ผู้กำกับระดับตำนาน มาร์ติน สกอร์เซซี ได้ไปเป็นนักเขียนรับเชิญให้ The Hollywood Reporter และเขียนถึงการประเมินคุณค่าภาพยนตร์ด้วยรายได้หนังหรือบ๊อกซ์ออฟฟิศ และการให้คะแนนหนังของ Rotten Tomatoes กับ CinemaScore ต่อหนัง mother! ของผู้กำกับแดเรน แอโรนอฟสกี้ ที่เป็นประเด็นามสื่อฮอลลีวู้ดเมื่อไม่นานมานี้ครับ บางอย่างในบทความที่สกอร์เซซีเขียนมีมุมมองที่น่าสนใจที่คิดว่าควรนำมาแปลเพื่อบอกต่อแม้ว่าบางคนจะไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด แต่ก็มีหลายประเด็นที่ทำให้กลับมาฉุดคิด ได้ทบทวนตัวเองและเกิดมุมมองใหม่ และเป็นแรงบันดาลใจเหมือนกันครับ mother! ได้เกรด F จาก CinemaScore ซึ่งเป็นคะแนนจากการที่บริษัทด้านการตลาดไปสำรวจความเห็นผู้ชมหลังจากดูหนังจบ จากนั้นเกรด F ก็กลายเป็นประเด็นในสื่อเอาไปขยายต่อ ขณะที่ผู้กำกับแอโรนอฟสกี้ก็ดูเหมือนว่าจะเข้าใจและคาดเดาได้ว่าทำไมถึงได้เกรดสอบตกแบบนี้จากผู้ชม ทีมการตลาดยังใช้ความเห็นนักวิจารณ์ฝั่งชมและด่ามาตีคู่ให้ผู้ชมไปพิสูจน์กันด้วยตัวเองด้วยครับ และนี่คือมุมมองของสกอร์เซซีต่อเรื่องทั้งหมดนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผมไม่คิดหรอกนะว่าจะมีใครคิดถึงสมัยที่เรายังเรียนอยู่ และถูกตัดเกรดเวลาทำงาน ผมอาจเข้าใจผิดก็ได้ แต่ผมไม่คิดว่าจะมีตอนที่ผมเรียนจบ ผมคิดกับตัวเองว่า “แจ๋วเลย ไม่ต้องห่วงเรื่องเกรดอีกแล้ว!” นั่นเป็นความคิดก่อนการฉายรอบพิเศษหนังเรื่องแรกของผม ถามคนทำหนังคนไหนๆ ก็ย่อมบอกเหมือนกันว่า ประสบการณ์ของรอบพรีวิวนั้นโหดร้ายมาก บางครั้งก็ทำลายล้างจริงๆ อย่างเช่นกรณีของรอบพรีวิวอันโด่งดังของหนังเรื่อง The Magnificent Ambersons ของออร์สัน เวลล์ส์ ที่อาร์เคโอจัดที่โพโมนา ผู้บริหารสตูดิโอใช้ผลตอบรับด้านลบจากการฉายรอบนั้นแล่เถือหนังฉบับตัดต่อดั้งเดิมของเวลส์ที่ตอนนี้เป็นที่รู้กันว่า เป็นหนังใกล้เคียงขั้นผลงานชิ้นเอกที่ถูกทำให้เสียหาย
บางครั้ง เมื่อทุกคนทำงานร่วมกัน รอบทดสอบอาจช่วยตอบคำถามพื้นๆ ได้ ชิ้นส่วนข้อมูลนี้ชัดเจนดีพอสำหรับผู้ชมไหม จังหวะของฉากนี้เหมาะสมไหม อะไรทำให้ผู้ชมหลุดจากความสนใจในตอนนั้น แล้วทำไมมันไม่เข้าเป้า ประเด็นเล็กๆ แต่เฉพาะเจาะจงสุดๆ อาจทำให้กระจ่างชัดได้
