กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น ครองอันดับ 3 ในการจัดอันดับ “เมืองมหาอำนาจ” จาก 44 เมืองใหญ่ทั่วโลก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเพิ่มขึ้นได้ช่วยให้โตเกียวเพิ่มศักยภาพในระหว่างประเทศมากขึ้น
ผลการสำรวจ “เมืองมหาอำนาจ” หรือ Global Power City Index 2017 ซึ่งสถาบันยุทธศาสตร์เมืองของมูลนิธิโมริ เมมโมเรียล ได้จัดอันดับเมืองใหญ่ 44 เมืองทั่วโลก เพื่อแสดงถึงศักยภาพของเมืองในการดึงดูดบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกในด้านเศรษฐกิจ, การวิจัยและพัฒนา, การเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, ความน่าอยู่, สิ่งแวดล้อม และความสะดวก
กรุงลอนดอนเมืองหลวงของอังกฤษ รั้งแชมป์อันดับที่ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 โดยมีความโดดเด่นที่สุดในโลกในแง่ของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ส่วนในด้านเศรษฐกิจ, การวิจัยและพัฒนา และความสะดวกก็ได้อันดับที่ 2 ของโลก สะท้อนว่ากรุงลอนดอนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม, มีความมั่นคงทางการเมือง, เศรษฐกิจ และธุรกิจ เหมาะสำหรับทั้งการลงทุนและการท่องเที่ยว
นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เป็นเมืองมหาอำนาจอันดับที่ 2 มีความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจที่สะท้อนจากการเจริญเติบโตของ GDP แต่ด้อยในด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และความน่าอยู่
กรุงโตเกียว เลื่อนจากอันดับที่ 4 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 ตั้งแต่ปีที่แล้ว เนื่องจากนครนิวยอร์กมีคะแนนน้อยน้อยลง แต่กรุงโตเกียวมีคะแนนดีขึ้นในทุกด้าน ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวและนักเรียนต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีเที่ยวบินตรงจากทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น และระบบสาธารณูปโภคถูกปรับให้รองรับความเป็นสากลมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม คะแนนด้านเศรษฐกิจของเมืองหลวงของญี่ปุ่นยังด้อยกว่าเมืองอื่นๆ เพราะตลาดมีขนาดไม่ใหญ่เพียงพอ และไม่น่าดึงดูด โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลที่สูงกว่าเมืองอื่นๆ
“เมืองมหาอำนาจ” อื่นๆในทวีปเอเชีย ได้แก่
สิงคโปร์อันดับที่ 5
กรุงโซลอันดับที่ 6
ฮ่องกง อันดับที่ 9
ปักกิ่ง อันดับที่ 13
เซี่ยงไฮ้ อันดับที่ 15
โอซากา อันดับที่ 26
กัวลาลัมเปอร์ อันดับที่ 31
กรุงเทพฯ อันดับที่ 33
โตเกียวรั้งแชมป์อันดับ 3 “เมืองมหาอำนาจ” ของโลก กรุงเทพฯที่ 33
กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น ครองอันดับ 3 ในการจัดอันดับ “เมืองมหาอำนาจ” จาก 44 เมืองใหญ่ทั่วโลก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนเพิ่มขึ้นได้ช่วยให้โตเกียวเพิ่มศักยภาพในระหว่างประเทศมากขึ้น
ผลการสำรวจ “เมืองมหาอำนาจ” หรือ Global Power City Index 2017 ซึ่งสถาบันยุทธศาสตร์เมืองของมูลนิธิโมริ เมมโมเรียล ได้จัดอันดับเมืองใหญ่ 44 เมืองทั่วโลก เพื่อแสดงถึงศักยภาพของเมืองในการดึงดูดบุคคลและหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกในด้านเศรษฐกิจ, การวิจัยและพัฒนา, การเปลี่ยนทางวัฒนธรรม, ความน่าอยู่, สิ่งแวดล้อม และความสะดวก
กรุงลอนดอนเมืองหลวงของอังกฤษ รั้งแชมป์อันดับที่ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 โดยมีความโดดเด่นที่สุดในโลกในแง่ของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ส่วนในด้านเศรษฐกิจ, การวิจัยและพัฒนา และความสะดวกก็ได้อันดับที่ 2 ของโลก สะท้อนว่ากรุงลอนดอนมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม, มีความมั่นคงทางการเมือง, เศรษฐกิจ และธุรกิจ เหมาะสำหรับทั้งการลงทุนและการท่องเที่ยว
นครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เป็นเมืองมหาอำนาจอันดับที่ 2 มีความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจที่สะท้อนจากการเจริญเติบโตของ GDP แต่ด้อยในด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และความน่าอยู่
กรุงโตเกียว เลื่อนจากอันดับที่ 4 ขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 3 ตั้งแต่ปีที่แล้ว เนื่องจากนครนิวยอร์กมีคะแนนน้อยน้อยลง แต่กรุงโตเกียวมีคะแนนดีขึ้นในทุกด้าน ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวและนักเรียนต่างชาติที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีเที่ยวบินตรงจากทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น และระบบสาธารณูปโภคถูกปรับให้รองรับความเป็นสากลมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม คะแนนด้านเศรษฐกิจของเมืองหลวงของญี่ปุ่นยังด้อยกว่าเมืองอื่นๆ เพราะตลาดมีขนาดไม่ใหญ่เพียงพอ และไม่น่าดึงดูด โดยเฉพาะภาษีนิติบุคคลที่สูงกว่าเมืองอื่นๆ
“เมืองมหาอำนาจ” อื่นๆในทวีปเอเชีย ได้แก่
สิงคโปร์อันดับที่ 5
กรุงโซลอันดับที่ 6
ฮ่องกง อันดับที่ 9
ปักกิ่ง อันดับที่ 13
เซี่ยงไฮ้ อันดับที่ 15
โอซากา อันดับที่ 26
กัวลาลัมเปอร์ อันดับที่ 31
กรุงเทพฯ อันดับที่ 33