เมื่อเดือนที่แล้ว ชาวเคิร์ดอีรัก ได้ประกาศอิสรภาพจากกรุงแบกแดด
ด้วยการลงประชามติภายในเขตฐานที่มั่น/เขตปกครองตนเอง
ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันมากพร้อมกับสร้างความตึงเครียดในภูมิภาค
ให้เกิดความขัดแย้งที่แหลมคมมากยิ่งขึ้น
โดยตุรกีและอิหร่านต่างกล่าวหาว่า
ยิวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
และต้องการสร้างรัฐกันชนขึ้นมากับสร้างความแตกแยกในประเทศตะวันออกกลาง
ชาวเคิร์ด เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภูเขา
ในภาคเหนือของตะวันออกกลางที่คาบเกี่ยวกับหลายประเทศ
ชาวเคิร์ดเป็นชนเผ่าที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติมากที่สุดในโลก
กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากเป็นอันดับสี่ ในตะวันออกกลาง
คาดว่ามีชาวเคิร์ดอาศัยอยู่ประมาณ 25 ล้านคน
ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่ในดินแดนระหว่างพรมแดนของ
ตุรกี อิรัก ซีเรีย อิหร่านและอาร์เมเนีย
แม้ว่าชาวเคิร์ดจะมีชุมชนที่แตกต่างกันมาก
แต่หลอมรวมกันโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรมและภาษา
แม้ว่าจะมีภาษาหลายสำเนียง/คำศัพท์ภาษา
เพราะเกิดจากสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติระหว่างประเทศ
และการอพยพโยกย้ายไปมาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน
ภาษาอาหรับและภาษาตุรกี จะมีการพูดกันอย่างแพร่หลายในชนเผ่าเคิร์ด
ชาวเคิร์ดมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกับการไร้ตัวตนทางการเมือง
และการถูกประหัตประหารมาอย่างยาวนานมากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิรักและตุรกี
เพื่อแสวงหาอิสรภาพและเอกราชที่สมบูรณ์มากกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
ผลจากความไม่แน่นอนของอิรัก สงครามในซีเรีย
และการเพิ่มขึ้นของรัฐอิสลามอิรัก และ Levant (ISIL หรือที่เรียกว่า ISIS)
ได้สร้างแนวทางท้าทายที่ใหม่มากสำหรับชาวเคิร์ด
เพราะผลจากกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ด
ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการต่อสู้กับ ISIL
นักรบสตรีเคิร์ด อยู่ในแนวหน้าระดับโลก ประมาณการว่ามีถึงร้อยละ 40 ในกองทัพ [Ari Jalal/Reuters]
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
สนธิสัญญา Treaty of Sevres
https://goo.gl/gT1vxV
มีข้อกำหนดเพื่อจัดการล้มล้างและแบ่งแยกอาณาจักรออตโตมัน
ทำให้เกิดประเทศเล็กประเทศน้อยในตะวันออกกลาง
และอาณาจักรออตโตมันเหลือแค่พื้นที่ประเทศตุรกี
สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากชาวเคิร์ด
ด้วยการลงประชามติเพื่อตัดสินปัญหาเรื่องบ้านเกิดของชาวเคิร์ด
แต่แล้วสนธิสัญญา Sevres ถูกปฏิเสธโดยสาธารณรัฐตุรกีใหม่
ที่นำโดยมุสตาฟา เคมาลปาชา หัวหน้ากลุ่มยังเติร์ก
ที่ปฏิวัติและขับไล่กาหลิบ/คอลีฟะห์ออตโตมัน
จนต้องไปตายและฝังศพที่เมกกะ ในเซาว์ดี้
โดยตุรกียืนยันว่าจะรบต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญา
ซึ่งในช่วงนั้นหลายประเทศต่างหน่ายกับสงครามแล้ว
