พอเพียงอย่างพอใจ
โดย... ฉาย บุนนาค
เสียกรุง(ไทย) ครั้งที่3... ตอนที่2
ขอขอบคุณฝ่ายสื่อสารองค์กรของธนาคารกรุงไทย ที่ช่วยชี้แจงเนื้อหาในบทความของผมเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมีเนื้อความว่า
“ธนาคารกรุงไทย ขอยืนยันว่า การดำเนินการของธนาคารทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้รายดังกล่าว ธนาคารมุ่งเน้นเรื่องความโปร่งใส ความเป็นมืออาชีพ และที่สำคัญธนาคารคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า ผู้ฝากเงิน ตลอดจนผู้ที่ลงทุนในหุ้นกู้และตั๋วบี/อีของ EARTH โดยพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด”
แต่สิ่งที่ท่านชี้แจงว่าทำเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น EARTH นั้น เป็นความจริงเพียงมุมเดียว เพราะการเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งๆ ที่ EARTH ยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวทางบัญชี หากไม่นับหนี้สินพิสดารที่ธนาคารท่านเองก็คัดค้านเช่นกัน...
พูดง่ายๆคือ หลังเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ ผู้ถือหุ้นจะหมดสิทธิ์ในการจัดการบริษัท และดาบอาญา สิทธิ์นี้จะตกเป็นของเจ้าหนี้และผู้บริหารแผน
ขอให้ผมได้เล่าประวัติศาสตร์ของธนาคารกรุงไทยให้ท่านฟังบ้างก่อนที่จะมีคำชี้แจงครั้งต่อไป
ธนาคารกรุงไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ในรูปสถาบันการเงิน ประเภทธนาคารพาณิชย์ มีกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล จึงมีตราสัญลักษณ์เป็นภาพนกวายุภักษ์ เช่นเดียวกับของกระทรวงการคลัง
ธนาคารกรุงไทยก่อกำเนิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 ด้วยนโยบายของ เสริม วินิจฉัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ควรมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ในเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ในธนาคารพาณิชย์ถึง 2 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารมณฑล จำกัด และ ธนาคารเกษตร จำกัด กระทรวงการคลังจึงประกาศ ให้ควบรวมกิจการของธนาคารทั้ง 2 ดังกล่าว
กว่าครึ่งศตวรรษที่ธนาคารกรุงไทยและสังคมไทย ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้วเล่ามากมายร่วมกัน
ศรัทธาและความเชื่อมั่นจากภาครัฐและเอกชนคือ กุญแจแห่งความสำเร็จ
ประวัติศาสตร์วิวัฒน์พัฒนามนุษย์ผ่านกาลเวลา
แต่สิ่งที่ดูเหมือน “ผู้บริหารชุดแล้วชุดเล่าของธนาคารกรุงไทย” จะไม่เคยเรียนรู้และจดจำเลยคือเรื่อง “ความรอบคอบ” ในการปล่อยสินเชื่อ
สินเชื่อของ EARTH เป็นเพียงกรณีแรกใน 3 โครงการที่ “แดง” ออกสู่สาธารณะ จนต้องรีบหาผ้าห่มมากลบไฟ... ส่วนอีก 2 โครงการนั้นยังซ่อนเร้นภายในดินแดนสนธยา
จริงๆ แล้วบริษัท EARTH โดยตัวเองไม่มีเรื่องน่าสนใจอะไร เพราะเป็นเพียงบริษัทค้าถ่านหิน ซื้อมา ขายไป กินส่วนต่าง 1- 2% และสุดท้ายก็ล่มสลาย ผิดนัดชำระหนี้มากมาย และเข้ากระบวนการฟื้นฟูพร้อมมูลหนี้ “WICKED” อีกกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท
หากเรื่องราวมีแค่นี้ ก็คงเป็นเรื่องปกติของโลกที่ไม่มีอะไรเที่ยงและคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษ
ความเป็นสาธารณะของเรื่องนี้ เป็นเพราะ EARTH ดันมีหนี้ก้อนใหญ่ที่ผิดนัดกว่า 9 พันล้านบาทกับธนาคารกรุงไทย ก่อนจะดับชีพตนเองลง (ชั่วคราว) โดยการขอกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
ขออนุญาตลำดับเรื่องราวของการ “ปฏิสัมพันธ์” และทุก “พฤติการณ์” สำคัญ ระหว่าง EARTH กับธนาคารกรุงไทยตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อ 4-5 ปีก่อน
ช่วงปี 2554-2555 EARTH ได้รับอนุมัติสินเชื่อมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ในการซื้อเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องได้มาซึ่งใบอนุญาต 2 ใบ คือ “Exploration License” และ “Operating License” ซึ่ง EARTH สามารถนำสำแดงได้เพียงใบแรกเท่านั้น โดย ณ ตอนนั้น EARTH ยืนยันจะนำมาส่งมอบให้ภายใน 30 วันหลังได้มา
