ดีใจหลาย ได้เห็นภาพอดีตในวัยเด็กของป้า มาปรากฏบนจอทีวีในยุค 4G ภาพที่คนสมัยนี้แทบจะหาดูวิถีชีวิตได้ยาก-ยากมาก...เมื่อละครเปิดเรื่องมาก็นำเสนอฉาก คำแก้วขัวหอย กับ บักจ่อยห่างกะปอม...นี่มันวัยเด็กของป้าเลยนะ ที่หาบตระกร้าลงไปตามทุ่งนา เพื่อทำการสิ่งนี้
ขัวหอย = จะเป็นอาการขุดหาหอยในยามหน้าแล้ง ที่ดินค่อนข้างแตกระแหง ซึ่งตามท้องทุ่งนา สัตว์จำพวกหอย ปู อึ่ง กบ ด้วง บึ้ง กิซอน กิโป้ม แมงงอด แมงเงา มันจะฝังตัวในดินเพื่อจำศีลเก็บสะสมพลังงานไว้สำหรับฤดูฝนในครั้งต่อไปที่จะมาเยือน...การขัวหอย จะต่างจาก การงมหอย ก็ตรงที่ การงมหอยมักทำในฤดูฝน งมหาหอยโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเช่น เสียม จอบ ก็ได้ เพียงใช้แค่สองมือเปล่า กับสองเท้า ลุยดินเลน โคลนตม งมหาหอย แต่การขัวหอย ต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวช่วย เพราะมันต้องขุดหาในยามหน้าแล้ง
ห่างกะปอม = ห่าง เป็นคำอีสานโบราณ หมายถึง การดักจับกิ้งก่า ที่อยู่ตามบ้านทุ่ง ไร่นา อาการ "ห่าง" ภาษาอีสานแถบๆสกล อุดร หนองคาย นครพนม เผิ่นซิหมายถึง การซุ่มดักจับสัตว์ต่างๆเช่น กะปอม(กิ้งก่า) แลน(ตะกวดโคก) นกขุ่ม จอนฟอน(พัวพอน) งู เป็นต้น โดยการดักจับ อาจจะใช้มือเปล่า หรือ อุปกรณ์เสริมช่วยในการดักจับ ซึ่งจะถูกคิดค้นตามแต่ละพื้นที่ และ ภูมิปัญญาแต่ละที่เช่นกัน
กิจจกรรมเหล่านี้แหละ ที่พวกเราลูกหลานชาวอีสานในยุคสมัยนั้น ต้องได้สัมผัส และเคยรับรู้มาบ้าง...ในท่ามกลางความดิ้นรน ปากกัดตีนถีบ มันก็ยังมีความสุขและความสนุกประทับใจในเรื่ิงราวนั้นๆ...คิดฮอดวัยเด็กน้อยของป้าเด้บัดทีนี้
คำแก้วขัวหอย & บักจ่อยห่างกะปอม...นายฮ้อยทมิฬ
ขัวหอย = จะเป็นอาการขุดหาหอยในยามหน้าแล้ง ที่ดินค่อนข้างแตกระแหง ซึ่งตามท้องทุ่งนา สัตว์จำพวกหอย ปู อึ่ง กบ ด้วง บึ้ง กิซอน กิโป้ม แมงงอด แมงเงา มันจะฝังตัวในดินเพื่อจำศีลเก็บสะสมพลังงานไว้สำหรับฤดูฝนในครั้งต่อไปที่จะมาเยือน...การขัวหอย จะต่างจาก การงมหอย ก็ตรงที่ การงมหอยมักทำในฤดูฝน งมหาหอยโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเช่น เสียม จอบ ก็ได้ เพียงใช้แค่สองมือเปล่า กับสองเท้า ลุยดินเลน โคลนตม งมหาหอย แต่การขัวหอย ต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวช่วย เพราะมันต้องขุดหาในยามหน้าแล้ง
ห่างกะปอม = ห่าง เป็นคำอีสานโบราณ หมายถึง การดักจับกิ้งก่า ที่อยู่ตามบ้านทุ่ง ไร่นา อาการ "ห่าง" ภาษาอีสานแถบๆสกล อุดร หนองคาย นครพนม เผิ่นซิหมายถึง การซุ่มดักจับสัตว์ต่างๆเช่น กะปอม(กิ้งก่า) แลน(ตะกวดโคก) นกขุ่ม จอนฟอน(พัวพอน) งู เป็นต้น โดยการดักจับ อาจจะใช้มือเปล่า หรือ อุปกรณ์เสริมช่วยในการดักจับ ซึ่งจะถูกคิดค้นตามแต่ละพื้นที่ และ ภูมิปัญญาแต่ละที่เช่นกัน
กิจจกรรมเหล่านี้แหละ ที่พวกเราลูกหลานชาวอีสานในยุคสมัยนั้น ต้องได้สัมผัส และเคยรับรู้มาบ้าง...ในท่ามกลางความดิ้นรน ปากกัดตีนถีบ มันก็ยังมีความสุขและความสนุกประทับใจในเรื่ิงราวนั้นๆ...คิดฮอดวัยเด็กน้อยของป้าเด้บัดทีนี้