ตามข่าวนี้
http://www.bbc.com/thai/international-40116934
และนี้
https://m.ppantip.com/topic/31572225?
หากมองอย่างเป็นกลาง ทั้งสองโครงการต่างก็เป็นไปได้ยาก ส่งจรวดไปดวงอาทิตย์ เป็นเรื่องท้าทายกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ เป็นโครงการที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง และไม่มีอะไรรับประกันว่าจะทำสำเร็จหรือทำได้จริง
แต่ทำไมกระแสตอบรับถึงต่างกัน ทั้งๆที่มีเป้าหมายโครงการเหมือนกัน?
โครงการหนึ่งถูกชมว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งมวลมนุษยชาติในการทำความรู้จักดาวที่สำคัญที่สุดดวงหนึ่งในจักรวาล แหล่งพลังงานแห่งมวลมนุษยชาติและสรรพชีวิตทั้งมวล มีแต่คนตื่นเต้น ติดตาม และร่วมยินดี แต่กับอีกโครงการจากอีกประเทศที่มีเทคโนโลยีทางจรวดเหมือนกัน ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยืนหยัดอย่างท้าทายกระแสประชาคมโลก แต่กลับมีแต่คนหัวเราะตลกขบขัน น้ำตาเล็ดน้ำตาร่วง เหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ ทั้งๆที่เป็นเจ้าของไอเดียแท้ๆ นำเสนอโครงการมาก่อนหลายปี และที่สำคัญหากตัดเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกออกไป ก็อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีใครเลยที่รู้จริงในทั้งสองโครงการ ว่าโครงการของใคร มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หากมองอย่างเป็นกลาง
เป็นเหตุผลทางรัฐศาสตร์? เศรษฐกิจที่ไม่น่าเป็นไปได้ของเกาหลีเหนือ? เป็นเกมส์การเมือง? การดิสเครดิต? เป็นเรื่องของการแข่งขันเทคโนโลยี วิทยาการ? หรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้กระแสตอบรับต่างกันราวฟ้ากับเหว? ทั้งๆที่เป็นโครงการเดียวกัน เพียงแต่คนนำเสนอ หรือคนทำโครงการ เป็นคนละคนกัน เป็นรัฐบาลคนละชุดกันที่มาจากต่างกรรมต่างวาระ แค่นั้นเอง
สงสัย? ทำไมเกาหลีเหนือประกาศว่าจะส่งยานไปสำรวจดวงอาทิตย์มีแต่คนหัวเราะ แต่พอนาซ่าประกาศจะส่งไปบ้าง กลับมีแต่คนชื่นชม?
http://www.bbc.com/thai/international-40116934
และนี้
https://m.ppantip.com/topic/31572225?
หากมองอย่างเป็นกลาง ทั้งสองโครงการต่างก็เป็นไปได้ยาก ส่งจรวดไปดวงอาทิตย์ เป็นเรื่องท้าทายกฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ เป็นโครงการที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง และไม่มีอะไรรับประกันว่าจะทำสำเร็จหรือทำได้จริง
แต่ทำไมกระแสตอบรับถึงต่างกัน ทั้งๆที่มีเป้าหมายโครงการเหมือนกัน?
โครงการหนึ่งถูกชมว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งมวลมนุษยชาติในการทำความรู้จักดาวที่สำคัญที่สุดดวงหนึ่งในจักรวาล แหล่งพลังงานแห่งมวลมนุษยชาติและสรรพชีวิตทั้งมวล มีแต่คนตื่นเต้น ติดตาม และร่วมยินดี แต่กับอีกโครงการจากอีกประเทศที่มีเทคโนโลยีทางจรวดเหมือนกัน ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ยืนหยัดอย่างท้าทายกระแสประชาคมโลก แต่กลับมีแต่คนหัวเราะตลกขบขัน น้ำตาเล็ดน้ำตาร่วง เหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ ทั้งๆที่เป็นเจ้าของไอเดียแท้ๆ นำเสนอโครงการมาก่อนหลายปี และที่สำคัญหากตัดเรื่องอารมณ์ ความรู้สึกออกไป ก็อาจกล่าวได้ว่า แทบไม่มีใครเลยที่รู้จริงในทั้งสองโครงการ ว่าโครงการของใคร มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน หากมองอย่างเป็นกลาง
เป็นเหตุผลทางรัฐศาสตร์? เศรษฐกิจที่ไม่น่าเป็นไปได้ของเกาหลีเหนือ? เป็นเกมส์การเมือง? การดิสเครดิต? เป็นเรื่องของการแข่งขันเทคโนโลยี วิทยาการ? หรือมีเหตุอื่นใดที่ทำให้กระแสตอบรับต่างกันราวฟ้ากับเหว? ทั้งๆที่เป็นโครงการเดียวกัน เพียงแต่คนนำเสนอ หรือคนทำโครงการ เป็นคนละคนกัน เป็นรัฐบาลคนละชุดกันที่มาจากต่างกรรมต่างวาระ แค่นั้นเอง