ไม่เข้าใจตรรกะของการตีความบทประพันธ์ของผู้จัด ผู้กำกับ คนเขียนบทบางคนสมัยนี้???
ขอยกตัวอย่าง 2 เรื่อง ที่ได้ติดตาม และเห็นความ "พัง" ได้ชัดเจนละกันนะคะ
เรื่อง รากนครา เพิ่มตัวละคร ละอองคำ ทั้งที่ในละครไม่มี
เปลี่ยนบท เจ้าย่า จากบทที่คนดูควรรัก กลายเป็นเกลียด
เพิ่มบทเมียน้อยให้เจ้าหลวงเชียงเงิน
แล้วบทละอองคำที่เพิ่มมา...ก็อาจจะได้ แต่ไม่ใช่ให้ความสำคัญมากขนาดนี้
ถ้าจะมีบทละอองคำ แล้วมันจะช่วยส่งให้ตัวละครแม้นเมือง มีความเข้มแข็ง มั่นคง ยังแสดงออกถึงความเป็นสตรีชั้นสูง รักชาติบ้านเมือง หรืออะไรก็ตามที่มันจะ ทำให้เส้นเรื่องเดิมเข็งแรง สมเหตุสมผล ส่งให้หัวใจของเรื่องที่ควรเน้นเรื่อง ความเป็น "รากนครา" ให้ชัดขึ้นก็จะพอเข้าใจได้ แต่นี่ เพิ่มตัวละคร ละอองคำ ขึ้นมา เพื่ออะไร....
(พยายามคิด ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าเพื่ออะไร??? มีละอองคำแล้วเกิดผลดีอะไรกับหัวใจของเรื่องนี้)
ครั้งหนึ่ง ก็เคยมีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงบท ละครเรื่อง หัวใจมีเงา ที่ทีมผู้จัดทำ เปลี่ยนแปลงบท
จำได้ว่า ครั้งนั้น หน้าเวปบอร์ด บางขุนพรหม มีกระทู้ วิจารณ์การเปลี่ยนแปลงบทละครเรื่องนี้ รายวัน
ที่นางเอกประสบอุบัติเหตุ สลับไปอยู่อีกร่าง
แก้เส้นเรื่อง จากผู้ร้ายที่เจ้าชู้ไม่เลือก เป็นเหตุให้นางเอกเห็นธาตุแท้และเปลี่ยนใจไปรักพระเอก
แก้บทผู้ร้ายให้กลายเป็นคนดี และกลายเป็นพระเอก พระเอกในบทประพันธ์ กลายเป็นพระรอง
นางเอกกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว จะกลับไปหาแฟนเก่าอย่างเดียว
ไม่สนใจครอบครัวของร่างกายที่ตัวเองอาศัยอยู่
แถมดูถูกว่าบทประพันธ์เค้าไม่คลาสสิกพอ
จนกลายเป็นกระทู้รายวัน แต่พอตอนจบ ทีมผู้จัดทำ ก็ยังยืนยันให้ผู้ร้ายกลายเป็นพระเอก
คนเขียนบท ผู้จัดละคร ผู้กำกับ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายคะ....
ถามว่าความพอดี ของการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง อยู่ตรงไหน??
การปรับเปลี่ยนบท แก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์ บริบท หรือข้อจำกัดทางการผลิตอื่นๆ
ก็เข้าใจนะคะ มันจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว
แต่เส้นเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง ตามบทประพันธ์ ควรจะรักษาไว้ไม่ใช่เหรอคะ
การปรับเปลี่ยนบทละครที่ไม่สมเหตุสมผล และไม่เข้าท่า ทำให้รู้สึกเสียดายบทประพันธ์ดีๆ
แฟนนิยายก็เสียความรู้สึก แฟนละครเองก็รู้สึกเสียอรรถรสในการดูเช่นกัน
ละคร 2 เรื่องนี้ที่ยกตัวอย่าง เป็นอุทาหรณ์ ของการเปลี่ยนแปลงบทแบบไม่เห็นความสำคัญของเส้นเรื่องของบทประพันธ์
เลือกพระเอก นางเอก ตัวท็อป หรือ ผู้ร่วมเล่นละครมาดีขนาดไหน
แต่ถ้าบทละครไม่ดี ผลที่ตามมา คือคำวิจารณ์ของความพังของบทละคร ที่คณะผู้จัดทำจะได้รับ
นอกจากสองเรื่องนี้มีเรื่องไหนอีกไหมคะ ที่บทละครเขียนออกมาได้พังแบบนี้
มารวบรวม การเขียนบทละครที่ขัดใจคนดู ขัดใจแฟนนิยาย กันหน่อยค่ะ
บทละครสมัยนี้...ปรับบทกันเกินความจำเป็นไปหรือเปล่า???