และเข้าทางจักรวรรดินิยมในการแบ่งแยกแล้วปกครอง
ผลจากการดื้อแพ่งของตุรกี
จึงต้องมีการร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ คือ สนธิสัญญาโลซาน
Treaty of Lausanne
https://goo.gl/1qQL1P
ซึ่งมีการเจรจาตกลงและลงนามกันในปี 1923
ผลของสนธิสัญญา Lausanne ทำให้ตุรกีได้สิทธิ์ครอบครอง
คาบสมุทรอานาโตเลีย และเอเซียน้อย
รวมทั้งบ้านเกิดเมืองนอนชาวเคิร์ดในตุรกี
รวมทั้งในสนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ ไม่มีข้อตกลงใด ๆ เลย
ที่จะจัดให้มีการลงประชามติเพื่ออิสรภาพ/เอกราชของชาวเคิร์ด
ชาวเคิร์ดได้แต่เฝ้ารอคอยว่าจะมีเขตปกครองอิสระ
และมีรัฐเอกราชแต่ก็เลือนหายไปมากกว่าสองสามทศวรรษ
ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนถึงสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 1990
ชาวเคิร์ดทั้งในตุรกี อิหร่าน อิรักและซีเรีย ต่างได้ทำการสู้รบร่วมกัน
เพื่อบรรลุอิสรภาพเอกราชและการมีรัฐเคิร์ดของพวกตนเอง
แต่การรณรงค์ทั้งหมดต่างล้มเหลวตามมาด้วยการถูกปราบปรามอย่างรุนแรงในแต่ละครั้ง
ใครคือชาวเคิร์ดในอีรัก
หลายสิบปีของการต่อสู้ทางอาวุธและทางการเมือง
ชาวเคิร์ดในอีรักจึงได้สถาปนาเขตปกครองตนเองในทางตอนเหนือของอีรัก
ช่วงก่อนปี 2005 ชาวเคิร์ดในอีรักได้ก่อการจราจลหลายต่อหลายครั้ง
ต่อกองกำลังรักษาความสงบอังกฤษที่เข้ามาควบคุมอิรักและต่อรัฐบาลที่กรุงแบกแดด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายทศวรรษ 1970
การปกครองอิรัก ทำให้ชาวเคิร์ดจำนวนหลายหมื่นคนถูกขับไล่ให้ต้องอพยพ
ให้ออกจากทางเหนือของอิรักผ่านทางนโยบาย Arabization ความเป็นอาหรับ
https://goo.gl/B73EH8
และมาอยู่ร่วมกับคนอาหรับในเขตภาคกลางและภาคใต้ของอิรัก
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 คือ ช่วงการพลัดถิ่นของชาวเคิร์ดในภาคเหนือ
ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นขนาดใหญ่มาก มีผลทำให้ประชากรชาวเคิร์ดทั้งหมด
ต้องย้ายจากพื้นที่เมือง Khanaqin ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนอิหร่าน
ไปยังพื้นที่ชายแดนของประเทศซีเรียและตุรกีรอบเมือง Sinjar
ในช่วงปี 1980 รัฐบาลซัดดัมฮุสเซ็นของอิรัก
ได้สั่งให้ทหารทำลายหมู่บ้านอย่างน้อย 4,000 หมู่บ้าน
และบังคับให้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ยังกลุ่มเมืองต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
ศาลฎีกาแผนกคดีอาชญากรสงครามของอิรัก
ได้ตัดสินแขวนคอ Sadam Hussein ฐานมีความผิดในข้อหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ด้วยหลักฐานการทำลายล้างชาวเคิร์ดภายในประเทศผ่านยุทธการทางทหารในปี 1988
ซึ่งมีการสังหารพลเรือนไม่น้อยกว่า 50,000 คนและทำลายบ้านเรือนนับพัน ๆ แห่ง
ในปี 1991 แสงสว่างปลายอุโมงค์ครั้งแรก
การมีเอกราชครั้งแรกของชาวเคิร์ดในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย
เพราะกลุ่มนักรบชาวเคิร์ดได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกองทัพสหรัฐอเมริกา
ในการจัดตั้งเขตห้ามบิน No Fly Zone ของกองทัพอากาศอิรักในภาคเหนือของอิรัก
