สวัสดีค่ะ วันนี้มีวรรณกรรมเยาวชนเล่มหนึ่ง อ่านแล้วรู้สึกดีเลยอยากมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
ปกติแก่แล้วไม่ค่อ่ยได้อ่านวรรณกรรมเยาวชนเท่าไหร่ 555
.
.
.
…ปลาบนต้นไม้…Fish in a tree…
เขียน : ลินดา มัลลาลี ฮันต์
แปล : ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ
แอลลี่ นิกเคอร์สัน…เด็กน้อยผู้มีปัญหากับตัวอักษรทั้งการอ่านและเขียน การไปโรงเรียนจึงเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเธอ 7 ปี กับ 7 โรงเรียน…แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น นอกจากความเชื่อที่คอยตอกย้ำแอลลี่ซ้ำๆว่าโง่ ตัวประหลาด หรือขี้แพ้ จนทำให้ถูกเพื่อนคนอื่นล้อเลียนหรือbully ทั้งๆที่เธอมีพรสวรรค์ด้านจินตการและการคิดเป็นภาพล้ำเลิศ จนกระทั่งแอลลี่ได้เจอ..มิสเตอร์แดเนียล…ครูคนใหม่ซึ่งมาแทนมิสซิสฮอลล์ที่ลาคลอด มิสเตอร์แดเนียลได้เข้ามาค้นพบว่าจริงๆแล้วเธอน่าจะมีอาการของ “ดิสเล็กเซีย” เธอไม่ได้โง่ แต่แค่สมองของเธอคำนวณสิ่งต่างๆแตกต่างไปจากคนอื่นๆเท่านั้นเอง มิสเตอร์แดเนียลจะทำยังไงนะให้แอลลี่กลับมาอ่านหนังสือได้ เขาจะสร้างความเชื่อและความมั่นใจในตัวเองใหม่ให้แอลลี่ได้อย่างไร และแอลลี่เองจะกลับมาเข้าสังคมในโรงเรียนอย่างมีความสุขได้หรือไม่
วรรณกรรมเยาวชนชนะเลิศรางวัล Schneider Family Book Award และติด New York Times Bestsellers เล่มนี้มีเค้าโครงจากชีวิตจริงของผู้เขียน…ผู้เป็นดีสเล็กเซียในตอนเด็ก น้อมใจให้เชื่อดังคำบอกของไอน์สไตน์ที่ว่า
“เราทุกคนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้ ปลาตัวนั้นก็จะต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเชื่อที่ว่าตัวเองโง่งมไปทั้งชีวิต”
อิชั้นยังไม่มีลูก(กล่าวเพื่อ? 5555) แต่อ่านจบแล้วรู้สึกตัวเองมองเด็กๆด้วยสายตาที่กว้างไกลมากขึ้นและตระหนักถึงเรื่องหนึ่งที่ว่า
‘เด็กทุกคนต่างมีพรสวรรค์พิเศษที่จะมอบให้แก่โลก’
ครูที่โรงเรียนเองก็สำคัญไม่แพ้พ่อแม่ที่บ้าน การได้ครูดีก็จะพาให้ลูกศิษย์ได้ดีนั้นเป็นเรื่องจริง ในเรื่องนอกจากแอลลี่แล้ว ยังมีเดอะแกงค์..อัลเบิร์ต เด็กชายจอมวิชาการและคีชา ผู้มีจิตใจดีและเป็นตัวของตัวเอง…ดูเหมือนเป็นการรวมกลุ่มของคนประหลาดๆที่ไม่มีใครคบ แต่จริงๆแล้วถ้ามองเด็กทุกคนด้วยจิตใจที่กว้างขวางจะพบว่าแต่ละคนมีความเป็นอัจฉริยะในด้านที่ต่างกันไปนั่นเอง อ่านแล้ว บางครั้งผู้ใหญ่อย่างอิชั้นยังสะอึก เออ…จริงว่ะ! จริงของคีชามันว่ะ! แล้วเราจะกลุ้มไปทำไมวะ จะแคร์ไปทำไมวะ 5555 …รู้สึกเหมือนยัยคีชากำลังสอนอิชั้นอยู่เลยฮร่ะ! 555
สุดท้ายขอฝากประโยคเดิมอีกครั้งค่ะ เพราะมันโดนจริงๆ!
“เราทุกคนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้ ปลาตัวนั้นก็จะต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเชื่อที่ว่าตัวเองโง่งมไปทั้งชีวิต”
#ปลาบนต้นไม้ #Fishinatree #lyndamullalyhunt
#วรรณกรรมเยาวชน #สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน
PS : อิชั้นอ่านแล้วบางครั้งหาคนเม้าท์มอยด้วยยากฮร่ะ! 555 หากนักอ่านท่านใดสนใจ มีความคิดเห็นอย่างไรเข้าไปพูดคุยกันที่
https://www.facebook.com/justareader ได้นะคะ
ขอบคุณค่ะ
[CR] รีวิวหนังสือ...ปลาบนต้นไม้
ปกติแก่แล้วไม่ค่อ่ยได้อ่านวรรณกรรมเยาวชนเท่าไหร่ 555
.
