"สังคมไร้เงินสด" หรือ Cashless Society กลายเป็นเทรนด์ที่หลายประเทศทั่วโลกพยายามจะทำ รวมถึงประเทศไทยด้วย .. หากจำได้
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดหลายครั้ง หลายเวที สนับสนุนใช้ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อี-เพย์เมนท์) ไม่ต้องถือเงินสด ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทอน หรือเงินหล่นหาย และเตรียมผลักดันไทยเป็นสังคมไร้เงินสดด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบในภาพรวม โดยมีการวางมาตรฐานความปลอดภัยให้ทั่วถึง และเป็นธรรม ลดการใช้เงินสดในระบบที่เป็นต้นทุนลง เพราะแต่ละปี มีมูลค่าไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท ตั้งแต่การผลิต การนับคัดธนบัตร หรือหมุนเวียนธนบัตรเก่าออกจากระบบ และใส่ธนบัตรใหม่ในระบบ รวมถึงการขนส่งที่ต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต
แต่จะสำเร็จหรือไม่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไทย ปัญหาใหญ่ที่จะเป็นอุปสรรคก็คงหนีไม่พ้นข้อกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในระบบ และความสะดวกในการใช้ระบบพวกนี้ด้วย !!
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต
แต่ก็มีตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด
เริ่มจากประเทศที่ถูกพูดถึงกันมากว่าจะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเป็นประเทศแรกของโลกนั่นก็คือ
สวีเดน ปัจจุบันมีเงินสดหมุนเวียนอยู่ในระบบแค่ไม่ถึง 3% เพราะคนในสวีเดนนิยมจับจ่ายผ่าน Mobile Banking และบัตรเดบิตเป็นหลัก โดยพบว่าคนสวีเดนมีบัตรเดบิตสูงถึง 96% ไม่เพียงเฉพาะร้านค้า ร้านอาหาร รถสาธารณะ ที่รับชำระเงินผ่านบัตรเดบิตได้แทบทั้งหมดแล้ว แม้แต่การบริจาคเงินในโบสถ์ก็ยังสามารถใช้บัตรเดบิตได้อีกด้วย
อันดับ 2. เป็น
เบลเยียม ที่มีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดสูงถึง 93% โดยคนเบลเยียมกว่า 86% นิยมใช้บัตรเดบิตในการชำระเงิน ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้เบลเยียมเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว ก็เพราะรัฐบาลได้กำหนดวงเงินสำหรับจ่ายด้วยเงินสดไม่เกิน 3,000 ยูโร รวมทั้งธนาคารกลางเบลเยียมที่สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้แอปพลิเคชันทางมือถือเพื่อชำระเงิน
ถัดมาเป็นเพื่อนบ้านเอเชียนั่นคือ
จีน ที่กลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตของการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลสูงมาก โดยพบว่าคนจีนราว 60% ใช้จ่ายผ่าน Mobile Payment เป็นหลัก ตัวเลขในปี 2559 คนจีนทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Payment เป็นมูลค่าถึง 5.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดย 2 แอปพลิเคชันที่คนจีนนิยมใช้ชำระเงินเป็นหลัก ก็คือ
Alipay และ
Wechat pay และวันนี้คนจีนสามารถจ่ายเงินผ่านมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดสด ร้านอาหารข้างถนน ให้ทิปเด็กเสิร์ฟ หรือแม้แต่ใส่ซองงานแต่งงานและงานศพ
อีกประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างสิงคโปร์ ที่ปัจจุบันมีการใช้บัตรเดบิต กับชำระเงินผ่านมือถือสูงถึง 80% ของการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศแผน "Smart Nation" ที่รวมนโยบายผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสดไว้ด้วย
เช่นเดียวกับ เกาหลีใต้ ที่ประกาศว่า จะลดการใช้เหรียญในประเทศให้หมดไป ภายในปี 2563 และปัจจุบันก็มีสัดส่วนการใช้จ่ายที่ไม่ใช้เงินสดกว่า 70% แล้ว
ส่วนอีกประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดจะพัฒนาไปไกลมาก อย่าง “เคนย่า” พบว่าประชากรเคนยากว่า 15 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประเทศนิยมชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการจ่ายค่าเทอม และรับเงินเดือนผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน
ขณะที่ เดนมาร์ก ประชากรกว่า 1 ใน 3 นิยมชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนกันเป็นเรื่องปกติ และรัฐบาลเดนมาร์กยืนยันว่าภายในปี 2573 จะยกเลิกการใช้ธนบัตรทั้งหมด
ส่วนประเทศไทย ... จะพร้อมแค่ไหน คงต้องถามใจประชาชนส่วนใหญ่ดู !!
