สวัสดีครับ กระทู้นี้ก็จะเป็นการทดสอบการใช้ขาตั้ง Giottos memoire 40 ในการถ่ายดาวว่าความสามารถขาตั้งนี้จะทำได้ขนาดไหน แน่นอนว่าในกระทู้นี้เราจะไม่ได้ถ่ายดาวเเบบทั่วไปนะครับ และก็จะมีเทคนิค ที่เค้าถ่ายกันยังไงให้สวย ๆ เนียน ๆ ซึ่งก็เป็นเทคนิคที่ผมใช้ทุกครั้ง อย่างแรกเลย เราก็ต้องเรียนรู้ หาข้อมูล ๆต่าง ๆ ก่อน ซึ่งมันจะเเสดงว่าเราสนใจที่จะถ่าย ทางด้านนี้จริง ๆ และไม่จำเป็นที่ต้องใช้กล้องแพง ๆเลนส์แพง ๆ ก็สามารถถ่ายให้สวยได้ครับ
ส่วนรายละเอียดขาตั้งนั้น คร่าว ๆ
หรือในกระทู้เเรก
https://ppantip.com/topic/36850967
หลักการนั้นมันก็เหมือนกันการถ่ายแลนด์ทั่วไปนั่นเเหละครับ เพียงเเต่ว่าเป็นกลางคืน “คำว่าถูกที่ถูกช่วงเวลา” นั้นก็ยังได้ใช้เหมือนกัน
ถูกที่ = คือที่ที่มืดมาก ๆ จนเห็นดาวด้วยตาเปล่าเลย แน่นอนว่าต้องออกจากนอกเมืองราว 30-40 กิโล ไร้ควันจากรถยนต์ และเเสงไฟจากเมือง และอีกอย่างหนึ่งก็คือ Moon นั่นเองครับ ปัจจัยหลักควรดูพระจันทร์ด้วย
หรือเป็นไปได้ ขึ้นที่สูงไปเลย เช่น ดอยต่าง ๆ อินทนนท์ เขาใหญ่ ภูสอยดาว อื่นๆ เพื่อเลี่ยงหมอกควันรถ
แผนที่ความมืด
Lunar Phase หรือดูปฏิทินตามบ้าน
ถูกช่วงเวลา = คือช่วงที่ทางช้างเผือกขึ้น กับช่วงพระจันทร์ ดับ (หรือความสว่างไม่เกิน 25 % จากประสบการณ์
-ทางช้างเผือกจะขึ้นช่วงกุมภาพันธ์ เวลาประมาณ ตี 5 เเละจะขึ้นช้าขึ้นเรื่อง ๆครับ จนเดือนตุลาคมจะขึ้นหลังช่วง Twilight ซึ่งมันตั้งโด่แล้ว บอกถึงว่าใกล้จะหมดเวลาแล้ว และตกลับขอบฟ้าช่วง 21:00 โดยประมาณ
ที่ผู้คนนิยมก็คือช่วงกุมพาพันธ์ ครับ
ภาพจาก
http://atomiczen.net/milkyway2560/
ทางช้างเผือกช่วงกุมพาพันธ์เวลาประมาณตี 5 กับ ตุลาคม เวลาประมาณทุ่ม
Application: Star Chart (ios Free)
Rule of 400/600
-ในกรณีกล้องที่เป็นตัวคูณ
ให้นำ 400 หาร ระยะเลนส์ จะเท่ากับ เวลาในการเปิดรับแสงเข้ามาหรือสปีดชัตเตอร์ค้างไว้ เช่น
400/16 = 25 วินาที
-ในกรณีกล้องที่เป็นฟูลเฟรม ให้นำ 600 หาร ระยะเลนส์ จะเท่ากับ เวลาในการเปิดรับแสงเข้ามาหรือสปีดชัตเตอร์ค้างไว้ เช่น
600/16 = 37.5 วินาที
แต่ก็เป็นแค่การประมาณการให้ดาวไม่ยืด เพราะมันมีเรื่องความละเอียดกล้องเข้ามาเกี่ยวอีกทำให้ Speed มันลดลงเรื่อย ๆ
อุปกรณ์
1. กล้อง Full frame , APS-C , M4/3 ค่ายไหนก็ใช้ได้ครับ จะสวยไม่สวยก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพกล้องอีกทีนึง ไม่ใช่ว่า เพียงแค่ไม่ใช่ FF ก็ถ่ายได้ แต่ที่หมายถึงนั้นก็คือ พวก APS-C , M4/3 ที่คนนิยมใช้กันอยู่ในหมู่ Entry อย่าลืม Memorie ขั้นต่ำ 16 Gb
