รบกวนสอบถามผู้รู้ครับ
ผมได้ปิดไฟแนนส์รถ แบงค์เขียวเรียบร้อย โดยลิสซิ่งให้เลือกโอนได้ 2 วิธี คือ
1.) ถ้าให้แบงค์ไปโอน รอเล่ม 15 วัน
2.) ถ้ายืมเล่มไปโอนเอง จ่ายมัดจำ 5,000 เอาเล่มกับชุดโอนลอย ไปโอนเอง ปิดวงเงินแล้วจะส่งเช็คคืนเงินภายใน 1 เดือน
ก็เลยเลือก ข้อ 2.) เพราะต้องรีบใช้เล่มเพื่อขายต่อ
ผ่านมา 3 เดือน ไม่มีเช็คคืนเงินกลับมา โทรตาม แบงค์เขียว แจ้งว่าต้องการสำเนาเล่มหลังโอนแล้ว พร้อมสำเนาบัตร ปปช. เพื่อจะออกเช็คคืนเงิน 5,000 โดยไม่แจ้งก่อนทำธุระกรรม
จากที่อ่านในกระทู้อื่นๆ คือเหตุผลที่ธนาคารต้องเก็บมัดจำ คือ เพื่อป้องกัน การดองเล่ม ทำให้ธนาคารต้องต่อไปภาษีเอง หรือ เล่มหายแล้วต้องแจ้งความ สร้างภาระงานให้กับธนาคาร
ตอนนี้เลยสงสัยว่าในเมื่อ เราไม่มีภาระหนี้ ปิดวงเงินแล้ว กฎหมายระบุไว้ว่ากรรมสิทธิ์จะโอนเป็นของผู้เช่าซื้อทันที เมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ทำไมธนาคารยังมีสิทธิ์เรียกเอกสารส่วนตัวเพื่อแลกกับการคืนเงินมัดจำ (ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา) นิติกรรมสัญญาแบบนี้จะขัดต่อกฎหมายหลักหรือไม่ ? หากฟ้องร้องกันในชั้นศาล
ปัญหาคือ ผมได้โอนรถเป็นชื่อผมแล้ว และได้ทำการโอนต่อให้กับเจ้าของรายใหม่ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ มาประเทศไทย ปีละ 1-2 เดือน ทำให้ผมไม่สะดวกที่จะติดตามสำเนาเล่มเขียวได้
หากเราโอนกรรมสิทธิ์แล้ว หรือ ขายต่อ มือสอง มือสาม ซึ่งเจ้าของใหม่ได้เป็นผู้ต่อภาษี ในปีถัดไป ทำให้ธนาคารไม่สามารถต่อภาษีได้ จะถือว่าธนาคารรับรู้และต้องคืนมัดจำให้ใช่หรือไม่ครับ ?
ทำไม เราไม่สามารถแจ้งลิสซิ่งให้ทราบทาง โทรศัพท์ หรือ call center แทนการส่งเอกสารส่วนตัว ทั้งที่ ลิสซิ่ง ก็เช็คสอบฐานข้อมูลกับขนส่งได้อยู่แล้ว ?
ขอบคุณครับ
ปิดวงเงินเช่าซื้อแล้ว ทำไมลิสซื่ง ยังเรียกเก็บ มัดจำเล่มเขียว ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา ?
ผมได้ปิดไฟแนนส์รถ แบงค์เขียวเรียบร้อย โดยลิสซิ่งให้เลือกโอนได้ 2 วิธี คือ
1.) ถ้าให้แบงค์ไปโอน รอเล่ม 15 วัน
2.) ถ้ายืมเล่มไปโอนเอง จ่ายมัดจำ 5,000 เอาเล่มกับชุดโอนลอย ไปโอนเอง ปิดวงเงินแล้วจะส่งเช็คคืนเงินภายใน 1 เดือน
ก็เลยเลือก ข้อ 2.) เพราะต้องรีบใช้เล่มเพื่อขายต่อ
ผ่านมา 3 เดือน ไม่มีเช็คคืนเงินกลับมา โทรตาม แบงค์เขียว แจ้งว่าต้องการสำเนาเล่มหลังโอนแล้ว พร้อมสำเนาบัตร ปปช. เพื่อจะออกเช็คคืนเงิน 5,000 โดยไม่แจ้งก่อนทำธุระกรรม
จากที่อ่านในกระทู้อื่นๆ คือเหตุผลที่ธนาคารต้องเก็บมัดจำ คือ เพื่อป้องกัน การดองเล่ม ทำให้ธนาคารต้องต่อไปภาษีเอง หรือ เล่มหายแล้วต้องแจ้งความ สร้างภาระงานให้กับธนาคาร
ตอนนี้เลยสงสัยว่าในเมื่อ เราไม่มีภาระหนี้ ปิดวงเงินแล้ว กฎหมายระบุไว้ว่ากรรมสิทธิ์จะโอนเป็นของผู้เช่าซื้อทันที เมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ทำไมธนาคารยังมีสิทธิ์เรียกเอกสารส่วนตัวเพื่อแลกกับการคืนเงินมัดจำ (ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเรา) นิติกรรมสัญญาแบบนี้จะขัดต่อกฎหมายหลักหรือไม่ ? หากฟ้องร้องกันในชั้นศาล
ปัญหาคือ ผมได้โอนรถเป็นชื่อผมแล้ว และได้ทำการโอนต่อให้กับเจ้าของรายใหม่ ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ มาประเทศไทย ปีละ 1-2 เดือน ทำให้ผมไม่สะดวกที่จะติดตามสำเนาเล่มเขียวได้
หากเราโอนกรรมสิทธิ์แล้ว หรือ ขายต่อ มือสอง มือสาม ซึ่งเจ้าของใหม่ได้เป็นผู้ต่อภาษี ในปีถัดไป ทำให้ธนาคารไม่สามารถต่อภาษีได้ จะถือว่าธนาคารรับรู้และต้องคืนมัดจำให้ใช่หรือไม่ครับ ?
ทำไม เราไม่สามารถแจ้งลิสซิ่งให้ทราบทาง โทรศัพท์ หรือ call center แทนการส่งเอกสารส่วนตัว ทั้งที่ ลิสซิ่ง ก็เช็คสอบฐานข้อมูลกับขนส่งได้อยู่แล้ว ?
ขอบคุณครับ