เขตความมั่นคงดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ด
ซึ่งมีการควบคุมและป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่องบนดินแดนแถบนี้
และเป็นการปูทางสำหรับข้อตกลงตามรัฐธรรมนูญภายในปี 2005
ในขณะเดียวกันเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด
จะเป็นที่รู้จักว่าเป็นประเทศ Iraqi Kurdistan
ทำให้มีชาวเคิร์ดส่วนใหญ่จะหลบหนีความสับสนวุ่นวาย
และการทำลายล้างที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและหลัง
การล่มสลายของเผด็จการ Saddam Hussein ในปี 2003
แต่ความตึงเครียด/ความขัดแย้งต่าง ๆ ยังคงมีอยู่
รัฐบาลภูมิภาคเคิร์ด (KRR) Kurdish Regional Government
ยังไม่สามารถกำหนดเขตแดนของชาติตนเอง
ทำให้ชาวเคิร์ดหลายคนหวังว่าจะขยายพรมแดนปัจจุบัน
ให้ครอบคลุมไปถึงพื้นที่โต้แย้งอีกหลายต่อหลายแห่ง
ที่ถูกทำเป็นชาวอาหรับภายใต้ยุคสมัยของ Saddam Hussein
รวมทั้งเมือง Kirkuk ซึ่งมีชาวเคิร์ดอยู่กันเป็นจำนวนมากที่สุด
ทั้งยังเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากร/แหล่งรายได้ของชาวเคิร์ด
รวมทั้งชาวเคิร์ดต่างยึดถือว่าเป็นเสมือนกับเมือง Jerusalem
(เมืองหลวง/ศูนย์กลางศาสนาของชาวเคิร์ด)
ในฤดูร้อนของปี 2014
เมื่อกองกำลังของ ISIL ได้ยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ของอิรัก
กองกำลังติดอาวุธ Kurdish Peshmerga ชาวเคิร์ดผู้ยืนหยัดเบื้องหน้าความตาย
ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันกับสู้รบอย่างเหนียวแน่น
ไม่ให้เมืองในเขตอิทธิพลชาวเคิร์ดตกไปอยู่ในมือของกลุ่ม ISIL
แม้ว่าจะยังคงมีความตึงเครียดระหว่างพรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรค
คือ พรรค Patriotic Union Party (PUK) กับ Kurdistan Democratic Party (KDP)
แต่ก็ร่วมมือกันในการสู้รบช่วงสงครามกลางเมืองในระหว่างปี 1994-1997
กับทหารอีรักของ Saddam Hussein
ในเดือนกรกฎาคม 2014
ประธานาธิบดี Massoud Barzani เขตปกครองพิเศษชาวเคิร์ด
ได้ประกาศว่ารัฐบาลกำลังวางแผนจะลงประชามติเกี่ยวกับเอกราชจากอิรัก
ผลการประกาศดังกล่าวก่อให้เกิดสัญญาณเตือนภัยขึ้นเป็นครั้งแรก
และสร้างความตึงเครียดประเทศเพื่อนที่มีพรมแดนติดกันกับมีชาวเคิร์ดอยู่ในหลายประเทศ
ซึ่งต่างเกรงกลัวว่าประชากรชาวเคิร์ดภายในประเทศพวกตนจะทำตาม
ผลการลงประชามติครั้งล่าสุดในวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา
ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่สนับสนุนการแยกตัวออกจากประเทศอีรัก
หลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย
หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 1990-1991
และเขตห้ามกองทัพอากาศอีรักบินที่บังคับใช้โดยสหรัฐอเมริกา
มีผลอย่างมากในภูมิภาคชาวเคิร์ดอิรัก ในเขตนี้
ทำให้ชาวเคิร์ดรู้สึกว่ามีอิสระในการปกครองตนเองชั่วคราว
ผลจากการรบร่วมกับพันธมิตรก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง
เป็นการกรุยทางไปสู่เขตปกครองพิเศษ Iraqi Kurdistan
ในปี 1992
พันธมิตรของพรรคการเมือง Iraqi Kurdistan Front