2. เลนส์ ไวแสง คือ F น้อย ๆ 1.4, 1.8, 2.0, 2.8, 3.5, 4 ก็ใช้ได้ครับ
-Wide สำหรับเก็บวิว ส่วนมากคนใช้ช่วง Wide กัน
-Fix อาจจะใช้เจาะใจกลาง หรือถ่ายทำ Panorama
3. รีโมตลั่น Shutter มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะสามารถใช้ Mode Timer 3 วิ 5 วิ 10 วิ ในกล้องได้ แต่ถ้าใครใช้ Tracker นั่น ควรมีเพราะต้องเปิด Shutter นาน
4. ขาตั้งนี่สำคัญมาก ๆ และควรมั่นคงเพราะว่าอาจจะมีลม แล้วยิ่งเปิด shutter นาน ยิ่งเสี่ยงที่จะภาพเบลอ ๆ ไม่คมได้ ซึ่งผมได้นำ Giottos Memoire 40 มาทดสอบ ซึ่งต้องขอขอบคุณ Mark macross เป็นอย่างมาก
5. Tracker คือตัวตามดาว อาจจะไม่จำเป็นสำหรับมือใหม่ ซึ่งจะทำให้เราเปิด Speed ได้นานขึ้น ใช้ iso น้อยลง
การปรับตั้งค่ากล้องนั้น (M Mode)
1.ถ่ายเป็น Raw file เพื่อความยืดหยุ่นในการ Process
2.f ใช้ค่า f ต่ำที่สุดของเลนส์ เช่น 1.8 , 2.8 , Kit 3.5
3.White balance 3600-4000 K
4.Shutter Speed ประมาณ 20-30 Sec ตาม 400/600 Rule
5.ISO ประมาณ 1600-3200 แล้วแต่กล้องที่จะรับได้
ส่วน ระบบ Long Exposure Noise Reduction อาจจะเปิดหรือปิดก็ได้ และ High ISO Speed Noise Reduction ควรเปิด
6. อย่าลืมปิด OIS กันสั่นกล้องด้วยนะครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------
อุปกรณ์ ที่ผมใช้ในกระทู้นี้ ก็จะมี
1.Nikon D7100 + Lens 11-16 f/2.8
2.ขาตั้ง Giottos Memoire 40
3. StarTracker (สำหรับคนที่ไม่มีนั้น Noise อาจจะเยอะแต่ผมมีเทคนิคบอกด้านล่างเลยครับ)
หลังจากที่เราศึกษาทุกอย่างพร้อมเเล้ว ก็หาเวลาเเละสถานที่ที่ปลอดภัยไปถ่ายกันเลยครับ ซึ่งผมไปอ่างเก็บน้ำแถวสันกำเเพง ซึ่งมืดพอที่จะเห็นทางช้างเผือกด้วยตาเปล่าได้ หลังจากนั้นก็ Set กล้อง
- สำหรับคนที่ใช้ Tracker ก็เซ็ตทิศ กับมุมให้ดีดีครับ เชียงใหม่ 18 องศาโดยประมาณ
สำหรับคนทั่วไปนั้นก็อาจจะใช้ App : Star Chart แพนหา หรืออาจจะสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า (หากลุ่มดาวเเมงปล่อง)
แนะนำเป็นหัวบอลนะครับ เพราะมันสะดวกกว่า อิสระกว่าหัวแบบหัวแพน
และอีกหนึ่งข้อดีขาตั้ง Giottos memoire 40 คือมีเข็มทิศให้ได้ใช้งานคร่าว ๆ เพื่อหาทิศ เหนือ
เมื่อเซ็ตกล้องเสร็จเเล้ว อาจจะลองยิงดูภาพจริง ๆก่อนเผื่อจะปรับมุมอะไรอีก(อาจจะใช้ Iso 6400 speed 15-20 sec ) (Tracker อาจจะลองใช้ Speed 60 sec เพื่อเช็คการทำ Polar alignment ว่าถูกไหม)
