เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนงู สถานเสาวภา ได้ตีพิมพ์รายงานการแพร่กระจายของงูพิษชนิดหนึ่งที่จังหวัดน่าน Brown spotted pit viper (Protobothrops mucrosquamatus)
โดยความเป็นมาของเจ้างูตัวนี้ เริ่มต้นจากการที่เขากัดผู้ชายคนหนึ่งในขณะเข้าไปหาของป่าตามปกติ เลยถูกตีตายแล้วซากงูถูกนำไปยังโรงพยาบาลน่านพร้อมกับผู้ป่วย แต่ลักษณะของงูตัวนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับงูหลายชนิด โดยสีสันบนหัวคล้ายกับงูกะปะ แต่ลายลำตัวคล้ายงูแมวเซา รูปร่างเพรียวยาวทำให้ดูคล้ายกับงูแม่ตะงาวรังนก (ตามรูปเปรียบเทียบ) ทางโรงพยาบาลจึงประสานไปยังศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี จากน้นก็มีการส่งตัวอย่างมาทางสวนงู สถานเสาวภา เพื่อทำการวิเคราะห์ยืนยันชนิดของเจ้างูตัวนี้ และปรากฏว่างูตัวนี้ไม่ใช่งูพิษในกลุ่มเดียวกับงูพิษที่เคยเจอในประเทศไทย และนับเป็นงูในกลุ่ม Protobothrops spp. ตัวแรกที่เจอในบ้านเราอีกด้วย
เจ้างูตัวนี้เป็นงูพิษที่มีพิษต่อระบบโลหิต ซึ่งจัดว่าเป็นงูพิษที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดว่าเป็นงูพิษที่มีอันตรายในลำดับต้นๆ ในบางประเทศ เช่น ไต้หวัน และจีน เป็นต้น แต่สำหรับผู้ป่วยที่โดนกัดที่จังหวัดน่านในครั้งนี้ ไม่มีอาการผิดปกติที่น่าเป็นห่วง มีความเป็นไปได้ว่างูไม่ได้ปล่อยพิษในการกัดครั้งนี้ จึงสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยหวังว่ารายงานฉบับนี้นอกจากจะเป็นการรายงานการพบงูแล้ว ยังหวังว่าจะทำให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากงูชนิดนี้ และเกิดการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในอนาคตอีกด้วยจากการสอบถามเบื้องต้นเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่มีการพบงูชนิดนี้ในพื้นที่อยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากมีความคล้ายกับงูพิษชนิดอื่นเช่น งูกะปะ ทำให้ในท้องถิ่นอาจจะไม่ได้สังเกตว่าเป็นงูต่างชนิดกัน และจากกรณีนี้ที่ชาวบ้านโดนงูชนิดนี้กัด เป็นเพราะงูป้องกันตัว เนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่ชาวบ้านเข้าไปหาของป่า นั่นก็หมายถึงว่างูชนิดนี้อาศัยอยู่ไกลบ้านเรือนของคน
ขอฝากรายงานฉบับเต็มให้กับผู้ที่สนใจและต้องการศึกษาให้ Download ไปอ่านหรืออ้างอิงกันได้ตามความเหมาะสม
Link >>
https://life.tci-thaijo.org/index.php/tnh/article/view/335
ภาพแสดงตัวอย่างที่ได้รับมาจากโรงพยาบาลน่าน
ภาพเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกับงูชนิดอื่นๆ ซ้ายบน,ขวาบน : ลูกงูแมวเซา , งูแม่ตะงาวรังนก กลางซ้าย : ลูกงูกะปะ ภาพที่เหลือ : งู Protobothrops mucrosquamatus
เปรียบเทียบงูหางแฮ่มภูเขาเหนือ ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่เดียวกัน
ภาพซ้ายสุด : ท้องงูแมวเซา ภาพกลางและขวา : ท้องของงูต้นเรื่อง
ภาพจากต่างประเทศ
Clip จากต่างประเทศ
Credit :
