ iss ไหมคับ
มีผลน้อยมาก ๆ ครับ  เพราะขณะที่ทำการ Docking ต่างคนก็โคจรรอบโลกไปในอัตราเท่ากัน
ทำให้การเคลื่อนที่ สัมพัทธ์ มีค่าน้อยมาก ๆ ครับ  และในช่วง approaching จะ Dock กัน  ตัวยานจะมีความเร็ว
ในการเคลื่อนเข้าหา ISS ต่ำมาก ๆ  อย่าง Space shuttle จะต่ำมากเพียง 3 เซนติเมตร/วินาที  ดังนั้น
การกระแทกกันนี้จึงมีแรงดลต่ำมาก  ไม่ส่งผลต่อตำแหน่ง ISS ครับ  และอีกอย่างก็คือ  ยานลำที่มา Docking นั้น
ก็มีมวลน้อยกว่า ISS มากด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่