อยากถามนักวิทย์ ที่ทำงานด้าน การวิเคราะห์เชิงปริมาณครับ

ผมทำงานด้านการวิเคราะห์โลหะหนัก โดยใช้ AAS  ICP ครับ
ผมสงสัย และมีคนหลายคนก็ชอบพูดว่า

1. ค่า blank ที่ได้ต้อง เท่ากับ 0
2. การทำ dilution ตัวอย่างต้อง dilution blank ด้วย

ผมอยากรู้ 2 อย่างนี้อ้างอิงมาจาก std method ตัวไหน หรือทฤษฎี มาจากไหนครับ
พอผมถามกลับเขาก็มักจะบอกให้ไปหาเอง

ส่วนตัวที่ทำงานนะครับ
1. ค่า blank ที่ได้ต้อง เท่ากับ 0
   เครื่องผลมันเท่ากับ 0 ไม่ได้ เพราะเครื่องผมปรับทศนิยมได้(1-10) พูดง่ายๆคือถ้าเราฉีดสารเข้าไปยังไง Abs ของ ของเครื่อง AAS ก็จะมีอยู่แล้ว
   อย่างผมอ่าน blank Cu ได้ 0.0012 mg/L ซึ่งยังไงมันก็มีค่าเพราะว่า ค่าที่ตำกว่า sen เครื่องจะมีความเหวี่ยงทำให้เกิดค่าขึ้น
   สำหรับ AAS ถือว่าต่ำมากแล้วนะครับ

2. การทำ dilution ตัวอย่างต้อง dilution blank ด้วย
   บางครั้งเวลารันเครื่องค่าที่ได้จะเกิน std curve ทำให้ต้องมีการ dilution ตัวอย่าง เห็นหลายคนบอกว่า การทำ dilution ตัวอย่างต้อง dilution blank    ด้วย
สมมุติว่า ผมอ่าน  blank Cu ได้ 0.0012 mg/L
แล้วตัวอย่างผมต้อง dilution 10000 เท่า แสดงว่าผมต้อง dilution  blank  10000 เท่า ด้วย
ทีนี้ 0.0012 mg/L dilution    10000 เท่า มันจะไม่ลด  10000 เท่า เป็น 0.00000012 mg/L นะครับ
เพราะเครื่องเราจะมีค่าขั้นต่ำที่อ่านได้หรือที่เรียกว่า IDL(instrument detection limit)
สมมุติว่า IDL=0.001 mg/L ค่า dilution  blank  10000 เท่า ก็จะมีค่าประมาณ 0.001 mg/L
สมมุติว่าได้ 0.0013 mg/L  
สมมุติว่า ตัวอย่าง dilution    10000 เท่า ได้ 1.2560 mg/L

จากตัวอย่างจะได้ว่า
ค่า  blank Cu ได้ 0.0012 mg/L  
dilution  blank  10000 เท่า = 0.0013 mg/L  
blank Cu =0.0013*10000 = 13 mg/L
         Cu = 1.2560*10000 = 12560 mg/L

conc. Cu = 12560-13 = 12547 mg/L
หรือว่าจริงๆแล้วควรคิดแบบนี้ครับ
conc. Cu = 12560-0.0012= 12559.9988 mg/L


สำคัญคือผมอยากรู้ที่มาของทฤษฎีดังกล่าวครับ ว่ามาจากไหน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่