เวลาผ่านไป จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นขวบปี ขั้วอำนาจในธนาคารก็เปลี่ยนแปลง
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 นายวรภัค ธันยาวงษ์ เข้ารับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย (ซึ่งปัจจุบันครบวาระไปแล้วและมิได้รับต่อวาระ)
ทีมบริหารชุดใหม่นี้ได้พิจารณาอนุมัติสินเชื่ออีก 100 ล้านดอลลาร์ในโครงการเหมืองเดิมที่อินโดนีเซีย
ทั้งที่ยังไม่ได้มาซึ่ง Operating License หรือใบอนุญาตประกอบกิจการบริหารเหมือง!
มีเพียงบทสนทนาบนรถระหว่างเดินทางไปดูเหมืองว่า “ได้แล้ว ได้แล้ว เดี๋ยวเอามาให้ครับ” แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้มา
การอนุมัติสินเชื่อกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ต้องผ่านกระ บวนการมากมายตั้งแต่ชุดกลั่นกรองสู่คณะกรรมการสินเชื่อ ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย แต่ดันอนุมัติให้กู้เพิ่มเพื่อซื้อเหมืองที่ยังไม่เห็นแม้ใบอนุญาตประกอบกิจการที่ครบถ้วน!
กรณีนี้เปรียบดังเอาเงินฝากประชาชนมาซื้อภูเขา 1 ลูก พร้อมสมุด 1 เล่มยืนยันว่ามีถ่านหิน แต่ไม่มีใบอนุญาตดำเนินประกอบกิจการทำเหมือง
ปัจจุบันเรื่องนี้อยู่ในกระบวนการตรวจสอบภายในที่ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเข้าใจว่าใกล้เสร็จสิ้นลงและจะนำเข้าคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาผลในวันพุธที่ 27 กันยายนนี้
ปัจจุบันกลุ่มผู้อนุมัติสินเชื่อก้อนนี้ ซึ่งประกอบด้วย นายวรภัค ธันยาวงษ์ นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ และคุณแอน ยังคงโลดแล่นอยู่บนเส้นทางวงการเงินการธนาคารไทย
โดย นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และคุณแอน ปัจจุบันยังทำงานด้านสินเชื่ออยู่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์
แผลที่ต้องกลบ?
ขอผู้อ่านใช้วิจารณญาณ เองเพื่อตั้งคำถามและตอบคำถาม ว่าการเข้าฟื้นฟูกิจการของ EARTH ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อปกปิดซ่อนเร้นความบกพร่องครั้งเก่าหรือไม่?
“บางสิ่งที่อยากจำ เรากลับลืม บางสิ่งที่อยากลืม เรากลับจำ”
ท่อนหนึ่งของเพลง “อยากลืมกลับจำ” ของคุณแหวน-ฐิติมา ที่สะท้อนถึงความน่าขันของความทรงจำในใจคน
หลายครั้งต่อหลายครา ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารของรัฐ ธนาคารแห่งประชาชนคนไทย ถูกยํ่ายีครั้ง แล้วครั้งเล่าโดยความรู้เห็นของผู้บริหารคนใน... เป็นสิ่งที่ไม่น่าจดจำแต่เราไม่เคยลืมลง
ติดตามต่อสินเชื่ออีกก้อนกับอีกแผลที่อยากลืมฉบับหน้า
คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ หน้า 18 ฉบับ 3300 ระหว่างวันที่ 28-30 ก.ย.2560
เสียกรุง(ไทย) ครั้งที่3... ตอนที่2
พอเพียงอย่างพอใจ
โดย... ฉาย บุนนาค
เสียกรุง(ไทย) ครั้งที่3... ตอนที่2
ขอขอบคุณฝ่ายสื่อสารองค์กรของธนาคารกรุงไทย ที่ช่วยชี้แจงเนื้อหาในบทความของผมเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมีเนื้อความว่า
“ธนาคารกรุงไทย ขอยืนยันว่า การดำเนินการของธนาคารทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของลูกหนี้รายดังกล่าว ธนาคารมุ่งเน้นเรื่องความโปร่งใส ความเป็นมืออาชีพ และที่สำคัญธนาคารคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า ผู้ฝากเงิน ตลอดจนผู้ที่ลงทุนในหุ้นกู้และตั๋วบี/อีของ EARTH โดยพยายามให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด”
แต่สิ่งที่ท่านชี้แจงว่าทำเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น EARTH นั้น เป็นความจริงเพียงมุมเดียว เพราะการเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ มีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งๆ ที่ EARTH ยังไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัวทางบัญชี หากไม่นับหนี้สินพิสดารที่ธนาคารท่านเองก็คัดค้านเช่นกัน...
