ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2556
บ้างก็ว่าเป็นนโยบายที่ผิดพลาด ประกาศภาพสวยหรูแต่ทำไม่ได้อย่างที่ฝันเอาไว้ บ้างก็ว่าเป็นการทำลายอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ด้วยการสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่รุนแรง เพิ่มช่องจาก 6 เป็น 24 ขณะที่งบโฆษณาเท่าเดิมไม่รวมจำนวนผู้ชมหรือ Eye Ball ที่ถูกแบ่งไปให้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ในที่สุด จะเหลือผู้ประกอบการอยู่รอดไม่กี่ช่อง ที่เหลือเจ๊ง
แต่ในแง่มุมที่ดีงามของมัน การเปิดประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ทำให้เราได้เห็นโอกาสของคนอย่าง “พิชญ์ โพธารามิก” แห่ง ช่องโมโน 29 ผู้ซึ่งกำหนดทิศทางของช่องตัวเองได้อย่างชัดเจนตั้งแต่วันประมูล พุ่งเป้าออนแอร์ภาพยนตร์ ซีรีส์ ต่างประเทศที่มีลิขสิทธิ์อยู่ในมือ จนสามารถปักหลักอยู่ในช่องที่มีเรตติ้งท็อป 6 ได้ต่อเนื่อง
แน่นอน เรายังได้เห็นคนอย่าง “ปัญญา นิรันดร์กุล” และ “ประภาส ชลศรานนท์” 2 ผู้ก่อตั้งช่องเวิร์คพอยท์ ซึ่งเพิ่งมีอายุครบ 28 ปีไปเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสม ทำให้ขณะนี้เวิร์คพอยท์มีมูลค่าทางการตลาดหรือมาร์เกตแคปทะลุ 30,000 ล้านบาทไปแล้ว
เราคงไม่ต้องเสียเวลา พูดคุยถึงความสำเร็จของเวิร์คพอยท์อีกต่อไป ในเมื่อมันออกจะเป็นที่ประจักษ์เสียขนาดนี้ แต่สิ่งที่เราสงสัยก็คือ นับจากนี้เวิร์คพอยท์จะก้าวไปสู่ทิศทางใด และตลอดเส้นทางข้างหน้านั้น พวกเขามีความปริ-วิตกใดๆ หรือไม่ โดย เฉพาะความกดดันต่อความสำเร็จ ที่ดูเหมือนจะรักษาไว้ได้ยากยิ่ง ในภาวะที่การแข่งขันรุนแรงกำลังพุ่งโจมตีจากทุกทิศทาง
“เราไม่เคยตั้งเป้าว่าจะต้องขึ้นแทนที่ช่อง 7, ช่อง 3 เป้าหมายของเราคือการเป็นช่อง 9 สมัยรุ่งเรือง ถ้าจำกันได้ สมัยคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ช่อง 9 มีรายได้ประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท นั่นแหล่ะคือเป้าหมายในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยปีนี้ช่องเวิร์คพอยท์ขยับเป้ารายได้เป็น 3,200 ล้านบาท จาก 3,000 ล้านบาท”
นี่คือสิ่งซึ่ง ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี และ Executive Producer ของเวิร์คพอยท์ เปิดเผยกับเรา เขายังบอกด้วยว่า รับมือกับแรงกดดันได้ เนื่องจากเวิร์คพอยท์ทำทีวีมานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก การรับมือกับความสำเร็จ จึงไม่ใช่เรื่องยากเย็น “คนทำทีวีทุกคนจะรู้ว่า การมีฐานคนดูประจำสำคัญที่สุด การมีรายการเปรี้ยงๆ ปีละ 1 -2 รายการ ก็ถือว่าดี แต่โจทย์คือ จะทำอย่างไรให้คนดูรู้สึกว่า ถึงเวลาต้องเปิดดูช่องเรา เหมือนอย่างที่รายการ อย่าง ชิงร้อยชิงล้าน ทไวไลท์โชว์ หรือ ตีสิบ ทำได้ พอถึงเวลาปุ๊บ ก็ต้องเปิดทีวีรอ”
“สิ่งที่เราต้องการคือรายการที่มีเรตติ้งเฉลี่ย 3 ขึ้นไป ยิ่งเยอะยิ่งดี ปัจจุบันเวิร์คพอยท์มีรายการเรตติ้งเฉลี่ย 3 ประมาณวันละ 3 รายการ (ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน) อยากมีให้ได้สัก 4-5 รายการต่อวัน (4-5 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก ช่องที่ทำได้คือช่อง 7 ซึ่งถือว่าเก่งมาก”
