ปรึกษาผู้รู้กฏหมายการหมั้น การบอกเลิกสัญญาหมั้น การคืนค่าสินสอดครับ

ลำดับเหตุการณ์
1.    ชายและหญิงหมั้นกัน แต่ไม่ได้ทำสัญญาหมั้น  ชายให้สินสอดแก่ฝ่ายหญิง เรียบร้อย

2.    หลังจากการหมั้น ก็ได้อยู่กินกัน เสมือนเป็นสามีภรรยากัน ร่วมเกือบ 1 ปี ครึ่ง


3.    ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายขอถอนหมั้น อ้างว่าอยู่ด้วยกันแล้ว “อึดอัด” โดยทั้งสองฝ่ายไม่ได้ทำร้ายร่างกายกัน ไม่ได้ด่าทอโดยใช้ถอยคำหยาบคาย ไม่ได้มีชู้หรือไปร่วมหลับนอนกับคนอื่น และไม่ได้ทำความผิดร้ายแรงเช่นปล้น หรือฆ่าคน เป็นต้น

4.    ฝ่ายชายจึงตกลงกับฝ่ายหญิงว่าจะขอคืนสินสอดทั้งหมด ฝ่ายหญิงก็ตกลง


5.    แม่ของฝ่ายหญิง พอทราบเรื่องแล้วไม่ยินยอม และจะคืนค่าสินสอดเพียงแค่ครึ่งเดียว โดยอ้างว่า ได้ไปปรึกษาทนาย 3 คน และทนายบอกแบบนั้น

คำถาม จากเหตุการนี้
1.    จากข้อ 3 ข้างต้น ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ใช่หรือไม่ (ตามมาตรา 1437, 1439, 1440 (1 ทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงแห่งชาย), 1442 )

2.    ถ้าฝ่ายหญิงไม่ผิดสัญญา แต่เป็นเหตุที่ทำให้ฝ่ายชายไม่อาจสมรสกับหญิงได้ ฝ่ายชายสามารถถอนหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้หรือไม่ (ตามมาตรา 1437, 1439, 1440 (1. ทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงแห่งชาย), 1442 )


3.    ถ้าได้ แม่ฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะคืนค่าสินสอดเพียงครึ่งหนึ่งหรือไม่มีสิทธิ โดยแม่ฝ่ายหญิงอาจอ้างมาตรา 1440 (1. ทดแทนความเสียหายต่อกายแห่งหญิง)

4. ช่วยแนะนำผมด้วยครับ ตอนนี้คิดไม่ออกแล้วครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1.ให้สินสอด  คือ ให้พ่อแม่ของฝ่ายหญิง เพื่อให้ยินยอมหมั้นและสมรส
ดังนั้นไม่ใช่ของหมั้นและของหมั้นต้องมอบให้ฝ่ายหญิงตอนหมั้น ดังนั้นไม่ใช่การหมั้น การหมั้นจึงไม่สมบูรณ์

2. ไม่มีความเห็น

3.ไม่ใช่การหมั้น จึงไม่จำเป็นต้องถอนหมั้น

4. สินสอดเป็นเรื่องของแม่กับชาย  เมื่อไม่มีการหมั้นและไม่มีการสมรส เพราะฝ่ายหญิง ไม่ยอมสมรส (อยู่กินไม่ได้จดทะเบียนสมรสไม่มีผลทางกฎหมาย)ก็สามารถเรียกสินสอดคืนได้ ลาภมิควรได้

4 แม่ฝ่ายหญิงมั่ว ไปถามทะแนะ ไม่ใช่ทนาย



สุด ท้าย เจ้าของกระทู้ อ่านกฎหมายใหม่ ค่อยถาม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่