“รากนครา”...ความเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่เป็นนิรันดร์



ใครหลายคนอาจจะคิดว่า “รากนครา” เป็นละครที่มีแก่นแท้คือ แค่เรื่องความเสียสละเพื่อบ้านเมือง
...แต่ถ้าได้อ่านบทประพันธ์จริงๆ และคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบดูแล้ว
จะพบว่า เรื่องนี้ผู้ประพันธ์ต้องการให้ข้อคิด เรื่อง “การเปลี่ยนแปลง...”

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ความรู้สึกเปลี่ยน...ทัศนคติ(เปลี่ยน)
ในละครทำให้เห็นความรู้สึกของแม้นเมือง ต่อแบร็กกิ้นเปลี่ยนไป เริ่มแรกแม้นเมืองถูกปลูกฝังความคิดว่า
กุลาขาว(ชาวตะวันตก)  เป็นคนป่าเถื่อน แต่เมื่อได้สัมผัสกับอุปนิสัยว่าแบร็กกิ้น (ชาวตะวันตก)
ก็ไม่ได้เลวร้าย น่ากลัว อย่างเช่นที่เคยคิด จึงยอมรับมิตรไมตรีฉันท์มิตร...


ความเปลี่ยนแปลงทางความคิด....

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในอดีตที่ “หญิง” ไม่มีสิทธิเท่าเทียม “ชาย” เพราะถูกจารีตและประเพณี เป็นกรอบในการกำหนดการกระทำของหญิง

การเปลี่ยนแปลง...ความคิดความเชื่อ
การรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อเรื่องการครองคู่ การมีภรรยาหลายคนไม่ได้แสดงถึงความมีอำนาจ บารมี ของชาย....


การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม…แต่ก็ไม่ลืมรากเหง้าวัฒนธรรมอันดีของเราเอง

ในยุคที่วัฒนธรรมตะวันตกเป็นที่นิยม เราปฏิเสธไม่ได้ว่า...ในยุคปัจจุบันการรับวัฒนธรรมชาวตะวันตก
หรือ แม้แต่ของชาติอื่นบางเรื่องเป็นสิ่งที่ดี เราต้องรู้จักปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย
แต่เราก็ไม่ควรลืมรากเหง้า ภาษา  ประเพณี และวัฒนธรรม อันดีของเราเช่นกัน

ความเปลี่ยนแปลง การยอมรับความเจริญของชาติตะวันตก
ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ชาติตะวันตกมีความเจริญ เป็นสิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้


เจ้าแม้นเมือง...ผู้มีความคิดเปลี่ยนแปลงไป
การได้เห็นโลกกว้าง ทำให้ทัศนคติของแม้นเมืองเปลี่ยนแปลงไป...
คิดได้ด้วยสติปัญญา ว่าสิ่งใหม่ๆ ก็ไม่ได้ทำให้ความเป็นชาติบ้านเมือง หรือทำลายศักดิ์ศรีเสมอไป
จึงยอมเปลี่ยนแปลงความคิด....




การยอมปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์บางอย่าง
เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและโลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน





ความเปลี่ยนแปลง...มาพร้อมความเจ็บปวดเสมอ

บางครั้งความเปลี่ยนแปลงก็มาพร้อมกับความเจ็บปวด...เราไม่รู้ว่า...วันนี้ พรุ่งนี้
ชีวิตจากเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด...ทำเพื่อคนที่คุณรักให้มากที่สุด...
ถ้าพรุ่งนี้ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไป จะได้ไม่ต้องเสียใจที่ต้อง....จากกัน