พูดง่ายๆคือ หลังเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ ผู้ถือหุ้นจะหมดสิทธิ์ในการจัดการบริษัท และดาบอาญา สิทธิ์นี้จะตกเป็นของเจ้าหนี้และผู้บริหารแผน
ขอให้ผมได้เล่าประวัติศาสตร์ของธนาคารกรุงไทยให้ท่านฟังบ้างก่อนที่จะมีคำชี้แจงครั้งต่อไป
ธนาคารกรุงไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ ในรูปสถาบันการเงิน ประเภทธนาคารพาณิชย์ มีกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล จึงมีตราสัญลักษณ์เป็นภาพนกวายุภักษ์ เช่นเดียวกับของกระทรวงการคลัง
ธนาคารกรุงไทยก่อกำเนิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2509 ด้วยนโยบายของ เสริม วินิจฉัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ควรมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ในเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ในธนาคารพาณิชย์ถึง 2 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารมณฑล จำกัด และ ธนาคารเกษตร จำกัด กระทรวงการคลังจึงประกาศ ให้ควบรวมกิจการของธนาคารทั้ง 2 ดังกล่าว
กว่าครึ่งศตวรรษที่ธนาคารกรุงไทยและสังคมไทย ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาแล้วเล่ามากมายร่วมกัน
ศรัทธาและความเชื่อมั่นจากภาครัฐและเอกชนคือ กุญแจแห่งความสำเร็จ
ประวัติศาสตร์วิวัฒน์พัฒนามนุษย์ผ่านกาลเวลา
แต่สิ่งที่ดูเหมือน “ผู้บริหารชุดแล้วชุดเล่าของธนาคารกรุงไทย” จะไม่เคยเรียนรู้และจดจำเลยคือเรื่อง “ความรอบคอบ” ในการปล่อยสินเชื่อ
สินเชื่อของ EARTH เป็นเพียงกรณีแรกใน 3 โครงการที่ “แดง” ออกสู่สาธารณะ จนต้องรีบหาผ้าห่มมากลบไฟ... ส่วนอีก 2 โครงการนั้นยังซ่อนเร้นภายในดินแดนสนธยา
จริงๆ แล้วบริษัท EARTH โดยตัวเองไม่มีเรื่องน่าสนใจอะไร เพราะเป็นเพียงบริษัทค้าถ่านหิน ซื้อมา ขายไป กินส่วนต่าง 1- 2% และสุดท้ายก็ล่มสลาย ผิดนัดชำระหนี้มากมาย และเข้ากระบวนการฟื้นฟูพร้อมมูลหนี้ “WICKED” อีกกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท
หากเรื่องราวมีแค่นี้ ก็คงเป็นเรื่องปกติของโลกที่ไม่มีอะไรเที่ยงและคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เกรงกลัวต่อบาปบุญคุณโทษ
ความเป็นสาธารณะของเรื่องนี้ เป็นเพราะ EARTH ดันมีหนี้ก้อนใหญ่ที่ผิดนัดกว่า 9 พันล้านบาทกับธนาคารกรุงไทย ก่อนจะดับชีพตนเองลง (ชั่วคราว) โดยการขอกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
ขออนุญาตลำดับเรื่องราวของการ “ปฏิสัมพันธ์” และทุก “พฤติการณ์” สำคัญ ระหว่าง EARTH กับธนาคารกรุงไทยตั้งแต่แรกเริ่มเมื่อ 4-5 ปีก่อน
ช่วงปี 2554-2555 EARTH ได้รับอนุมัติสินเชื่อมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ในการซื้อเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องได้มาซึ่งใบอนุญาต 2 ใบ คือ “Exploration License” และ “Operating License” ซึ่ง EARTH สามารถนำสำแดงได้เพียงใบแรกเท่านั้น โดย ณ ตอนนั้น EARTH ยืนยันจะนำมาส่งมอบให้ภายใน 30 วันหลังได้มา