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1922461487971597&id=1423989014485516 และ Fabian Meier @ Youtube
รายงานการพบเจอ "งูพิษ" อีกชนิดอย่างเป็นทางการในประเทศไทย : Brown Spotted Pit viper
โดยความเป็นมาของเจ้างูตัวนี้ เริ่มต้นจากการที่เขากัดผู้ชายคนหนึ่งในขณะเข้าไปหาของป่าตามปกติ เลยถูกตีตายแล้วซากงูถูกนำไปยังโรงพยาบาลน่านพร้อมกับผู้ป่วย แต่ลักษณะของงูตัวนี้มีส่วนคล้ายคลึงกับงูหลายชนิด โดยสีสันบนหัวคล้ายกับงูกะปะ แต่ลายลำตัวคล้ายงูแมวเซา รูปร่างเพรียวยาวทำให้ดูคล้ายกับงูแม่ตะงาวรังนก (ตามรูปเปรียบเทียบ) ทางโรงพยาบาลจึงประสานไปยังศูนย์พิษวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี จากน้นก็มีการส่งตัวอย่างมาทางสวนงู สถานเสาวภา เพื่อทำการวิเคราะห์ยืนยันชนิดของเจ้างูตัวนี้ และปรากฏว่างูตัวนี้ไม่ใช่งูพิษในกลุ่มเดียวกับงูพิษที่เคยเจอในประเทศไทย และนับเป็นงูในกลุ่ม Protobothrops spp. ตัวแรกที่เจอในบ้านเราอีกด้วย
เจ้างูตัวนี้เป็นงูพิษที่มีพิษต่อระบบโลหิต ซึ่งจัดว่าเป็นงูพิษที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดว่าเป็นงูพิษที่มีอันตรายในลำดับต้นๆ ในบางประเทศ เช่น ไต้หวัน และจีน เป็นต้น แต่สำหรับผู้ป่วยที่โดนกัดที่จังหวัดน่านในครั้งนี้ ไม่มีอาการผิดปกติที่น่าเป็นห่วง มีความเป็นไปได้ว่างูไม่ได้ปล่อยพิษในการกัดครั้งนี้ จึงสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยหวังว่ารายงานฉบับนี้นอกจากจะเป็นการรายงานการพบงูแล้ว ยังหวังว่าจะทำให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากงูชนิดนี้ และเกิดการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในอนาคตอีกด้วยจากการสอบถามเบื้องต้นเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่มีการพบงูชนิดนี้ในพื้นที่อยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากมีความคล้ายกับงูพิษชนิดอื่นเช่น งูกะปะ ทำให้ในท้องถิ่นอาจจะไม่ได้สังเกตว่าเป็นงูต่างชนิดกัน และจากกรณีนี้ที่ชาวบ้านโดนงูชนิดนี้กัด เป็นเพราะงูป้องกันตัว เนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่ชาวบ้านเข้าไปหาของป่า นั่นก็หมายถึงว่างูชนิดนี้อาศัยอยู่ไกลบ้านเรือนของคน
ขอฝากรายงานฉบับเต็มให้กับผู้ที่สนใจและต้องการศึกษาให้ Download ไปอ่านหรืออ้างอิงกันได้ตามความเหมาะสม
Link >> https://life.tci-thaijo.org/index.php/tnh/article/view/335
ภาพแสดงตัวอย่างที่ได้รับมาจากโรงพยาบาลน่าน
ภาพเปรียบเทียบความคล้ายคลึงกับงูชนิดอื่นๆ ซ้ายบน,ขวาบน : ลูกงูแมวเซา , งูแม่ตะงาวรังนก กลางซ้าย : ลูกงูกะปะ ภาพที่เหลือ : งู Protobothrops mucrosquamatus
เปรียบเทียบงูหางแฮ่มภูเขาเหนือ ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่เดียวกัน
ภาพซ้ายสุด : ท้องงูแมวเซา ภาพกลางและขวา : ท้องของงูต้นเรื่อง
ภาพจากต่างประเทศ
Clip จากต่างประเทศ
Credit : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1922461487971597&id=1423989014485516 และ Fabian Meier @ Youtube