แล้วจากนั้น เมื่อหนังได้รับการสร้างออกมาก็จะมีบทวิจารณ์รีวิว ผมเองก็เหมือนทุกคน ได้รับคำวิจารณ์ที่มีทั้งบวกและลบ แน่นอนว่าบทวิจารณ์ด้านลบไม่สนุกนัก แต่มันก็เป็นสิ่งที่มาพร้อมการทำอาชีพนี้ อย่างไรก็ตาม ผมขอบอกว่าในอดีตนั้น เมื่อนักวิจารณ์บางคนมีปัญหากับหนังเรื่องหนึ่งของผม โดยหลักๆ พวกเขาก็จะมีปฏิกิริยาออกมาอย่างมีวิจารณญาณ มีจุดยืนอย่างแท้จริงที่พวกเขารู้สึกว่าจำเป็นต้องโต้แย้ง
กว่า 20 ปีมานี้ หลายอย่างเปลี่ยนไปในวงการภาพยนตร์ สิ่งที่เปลี่ยนไปนั้นมีในทุกระดับ ตั้งแต่วิธีการสร้างภาพยนตร์ไปจนถึงวิธีการชมและถกเถียงพูดคุย หลายอย่างในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีทั้งด้านที่ดีขึ้นและด้านที่แย่ลง เป็นต้นว่าเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้คนหนุ่มสาวสร้างหนังกันได้แบบทันทีทันใด อย่างมีอิสระโดยสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน การหายไปของเครื่องฉาย 35ม.ม. จากโรงหนังส่วนใหญ่ในการฉายรอบแรกก็ถือเป็นการสูญเสียอย่างยิ่ง
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่ผมเชื่อว่าไม่มีด้านดีขึ้นเลยไม่ว่าในแง่ไหนก็ตาม มันเริ่มมาตั้งแต่ยุค 80 เมื่อ “บ็อกซ์ออฟฟิศ” เริ่มที่จะผลุดขึ้นมากลายเป็นความหมกมุ่นเฉกเช่นทุกวันนี้ สมัยผมยังหนุ่ม รายงานตัวเลขรายได้หนังมีอยู่เฉพาะในหนังสือพิมพ์ของแวดวงอุตสาหกรรมนี้เช่นเดอะ ฮอลลีวู้ด รีพอร์เตอร์ แต่สมัยนี้ ผมเกรงว่ามันได้กลายเป็น…ทุกอย่างไปแล้ว รายงานรายได้หนังแฝงอยู่ในเกือบทุกการพูดคุยเกี่ยวกับภาพยนตร์ และบ่อยครั้งที่เป็นมากกว่าแค่สิ่งที่แฝงอยู่ พฤติกรรมการตัดสินอันโหดร้ายที่ทำให้รายได้เปิดตัวหนังในสุดสัปดาห์กลายเป็นความบันเทิงที่กระหายเลือดดูเหมือนถูกใช้เป็นแนวทางการวิจารณ์หนังอันโหดร้ายมากขึ้น ผมกำลังพูดถึงเหล่าบริษัทวิจัยด้านการตลาดอย่าง Cinemascore ที่เริ่มต้นในปลายยุค 70 และ “เว็บไซต์ที่ดึงบทความมาจากที่อื่น” (aggregators) อย่าง Rotten Tomatoes ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับการวิเคราะห์วิจารณ์หนังจริงๆ เลย พวกเขาให้คะแนนภาพยนตร์เหมือนที่คุณให้คะแนนม้าในสนามแข่ง หรือร้านอาหารในเว็บให้คะแนนร้านอาหาร หรือเครื่องใช้ภาพในบ้านในเว็บ Consumer Reports พวกเขาเข้ามายุ่งทุกอย่างในธุรกิจภาพยนตร์ แต่ไม่เคยเกี่ยวข้องสักนิดในด้านสร้างสรรค์หรือการให้มุมมองที่ฉลาดๆ แก่หนัง คนทำหนังถูกลดทอนกลายเป็นผู้ผลิตเนื้อหา และผู้ชมถูกลดระดับกลายเป็นผู้บริโภคที่ไม่กล้าผจญภัย