ส่วนเมื่อถามถึงรายการสุดฮิตอย่าง The Mask Singer เขายอมรับว่า แม้เรตติ้งรวมซีซั่น 2 จะดีกว่าซีซั่นแรกเล็กน้อย แต่กระแสน้อยกว่า สำหรับ The Mask Singer สิ่งที่อยู่ในความสงสัยของทีมงานคือ มันจะไปได้ไกลถึงไหน แต่อย่างน้อยก็น่าจะไปได้ไม่ต่ำกว่ารายการไมค์ทองคำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ซีซั่น 7
“The Mask Singer ซีซั่น 1 ทำเรตติ้งเฉลี่ยที่ 6.2 พอมาซีซั่น 2 ทำได้ 6.4 แต่เรตติ้งสูงสุดทำได้ 8 ขณะที่ซีซั่น 1 ทำเรตติ้งสูงสุดได้ 10 ส่วนซีซั่น 3 เทปแรกทำเรตติ้งได้ 5”
เขาอธิบายว่า The Mask Singer ซีซั่นแรก ถือเป็นความแปลกใหม่ มันจึงฮือฮา เป็นที่โจษจัน ขณะที่ซีซั่น 3 ไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ต้องยอมรับ แต่สิ่งที่จะต้องคงไว้สำหรับ The Mask Singer คือ 1.ต้องมีเซอร์ไพรส์ 2.ต้องตลก และ 3.เพลงต้องเพราะ
“ล่าสุดผมไปเกาหลี คุยกับคนคิดรายการ ซึ่งเป็นผู้ชายวัย 40 กว่าๆ เขาบอกว่าชอบเวอร์ชั่นของไทยมากกว่าเพราะมีอารมณ์เยอะดี มีตลก เซอร์ไพรส์ให้เดา มีซึ้งบ้าง ขณะที่ของเกาหลีจะเน้นซึ้ง เศร้าเป็นหลัก โดยที่เกาหลีหลังจบซีซั่น 2 รายการก็ถูกพักไว้ก่อน แต่หลังดังมากในไทย ลิขสิทธิ์ก็ถูกซื้อไปทำต่อในอีกหลายประเทศ”
“ชลากรณ์” ปิดท้ายว่า ที่สุดทีวีดิจิทัลจะเหลือประมาณ 6 ช่อง ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับ 6 ช่องฟรีทีวีเดิม (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ TPBS) ช่องดิจิทัลที่เหลือ จะมีสภาพไม่ต่างจากช่องดาวเทียมในยุคก่อน จับกลุ่มฐานคนดูเฉพาะกลุ่ม เช่น ช่องหนัง ช่องเพลง มีรายได้น้อยหน่อย แต่หากบริหารต้นทุนดีๆ ก็จะอยู่ได้”.
ที่มา :
https://www.thairath.co.th/content/1073250
ความท้าทายของเวิร์คพอยท์
ถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วงมาตลอด 4 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการทีวีดิจิทัลเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2556
บ้างก็ว่าเป็นนโยบายที่ผิดพลาด ประกาศภาพสวยหรูแต่ทำไม่ได้อย่างที่ฝันเอาไว้ บ้างก็ว่าเป็นการทำลายอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ด้วยการสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่รุนแรง เพิ่มช่องจาก 6 เป็น 24 ขณะที่งบโฆษณาเท่าเดิมไม่รวมจำนวนผู้ชมหรือ Eye Ball ที่ถูกแบ่งไปให้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ในที่สุด จะเหลือผู้ประกอบการอยู่รอดไม่กี่ช่อง ที่เหลือเจ๊ง
แต่ในแง่มุมที่ดีงามของมัน การเปิดประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ทำให้เราได้เห็นโอกาสของคนอย่าง “พิชญ์ โพธารามิก” แห่ง ช่องโมโน 29 ผู้ซึ่งกำหนดทิศทางของช่องตัวเองได้อย่างชัดเจนตั้งแต่วันประมูล พุ่งเป้าออนแอร์ภาพยนตร์ ซีรีส์ ต่างประเทศที่มีลิขสิทธิ์อยู่ในมือ จนสามารถปักหลักอยู่ในช่องที่มีเรตติ้งท็อป 6 ได้ต่อเนื่อง
แน่นอน เรายังได้เห็นคนอย่าง “ปัญญา นิรันดร์กุล” และ “ประภาส ชลศรานนท์” 2 ผู้ก่อตั้งช่องเวิร์คพอยท์ ซึ่งเพิ่งมีอายุครบ 28 ปีไปเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสเติบโตอย่างแข็งแกร่งด้วยความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสม ทำให้ขณะนี้เวิร์คพอยท์มีมูลค่าทางการตลาดหรือมาร์เกตแคปทะลุ 30,000 ล้านบาทไปแล้ว