.
.
…ปลาบนต้นไม้…Fish in a tree…
เขียน : ลินดา มัลลาลี ฮันต์
แปล : ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ
แอลลี่ นิกเคอร์สัน…เด็กน้อยผู้มีปัญหากับตัวอักษรทั้งการอ่านและเขียน การไปโรงเรียนจึงเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเธอ 7 ปี กับ 7 โรงเรียน…แต่ไม่มีอะไรดีขึ้น นอกจากความเชื่อที่คอยตอกย้ำแอลลี่ซ้ำๆว่าโง่ ตัวประหลาด หรือขี้แพ้ จนทำให้ถูกเพื่อนคนอื่นล้อเลียนหรือbully ทั้งๆที่เธอมีพรสวรรค์ด้านจินตการและการคิดเป็นภาพล้ำเลิศ จนกระทั่งแอลลี่ได้เจอ..มิสเตอร์แดเนียล…ครูคนใหม่ซึ่งมาแทนมิสซิสฮอลล์ที่ลาคลอด มิสเตอร์แดเนียลได้เข้ามาค้นพบว่าจริงๆแล้วเธอน่าจะมีอาการของ “ดิสเล็กเซีย” เธอไม่ได้โง่ แต่แค่สมองของเธอคำนวณสิ่งต่างๆแตกต่างไปจากคนอื่นๆเท่านั้นเอง มิสเตอร์แดเนียลจะทำยังไงนะให้แอลลี่กลับมาอ่านหนังสือได้ เขาจะสร้างความเชื่อและความมั่นใจในตัวเองใหม่ให้แอลลี่ได้อย่างไร และแอลลี่เองจะกลับมาเข้าสังคมในโรงเรียนอย่างมีความสุขได้หรือไม่
วรรณกรรมเยาวชนชนะเลิศรางวัล Schneider Family Book Award และติด New York Times Bestsellers เล่มนี้มีเค้าโครงจากชีวิตจริงของผู้เขียน…ผู้เป็นดีสเล็กเซียในตอนเด็ก น้อมใจให้เชื่อดังคำบอกของไอน์สไตน์ที่ว่า
“เราทุกคนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้ ปลาตัวนั้นก็จะต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเชื่อที่ว่าตัวเองโง่งมไปทั้งชีวิต”
อิชั้นยังไม่มีลูก(กล่าวเพื่อ? 5555) แต่อ่านจบแล้วรู้สึกตัวเองมองเด็กๆด้วยสายตาที่กว้างไกลมากขึ้นและตระหนักถึงเรื่องหนึ่งที่ว่า
‘เด็กทุกคนต่างมีพรสวรรค์พิเศษที่จะมอบให้แก่โลก’
ครูที่โรงเรียนเองก็สำคัญไม่แพ้พ่อแม่ที่บ้าน การได้ครูดีก็จะพาให้ลูกศิษย์ได้ดีนั้นเป็นเรื่องจริง ในเรื่องนอกจากแอลลี่แล้ว ยังมีเดอะแกงค์..อัลเบิร์ต เด็กชายจอมวิชาการและคีชา ผู้มีจิตใจดีและเป็นตัวของตัวเอง…ดูเหมือนเป็นการรวมกลุ่มของคนประหลาดๆที่ไม่มีใครคบ แต่จริงๆแล้วถ้ามองเด็กทุกคนด้วยจิตใจที่กว้างขวางจะพบว่าแต่ละคนมีความเป็นอัจฉริยะในด้านที่ต่างกันไปนั่นเอง อ่านแล้ว บางครั้งผู้ใหญ่อย่างอิชั้นยังสะอึก เออ…จริงว่ะ! จริงของคีชามันว่ะ! แล้วเราจะกลุ้มไปทำไมวะ จะแคร์ไปทำไมวะ 5555 …รู้สึกเหมือนยัยคีชากำลังสอนอิชั้นอยู่เลยฮร่ะ! 555
สุดท้ายขอฝากประโยคเดิมอีกครั้งค่ะ เพราะมันโดนจริงๆ!
“เราทุกคนเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้ ปลาตัวนั้นก็จะต้องใช้ชีวิตอยู่กับความเชื่อที่ว่าตัวเองโง่งมไปทั้งชีวิต”
#ปลาบนต้นไม้ #Fishinatree #lyndamullalyhunt
#วรรณกรรมเยาวชน #สำนักพิมพ์แพรวเยาวชน
PS : อิชั้นอ่านแล้วบางครั้งหาคนเม้าท์มอยด้วยยากฮร่ะ! 555 หากนักอ่านท่านใดสนใจ มีความคิดเห็นอย่างไรเข้าไปพูดคุยกันที่ https://www.facebook.com/justareader ได้นะคะ
ขอบคุณค่ะ