ขอยกตัวอย่าง 2 เรื่อง ที่ได้ติดตาม และเห็นความ "พัง" ได้ชัดเจนละกันนะคะ
เรื่อง รากนครา เพิ่มตัวละคร ละอองคำ ทั้งที่ในละครไม่มี
เปลี่ยนบท เจ้าย่า จากบทที่คนดูควรรัก กลายเป็นเกลียด
เพิ่มบทเมียน้อยให้เจ้าหลวงเชียงเงิน
แล้วบทละอองคำที่เพิ่มมา...ก็อาจจะได้ แต่ไม่ใช่ให้ความสำคัญมากขนาดนี้
ถ้าจะมีบทละอองคำ แล้วมันจะช่วยส่งให้ตัวละครแม้นเมือง มีความเข้มแข็ง มั่นคง ยังแสดงออกถึงความเป็นสตรีชั้นสูง รักชาติบ้านเมือง หรืออะไรก็ตามที่มันจะ ทำให้เส้นเรื่องเดิมเข็งแรง สมเหตุสมผล ส่งให้หัวใจของเรื่องที่ควรเน้นเรื่อง ความเป็น "รากนครา" ให้ชัดขึ้นก็จะพอเข้าใจได้ แต่นี่ เพิ่มตัวละคร ละอองคำ ขึ้นมา เพื่ออะไร....
(พยายามคิด ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าเพื่ออะไร??? มีละอองคำแล้วเกิดผลดีอะไรกับหัวใจของเรื่องนี้)
ครั้งหนึ่ง ก็เคยมีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงบท ละครเรื่อง หัวใจมีเงา ที่ทีมผู้จัดทำ เปลี่ยนแปลงบท
จำได้ว่า ครั้งนั้น หน้าเวปบอร์ด บางขุนพรหม มีกระทู้ วิจารณ์การเปลี่ยนแปลงบทละครเรื่องนี้ รายวัน
ที่นางเอกประสบอุบัติเหตุ สลับไปอยู่อีกร่าง
แก้เส้นเรื่อง จากผู้ร้ายที่เจ้าชู้ไม่เลือก เป็นเหตุให้นางเอกเห็นธาตุแท้และเปลี่ยนใจไปรักพระเอก
แก้บทผู้ร้ายให้กลายเป็นคนดี และกลายเป็นพระเอก พระเอกในบทประพันธ์ กลายเป็นพระรอง
นางเอกกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว จะกลับไปหาแฟนเก่าอย่างเดียว
ไม่สนใจครอบครัวของร่างกายที่ตัวเองอาศัยอยู่
แถมดูถูกว่าบทประพันธ์เค้าไม่คลาสสิกพอ
จนกลายเป็นกระทู้รายวัน แต่พอตอนจบ ทีมผู้จัดทำ ก็ยังยืนยันให้ผู้ร้ายกลายเป็นพระเอก
คนเขียนบท ผู้จัดละคร ผู้กำกับ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลายคะ....
ถามว่าความพอดี ของการปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง อยู่ตรงไหน??
การปรับเปลี่ยนบท แก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์ บริบท หรือข้อจำกัดทางการผลิตอื่นๆ
ก็เข้าใจนะคะ มันจำเป็นต้องทำอยู่แล้ว
แต่เส้นเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง ตามบทประพันธ์ ควรจะรักษาไว้ไม่ใช่เหรอคะ
การปรับเปลี่ยนบทละครที่ไม่สมเหตุสมผล และไม่เข้าท่า ทำให้รู้สึกเสียดายบทประพันธ์ดีๆ
แฟนนิยายก็เสียความรู้สึก แฟนละครเองก็รู้สึกเสียอรรถรสในการดูเช่นกัน
ละคร 2 เรื่องนี้ที่ยกตัวอย่าง เป็นอุทาหรณ์ ของการเปลี่ยนแปลงบทแบบไม่เห็นความสำคัญของเส้นเรื่องของบทประพันธ์
เลือกพระเอก นางเอก ตัวท็อป หรือ ผู้ร่วมเล่นละครมาดีขนาดไหน
แต่ถ้าบทละครไม่ดี ผลที่ตามมา คือคำวิจารณ์ของความพังของบทละคร ที่คณะผู้จัดทำจะได้รับ
นอกจากสองเรื่องนี้มีเรื่องไหนอีกไหมคะ ที่บทละครเขียนออกมาได้พังแบบนี้
มารวบรวม การเขียนบทละครที่ขัดใจคนดู ขัดใจแฟนนิยาย กันหน่อยค่ะ