คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าอยากเป็นข้าราชการครู อย่าหาเรื่องเรียนคณะอื่นนอกจากศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์เท่านั้น (ยกเว้น มศว ที่เอาครูไปสังกัดคณะอื่นจริง เช่นเอกอังกฤษ ให้สังเกตวุฒิ กศ.บ. 5 ปี เช่น คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ (กศ.บ. 5 ปี) เป็นต้น แบบนี้ก็คือเรียนครูอังกฤษและได้ใบประกอบตามปกติ)
สำคัญอยู่ที่การเรียนหลักสูตรวิชาครูครบตามมาตรฐานวิชาชีพ และเรียนแบบ 5 ปี (เรียน 4 + ฝึกสอน 1) จึงจะทำให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ที่จะนำมาใช้ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย (ข้าราชการครู) ได้
ถ้าไม่ได้ไปในเส้นทางครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ แต่เลือกเรียนคณะอื่นๆ 4 ปี คุณจะไม่สามารถสอบครูผู้ช่วยได้ทันที แต่ยังมีช่องทาง ซึ่งสิ่งที่คุณจะเจอคือ คุณจะต้องเร่ไปสมัครเป็นครูอัตราจ้างตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งต้องลุ้นว่าจะมีที่ไหนรับหรือไม่ บางทีก็ต้องมีเส้นสาย บางทียอมสอนฟรีเลยก็มี ยอมเป็นชนชั้นสองในโรงเรียน โดนใช้งานสารพัด เพียงเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการเรียน ป.บัณฑิต ซึ่งเงื่อนไขปัจจุบันกำหนดให้ต้องเป็นครูในโรงเรียนที่ไม่มีใบประกอบสามารถมาเรียนได้เท่านั้น คนทั่วไปหมดสิทธิ์) ใช้เวลาเรียนวิชาครูเป็นเวลาปีครึ่งทุกเสาร์อาทิตย์ จะเหนื่อยไหมละนั่น จบแล้วถึงได้ใบประกอบและมีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วยได้ โดยรวมๆ ใช้เวลาช่วงนี้ 2-3 ปี (บางคนนานกว่านั้นเยอะ) แถมบางคนหมดไฟอีกกับการเป็นครูอัตราจ้าง ทำงานยุ่งจนสอบไม่ติดซะที จะมาสู้เด็กศึกษาศาสตร์จบใหม่ไฟแรงมีเวลาอ่านหนังสือเต็มที่ได้ยังไง
มีคนพลาดมาเยอะแล้วกับการคิดจะเรียนคณะอื่น 4 ปีเพราะเห็นว่าภาษีดีกว่า แล้วค่อยมาต่อครู คิดผิดมากเพราะเดี๋ยวนี้มันไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แถมจะเสียเวลากว่าเยอะ เผลอๆ หมดไฟไปก็มี ถ้าอยากเป็นข้าราชการครู ไม่ต้องคิดอะไรมาก เรียนครู 5 ปีเท่านั้น