ได้จัดให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาและมีตำแหน่งประธานาธิบดี
ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ Iraqi Kurdistan Front
จึงได้จัดตั้ง Kurdish Regional Government (KRG) เขตปกครองชาวเคิร์ด
และมีรัฐบาลที่เป็นอิสระในภูมิภาคชาวเคิร์ดของประเทศอิรัก
ทั้งนี้ทาง KRG กล่าวว่าในปัจจุบันมีประชากรอย่างน้อย 5.2 ล้านคน
อาศัยอยู่ในดินแดนของชาวเคิร์ดในเขตพื้นที่ดังกล่าว
มีรัฐสภาของตนเอง มีกองกำลังทหาร (Peshmerga)
เขตดินแดนแดนและนโยบายต่างประเทศของชาติตนเอง
ในปี 1994 การแบ่งสรรค์อำนาจระหว่างทั้งสองพรรค PUK กับ KDP ล้มเหลวลง
ในปี 2003 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาจัดการประเทศอิรัก
และกองกำลังติดอาวุธ Peshmerga ได้ร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกา
ในการสู้รบเพื่อโค่นล้มรัฐบาล Saddam Hussein
หลังจากที่ Saddam Hussein ถูกโค้นล้มอำนาจลงไปแล้ว
ชาวเคิร์ดได้มีการลงประชามติเพื่อจัดตั้งชาติใหม่ และมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้มีเขตปกครองชาวเคิร์ดและรัฐสภาชาวเคิร์ด
ในปี 2006 ทั้งสองพรรค PUK กับ KDP
ตกลงร่วมกันบริหารงานโดยมีนายกรัฐมนตรี Nechirvan Barzani
อย่างไรก็ตามชาวเคิร์ดยังต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน
ในการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคและการส่งออกน้ำมัน
โดยมีน้ำมันเป็นทรัพยากรหลักในเขตปกครองตนเอง
Kurd ชนเผ่าเคิร์ดนักสู้ผู้ไร้รัฐ
เมื่อเดือนที่แล้ว ชาวเคิร์ดอีรัก ได้ประกาศอิสรภาพจากกรุงแบกแดด
ด้วยการลงประชามติภายในเขตฐานที่มั่น/เขตปกครองตนเอง
ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันมากพร้อมกับสร้างความตึงเครียดในภูมิภาค
ให้เกิดความขัดแย้งที่แหลมคมมากยิ่งขึ้น
โดยตุรกีและอิหร่านต่างกล่าวหาว่า ยิวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
และต้องการสร้างรัฐกันชนขึ้นมากับสร้างความแตกแยกในประเทศตะวันออกกลาง
ชาวเคิร์ด เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ภูเขา
ในภาคเหนือของตะวันออกกลางที่คาบเกี่ยวกับหลายประเทศ
ชาวเคิร์ดเป็นชนเผ่าที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติมากที่สุดในโลก
กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากเป็นอันดับสี่ ในตะวันออกกลาง
คาดว่ามีชาวเคิร์ดอาศัยอยู่ประมาณ 25 ล้านคน
ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่ในดินแดนระหว่างพรมแดนของ
ตุรกี อิรัก ซีเรีย อิหร่านและอาร์เมเนีย
แม้ว่าชาวเคิร์ดจะมีชุมชนที่แตกต่างกันมาก
แต่หลอมรวมกันโดยเชื้อชาติ วัฒนธรรมและภาษา
แม้ว่าจะมีภาษาหลายสำเนียง/คำศัพท์ภาษา
เพราะเกิดจากสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติระหว่างประเทศ
และการอพยพโยกย้ายไปมาหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิออตโตมัน
ภาษาอาหรับและภาษาตุรกี จะมีการพูดกันอย่างแพร่หลายในชนเผ่าเคิร์ด
ชาวเคิร์ดมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากกับการไร้ตัวตนทางการเมือง