เวลาผ่านไป จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นขวบปี ขั้วอำนาจในธนาคารก็เปลี่ยนแปลง
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 นายวรภัค ธันยาวงษ์ เข้ารับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ธนาคารกรุงไทย (ซึ่งปัจจุบันครบวาระไปแล้วและมิได้รับต่อวาระ)
ทีมบริหารชุดใหม่นี้ได้พิจารณาอนุมัติสินเชื่ออีก 100 ล้านดอลลาร์ในโครงการเหมืองเดิมที่อินโดนีเซีย
ทั้งที่ยังไม่ได้มาซึ่ง Operating License หรือใบอนุญาตประกอบกิจการบริหารเหมือง!
มีเพียงบทสนทนาบนรถระหว่างเดินทางไปดูเหมืองว่า “ได้แล้ว ได้แล้ว เดี๋ยวเอามาให้ครับ” แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้มา
การอนุมัติสินเชื่อกว่า 100 ล้านดอลลาร์ ต้องผ่านกระ บวนการมากมายตั้งแต่ชุดกลั่นกรองสู่คณะกรรมการสินเชื่อ ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิมากมาย แต่ดันอนุมัติให้กู้เพิ่มเพื่อซื้อเหมืองที่ยังไม่เห็นแม้ใบอนุญาตประกอบกิจการที่ครบถ้วน!
กรณีนี้เปรียบดังเอาเงินฝากประชาชนมาซื้อภูเขา 1 ลูก พร้อมสมุด 1 เล่มยืนยันว่ามีถ่านหิน แต่ไม่มีใบอนุญาตดำเนินประกอบกิจการทำเหมือง
ปัจจุบันเรื่องนี้อยู่ในกระบวนการตรวจสอบภายในที่ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเข้าใจว่าใกล้เสร็จสิ้นลงและจะนำเข้าคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาผลในวันพุธที่ 27 กันยายนนี้
ปัจจุบันกลุ่มผู้อนุมัติสินเชื่อก้อนนี้ ซึ่งประกอบด้วย นายวรภัค ธันยาวงษ์ นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ และคุณแอน ยังคงโลดแล่นอยู่บนเส้นทางวงการเงินการธนาคารไทย
โดย นายกิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และคุณแอน ปัจจุบันยังทำงานด้านสินเชื่ออยู่ที่ธนาคารไทยพาณิชย์
แผลที่ต้องกลบ?
ขอผู้อ่านใช้วิจารณญาณ เองเพื่อตั้งคำถามและตอบคำถาม ว่าการเข้าฟื้นฟูกิจการของ EARTH ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อปกปิดซ่อนเร้นความบกพร่องครั้งเก่าหรือไม่?
“บางสิ่งที่อยากจำ เรากลับลืม บางสิ่งที่อยากลืม เรากลับจำ”
ท่อนหนึ่งของเพลง “อยากลืมกลับจำ” ของคุณแหวน-ฐิติมา ที่สะท้อนถึงความน่าขันของความทรงจำในใจคน
หลายครั้งต่อหลายครา ที่ธนาคารกรุงไทย ธนาคารของรัฐ ธนาคารแห่งประชาชนคนไทย ถูกยํ่ายีครั้ง แล้วครั้งเล่าโดยความรู้เห็นของผู้บริหารคนใน... เป็นสิ่งที่ไม่น่าจดจำแต่เราไม่เคยลืมลง
ติดตามต่อสินเชื่ออีกก้อนกับอีกแผลที่อยากลืมฉบับหน้า
คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ หน้า 18 ฉบับ 3300 ระหว่างวันที่ 28-30 ก.ย.2560