ความต่างของการเรียนคณะอื่นๆ กับคณะศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์ อยู่ตรงที่วิชาครูที่จะเพิ่มเข้ามาตามมาตรฐานของคุรุสภา ส่วนการเรียนวิชาเอกนั้นปัจจุบันส่วนใหญ่ให้ไปเรียนตามคณะหลักแล้ว เช่นศึกษาศาสตร์เอกอังกฤษ ก็ไปเรียนที่มนุษย์ศาสตร์ภาควิชาภาษาอังกฤษ คือก็ได้เรียนที่คณะมนุษย์เหมือนกัน แต่ไม่ลึกเท่าคนเรียนเอกเพียว เพราะเป้าหมายเราไปสอนในระดับประถม-มัธยม จะเรียนให้ลึกกว่าที่นักเรียนเรียน แต่ไม่ลึกถึงขนาดคนเรียนเพียว อีกอย่างหน่วยกิตเราก็ต้องแบ่งไปให้วิชาครูด้วย ความต่างอีกอย่างคือการฝึกสอน 1 ปี และการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในคณะที่จะเสริมสร้างความเป็นครู
ส่วนเอกอังกฤษ และเอกจิตวิทยาและการแนะแนว มีสอนในคณะศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์ทั้งคู่ เลือกเอาที่ตัวเองชอบ แต่หากให้แนะนำ เอกอังกฤษเป็นการสอนวิชาหลัก 5 วิชาที่นักเรียนต้องสอบ ONET การเรียนเอกอังกฤษมีโอกาสก้าวหน้าสูง อัตราบรรจุเยอะ และถ้าเกิดไม่ชอบไปทางครู ก็ยังเบนสายไปทำงานอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ด้วย
สำคัญอยู่ที่การเรียนหลักสูตรวิชาครูครบตามมาตรฐานวิชาชีพ และเรียนแบบ 5 ปี (เรียน 4 + ฝึกสอน 1) จึงจะทำให้ได้ใบประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา ที่จะนำมาใช้ในการสอบบรรจุครูผู้ช่วย (ข้าราชการครู) ได้
ถ้าไม่ได้ไปในเส้นทางครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ แต่เลือกเรียนคณะอื่นๆ 4 ปี คุณจะไม่สามารถสอบครูผู้ช่วยได้ทันที แต่ยังมีช่องทาง ซึ่งสิ่งที่คุณจะเจอคือ คุณจะต้องเร่ไปสมัครเป็นครูอัตราจ้างตามโรงเรียนต่างๆ ซึ่งต้องลุ้นว่าจะมีที่ไหนรับหรือไม่ บางทีก็ต้องมีเส้นสาย บางทียอมสอนฟรีเลยก็มี ยอมเป็นชนชั้นสองในโรงเรียน โดนใช้งานสารพัด เพียงเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการเรียน ป.บัณฑิต ซึ่งเงื่อนไขปัจจุบันกำหนดให้ต้องเป็นครูในโรงเรียนที่ไม่มีใบประกอบสามารถมาเรียนได้เท่านั้น คนทั่วไปหมดสิทธิ์) ใช้เวลาเรียนวิชาครูเป็นเวลาปีครึ่งทุกเสาร์อาทิตย์ จะเหนื่อยไหมละนั่น จบแล้วถึงได้ใบประกอบและมีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วยได้ โดยรวมๆ ใช้เวลาช่วงนี้ 2-3 ปี (บางคนนานกว่านั้นเยอะ) แถมบางคนหมดไฟอีกกับการเป็นครูอัตราจ้าง ทำงานยุ่งจนสอบไม่ติดซะที จะมาสู้เด็กศึกษาศาสตร์จบใหม่ไฟแรงมีเวลาอ่านหนังสือเต็มที่ได้ยังไง
มีคนพลาดมาเยอะแล้วกับการคิดจะเรียนคณะอื่น 4 ปีเพราะเห็นว่าภาษีดีกว่า แล้วค่อยมาต่อครู คิดผิดมากเพราะเดี๋ยวนี้มันไม่ง่ายเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แถมจะเสียเวลากว่าเยอะ เผลอๆ หมดไฟไปก็มี ถ้าอยากเป็นข้าราชการครู ไม่ต้องคิดอะไรมาก เรียนครู 5 ปีเท่านั้น