คนไทยจะพร้อมหรือยัง? กับการก้าวสู่สังคมไร้เงินสด
แต่จะสำเร็จหรือไม่ ก็คงต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนไทย ปัญหาใหญ่ที่จะเป็นอุปสรรคก็คงหนีไม่พ้นข้อกังวลในเรื่องของความปลอดภัยในระบบ และความสะดวกในการใช้ระบบพวกนี้ด้วย !!
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต
แต่ก็มีตัวอย่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ในการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด
เริ่มจากประเทศที่ถูกพูดถึงกันมากว่าจะก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดเป็นประเทศแรกของโลกนั่นก็คือ สวีเดน ปัจจุบันมีเงินสดหมุนเวียนอยู่ในระบบแค่ไม่ถึง 3% เพราะคนในสวีเดนนิยมจับจ่ายผ่าน Mobile Banking และบัตรเดบิตเป็นหลัก โดยพบว่าคนสวีเดนมีบัตรเดบิตสูงถึง 96% ไม่เพียงเฉพาะร้านค้า ร้านอาหาร รถสาธารณะ ที่รับชำระเงินผ่านบัตรเดบิตได้แทบทั้งหมดแล้ว แม้แต่การบริจาคเงินในโบสถ์ก็ยังสามารถใช้บัตรเดบิตได้อีกด้วย
อันดับ 2. เป็นเบลเยียม ที่มีการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดสูงถึง 93% โดยคนเบลเยียมกว่า 86% นิยมใช้บัตรเดบิตในการชำระเงิน ซึ่งปัจจัยหนุนที่ทำให้เบลเยียมเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็ว ก็เพราะรัฐบาลได้กำหนดวงเงินสำหรับจ่ายด้วยเงินสดไม่เกิน 3,000 ยูโร รวมทั้งธนาคารกลางเบลเยียมที่สนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้แอปพลิเคชันทางมือถือเพื่อชำระเงิน
ถัดมาเป็นเพื่อนบ้านเอเชียนั่นคือ จีน ที่กลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตของการใช้จ่ายผ่านระบบดิจิทัลสูงมาก โดยพบว่าคนจีนราว 60% ใช้จ่ายผ่าน Mobile Payment เป็นหลัก ตัวเลขในปี 2559 คนจีนทำธุรกรรมการเงินผ่าน Mobile Payment เป็นมูลค่าถึง 5.5 ล้านล้านดอลลาร์ โดย 2 แอปพลิเคชันที่คนจีนนิยมใช้ชำระเงินเป็นหลัก ก็คือ Alipay และ Wechat pay และวันนี้คนจีนสามารถจ่ายเงินผ่านมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตลาดสด ร้านอาหารข้างถนน ให้ทิปเด็กเสิร์ฟ หรือแม้แต่ใส่ซองงานแต่งงานและงานศพ
อีกประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างสิงคโปร์ ที่ปัจจุบันมีการใช้บัตรเดบิต กับชำระเงินผ่านมือถือสูงถึง 80% ของการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และรัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศแผน "Smart Nation" ที่รวมนโยบายผลักดันประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสดไว้ด้วย
เช่นเดียวกับ เกาหลีใต้ ที่ประกาศว่า จะลดการใช้เหรียญในประเทศให้หมดไป ภายในปี 2563 และปัจจุบันก็มีสัดส่วนการใช้จ่ายที่ไม่ใช้เงินสดกว่า 70% แล้ว
ส่วนอีกประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดจะพัฒนาไปไกลมาก อย่าง “เคนย่า” พบว่าประชากรเคนยากว่า 15 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประเทศนิยมชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการจ่ายค่าเทอม และรับเงินเดือนผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน
ขณะที่ เดนมาร์ก ประชากรกว่า 1 ใน 3 นิยมชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนกันเป็นเรื่องปกติ และรัฐบาลเดนมาร์กยืนยันว่าภายในปี 2573 จะยกเลิกการใช้ธนบัตรทั้งหมด
ส่วนประเทศไทย ... จะพร้อมแค่ไหน คงต้องถามใจประชาชนส่วนใหญ่ดู !!