ความเปลี่ยนแปลงของรัชกาล...เปลี่ยนแผ่นดิน

อ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ดูละคร (สี่แผ่นดิน) และอ่านบทประพันธ์รากนครา
...ไม่เคยเข้าใจความรู้สึกของเจ้าศุขวงศ์ ที่มีความเศร้าโศกเสียใจต่อการเสด็จสวรรคตของเจ้าแผ่นดินสยาม พระพุทธเจ้าหลวง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5 ) เช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่า บางเรื่องบางเหตุการณ์เราจะไม่มีเข้าใจความรู้สึกนั้น
ถ้าไม่ได้ประสบพบพานด้วยตัวเอง...จน วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ความรู้สึกของเราไม่ต่างจากเจ้าศุขวงศ์เลย
...ไม่เคยคิดว่าตัวเราเองจะต้องอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงรัชกาล...ความรู้สึกของคนในประวัติศาสตร์ วันนี้ได้เข้าใจแล้วจริงๆ
(ผู้ประพันธ์มองการณ์ไกล ที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในอนาคต ที่เราเองไม่เคยคาดคิดไว้  นี่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย”...)




เมื่อเราพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงจะพบว่า แม้แต่สิ่งของ ตัวเรา คนอื่น  หรืออะไรก็ตามนั้นย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่การเปลี่ยนแปลงก็เป็นบทเรียนในชีวิตที่เราได้เข้ารับการทดสอบ  การเปลี่ยนแปลงทำให้เราได้เรียนรู้ ได้พัฒนา และเติบโต
ในเมื่อสิ่งต่างๆ ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เราสามารถพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทุกขณะ เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว เราก็จะเกิดการยอมรับ ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนแปลงไป เราต้องมีสติ ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงนั้น...ใจเราก็จะมีความสุข

เรารอให้รีเมคเรื่องนี้มา 17 ปี... จนได้อ่านบทประพันธ์แล้ว เคยตอบกระทู้หนึ่งว่า เรามีความมั่นใจว่า...พี่อ๊อฟ จะสามารถตีความเวอร์ชั่นนี้ถึงแก่นแท้ของบทประพันธ์จริงๆๆ ...นั้นคือ “ความเปลี่ยนแปลง”  
แล้วพี่อ๊อฟก็ไม่ทำให้ผิดหวัง...ถึงเราจะเป็นคนส่วนน้อยที่มองลึกถึงแก่นแท้ของบทประพันธ์รากนคราที่ต้องการนำเสนอ
“ความเปลี่ยนแปลง...นั้นเป็นนิรันดร์” ซึ่งไม่มีใครที่สามารถหลีกหนีความเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้...
บทประพันธ์รากนคราถึงมีความคลาสสิกไม่เคยล้าสมัย ไม่ว่ายุดใดสมัยใด

อยากขอบคุณ ทีมงานรากนครา นักแสดง(ทุกคน พี่แดงแคสได้ตรงใจมากจริงๆค่ะ) รวมทั้ง ผู้เขียนบท ที่ทำให้ละครเรื่องนี้ออกมาตรงใจ
ขอเก็บละครเรื่องนี้ไว้ในความทรงจำตลอดไป...


ความเปลี่ยนแปลงอันไม่เคยหยุดนิ่งก่อเงาตะคุ่มขึ้นตรงโน้น ตรงนี้ เวลาที่เคลื่อนคล้ายเข้าสู่ยามย่ำสนธยาก็แรสีคล้ำลงบนฟ้ากว้างเพื่อขับเงาขาวสว่างของเหล่าดาราที่เริ่มกะพริบแสง...สายลมเย็นยามค่ำค่อยพัดโบกโบย สดใส เยือกเย็น และพาเอากลีบ
บางเบาอ่อนลออของไม้ดอกที่แผ่คลุมอยู่เหนือศีรษะปลิวคว้างลงสัมผัสดิน...
สองร่างค่อยเดินเคียงกันออกจากดงไม้ ละทิ้งเจดีย์สีขาวองค์น้อยไว้เบื้องหลัง...
ดุจเดียวกับดอกผลและกิ่งก้านของไม้ใหญ่ที่แตกยอดเชิงใบสู้ฟ้ากว้างและดวงตะวันได้ก็ด้วยแรงค้ำจุนของ “ราก” ซึ่งฝังตัวอยู่ใต้พิภพกระนั้น...
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่