และการถูกประหัตประหารมาอย่างยาวนานมากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิรักและตุรกี
เพื่อแสวงหาอิสรภาพและเอกราชที่สมบูรณ์มากกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
ผลจากความไม่แน่นอนของอิรัก สงครามในซีเรีย
และการเพิ่มขึ้นของรัฐอิสลามอิรัก และ Levant (ISIL หรือที่เรียกว่า ISIS)
ได้สร้างแนวทางท้าทายที่ใหม่มากสำหรับชาวเคิร์ด
เพราะผลจากกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ด
ที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการต่อสู้กับ ISIL
นักรบสตรีเคิร์ด อยู่ในแนวหน้าระดับโลก ประมาณการว่ามีถึงร้อยละ 40 ในกองทัพ [Ari Jalal/Reuters]
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
สนธิสัญญา Treaty of Sevres https://goo.gl/gT1vxV
มีข้อกำหนดเพื่อจัดการล้มล้างและแบ่งแยกอาณาจักรออตโตมัน
ทำให้เกิดประเทศเล็กประเทศน้อยในตะวันออกกลาง
และอาณาจักรออตโตมันเหลือแค่พื้นที่ประเทศตุรกี
สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากชาวเคิร์ด
ด้วยการลงประชามติเพื่อตัดสินปัญหาเรื่องบ้านเกิดของชาวเคิร์ด
แต่แล้วสนธิสัญญา Sevres ถูกปฏิเสธโดยสาธารณรัฐตุรกีใหม่
ที่นำโดยมุสตาฟา เคมาลปาชา หัวหน้ากลุ่มยังเติร์ก
ที่ปฏิวัติและขับไล่กาหลิบ/คอลีฟะห์ออตโตมัน
จนต้องไปตายและฝังศพที่เมกกะ ในเซาว์ดี้
โดยตุรกียืนยันว่าจะรบต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญา
ซึ่งในช่วงนั้นหลายประเทศต่างหน่ายกับสงครามแล้ว
และเข้าทางจักรวรรดินิยมในการแบ่งแยกแล้วปกครอง
ผลจากการดื้อแพ่งของตุรกี
จึงต้องมีการร่างสนธิสัญญาฉบับใหม่ คือ สนธิสัญญาโลซาน
Treaty of Lausanne https://goo.gl/1qQL1P
ซึ่งมีการเจรจาตกลงและลงนามกันในปี 1923
ผลของสนธิสัญญา Lausanne ทำให้ตุรกีได้สิทธิ์ครอบครอง
คาบสมุทรอานาโตเลีย และเอเซียน้อย
รวมทั้งบ้านเกิดเมืองนอนชาวเคิร์ดในตุรกี
รวมทั้งในสนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ ไม่มีข้อตกลงใด ๆ เลย
ที่จะจัดให้มีการลงประชามติเพื่ออิสรภาพ/เอกราชของชาวเคิร์ด
ชาวเคิร์ดได้แต่เฝ้ารอคอยว่าจะมีเขตปกครองอิสระ
และมีรัฐเอกราชแต่ก็เลือนหายไปมากกว่าสองสามทศวรรษ
ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จนถึงสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 1990
ชาวเคิร์ดทั้งในตุรกี อิหร่าน อิรักและซีเรีย ต่างได้ทำการสู้รบร่วมกัน
เพื่อบรรลุอิสรภาพเอกราชและการมีรัฐเคิร์ดของพวกตนเอง
แต่การรณรงค์ทั้งหมดต่างล้มเหลวตามมาด้วยการถูกปราบปรามอย่างรุนแรงในแต่ละครั้ง
ใครคือชาวเคิร์ดในอีรัก
หลายสิบปีของการต่อสู้ทางอาวุธและทางการเมือง
ชาวเคิร์ดในอีรักจึงได้สถาปนาเขตปกครองตนเองในทางตอนเหนือของอีรัก
ช่วงก่อนปี 2005 ชาวเคิร์ดในอีรักได้ก่อการจราจลหลายต่อหลายครั้ง
ต่อกองกำลังรักษาความสงบอังกฤษที่เข้ามาควบคุมอิรักและต่อรัฐบาลที่กรุงแบกแดด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายทศวรรษ 1970
การปกครองอิรัก ทำให้ชาวเคิร์ดจำนวนหลายหมื่นคนถูกขับไล่ให้ต้องอพยพ
