หมายศาลโดนฟ้องมาว่าเบี้ยวไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ให้

เรื่องมีว่า  ด้วยความใจดีของแม่ไปแบ่งขายที่ดินเท่าพอรถเข้าออกได้ให้เพื่อนบ้านเพื่อที่จะไม่ให้เป็นที่ตาบอด
แต่แม่ออกตัวว่าที่ติดจำนองอยู่นะหลายแสน   ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันเอา  เดี่ยวค่อยโอนกรรมสิทธิ์กันภายหลัง    คนซื้อรับรู้และพอใจ
แต่ปีต่อมาเขาเอาสัญญากระดาษให้แม่เซนต์ขอขยายที่ออกไปอีก 1 ฟุต พร้อมให้เงินจำนวนนึง และเนื้อหาในสัญญาบอกว่าจะต้องดำเนินการโอนกรรมสิทธฺ ภายใน 4 ปี  แม่ก็เซนต์ไปด้วยความยั้งคิดว่าเราจะมีปัญญาไถ่ถอนโฉนดออกมาจากแบงค์ทันไหม 4 ปี

...เอ็นดูเขา เอ็นเราขาดครับ     4 ปีต่อมามีหมายศาล มาทวงสัญญา   ปัญหาคือ แม่ไม่มีปัญญาหาเงินมาชำระที่ดินติดจำนองแบงค์นี้ออกมาทำแบ่งฉโนดให้ได้      เมื่อผมได้เพิ่งรับทราบข้อมูลเพราะผมอยู่กรุงเทพ ก็ไม่พอใจมากที่เพื่อนบ้านไม่ไว้หน้าและทำไรไม่คุยกันก่อน ไกล่เกลี่ยทางออกกันได้
แต่ไปฟ้องศาลให้ยุ่งยาก

--ผมมีทางออกไหมครับ  ? ผมจะยกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย  ไม่ขายที่ดินแล้ว  จะเอาคืน  ยอมคืนเงิน + ดอกเบี้ย เท่าไหร่ ก็ให้ศาลดีดลูกคิดให้

**และขอถามอีกว่า เพื่อนบ้านสร้างทางคอนกรีตและรั้ว สิ่งก่อสร้าง  หากยกเลิกสัญญาจะมีทางไหนที่ แม่ผมจะจ่ายค่าเสียหายชดเชยส่วนนี้น้อยที่สุด หรือ ไม่ต้องจ่ายเลย

ขอทางออกด้วยครับ   เอ็นดูเขา เอ็นเราขาดจริงๆ  และไม่ฟังเหตุผล  หาว่าเราจะโกง เบี้ยวโอนกรรมสิทธิ์ อย่างเดียว
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ถ้ามองเป็นกลางๆ ทางคุณผิดเต็มๆ เพราะสัญญาระบุชัดเจนว่า 4 ปีต้องโอนให้ จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะลงลายมือชื่อพร้อมพยานไว้จริง
เรื่องถึงศาลแล้ว คุณจะอ้างไม่ขาย ฉีกสัญญา ฯลฯ ไม่เป็นผลแน่นอน
ยังไงคุณต้องรอศาลตัดสินอยู่ดี

แนะนำให้ตั้งทนาย และไปขึ้นศาลให้ครบทุกนัด
โดยทั่วไป ทางศาลจะให้ไกล่เกลี่ยแน่นอน

ผมมองออกเลยว่า ศาลตัดสินเข้าข้างคนที่มีที่ตาบอดแน่นอนครับ
เพราะเค้าแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจ ในการพยายามซื้อที่ของคุณตรงนั้นเพื่อเป็นทางออกตั้งแต่แรกๆ
ไม่ได้ฟ้องศาล เพื่อเอาขอทางจำเป็น หรือ ภาระจำยอม จากที่ของคุณ

คุณก็เตรียมเรื่องค่าเสียหายเอาไว้ได้เลย
และมีโอกาสสูงที่คุณจะได้ refinance โดยแบ่งที่ตรงที่เค้าซื้อออกมาโอนให้เค้า
แล้วค่อยจำนองส่วนที่เหลือเข้าแบ้งค์ไปใหม่

ระหว่างนี้ลองไปปรึกษาธนาคารดู ว่าจะแบ่งที่ดิน และประเมินส่วนที่เหลือใหม่ได้ไหม
ถ้ายอดเงินต้นเหลือไม่มาก แบ่งที่ออกมาแล้ว เพียงพอ ธนาคารน่าจะยอมให้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่