(ไม่มีการปรับอะไรแต่อย่างใด ภาพหลังกล้อง)
ภาพซ้ายมือ Speed 60 sec ภาพขวามือ Speed 113 sec ด้านซ้ายดาวยืด เพราะไม่ได้ใช้ Tracker ภาพขวาเวลา Speed นานกว่าแต่ดาวไม่ยืดและคมกริป ซึ่งน้ำหนักกล้อง กับเลนส์ก็1 กิโลกว่าแล้วติด Tracker เข้าไปอีก เกือบ 2 กิโลกรัม เปิด Speed นานขนาดนี้ แสดงว่า ขาตั้ง Giottos memoire 40 เอาอยู่ ประสิทธิภาพ คุ้มค่าเลย แถมน้ำหนักที่เบา กางง่ายเเละสะดวกต่อการพกพา
หลังจากนั้นก็เก็บภาพไปเรื่อย ๆครับ จนกว่าจะหมดเวลา ซึ่งผมได้ใช้ กระเป๋าถ่วงเอาไว้ เพราะมันมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเราใช้ Speed นานมาก
[SR] ทดสอบขาตั้ง Giottos Memoire 40 ถ่ายทางช้างเผือกและเทคนิคการถ่ายทางช้างเผือก
ส่วนรายละเอียดขาตั้งนั้น คร่าว ๆ
หรือในกระทู้เเรก https://ppantip.com/topic/36850967
http://darksitefinder.com/maps/world.html
-ทางช้างเผือกจะขึ้นช่วงกุมภาพันธ์ เวลาประมาณ ตี 5 เเละจะขึ้นช้าขึ้นเรื่อง ๆครับ จนเดือนตุลาคมจะขึ้นหลังช่วง Twilight ซึ่งมันตั้งโด่แล้ว บอกถึงว่าใกล้จะหมดเวลาแล้ว และตกลับขอบฟ้าช่วง 21:00 โดยประมาณ ที่ผู้คนนิยมก็คือช่วงกุมพาพันธ์ ครับ
ภาพจาก http://atomiczen.net/milkyway2560/
Application: Star Chart (ios Free)
แต่ก็เป็นแค่การประมาณการให้ดาวไม่ยืด เพราะมันมีเรื่องความละเอียดกล้องเข้ามาเกี่ยวอีกทำให้ Speed มันลดลงเรื่อย ๆ
-Wide สำหรับเก็บวิว ส่วนมากคนใช้ช่วง Wide กัน
-Fix อาจจะใช้เจาะใจกลาง หรือถ่ายทำ Panorama
1.ถ่ายเป็น Raw file เพื่อความยืดหยุ่นในการ Process
2.f ใช้ค่า f ต่ำที่สุดของเลนส์ เช่น 1.8 , 2.8 , Kit 3.5
3.White balance 3600-4000 K
4.Shutter Speed ประมาณ 20-30 Sec ตาม 400/600 Rule
5.ISO ประมาณ 1600-3200 แล้วแต่กล้องที่จะรับได้
ส่วน ระบบ Long Exposure Noise Reduction อาจจะเปิดหรือปิดก็ได้ และ High ISO Speed Noise Reduction ควรเปิด
6. อย่าลืมปิด OIS กันสั่นกล้องด้วยนะครับ
อุปกรณ์ ที่ผมใช้ในกระทู้นี้ ก็จะมี
1.Nikon D7100 + Lens 11-16 f/2.8
2.ขาตั้ง Giottos Memoire 40
3. StarTracker (สำหรับคนที่ไม่มีนั้น Noise อาจจะเยอะแต่ผมมีเทคนิคบอกด้านล่างเลยครับ)
- สำหรับคนที่ใช้ Tracker ก็เซ็ตทิศ กับมุมให้ดีดีครับ เชียงใหม่ 18 องศาโดยประมาณ
สำหรับคนทั่วไปนั้นก็อาจจะใช้ App : Star Chart แพนหา หรืออาจจะสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า (หากลุ่มดาวเเมงปล่อง)
(ไม่มีการปรับอะไรแต่อย่างใด ภาพหลังกล้อง)