เราคงไม่ต้องเสียเวลา พูดคุยถึงความสำเร็จของเวิร์คพอยท์อีกต่อไป ในเมื่อมันออกจะเป็นที่ประจักษ์เสียขนาดนี้ แต่สิ่งที่เราสงสัยก็คือ นับจากนี้เวิร์คพอยท์จะก้าวไปสู่ทิศทางใด และตลอดเส้นทางข้างหน้านั้น พวกเขามีความปริ-วิตกใดๆ หรือไม่ โดย เฉพาะความกดดันต่อความสำเร็จ ที่ดูเหมือนจะรักษาไว้ได้ยากยิ่ง ในภาวะที่การแข่งขันรุนแรงกำลังพุ่งโจมตีจากทุกทิศทาง
“เราไม่เคยตั้งเป้าว่าจะต้องขึ้นแทนที่ช่อง 7, ช่อง 3 เป้าหมายของเราคือการเป็นช่อง 9 สมัยรุ่งเรือง ถ้าจำกันได้ สมัยคุณมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ช่อง 9 มีรายได้ประมาณปีละ 5,000 ล้านบาท นั่นแหล่ะคือเป้าหมายในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยปีนี้ช่องเวิร์คพอยท์ขยับเป้ารายได้เป็น 3,200 ล้านบาท จาก 3,000 ล้านบาท”
นี่คือสิ่งซึ่ง ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี และ Executive Producer ของเวิร์คพอยท์ เปิดเผยกับเรา เขายังบอกด้วยว่า รับมือกับแรงกดดันได้ เนื่องจากเวิร์คพอยท์ทำทีวีมานาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก การรับมือกับความสำเร็จ จึงไม่ใช่เรื่องยากเย็น “คนทำทีวีทุกคนจะรู้ว่า การมีฐานคนดูประจำสำคัญที่สุด การมีรายการเปรี้ยงๆ ปีละ 1 -2 รายการ ก็ถือว่าดี แต่โจทย์คือ จะทำอย่างไรให้คนดูรู้สึกว่า ถึงเวลาต้องเปิดดูช่องเรา เหมือนอย่างที่รายการ อย่าง ชิงร้อยชิงล้าน ทไวไลท์โชว์ หรือ ตีสิบ ทำได้ พอถึงเวลาปุ๊บ ก็ต้องเปิดทีวีรอ”
“สิ่งที่เราต้องการคือรายการที่มีเรตติ้งเฉลี่ย 3 ขึ้นไป ยิ่งเยอะยิ่งดี ปัจจุบันเวิร์คพอยท์มีรายการเรตติ้งเฉลี่ย 3 ประมาณวันละ 3 รายการ (ประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน) อยากมีให้ได้สัก 4-5 รายการต่อวัน (4-5 ชั่วโมง) ซึ่งเป็นเรื่องยากมาก ช่องที่ทำได้คือช่อง 7 ซึ่งถือว่าเก่งมาก”
ส่วนเมื่อถามถึงรายการสุดฮิตอย่าง The Mask Singer เขายอมรับว่า แม้เรตติ้งรวมซีซั่น 2 จะดีกว่าซีซั่นแรกเล็กน้อย แต่กระแสน้อยกว่า สำหรับ The Mask Singer สิ่งที่อยู่ในความสงสัยของทีมงานคือ มันจะไปได้ไกลถึงไหน แต่อย่างน้อยก็น่าจะไปได้ไม่ต่ำกว่ารายการไมค์ทองคำ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ซีซั่น 7
“The Mask Singer ซีซั่น 1 ทำเรตติ้งเฉลี่ยที่ 6.2 พอมาซีซั่น 2 ทำได้ 6.4 แต่เรตติ้งสูงสุดทำได้ 8 ขณะที่ซีซั่น 1 ทำเรตติ้งสูงสุดได้ 10 ส่วนซีซั่น 3 เทปแรกทำเรตติ้งได้ 5”
เขาอธิบายว่า The Mask Singer ซีซั่นแรก ถือเป็นความแปลกใหม่ มันจึงฮือฮา เป็นที่โจษจัน ขณะที่ซีซั่น 3 ไม่ใช่ครั้งแรกแล้ว ต้องยอมรับ แต่สิ่งที่จะต้องคงไว้สำหรับ The Mask Singer คือ 1.ต้องมีเซอร์ไพรส์ 2.ต้องตลก และ 3.เพลงต้องเพราะ
“ล่าสุดผมไปเกาหลี คุยกับคนคิดรายการ ซึ่งเป็นผู้ชายวัย 40 กว่าๆ เขาบอกว่าชอบเวอร์ชั่นของไทยมากกว่าเพราะมีอารมณ์เยอะดี มีตลก เซอร์ไพรส์ให้เดา มีซึ้งบ้าง ขณะที่ของเกาหลีจะเน้นซึ้ง เศร้าเป็นหลัก โดยที่เกาหลีหลังจบซีซั่น 2 รายการก็ถูกพักไว้ก่อน แต่หลังดังมากในไทย ลิขสิทธิ์ก็ถูกซื้อไปทำต่อในอีกหลายประเทศ”
“ชลากรณ์” ปิดท้ายว่า ที่สุดทีวีดิจิทัลจะเหลือประมาณ 6 ช่อง ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับ 6 ช่องฟรีทีวีเดิม (ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ TPBS) ช่องดิจิทัลที่เหลือ จะมีสภาพไม่ต่างจากช่องดาวเทียมในยุคก่อน จับกลุ่มฐานคนดูเฉพาะกลุ่ม เช่น ช่องหนัง ช่องเพลง มีรายได้น้อยหน่อย แต่หากบริหารต้นทุนดีๆ ก็จะอยู่ได้”.
ที่มา : https://www.thairath.co.th/content/1073250