ความต่างของการเรียนคณะอื่นๆ กับคณะศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์ อยู่ตรงที่วิชาครูที่จะเพิ่มเข้ามาตามมาตรฐานของคุรุสภา ส่วนการเรียนวิชาเอกนั้นปัจจุบันส่วนใหญ่ให้ไปเรียนตามคณะหลักแล้ว เช่นศึกษาศาสตร์เอกอังกฤษ ก็ไปเรียนที่มนุษย์ศาสตร์ภาควิชาภาษาอังกฤษ คือก็ได้เรียนที่คณะมนุษย์เหมือนกัน แต่ไม่ลึกเท่าคนเรียนเอกเพียว เพราะเป้าหมายเราไปสอนในระดับประถม-มัธยม จะเรียนให้ลึกกว่าที่นักเรียนเรียน แต่ไม่ลึกถึงขนาดคนเรียนเพียว อีกอย่างหน่วยกิตเราก็ต้องแบ่งไปให้วิชาครูด้วย ความต่างอีกอย่างคือการฝึกสอน 1 ปี และการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันในคณะที่จะเสริมสร้างความเป็นครู
ส่วนเอกอังกฤษ และเอกจิตวิทยาและการแนะแนว มีสอนในคณะศึกษาศาสตร์-ครุศาสตร์ทั้งคู่ เลือกเอาที่ตัวเองชอบ แต่หากให้แนะนำ เอกอังกฤษเป็นการสอนวิชาหลัก 5 วิชาที่นักเรียนต้องสอบ ONET การเรียนเอกอังกฤษมีโอกาสก้าวหน้าสูง อัตราบรรจุเยอะ และถ้าเกิดไม่ชอบไปทางครู ก็ยังเบนสายไปทำงานอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ด้วย
แสดงความคิดเห็น
ถ้าจะเป็นครูแนะแนวหรือภาษาอังกฤษ ควรเลือกเรียนคณะอะไรดีคะ
แม่อยากให้เป็นครูราชการ เพราะเงินเดือนมั่นคงดี
เราก็เลยว่าจะเป็นครูเนี้ยแหละค่ะ แต่ก็กลัวจะสอนไม่รู้เรื่องเหมือนกันนะ55555
เราอยากเก่งภาษาอังกฤษ เลยอยากเรียนต่อคณะ อักษร/มนุษย์/ศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษอ่ะค่ะ
แต่ก็สนใจด้านจิตวิทยาอยู่เหมือนกัน เลยลังเลว่าจะเรียนไปทางด้านครูแนะแนวดีมั้ย
ถ้าเรียนคณะจิตวิทยาเลยจะเป็นครูแนะแนวได้มั้ย หรือควรเรียนศึกษาศาสตร์ จิตวิทยาการแนะแนวเลยง่ายกว่า
แล้วถ้าเป็นครูภาษาอังกฤษควรเลือกคณะศึกษาสตร์ เอกภาษาอังกฤษไปเลยมั้ยคะ
คือเราไปหาข้อมูลมาดู เรารู้สึกว่าชอบการเรียนของ อักษร/มนุษย์/ศิลปศาศาสตร์ มากกว่าศึกษาสตร์โดยตรง
เพราะเราชอบอะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์ที่คล้ายๆการเรียนจิตวิทยาอ่ะค่ะ (หรือว่าครูก็เรียนแบบนี้ บอกตรงๆว่าชักงงแล้วค่ะTT )
แต่ก็ต้องไปสอบบรรจุหรือเอาใบวิชาชีพครูเพิ่มอีกด้วยใช่มั้ยคะ เรางงตรงนี้ด้วยอ่ะค่ะ U____U
คือถ้าเรียนพวกนี้ต่างจากเรียนครูโดยตรงยังไงหรอคะ ต้องสอบอะไร ทำอะไรเพิ่มบ้าง
หรือว่าถ้าเรียนคณะพวกนี้แล้วเรียนต่อครูไม่ได้เลยอ่ะคะ เห็นบางคนก็บอกมาแบบนี้
ถ้างงที่เราถามก็ถามใหม่ได้นะคะ เพราะเราพิมพ์เราก็งงๆเหมือนกัน พยายามเรียบเรียงสุดๆแล้วค่ะ555555555
*ถ้าละเอียดได้ขอแบบละเอียดเลยนะคะ ปามาเลยเยอะๆจะขอบคุณมากๆค่ะ (-/\-)