บริษัทและเว็บไซต์รวมบทความเหล่านี้ได้ตั้งหลักเกณฑ์ที่เป็นปรปักษ์ต่อนักทำหนังจริงจัง แม้กระทั่งการตั้งชื่อว่า Rotten Tomatoes ก็เป็นการดูถูกเหยียดหยาม และเมื่อการวิจารณ์ภาพยนตร์ที่เขียนด้วยผู้คนที่มีความคลั่งไคล้และความรู้จริงๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ได้ค่อยๆ ลืนหายไป ก็ดูเหมือนมีแต่เสียงที่เอาแต่ด่าทอตัดสินเพียงอย่างเดียวดังมากขึ้นๆ ผู้คนที่ดูเหมือนสนุกในการดูหนังแล้วเห็นคนทำหนังถูกปฏิเสธ ถูกเพิกเฉย และในบางกรณี ถูกฉีกเนื้อจนเป็นชิ้นๆ ไม่ต่างจากฝูงชนที่เอาเป็นเอาตายและกระหายเลือดเพิ่มมากขึ้นๆ ในตอนจบของ mother! ของแดเรน แอโรนอฟสกี้
ก่อนที่ผมจะได้ดู mother! จริงๆ ผมหงุดหงิดใจอย่างที่สุดจากคำตัดสินอันรุนแรงเหล่านั้น ผู้คนมากมายดูเหมือนจะอยากให้คำนิยามแก่หนัง ตีกรอบมัน ค้นหาว่ามันต้องการอะไรและสาปแช่งมัน และหลายคนก็ดูเหมือนจะสะใจที่มันได้เกรด F จาก Cinemascore แล้วเรื่องนี้ก็กลายเป็นบทความข่าวเป็นจริงเป็นจัง mother! ถูกตบหน้าด้วยเกรด F ของ CinemaScore อันน่าสะพรึง แย่พอๆ กับหนังของโรเบิร์ต อัลท์แมน, เจน แคมเปียน, วิลเลียม ฟรีดกิน และ สตีเวน โซเดอร์เบิร์ก
หลังจากผมได้มีโอกาสชม mother! ผมยิ่งหงุดหงิดใจไปกับการรีบตัดสินเหล่านี้ และนั่นเป็นเหตุผลที่ผมอยากแบ่งปันความคิดเห็น ผู้คนดูเหมือนออกมาไล่สับเพียงเพราะว่าหนังไม่อาจนิยามได้ง่ายๆ หรือตีความได้ง่ายๆ หรือหดเหลือคำพูดเพียงสองคำ มันเป็นหนังสยองขวัญ หรือเป็นหนังตลกร้าย หรือเป็นนิทานแฝงคติไบเบิล หรือเป็นนิทานสอนใจเรื่องศีลธรรมและการทำลายสิ่งแวดล้อม บางที มันอาจเป็นทั้งหมดนั้นอย่างละนิดหน่อย แต่ไม่ใช่อยู่ในหมวดหนึ่งหมวดใดเพียวๆ แน่นอน
หนังจำเป็นต้องได้รับการอธิบายไหม แล้วประสบการณ์ในการชม mother! ล่ะ มันทั้งสัมผัสได้ มีการจัดวางและการแสดงอย่างยอดเยี่ยมสวยงาม มุมกล้องที่แสดงความเห็นส่วนตัว และกลับมุมมองผ่านสายตาซึ่งเคลื่อนที่อยู่ตลอด…การออกแบบเสียง ที่พุ่งใส่ผู้ชมจากทุกมุมและนำคุณดำดิ่งลงไปลึกขึ้นๆ ในฝันร้าย…การค่อยๆ คลี่เรื่องราวออกซึ่งยิ่งทำให้ปั่นป่วนใจมากขึ้นเมื่อหนังดำเนินไป ความเป็นหนังสยองขวัญ หนังตลกร้าย เนื้อหาไบเบิล นิทานสอนใจ มันอยู่ในนั้นทั้งหมด แต่มันเป็นองค์ประกอบในประสบการณ์รวมทั้งหมดที่กลืนตัวละครกับผู้ชมร่วมไปด้วย มีแต่นักทำหนังตัวจริงและมีความคลั่งไคล้เท่านั้นที่จะทำหนังเช่นนี้ได้ ซึ่งผมยังคงได้ประสบการณ์นั้นอยู่หลายสัปดาห์หลังจากชมหนัง
หนังดีจากคนทำหนังตัวจริงไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้มองออก เสพ หรือเข้าใจโดยทันที หนังดีไม่ได้มีเพื่อให้ชอบโดยทันทีด้วยซ้ำ มันถูกสร้างมาแค่เพราะคนที่อยู่หลังกล้องต้องทำมันออกมา และใครก็ตามที่คุ้นเคยกับประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ย่อมรู้ดี มีรายชื่อหนังมากมายยาวเฟื้อย เช่น The Wizard of Oz, It’s a Wonderful Life, Vertigo และ Point Blank เป็นต้น ที่ถูกปฏิเสธในทีแรกตอนที่ออกฉายแล้วกลายเป็นหนังคลาสสิคในภายหลัง การให้คะแนนของ Tomatometer และการให้เกรดของ Cinemascore ไม่ช้าก็จะหายไป หรือบางทีอาจถูกเขี่ยไปโดยอะไรที่แย่กว่าด้วยซ้ำ
หรือบางที พวกมันอาจจะเลือนลางและจางหายไปด้วยแสงแห่งดวงวิญญาณดวงใหม่ของผู้ที่มีความสามารถในการอ่านเขียนเรื่องภาพยนตร์ ขณะเดียวกัน การรังสรรค์ภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความรักอย่าง mother! จะยังคงเติบโตในจิตใจของเรา
ที่มาข่าว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://jediyuth.com/2017/10/11/martin-scorsese-on-mother-and-rotten-tomatoes/
ความเห็นของมาร์ติน สกอร์เซซี ต่อหนัง mother! และ Rotten Tomatoes
ผู้กำกับระดับตำนาน มาร์ติน สกอร์เซซี ได้ไปเป็นนักเขียนรับเชิญให้ The Hollywood Reporter และเขียนถึงการประเมินคุณค่าภาพยนตร์ด้วยรายได้หนังหรือบ๊อกซ์ออฟฟิศ และการให้คะแนนหนังของ Rotten Tomatoes กับ CinemaScore ต่อหนัง mother! ของผู้กำกับแดเรน แอโรนอฟสกี้ ที่เป็นประเด็นามสื่อฮอลลีวู้ดเมื่อไม่นานมานี้ครับ บางอย่างในบทความที่สกอร์เซซีเขียนมีมุมมองที่น่าสนใจที่คิดว่าควรนำมาแปลเพื่อบอกต่อแม้ว่าบางคนจะไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด แต่ก็มีหลายประเด็นที่ทำให้กลับมาฉุดคิด ได้ทบทวนตัวเองและเกิดมุมมองใหม่ และเป็นแรงบันดาลใจเหมือนกันครับ mother! ได้เกรด F จาก CinemaScore ซึ่งเป็นคะแนนจากการที่บริษัทด้านการตลาดไปสำรวจความเห็นผู้ชมหลังจากดูหนังจบ จากนั้นเกรด F ก็กลายเป็นประเด็นในสื่อเอาไปขยายต่อ ขณะที่ผู้กำกับแอโรนอฟสกี้ก็ดูเหมือนว่าจะเข้าใจและคาดเดาได้ว่าทำไมถึงได้เกรดสอบตกแบบนี้จากผู้ชม ทีมการตลาดยังใช้ความเห็นนักวิจารณ์ฝั่งชมและด่ามาตีคู่ให้ผู้ชมไปพิสูจน์กันด้วยตัวเองด้วยครับ และนี่คือมุมมองของสกอร์เซซีต่อเรื่องทั้งหมดนี้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ที่มาข่าว [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้