ให้ออกจากทางเหนือของอิรักผ่านทางนโยบาย Arabization ความเป็นอาหรับ https://goo.gl/B73EH8
และมาอยู่ร่วมกับคนอาหรับในเขตภาคกลางและภาคใต้ของอิรัก
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1970 คือ ช่วงการพลัดถิ่นของชาวเคิร์ดในภาคเหนือ
ซึ่งเป็นการย้ายถิ่นขนาดใหญ่มาก มีผลทำให้ประชากรชาวเคิร์ดทั้งหมด
ต้องย้ายจากพื้นที่เมือง Khanaqin ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนอิหร่าน
ไปยังพื้นที่ชายแดนของประเทศซีเรียและตุรกีรอบเมือง Sinjar
ในช่วงปี 1980 รัฐบาลซัดดัมฮุสเซ็นของอิรัก
ได้สั่งให้ทหารทำลายหมู่บ้านอย่างน้อย 4,000 หมู่บ้าน
และบังคับให้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ยังกลุ่มเมืองต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
ด้วยความรุนแรงและโหดร้ายรวมทั้งมีการโจมตีด้วยก๊าซพิษที่ Halabja https://goo.gl/TYuvyJ
ศาลฎีกาแผนกคดีอาชญากรสงครามของอิรัก
ได้ตัดสินแขวนคอ Sadam Hussein ฐานมีความผิดในข้อหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ด้วยหลักฐานการทำลายล้างชาวเคิร์ดภายในประเทศผ่านยุทธการทางทหารในปี 1988
ซึ่งมีการสังหารพลเรือนไม่น้อยกว่า 50,000 คนและทำลายบ้านเรือนนับพัน ๆ แห่ง
Saddam Hussien Execution(การแขวนคอ)
ในปี 1991 แสงสว่างปลายอุโมงค์ครั้งแรก
การมีเอกราชครั้งแรกของชาวเคิร์ดในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย
เพราะกลุ่มนักรบชาวเคิร์ดได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับกองทัพสหรัฐอเมริกา
ในการจัดตั้งเขตห้ามบิน No Fly Zone ของกองทัพอากาศอิรักในภาคเหนือของอิรัก
เขตความมั่นคงดังกล่าวอยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาวเคิร์ด
ซึ่งมีการควบคุมและป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่องบนดินแดนแถบนี้
และเป็นการปูทางสำหรับข้อตกลงตามรัฐธรรมนูญภายในปี 2005
ในขณะเดียวกันเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด
จะเป็นที่รู้จักว่าเป็นประเทศ Iraqi Kurdistan
ทำให้มีชาวเคิร์ดส่วนใหญ่จะหลบหนีความสับสนวุ่นวาย
และการทำลายล้างที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและหลัง
การล่มสลายของเผด็จการ Saddam Hussein ในปี 2003
แต่ความตึงเครียด/ความขัดแย้งต่าง ๆ ยังคงมีอยู่
รัฐบาลภูมิภาคเคิร์ด (KRR) Kurdish Regional Government
ยังไม่สามารถกำหนดเขตแดนของชาติตนเอง
ทำให้ชาวเคิร์ดหลายคนหวังว่าจะขยายพรมแดนปัจจุบัน
ให้ครอบคลุมไปถึงพื้นที่โต้แย้งอีกหลายต่อหลายแห่ง
ที่ถูกทำเป็นชาวอาหรับภายใต้ยุคสมัยของ Saddam Hussein
รวมทั้งเมือง Kirkuk ซึ่งมีชาวเคิร์ดอยู่กันเป็นจำนวนมากที่สุด
ทั้งยังเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยน้ำมันซึ่งเป็นทรัพยากร/แหล่งรายได้ของชาวเคิร์ด
รวมทั้งชาวเคิร์ดต่างยึดถือว่าเป็นเสมือนกับเมือง Jerusalem
(เมืองหลวง/ศูนย์กลางศาสนาของชาวเคิร์ด)
ในฤดูร้อนของปี 2014
เมื่อกองกำลังของ ISIL ได้ยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ของอิรัก
กองกำลังติดอาวุธ Kurdish Peshmerga ชาวเคิร์ดผู้ยืนหยัดเบื้องหน้าความตาย
ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองต่าง ๆ เพื่อป้องกันกับสู้รบอย่างเหนียวแน่น
ไม่ให้เมืองในเขตอิทธิพลชาวเคิร์ดตกไปอยู่ในมือของกลุ่ม ISIL
แม้ว่าจะยังคงมีความตึงเครียดระหว่างพรรคการเมืองหลักทั้งสองพรรค
คือ พรรค Patriotic Union Party (PUK) กับ Kurdistan Democratic Party (KDP)
แต่ก็ร่วมมือกันในการสู้รบช่วงสงครามกลางเมืองในระหว่างปี 1994-1997
กับทหารอีรักของ Saddam Hussein
ในเดือนกรกฎาคม 2014
ประธานาธิบดี Massoud Barzani เขตปกครองพิเศษชาวเคิร์ด
ได้ประกาศว่ารัฐบาลกำลังวางแผนจะลงประชามติเกี่ยวกับเอกราชจากอิรัก
ผลการประกาศดังกล่าวก่อให้เกิดสัญญาณเตือนภัยขึ้นเป็นครั้งแรก
และสร้างความตึงเครียดประเทศเพื่อนที่มีพรมแดนติดกันกับมีชาวเคิร์ดอยู่ในหลายประเทศ
ซึ่งต่างเกรงกลัวว่าประชากรชาวเคิร์ดภายในประเทศพวกตนจะทำตาม
ผลการลงประชามติครั้งล่าสุดในวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา
ชาวเคิร์ดส่วนใหญ่สนับสนุนการแยกตัวออกจากประเทศอีรัก
หลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย
หลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซียในปี 1990-1991
และเขตห้ามกองทัพอากาศอีรักบินที่บังคับใช้โดยสหรัฐอเมริกา
มีผลอย่างมากในภูมิภาคชาวเคิร์ดอิรัก ในเขตนี้
ทำให้ชาวเคิร์ดรู้สึกว่ามีอิสระในการปกครองตนเองชั่วคราว
ผลจากการรบร่วมกับพันธมิตรก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง
เป็นการกรุยทางไปสู่เขตปกครองพิเศษ Iraqi Kurdistan
ในปี 1992
พันธมิตรของพรรคการเมือง Iraqi Kurdistan Front
ได้จัดให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาและมีตำแหน่งประธานาธิบดี
ผลจากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ Iraqi Kurdistan Front
จึงได้จัดตั้ง Kurdish Regional Government (KRG) เขตปกครองชาวเคิร์ด
และมีรัฐบาลที่เป็นอิสระในภูมิภาคชาวเคิร์ดของประเทศอิรัก
ทั้งนี้ทาง KRG กล่าวว่าในปัจจุบันมีประชากรอย่างน้อย 5.2 ล้านคน
อาศัยอยู่ในดินแดนของชาวเคิร์ดในเขตพื้นที่ดังกล่าว
มีรัฐสภาของตนเอง มีกองกำลังทหาร (Peshmerga)
เขตดินแดนแดนและนโยบายต่างประเทศของชาติตนเอง
ในปี 1994 การแบ่งสรรค์อำนาจระหว่างทั้งสองพรรค PUK กับ KDP ล้มเหลวลง
ในปี 2003 กองทัพสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาจัดการประเทศอิรัก
และกองกำลังติดอาวุธ Peshmerga ได้ร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกา
ในการสู้รบเพื่อโค่นล้มรัฐบาล Saddam Hussein
หลังจากที่ Saddam Hussein ถูกโค้นล้มอำนาจลงไปแล้ว
ชาวเคิร์ดได้มีการลงประชามติเพื่อจัดตั้งชาติใหม่ และมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้มีเขตปกครองชาวเคิร์ดและรัฐสภาชาวเคิร์ด
ในปี 2006 ทั้งสองพรรค PUK กับ KDP
ตกลงร่วมกันบริหารงานโดยมีนายกรัฐมนตรี Nechirvan Barzani
อย่างไรก็ตามชาวเคิร์ดยังต้องพึ่งพาประเทศเพื่อนบ้าน
ในการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคและการส่งออกน้ำมัน
โดยมีน้ำมันเป็นทรัพยากรหลักในเขตปกครองตนเอง